ค้นหาบทความ 🙄





7/17/66

สังคมประชาธิปไตย มิใช่สังคมที่ใครจะ "ได้ดั่งใจ" ไปทั้งหมด

๒๐ ข้อ ที่คุณอ่านแล้ว จะรู้ว่า เราจัดเลือกตั้งไปทำไม ?



     สองสามวันมานี้ เราจะเห็นคำฟูมฟายว่า "แล้วจะจัดเลือกตั้งไปทำไม" หรือ "แล้วจะให้ประชาชนไปเลือกตั้งทำไม ร้อนก็ร้อน เสียเวลาเดินทาง ใช้เงินตั้ง ๖,๐๐๐ ล้าน" ฯลฯ ซึ่งเป็นไปในทางเดียวกันนี้




ทั้งหมดเกิดจาก ... 

• เข้าใจผิด
• ไม่รู้ / ไม่หาความรู้ / ไม่มีคนให้ความรู้ / ไม่เชื่อคนที่ให้ความรู้
• หงุดหงิด
• ผิดหวัง

เพียงตั้งสติแล้วฟัง
ก็จะ 'รู้' ได้ไม่ยาก, ว่า...



๑.  การจัดการเลือกตั้ง ที่ใช้เงิน ๖,๐๐๐ ล้านบาทนั้น เป็นการจัดให้ราษฎรเลือก "ผู้แทน" ของเขา เป็นการเลือกตัวแทนประชากรในแต่ละพื้นที่ ไปทำงานร่วมกันใน "สภา" เรียกว่า "สภาผู้แทนราษฎร" โดยตัวแทนที่ได้รับเลือก เรียกว่า "สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร" หรือ ส.ส. นั่นเอง

๒. การจัดการเลือกตั้งดังกล่าว เป็นการให้ประชาชนเลือกผู้แทนหรือตัวแทน "ทางตรง" คือ เลือกด้วยตัวเอง

๓.   จากนั้น พรรคการเมืองจะดำเนินการรวบรวมเสียง ให้มากพอ ที่จะ "ตั้งรัฐบาล" โดยตกลงกันว่าจะ "เสนอใครเป็นนายกรัฐมนตรี"

๔.   "ให้มากพอ" ในที่นี้ แบ่งเป็นสองส่วน คือ ให้มากพอต่อการเป็นรัฐบาล โดยรัฐบาลที่มั่นคง ต้องมีเสียงเกินกึ่งหนึ่งของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด กับ "ให้มากพอ" ที่จะเป็น "นายกรัฐมนตรี" เราเรียกว่าเป็นการ "เลือกตั้งทางอ้อม" คือ ให้คนที่ประชาชนเลือก ไปทำหน้าที่เลือก

๕.   กติกาปัจจุบัน (อันเป็นที่รู้กันอยู่แล้ว) คือ ผู้ที่จะได้เป็นนายกรัฐมนตรี จะต้อง "มีเสียงสนับสนุน" - "เกินกึ่งหนึ่ง" ของจำนวน ส.ส. และ ส.ว. รวมกัน เนื่องจากมี "บทเฉพาะกาล" ของรัฐธรรมนูญปี ๒๕๖๐ ให้ ส.ว. มาร่วมโหวตนายกฯ ด้วย (มีผลแค่ภายในระยะเวลา ๕ ปี หลังใช้รัฐธรรมนูญ)

๖.   คะแนนเลือกตั้ง หรือ จำนวน ส.ส. ที่ได้จากการเลือกตั้ง ไม่เกี่ยวกับการที่ใครจะได้เป็นนายกรัฐมนตรีเลย

๗. เลือกตั้ง = ประชาชนเลือกตัวแทน... จากนั้น ให้ตัวแทน  "เลือกนายกฯ"

๘.  ประชาชนไม่ใช่ผู้เลือกนายกฯ  ...  การเลือกตั้งให้เลือกผู้แทน ไม่ใช่เลือกนายกฯ จะได้คะแนนเลือกตั้งเท่าไร ก็เป็นคะแนนเลือก ส.ส. ไม่ใช่คะแนนเลือกนายกฯ เมื่อ กกต. ใช้คะแนนจากการเลือกตั้ง รับรอง ส.ส. คะแนนนั้นก็จบแล้ว ใช้แล้ว จะใช้ซ้ำแบบ "กางเกงลิงกลับด้าน" ไม่ได้

๙.  จึงหยุดฟูมฟาย ส่งต่อความเข้าใจผิด ด้วยคำถามว่า "แล้วจัดการเลือกตั้งไปทำไม" ได้แล้ว

๑๐.  เข้าใจว่า หลายท่านมีความกระอักกระอ่วนใจ ว่า เขาชนะเลือกตั้งแล้ว เขารวมเสียงข้างมากของ ส.ส. ได้แล้ว ทำไมยังถูกขัดขวางจาก ส.ว.

๑๑.   ส.ว. มีหน้าที่ตามบทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญ ให้ร่วม "กลั่นกรอง" ผู้จะดำรงตำแหน่ง "นายกรัฐมนตรี" เขาไม่ได้ผิดอะไร ที่ไม่โหวตสนับสนุน "นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์" เพราะนายพิธากับพรรคก้าวไกล ไม่สามารถให้ความมั่นใจ ทั้งเรื่อง ม.๑๑๒  เรื่องแบ่งแยกดินแดน และไหนจะเรื่องคุณสมบัติส่วนตัวของนายพิธาอีก

๑๒.  การโหวต เป็นเอกสิทธิของ ส.ส. และ ส.ว. เพียงแต่ ส.ส. มีความเป็น "สมาชิกพรรค" แต่ ส.ว. มีอิสระในตัวเอง ที่จะโหวต เห็นชอบ, ไม่เห็นชอบ ให้นายพิธาเป็นนายกฯ หรือจะ "งดออกเสียง" ก็ได้

๑๓.   ส.ว. จะไม่ใช่เรื่องที่เป็นปัญหาเลย หากพวกเขามาจาก "การเลือกตั้งโดยประชาชน" เหมือนนายพิธา และ ส.ส. ทั้งสภา มันมีความอิหลักอิเหลื่ออยู่ตรงนี้

๑๔.   แต่ ส.ว. ที่มีที่มาแบบนี้ จะมาร่วมโหวตนายกฯ ไม่ได้เลย ถ้าไม่มี "บทเฉพาะกาล" ของรัฐธรรมนูญกำหนดให้ทำ ... โดยที่บทเฉพาะกาลนั้น ผ่าน "ประชามติ" ของประชาชนมาแล้ว ...     
หากคุณยอมรับเสียงที่เลือกก้าวไกลว่าเป็นเสียงของประชาชน "คุณ" ก็ต้องยอมรับเสียงประชามติว่าเป็นเสียงของ "ประชาชน" ด้วยเช่นกัน   แม้ระหว่างทำประชามติ จะมีคนจำนวนหนึ่งถูกกีดกัน ปิดกั้น และนำตัวไปปรับทัศนคติ เพียงเพราะไปแสดงออก และเชิญชวนผู้คนให้  "ไม่รับรัฐธรรมนูญและบทเฉพาะกาล"   (ซึ่งวิธีการปิดกั้นดังกล่าวนี้ ทำให้มติมันไม่ขาวสะอาด เพราะไม่เปิดให้มีการรณรงค์ที่เป็นธรรม และกลายเป็นปมปัญหามาจนทุกวันนี้)

๑๕.   กลับมาที่ ส.ว.   (ซึ่งมีข้อครหาว่ามาจากการแต่งตั้งของรัฏฐาธิปัตย์ ซึ่งถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เผด็จการ) เมื่อยอมรับการแต่งตั้งให้เป็น ส.ว. แล้ว ก็ต้อง "ทำหน้าที่ร่วมกลั่นกรอง"   ซึ่งพวกเขาก็ทำแล้ว

๑๖.   ผมเอง ซึ่งลงประชามติ  "ไม่รับบทเฉพาะกาล"  มีหน้าที่ยอมรับความเป็น "กติกา" ของบทเฉพาะกาลนี้  ที่คนส่วนใหญ่ยอมรับ พรรคการเมืองที่ส่งคนลงเลือกตั้งภายใต้กติกาที่รู้อยู่แล้วนี้ ก็ควรยอมรับ ถ้าไม่ยอมรับ ก็ควรปฏิเสธ การลงแข่งขันตั้งแต่ต้น มิใช่มางอแงในภายหลัง ... 

๑๗.    ส.ว. จะไม่เป็นอุปสรรคใดๆ เลย หากนายพิธา "เป็นที่ยอมรับ" ของ "ผู้แทนราษฎร" ในสภา เพราะหากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพร้อมใจกันโหวต "เห็นชอบ" ให้นายพิธาเป็นนายกฯ ส.ว. ก็ขวางไม่ได้ แต่นายพิธากลับไม่ได้รับการสนับสนุนเช่นนั้น เพราะอะไร? ก็เป็นเรื่องที่  ต้องคิด ด้วย ? 

๑๘.   สังคมประชาธิปไตย มิใช่สังคมที่ใครจะ "ได้ดั่งใจ" ไปทั้งหมด

๑๙.   ไม่มีกฎหมายใด บอกว่า ไปลงคะแนนเลือกตั้ง เพื่อเลือกนายกฯ  
"ชนะเลือกตั้ง"  จึงไม่ได้แปลว่า  จะได้นายกฯ  ไม่มีกฎหมายใดบอกว่า พรรคที่มี ส.ส.มากที่สุดเท่านั้น ที่มีสิทธิจัดตั้งรัฐบาล และต้องได้เป็นรัฐบาล ต้องได้เป็นนายกฯ  ดูอย่างตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎร นั่นปะไร พรรคก้าวไกลยังไปเอา ส.ส. จากพรรคประชาชาติ ซึ่งมี ส.ส. แค่ไม่กี่คนมาเป็นได้เลย ? 


๒๐. ดังนั้น สลัดความเข้าใจผิด ออกไปจากหัวสมองได้แล้ว การเลือกตั้ง ยังต้องมีต่อไป  ใครไม่อยากไปลงคะแนน ก็ไม่ต้องไป 

แต่อย่ามาเกรี้ยวกราดใส่การเลือกตั้งที่ตนเข้าใจไปเองว่า เป็นการ "เลือกนายกฯ" !!

บทความโดย :  ปู จิตกร บุษบา

 

Tweet Hi-Light
by Misc.Today


Admin Bee

สนับสนุน Misc.Today

นี่คือ ลิ้งค์พันธมิตร หรือที่เรียกว่า affiliate link ซึ่งหมายความว่า... หากคุณคลิ๊กลิ้งค์นี้ และซื้อผลิตภัณฑ์ อะไรก็ได้ ฉันจะได้ค่าคอมมิชชั่นเล็กน้อย สิ่งนี้จะช่วยสนับสนุนเว็บไซด์ และช่วยให้กำลังใจเราต่อไป



 

คุณอาจสนใจ

เครื่องดื่มมหัศจรรย์ เพื่อสุขภาพที่ดี


  ชาหมักคอมบูชะ Scoby doit  



“ จุลินทรีย์ โพรไบโอติก ที่มีอยู่ในชาหมัก คอมบูชะ ( Kombucha ) สามารถแก้ไขปัญหาของระบบทางเดินอาหาร และลำไส้”

KOMBUCHA ORIGINAL 101 / by Scoby Do it 💖
    เครื่องดื่มชาหมักเพื่อสุขภาพ คอมบูชา หรือ คอมบูชะ ( Kombucha ) Scoby do it คือ เครื่องดื่มที่ผ่านกระบวนการหมัก มีสรรพคุณทางยา โดยมี “จุลินทรีย์ โพรไบโอติก Probiotics” ที่เป็นพระเอกของเครื่องดื่มชนิดนี้ “จุลินทรีย์” ที่อยู่ในชาหมักที่เกิดจากการหมักชา จะมี สารฟลาโวนอยด์ (Flavonoids) ช่วยต้านอนุมูลอิสระ และอาจช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือด เบาหวาน มะเร็ง และโรคอัลไซเมอร์ได้ 

   >> ดูเพิ่มเติม 




5 บทความ ยอดนิยม ในรอบ 30 วัน

🟡 โพสต์แนะนำ

คริสเตียนไซออนนิสท์ คือใคร ? - Christian Zionist

ช่วงนี้ ผมติดตามหาข้อมูลเกี่ยวกับ อิสราเอล กับ ปาเลสไตน์ ครับ ส่วนใหญ่จะเป็นแนวประวัติศาสตร์เสียมาก เพราะผมมีความเชื่อส่วนตัวว่า การที่เราจะ...

Popular Posts

แนะนำหนังสือ


  BOOKs OF THE DAY








ผู้สนับสนุน







Xiaomi Kingsmith Walking Pad

 Xiaomi Kingsmith Walking Pad R1 Pro/ R2 ลู่เดิน/วิ่งไฟฟ้า พับเก็บได้ สำหรับการออกกำลังกายภายในบ้าน >> คลิ๊กดูเพิ่มอีก


ป้ายกำกับ / Tag labels

2475 (1) กฎหมาย (4) กฐิน (2) กรรม (5) กระเป๋า (3) กรุงเทพฯ (19) กรุงศรีอยุธยา (11) กล้องถ่ายภาพ (7) กลอน (4) กลาโหม (9) การเกษตร (6) การจัดเก็บ (2) การเมือง (48) การศึกษา (127) กิจกรรมกลางแจ้ง (2) กีฬา (3) เกษตร (2) เกี่ยวกับสัตว์ (12) ไกลกังวล (1) ขงจื้อ (1) ขนม (2) ขอมไม่ใช่เขมร (6) ข้าว (3) ข่าวสาร (22) ขิง (1) เขมร (10) โขน (2) คณะราษฎร (10) คติธรรม (1) คนเล่านิทาน (14) ครู (6) ความเชื่อ (11) ความรู้ (145) คอมมิวนิสต์ (31) คำภีร์ (2) คำสอน (11) เครื่องบิน (7) เงินตรา (4) จอมพล ป. พิบูล (1) จอมพล ป. พิบูลสงคราม (13) จีน (53) ช้าง (1) ชายแดนใต้ (5) ญี่ปุ่น (15) ดนตรีไทย (1) ดอกไม้ (1) เด็ก (5) เดนมาร์ก (1) ต้นไม้ (4) ตลาดนัด (1) ตำรวจ (2) เตา (1) เตือนภัย (15) แต่งงาน (1) ทรัพยากร (2) ทวิตเตอร์ (1) ทหาร (9) ท่องเที่ยว (27) ทะเล (3) ทัศนะ (47) ทำบุญ (5) ทำอาหาร (5) เทคโนโลยี (13) โทรศัพท์มือถือ (2) ธนบัตร (1) ธนาคาร (4) ธรรมชาติ (7) ธรรมในคำกลอน (1) ธรรมะ (6) ธรรมาธิปไตย (2) ธุรกิจ (10) นราธิวาส (3) นวดไทย (1) นักบิน (1) นักเรียน (4) นางใน (1) นาซี (1) นายกรัฐมนตรี (2) น้ำมัน (1) นิทานพื้นบ้าน (1) นิยาย (3) นิวเคลียร์ (1) เนปาล (1) แนะนำสินค้า (36) โนรา (1) ในหลวง ร.10 (1) ในหลวงรัชกาลที่ 9 (15) บริการ (3) บริหาร (3) บ่อน (1) บัตรเครดิต (2) บัตรประชาชน (1) บุคคล (42) บุญ (3) บุหรี่ (1) เบตง (1) แบรนด์ไทย (5) โบราณวัตถุ (13) โบราณสถาน (6) โบสถ์ (2) ประชาธิปไตย (51) ประท้วง (7) ประเทศไทย (172) ประวัติศาสตร์ (147) ปรัชญาชีวิต (20) ปรีดี (2) ปลูกต้นไม้ (3) ปูติน (1) ผลไม้ (1) ผลิต (3) ผิวสี (1) แผ่นดินไหว (1) ฝรั่งเศส (6) พม่า (6) พยาบาล (1) พระเจ้าตากสินมหาราช (2) พระนเรศ (1) พระพุฒาจารย์ (1) พระพุทธเจ้า (1) พระราชกรณียกิจ (4) พระสงฆ์ (10) พราหมณ์ (1) พิบูลสวัสดี (1) พิพิธภัณฑ์ (9) พุทธทาส (1) พุทธศาสนา (11) เพชรบุรี (3) เพลง (8) เพลงผ้า ปรพากย์ (1) แพทย์ (4) ฟาโรห์ (1) ไฟ (4) ไฟฉาย (1) ไฟฟ้า (1) ภาคใต้ (6) ภาคอีสาน (1) ภาษา (9) ภาษิต (1) ภูเขาไฟ (1) ภูมิปัญญา (19) ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ (1) มวยไทย (5) มาเลเซีย (1) มุมไบ (2) มุสลิม (2) แม่ (1) ไม้ไผ่ (1) ยา (1) ยิว (3) ยูนนาน (1) เยาวชน (1) เยาวราช (1) รถเมล์ (3) รองเท้า (2) ระเบิด (3) รัชกาลที่ ๒ (1) รัชกาลที่ ๔ (3) รัชกาลที่ ๕ (7) รัชกาลที่ ๖ (1) รัชกาลที่7 (8) รัชกาลที่ ๘ (5) รัฐประหาร (6) รัสเซีย (12) ราชาศัพท์ (1) รามเกียรติ์ (1) เรือ (2) เรื่องเก่า (80) เรื่องเล่า (23) โรค (5) โรคระบาด (3) โรงงาน (1) โรงพยาบาล (9) โรงเรียน (16) โรฮิงญา (1) ลอนดอน (1) ลัทธิ (2) ลัทธิมาร์กซ์ (1) ล้านนา (3) ลาว (4) เลือกตั้ง (9) โลก (5) โลกร้อน (3) วัฒนธรรม (1) วัด (14) วันแม่ (1) วันสำคัญ (5) วิทยาศาสตร์ (9) วิทยุ (2) วิหาร (4) เวียดนาม (4) ไวรัล (1) ศัพท์ (1) ศาสนา (36) ศิริราช (5) ศิลปะ (4) ศิลปาชีพ (1) เศรษฐกิจ (3) สงขลา (1) สงคราม (50) สถานีรถไฟ (1) สนามบิน (2) สเปน (1) สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร (2) สมัยเมจิ (1) สยาม (12) สวนสนุก (1) สวิตเซอร์แลนด์ (2) สังคม (36) สำนวน (8) สิ่งประดิษฐ์ (13) สื่อ (3) สุขภาพ (13) สุภาพจิต (5) สุสาน (1) หนังแท้ (4) หนังสือ (31) หนังสือพิมพ์ (1) ห้องเรียน (4) เหมาเจ๋อตง (2) เหรียญ (1) อเมริกา (36) ออสเตรีย (1) อังกฤษ (6) อาชีพ (1) อาหาร (16) อาหารจานโปรด (9) อิตาลี (3) อินเดีย (8) อิสราเอล (3) อียิปต์ (1) อีสาน (1) แอปพลิเคชัน (4) ไอร์แลนด์ (1) cpr (1) deep state (1) democracy (1) Diarymisc (3) facebook (1) handmade (1) leather (1) metaverse (1) nomad (6) Nuclear (1) OPENUP (1) powerbank (1) shopee (1) Social media (2) social views (114) startup (1) UNESCO (4) xiaomi (1)


Miscellaneous | Misc.Today 🌱 . ขับเคลื่อนโดย Blogger.

 
miscthailand