พระ เด็ก เสือ ไก่ มอด คือการละเล่นของเด็ก ในยุคสมัยหนึ่ง ไม่มีบันทึกแน่ชัดว่า การละเล่นนี้ เริ่มต้นตั้งแต่สมัยใด และใครเป็นผู้กำหนดการละเล่นนี้ขึ้นมา จากการค้นหาข้อมูล พบว่า
วิธีเล่น พระ เด็ก เสือ ไก่ มอด มีความคล้ายคลึงกับการเล่น "เป่ายิ้งฉุบ" ที่หลายๆคนคุ้นเคยกัน และน่าจะเคยเล่นกันมาบ้างแล้วในวัยเด็ก และในปัจจุบันพบว่า ก็ยังมีการละเล่นนี้กันอยู่ แต่อาจจะไม่แพร่หลายมากนัก ผู้เขียนเข้าใจว่า เป่ายิ้งฉุบ น่าจะได้รับการปรับแต่งมาจาก พระเด็ก เสือ ไก่ มอด ก็เป็นได้ โดยตัดตัวละคร จากเดิม 5 ตัวละคร ให้เหลือเพียง 3 ตัวละครเท่านั้น คือ กระดาษ , กรรไกร และค้อน แต่หลักการและวิธีเล่น ยังคงในรูปแบบเดิมอยู่
วิธีการละเล่น พระ-เด็ก- เสือ- ไก่- มอด
ค้นหาผู้ชนะ โดยการ ผู้เล่นแต่ละฝ่ายใช้มือจับที่หู แล้ว เอ่ยพร้อมกันว่า “ พระ เด็ก เสือ ไก่ มอด” พร้อมกัน เมื่อสิ้นสุดคำว่า มอด ผู้เล่นทั้งสองฝ่าย ต้องยื่นนิ้วออกมาพร้อมกัน โดยกำหนด ให้แต่ละนิ้วเป็นตัวละครดังนี้
- นิ้วโป้ง คือตัวแทนของ พระ
- นิ้วชี้ คือตัวแทนของ เด็ก
- นิ้วกลาง คือตัวแทนของ เสือ
- นิ้วนาง คือตัวแทนของ ไก่
- นิ้วก้อย คือตัวแทนของ มอด
กติกา การเล่น พระ-เด็ก- เสือ- ไก่- มอด
- พระ ชนะเด็ก ( เด็กไหว้พระ หรือเด็กซน จนพระต้องตีเด็ก )
- พระ ชนะไก่ ( พระกินไก่ )
- เด็ก ชนะไก่ ( เด็กกินไก่ )
- เด็ก ชนะมอด ( เด็กบี้มอด )
- เสือ ชนะพระ ( เสือกินพระ )
- เสือ ชนะเด็ก ( เสือกินเด็ก )
- เสือ ชนะไก่ (เสือกินไก่ )
- ไก่ ชนะมอด (ไก่จิกมอด)
- มอด ชนะพระ ( พระไม่บี้มอด )
- มอด ชนะเสือ ( มอดไชหางเสือ )
2 ญี่ปุ่น เรียก จัง เคน โปง ใช้หลักเดียวกับไทย
*โดยสัญลักษณ์และการละเล่นของ เกาหลี และญี่ปุ่น จะใช้หลักการเดียวกันกับประเทศไทย
3 สิงคโปร เรียกว่า ชุ่ม ชุ่ม พัท โดยมีตัวละคร 3 อย่าง คือ จีบนิ้วทั้งห้า คือ มังกร , กำมือ = ก้อนหิน , หงายฝามือ = น้ำ
- มังกร ชนะ น้ำ ( เพราะมังกรดื่มน้ำ )
- น้ำ ชนะก้อนหิน ( เพราะหินจมน้ำ )
- ก้อนหิน ชนะมังกร ( หินฆ่ามังกรได้ )
- นกชนะ น้ำ ( นกดื่มน้ำ )
- หิน ชนะ นก ( หินขว้างนก )
- หิน ชนะ กระดาน ( หินทุบกระดานแตก )
- ปืน ชนะ ก้อนหิน ( ปืนยิงหินแตก )
- ปืน ชนะ นก ( ปืนยิงนก )
- ปืน ชนะ กระดาน ( ปืนยิงกระดานแตก)
- น้ำ ชนะ ปืน ( ปืนจมน้ำได้ )
- น้ำ ชนะ หิน ( หินจมน้ำได้ )
- กระดาน ชนะ น้ำ ( กระดานลอยน้ำได้ )
- กระดาน ชนะ นก ( กระดานกดนกไม่ให้บินได้ )
จะเรียกว่า ร็อก-เปเปอร์-ซิสเซอร์ ( Rock-paper-scissors) โดยมีตัวละคร กรรไกร กระดาษ และ หิน และ เล่นตามแบบ ไทยและญี่ปุ่น เชื่อว่าเป็นการเล่นตามชาติตะวันออก โดยชาวอเมริกัน มักเรียกการละเล่น เป่ายิ้งฉุบ ว่า "โรแชมโบ้" (roshambo)
ข้อมูลเพิ่มเติม / อ้างอิง / เครดิตรูปภาพ
- เรื่องของฉัน ตอน ๓ โดย แมงกะพรุน : http://manggaprune.blogspot.com/2008/07/blog-post_21.html
- แนะนำหนังสือ :
การละเล่นของเด็กไทย | หนังสือนิทานชาดก
โดย สำนักพิมพ์แสงแดด
การละเล่นของเด็กไทย ที่เขียนโดย นลิน คู และวาดภาพประกอบ โดย โอม รัชเวทย์ จะพาผู้อ่าน ย้อนอดีตกลับไปในวัยเด็ก กับการละเล่นต่างๆมากมายกว่า 60 ประเภท ที่พบเห็นได้ยากในสมัยนี้ ไม่ว่าจะเป็นกาฟักไข่ ขี่ม้าส่งเมือง งูกินหาง เดินกะลา ตีวงล้อ โพงพางฯลฯ ควรแก่การเก็บไว้ให้รุ่นลูกหลานเพื่อการสืบสานการละเล่นแบบไทยสืบไป
แนะนำ หนังสือน่าอ่าน 2022 - 2023
Books Recommendation
Books Recommendation