ก้าวที่ ๕,๐๐๐ มาจากก้าวที่ ๕๐
เวลานี้คนไทยส่วนใหญ่เข้าใจผิดกันมาก ว่า..
"การชี้โทษ คือ การจับผิด"
คำว่า จับผิด คำบาลีว่า
รนฺธคเวสก (รัน-ทะ-คะ-เว-สะ-กะ)
คือ เรื่องยังไม่ปรากฏ แต่ไปเที่ยวขุดคุ้ยข้อบกพร่องของเขา ขึ้นมาพูด ด้วยเจตนาจะเหยียบย่ำ กดข่ม ให้เขาเสียหาย -> เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ
คำว่า ชี้โทษ คำบาลีว่า
วชฺชทสฺสี (วัด-ชะ-ทัด-สี)
คือ ข้อบกพร่อง ผิดพลาด ปรากฏขึ้นเป็นที่รู้เห็นทั่วกัน แต่เจ้าตัวผู้กระทำไม่รู้ หรืออาจไม่ทันรู้ตัว เมื่อเราบอกให้เขารู้ด้วยความปรารถนาดี -- > เป็นสิ่งที่ควรทำ แต่ ...ควรรู้จักกาละ เทศะ จังหวะเวลา
.... อย่างไรเรียกวา จับผิด ?
..... อย่างไรเรียกว่า ชี้โทษ ?
แต่มองการ ชี้โทษ เป็น การจับผิด ไปเสียหมด...
ธรรมชาติอย่างหนึ่งของคนเราคือ ไม่ชอบให้ใครมาชี้ข้อบกพร่องของตน ถ้าใครมาบอกว่า คำนี้คุณเขียนผิดนะ ... เรื่องนี้คุณเข้าใจผิดแล้ว ... งานนี้คุณทำผิด ฯลฯ คนส่วนใหญ่จะโกรธ จะไม่พอใจคนบอก ทั้งๆ ที่ผิดจริง ....
และธรรมชาติอย่างหนึ่งของ "คนไทย" คือ ....
> มักเกรงใจคนทำผิด ?!! ยิ่งถ้าหากผู้กระทำผิดพลาดหรือบกพร่อง เป็นผู้ใหญ่ สูงวัยกว่าด้วยแล้ว ยิ่งไม่กล้าแตะต้อง บอกกล่าว ...
เมื่อเป็นเช่นนี้ คนทำผิดก็ไม่รู้ว่าสิ่งที่ตนทำ นั้นผิด จึงยังคงทำผิดเรื่อยไป เหตุเพราะไม่รู้ ไม่มีใครเตือน ครั้นพอจะมีใครเตือน ก็ถูกสกัดด้วย
เมื่อเป็นเช่นนี้ คนทำผิดก็ไม่รู้ว่าสิ่งที่ตนทำ นั้นผิด จึงยังคงทำผิดเรื่อยไป เหตุเพราะไม่รู้ ไม่มีใครเตือน ครั้นพอจะมีใครเตือน ก็ถูกสกัดด้วย
คำว่า .. “เอาแต่จับผิดชาวบ้าน”
เท่ากับ ช่วยกันปกป้องการทำผิดให้ดำรงอยู่ และขยายตัวต่อไป ...
เท่ากับ ช่วยกันปกป้องการทำผิดให้ดำรงอยู่ และขยายตัวต่อไป ...
มีพุทธภาษิตบทหนึ่งว่า -...
นิธีนํว ปวตฺตารํ
ยํ ปสฺเส วชฺชทสฺสินํ
นิคฺคยฺหวาทึ เมธาวึ
ตาทิสํ ปณฺฑิตํ ภเช
ตาทิสํ ภชมานสฺส
เสยฺโย โหติ น ปาปิโย.
แปลเป็นภาษาไทยว่า -
พึงเห็นผู้มักชี้โทษเหมือนผู้บอกขุมทรัพย์พึงคบหาท่านผู้กล่าวข่มขี่ มีปัญญา เป็นบัณฑิตเช่นนั้นเถิดเมื่อคบบัณฑิตเช่นนั้น ย่อมมีแต่คุณอันประเสริฐหามีโทษที่เลวทรามไม่
ที่มา: บัณฑิตวรรค ธรรมบท พระไตรปิฎกเล่ม ๒๕ ข้อ ๑๖
ในคัมภีร์อรรถกถา
(ธัมมปทัฏฐถกถา ภาค ๔ เรื่องที่ ๖๐ ราธเถรวตฺถุ)
... ได้อธิบายพุทธภาษิตบทนี้ และยกตัวอย่างพระภิกษุที่เป็นพระอุปัชฌาย์
ที่ไม่อบรมสั่งสอนภิกษุที่เป็นศิษย์...
ภิกษุที่เป็นศิษย์ประพฤติผิดพระธรรมวินัย หรือทำอะไรไม่ถูกไม่ควรอย่างไร ก็ไม่เคยว่ากล่าวแต่อย่างใด เหตุเพราะกลัวศิษย์ จะเคียงโกรธบ้าง กลัวศิษย์จะไม่รักบ้าง และเพราะกลัวศิษย์จะไม่อำนวยประโยชน์ให้ตนบ้าง ...
ท่านบอกว่าพระอุปัชฌาย์ชนิดนี้ เปรียบเหมือน "ผู้เอาขยะมาเทไว้ในพระศาสนา" ...
ในการอยู่รวมกันเป็นสังคมก็มีคติอย่างเดียวกัน รู้เห็นว่าใครทำอะไรผิดแล้วปล่อยปละละเลย อ้างว่าไม่ใช่ธุระของเรา ซ้ำอ้างว่าพระพุทธเจ้าสอนไม่ให้มองหาความผิดของคนอื่น ให้สนใจเฉพาะเรื่องของตัวเอง .... ก็เท่ากับปล่อยให้มีคนทิ้งขยะรกสังคมนั่นเอง...
เห็นคนทำผิดแล้วไม่ทักท้วง กำลังกลายเป็น "มารยาท" ที่คนนิยมประพฤติกันทั่วไป จนเป็นค่านิยมชนิดหนึ่ง คนทักท้วงจะถูกมองว่าเสียมารยาท
... เหมือนเห็นคนทิ้งขยะเกลื่อนไปทุกถนนหนทาง แล้วไม่มีใครบอก ไม่มีใครเตือน ไม่มีใครเก็บ ...
.... นับว่าเป็นค่านิยมที่เป็นอันตรายอย่างยิ่ง
ที่เห็นได้ชัดในสังคมวันนี้ ก็คือ เรื่องของภาษาไทย ทั้ง พูดผิด , เขียนผิด , สะกดผิด ใช้คำผิดความหมาย ..... ก็ไม่มีใครทักท้วง หรือ "ไ่ม่กล้า"จะทักท้วง หรือ ไม่มีใครรู้สึกว่าเป็นเรื่องเสียหาย ...
ต่อไป ความรู้สึกว่า “ไม่ใช่เรื่องเสียหาย” จะไม่อยู่แค่เรื่องภาษาไทย แต่จะขยายออกไปถึงเรื่องอื่นๆ ด้วย ... อาทิ
โกหกหลอกลวงกัน ก็ไม่ใช่เรื่องเสียหาย ...
ทุจริตโกงกิน ก็ไม่ใช่เรื่องเสียหาย ....
เสพสมสำส่อนไม่เลือกผัวใครเมียใคร ก็ไม่ใช่เรื่องเสียหาย...
ลักขโมย แย่งชิง จี้ปล้นกัน ก็ไม่ใช่เรื่องเสียหาย ....
และต่อไปก็จะถึงขั้น-ฆ่ากันก็ไม่ใช่เรื่องเสียหาย .....
ถึงตอนนั้น คนก็เท่ากับสัตว์
เมื่อคนเท่ากับสัตว์ ไม่ใช่เรื่องเสียหาย.... เกิดขึ้นในก้าวที่ ๕,๐๐๐
ที่เรากำลังเห็นว่า พูดผิด เขียนผิด สะกดผิด เล็กๆน้อยๆ ไม่ใช่เรื่องเสียหาย นี่ก็คือก้าวที่ ๕๐
ก้าวที่ ๕,๐๐๐ มาจากไหน ?
นั่นก็มาจากก้าวที่ ๕๐ ที่เรากำลังก้าวกันไปอย่างเพลิดเพลินเจริญใจในวันนี้นี่ไง ....
นั่นก็มาจากก้าวที่ ๕๐ ที่เรากำลังก้าวกันไปอย่างเพลิดเพลินเจริญใจในวันนี้นี่ไง ....
สภาพ-คนเท่ากับสัตว์-มันไม่ได้เกิดขึ้นวันนี้พรุ่งนี้หรือเกิดขึ้นในชั่วชีวิตของเรา ให้เราได้เห็นกับตาตัวเองหรอกครับ
แต่ถ้ายังปล่อยให้เป็นเช่นนี้ เรื่อยๆไป ... ลูกหลานของเราในอนาคต
ได้เห็นได้เจอแน่ และได้เป็นกับมันแน่ ...
และถ้าเราคิดว่า - ก็เรื่องของมัน ไม่ใช่เรื่องของกู !
เราก็เป็นสัตว์ไปแล้วตั้งแต่วันนี้
บทความโดย :
พลเรือตรี ทองย้อย แสงสินชัย
๙ กรกฎาคม ๒๕๖๖
๑๓:๑๓
Tweet Hi-Light
by Misc.Today
https://t.co/02NsgVWKCl < นี่คือ ลิ้งค์พันธมิตร หรือที่เรียกว่า affiliate link ซึ่งหมายความว่า... หากคุณคลิ๊กลิ้งค์นี้ และซื้อผลิตภัณฑ์ อะไรก็ได้ ฉันจะได้ค่าคอมมิชชั่นเล็กน้อย สิ่งนี้จะช่วยสนับสนุนเว็บไซด์ และช่วยให้กำลังใจเราต่อไป
— 𝘔𝘪𝘴𝘤.𝘛𝘰𝘥𝘢𝘺 |🇹🇭 (@miscthailand) June 8, 2023
ขอขอบคุณ
https://t.co/Wgegx2fuGY pic.twitter.com/WwtxgqbhKr