ในบางอารยธรรม อย่างเช่น จีนโบราณ แทบจะใช้ความรู้ จากการเล่าเรียนวิชาความรู้เรื่องการปกครอง กฏหมาย และการรบ เป็นมาตรวัดความเฉลียวฉลาดแต่อย่างเดียว มาตลอดเวลาเกือบห้าพันปี และผู้ที่ได้รับการยอมรับนับถือว่าเฉลียวฉลาด ก็จะได้รับสถานะทางสังคม(และเศรษฐกิจ) ที่สูงกว่าผู้อื่น ดังนั้น วัฒนธรรมจีนและชาติอื่นที่แยกแขนงจากจีนออกไป อย่างเช่น ญี่ปุ่น เกาหลี เวียดนาม จึงให้ความสำคัญอย่างยิ่งยวดกับการเรียนจนถึงปัจจุบันนี้ ....
อารยธรรมตะวันตก ก็ให้ความสำคัญกับ ความเฉลียวฉลาด อย่างมากเช่นกัน โดยเฉพาะในยุคกรีกเมื่อสองพันกว่าปีที่แล้ว ซึ่งทำให้เราในวันนี้ได้รู้จักกับ นักคิด นักปราชญ์ อย่าง เพลโต, โซเครตีส, อาคีมีดีส , อริสโตเติ้ล ฯลฯ .... แต่ หลังจากโรมันขึ้นมามีอำนาจแทน ฝรั่งก็ยุ่งวุ่นวายกับการทหาร และการรบพุ่ง นานถึงพันกว่าปี !!! จนทำให้การศึกษาส่วนใหญ่ อยู่ภายใต้การควบคุมของศาสนจักร นานพันกว่าปี และผู้ที่จะได้เล่าเรียน ก็จะต้องเป็นนักบวชหรือพระต่อไปเท่านั้น
ดังนั้น ผู้ที่เฉลียวฉลาด แต่ไม่ต้องการเป็นพระ หรือนักบวช จึงเลือกที่จะรับการฝึกอาชีพในสาขาช่างต่างๆ หรือศิลปะแขนงต่างๆ แทน จนกระทั่งรัฐฯ เริ่มมีบทบาทมากขึ้นในเวลาที่บทบาทของศาสนจักรลดลง... มีการก่อตั้งโรงเรียน และมหาวิทยาลัย ที่ไม่ได้ถูกควบคุมโดยคริตสจักร มากขึ้น ความสำเร็จในการเรียน ก็ถูกใช้เป็นมาตรวัดความเฉลียวฉลาดมากขึ้นควบคู่ไปกับ ความสำเร็จในอาชีพการงานในแขนงต่างๆ
ดังนั้น ผู้ที่เฉลียวฉลาด แต่ไม่ต้องการเป็นพระ หรือนักบวช จึงเลือกที่จะรับการฝึกอาชีพในสาขาช่างต่างๆ หรือศิลปะแขนงต่างๆ แทน จนกระทั่งรัฐฯ เริ่มมีบทบาทมากขึ้นในเวลาที่บทบาทของศาสนจักรลดลง... มีการก่อตั้งโรงเรียน และมหาวิทยาลัย ที่ไม่ได้ถูกควบคุมโดยคริตสจักร มากขึ้น ความสำเร็จในการเรียน ก็ถูกใช้เป็นมาตรวัดความเฉลียวฉลาดมากขึ้นควบคู่ไปกับ ความสำเร็จในอาชีพการงานในแขนงต่างๆ
ส่วนในยุคใหม่ของพวกเรา เมื่อร้อยกว่าปีที่แล้ว นักสถิติชาวอังกฤษ ฟรานซิส กาลตัน (Francis Galton) ได้เสนอความคิดว่า ลักษณะบางอย่างของคนเราอย่างเช่น รีเฟล็กซ์ หรือความว่องไว ของการตอบสนองของประสาทอัตโนมัติ ขนาดของหัว ความแข็งแรงของมือ ฯลฯ ซึ่งเป็นลักษณะทางกรรมพันธุ์ เป็นสิ่งกำหนดความเฉลียวฉลาด และใช้วิธีทางสถิติหาความสัมพันธ์ ระหว่างลักษณะเหล่านี้ กับความเฉลียวฉลาด ซึ่งเราคงเดาได้ไม่ยากว่า ความพยายามนี้จะสำเร็จหรือล้มเหลว ... ???
อย่างไรก็ตาม นี่คือจุดเริ่มต้นของ วิชา Psychometrics ซึ่งเป็นสาขาวิชา ที่เฉพาะเจาะจงของจิตวิทยา โดย เป็นการศึกษาการวัดลักษณะทางจิต/ความคิด เช่น การเสพติดต่างๆ ความกลัว และอื่นๆ รวมทั้งความเฉลียวฉลาดด้วย ....
หลังจากนั้น นักจิตวิทยาฝรั่งเศส อัลเฟรด บิเนต์ (Alfred Binet) และคณะ ได้พยายามพัฒนาข้อสอบที่วัดความสามารถทางการพูด(ภาษา) ของเด็ก เพื่อใช้ประเมินว่า เด็กคนไหนมีสติปัญญาตํ่ากว่าปกติ โดยนำผลการทดสอบไปเปรียบเทียบกับเด็กที่อายุเท่ากัน เช่น หากทดสอบกับเด็กอายุ 6 ขวบคนหนึ่งและได้คะแนนเท่ากับค่าเฉลี่ยของเด็ก 6 ขวบที่เคยทดสอบ ก็จะถือว่า เด็กคนนั้นมีสติปัญญาปกติ โดยจะไม่พิจารณาคะแนนที่ได้สูงกว่าค่าเฉลี่ย .... ซึ่งบิเนต์ก็รู้ดีว่า ข้อสอบของตนมีจุดอ่อน แต่ก็ไม่มีโอกาสได้แก้ไขอะไร หนำซํ้า ฝั่งนักจิตวิยาของสหรัฐฯ ชื่อ ลิวอิส เทอร์แมน (Lewis Terman) แห่งมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ยังเอาแนวคิดและสเกลการวัดมาดัดแปลง จนกลายเป็น การวัดความเฉลียวฉลาดใหม่ ชื่อ สแตนฟอร์ด-บิเนต์ (Stanford–Binet Intelligence Scales) ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายนานนับทศวรรษหลังจากนั้น
หลังจากนั้น นักจิตวิทยาฝรั่งเศส อัลเฟรด บิเนต์ (Alfred Binet) และคณะ ได้พยายามพัฒนาข้อสอบที่วัดความสามารถทางการพูด(ภาษา) ของเด็ก เพื่อใช้ประเมินว่า เด็กคนไหนมีสติปัญญาตํ่ากว่าปกติ โดยนำผลการทดสอบไปเปรียบเทียบกับเด็กที่อายุเท่ากัน เช่น หากทดสอบกับเด็กอายุ 6 ขวบคนหนึ่งและได้คะแนนเท่ากับค่าเฉลี่ยของเด็ก 6 ขวบที่เคยทดสอบ ก็จะถือว่า เด็กคนนั้นมีสติปัญญาปกติ โดยจะไม่พิจารณาคะแนนที่ได้สูงกว่าค่าเฉลี่ย .... ซึ่งบิเนต์ก็รู้ดีว่า ข้อสอบของตนมีจุดอ่อน แต่ก็ไม่มีโอกาสได้แก้ไขอะไร หนำซํ้า ฝั่งนักจิตวิยาของสหรัฐฯ ชื่อ ลิวอิส เทอร์แมน (Lewis Terman) แห่งมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ยังเอาแนวคิดและสเกลการวัดมาดัดแปลง จนกลายเป็น การวัดความเฉลียวฉลาดใหม่ ชื่อ สแตนฟอร์ด-บิเนต์ (Stanford–Binet Intelligence Scales) ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายนานนับทศวรรษหลังจากนั้น
ถึงตรงนี้ ใครที่สงสัยว่า อ้าววววว ??? ไหงถึงได้ทึกทักเอาว่า ความสามารถทางภาษาอย่างเดียว คือความเฉลียวฉลาด .... ไม่ต้องเป็นห่วงครับ พระเอกของเรากำลังจะโผล่มาแล้ว
ในขณะที่ฟากฝั่งของนักจิตวิทยา และนักสถิติ กำลังพยายามแข่งกันสร้างแบบทดสอบ และออกแบบข้อสอบมาตรฐานที่ใช้วัดความเฉลียวฉลาดที่แม่นยำ ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นๆ
ในปี ค.ศ. 1904 นักจิตวิทยาอเมริกัน ชาร์ล สเปียร์แมน (Charles Spearman) ก็ได้พัฒนาเทคนิคทางสถิติที่ภายหลังเรียกว่า Factor Analysis ซึ่งพิสูจน์ถึงความเชื่อมโยงความเฉลียวฉลาดของด้านที่สัมพันธ์กันได้ เช่น หากคนๆ หนึ่งรู้จักคำศัพท์มาก คนๆ นั้นก็จะมีทักษะในการอ่านสูงตามไปด้วย หรือคนๆ หนึ่งแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ได้เก่ง คนๆ นั้นก็จะสามารถคิดเป็นเหตุเป็นผลได้ดีด้วย (และกลับกัน)
ชาร์ล สเปียร์แมน ยังได้เสนอทฤษฏี General Intelligence หรือความเฉลียวฉลาดทั่วไป โดยใจความสำคัญคือ ความเฉลียวฉลาดทั่วไป เป็นรากฐานของความเฉลียวฉลาด เฉพาะทาง เช่นเดียวกับ ผู้ที่มีพื้นฐานของสมรรถภาพทางร่างกายที่ดี เช่น แข็งแรง อดทน คล่องตัว มีการทำงานร่วมกันของมือ (หรือขา) กับสายตาได้ จะสามารถถูกฝึกให้เป็นนักกีฬาต่างๆ เช่นนักวิ่ง นักบาสเกตบอล นักกระโดดสูง ฯ ที่เก่งได้ และใช้คำว่า G-factor เรียก ความเฉลียวฉลาด เป็นครั้งแรกในวงการวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาเรื่องนี้ ...
ชาร์ล สเปียร์แมน ยังได้เสนอทฤษฏี General Intelligence หรือความเฉลียวฉลาดทั่วไป โดยใจความสำคัญคือ ความเฉลียวฉลาดทั่วไป เป็นรากฐานของความเฉลียวฉลาด เฉพาะทาง เช่นเดียวกับ ผู้ที่มีพื้นฐานของสมรรถภาพทางร่างกายที่ดี เช่น แข็งแรง อดทน คล่องตัว มีการทำงานร่วมกันของมือ (หรือขา) กับสายตาได้ จะสามารถถูกฝึกให้เป็นนักกีฬาต่างๆ เช่นนักวิ่ง นักบาสเกตบอล นักกระโดดสูง ฯ ที่เก่งได้ และใช้คำว่า G-factor เรียก ความเฉลียวฉลาด เป็นครั้งแรกในวงการวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาเรื่องนี้ ...
แต่ปัญหาคือ ในเวลานั้น ยังไม่มีใครสามารถ วัดความเฉลียวฉลาดได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ ที่วัดๆกันตอนนั้น คือ ความเฉลียวฉลาด ทางภาษาเท่านั้น ...
หลังจากนั้น เหล่าผู้ที่ศึกษาเรื่องนี้ ก็ช่วยกันคิดว่า G-factor ของมนุษย์เรา ควรจะประกอบด้วยอะไรบ้าง
จนได้ข้อสรุป และเห็นพ้องต้องกันว่า G-factor ของมนุษย์เรา ประกอบไปด้วย ...
✓ ความสามารถในการคิดที่ยืดหยุ่นและหลากหลาย หรือ Fluid Reasoning
✓ ความรู้พื้นฐานที่หลากหลาย หรือ Knowledge
✓ ความสามารถในการแก้ปัญหาที่เกี่ยวกับจำนวน (ตัวเลข) หรือ Quantitative Reasoning
✓ ความสามารถในการแปลและเข้าใจข้อมูลจากการมองเห็นเพื่อใช้งาน หรือ Visual-Spatial Processing
✓ ความจำระยะสั้น อย่าง จำข้อความที่เพิ่งอ่านหรือได้ยิน จำข้อมูลตัวเลขที่เพิ่งเห็น เพื่อใช้ประกอบการแก้ปัญหา หรือ Working Memory
แล้วจากตรงนี้ ก็มีการสร้างข้อสอบมาตรฐานมากมายหลากหลายอีกครั้ง เพื่อใช้ทดสอบความเฉลียวฉลาดของมนุษย์ โดยเรียกว่า IQ Test ซึ่ง คำว่า IQ ย่อมาจาก Intelligence Quotient ซึ่งมาจากภาษาเยอรมัน Intelligenzquotient ซึ่งหมายถึง ความเฉลียวฉลาดของคนๆ หนึ่ง เมื่อเทียบกับประชากรทั้งหมด โดยที่ผลลัพธ์ของการทดสอบความเฉลียวฉลาด จะเชื่อมโยงโดนตรงกับ G-factor ที่กล่าวมาก่อนหน้านี้ ....
สิ่งสำคัญของ IQ Score ที่ต้องเข้าใจให้ถูกคือ คะแนนที่ได้จากการทดสอบ ไม่ใช่ความเฉลียวฉลาด ของผู้ที่ทดสอบ ไม่เหมือนกับ ส่วนสูง หรือ นํ้าหนัก ที่มีหน่วยวัด โดยไม่ขึ้นกับคนอื่นๆ แต่เป็นคะแนนที่สัมพันธ์และเปรียบเทียบกับความเฉลียวฉลาดของกลุ่มประชากรทั้งหมด ที่มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 100
ผู้ที่มีคะแนน IQ 160 ไม่ได้ฉลาดเป็น 2 เท่าของผู้ที่มีคะแนน IQ 80 แต่ถือว่า มีความเฉลียวฉลาดมากกว่าคน 99.9% (ดูจากแกนนอนของภาพประกอบได้เลยครับ)
ผู้ที่มีคะแนน IQ 160 ไม่ได้ฉลาดเป็น 2 เท่าของผู้ที่มีคะแนน IQ 80 แต่ถือว่า มีความเฉลียวฉลาดมากกว่าคน 99.9% (ดูจากแกนนอนของภาพประกอบได้เลยครับ)
ในปัจจุบัน เรามีข้อมูลของ IQ ของประชากรจำนวนมาก ซึ่งมากพอที่สามารถนำมาใช้สร้างกราฟการกระจายตัวของความเฉลียวฉลาดของประชากรโลกได้อย่างแม่นยำ ซึ่งก็คือภาพประกอบ ด้านล่าง
และเราสามารถอธิบายแบบง่ายๆได้ว่า....
ค่า IQ เฉลี่ยของประชากรโลก และประชากรใดๆ เท่ากับ 100
มีประชากรที่มีค่า IQ สูงกว่าค่าเฉลี่ย 1 Standard Deviation หรือ ระหว่าง 100 ถึง 115 ประมาณ 34%
มีประชากรที่มีค่า IQ สูงกว่าค่าเฉลี่ย 2 Standard Deviation หรือ ระหว่าง 115 ถึง 130 ประมาณ 14%
มีประชากรที่มีค่า IQ สูงกว่าค่าเฉลี่ย 3 Standard Deviation หรือ สูงกว่า ประมาณแค่ 2%
ส่วนด้านที่มีค่า IQ ตํ่ากว่าค่าเฉลี่ย ก็มีการกระจายตัวของประชากรเป็นไปตามนี้ โดยที่ใช้ค่า IQ เท่ากับ 85 และ 60 เป็นเส้นแบ่ง
จากข้อเท็จจริงนี้ เราสามารถแบ่งประชากรบนโลก (หรือในประเทศใดๆ) ตามความเฉลียวฉลาด หรือ คะแนน IQ ได้เป็น 4 กลุ่มใหญ่ๆคือ





จากข้อเท็จจริงนี้ เราสามารถแบ่งประชากรบนโลก (หรือในประเทศใดๆ) ตามความเฉลียวฉลาด หรือ คะแนน IQ ได้เป็น 4 กลุ่มใหญ่ๆคือ
1. สติปัญญาเฉลียวฉลาดมาก (IQ > 130) มีประมาณ 16% ของประชากร
2. สติปัญญาเฉลียวฉลาด (100< IQ <130) มีประมาณ 34% ของประชากร
3. สติปัญญาไม่เฉลียวฉลาด (85< IQ <100) มีประมาณ 34% ของประชากร
4. โง่ (IQ <85) มีประมาณ 16% ของประชากร
ถึงตรงนี้ เรารู้และเข้าใจแล้วว่า ความเฉลียวฉลาดคืออะไร ประกอบด้วยอะไรบ้าง และสามารถวัดได้อย่างไร ใครฉลาด ใครไม่ฉลาด ในตอนต่อๆ ไปจะมาบอกว่า ความเฉลียวฉลาดมีผลอะไรบ้างต่อชีวิตของมนุษย์เรา
บทความโดย : Sompob Pordi
หากใครยังไม่เคยทำแบบทดสอบ IQ แล้วสนใจอยากลองทำบ้าง สามารถกูเกิลหาได้ง่ายๆ จากคำว่า IQ Test หรือ ทดสอบไอคิว ( แนะนำว่าใช้ภาษาไทย จะดีกว่า หากไม่ชอบภาษาอังกฤษ)
ความเฉลียวฉลาด (Intelligence) เป็นส่วนผสมทางชีววิทยา และประสบการณ์ชีวิต หากตั้งใจ หากทำเป็น สร้างเสริมได้ เพิ่มพูนได้ พัฒนาได้ .... และเมื่อเฉลียวฉลาดแล้ว โลกทัศน์จะต่างจากคนทั่วไป จะเห็นสิ่งต่างๆ ได้ชัดเจนกว่า จะเห็นโอกาส และจะมีทางเลือกมากกว่า และสามารถจะใช้โอกาสและทางเลือกที่ดีกว่าเพื่อประโยชน์ของตนเอง ครอบครัว และสังคม ได้แน่นอนครับ !!!
ไอคิวโดยเฉลี่ยของคนเท่ากับ 100 คุณเคยสงสัยไหมว่าไอคิวของคุณเท่ากับเท่าใด? ทำแบบทดสอบไอคิวของเราและรู้ถึงระดับสติปัญญาของคุณตอนนี้!
การทำแบบทดสอบนี้ไม่คิดค่าใช้จ่าย คลิ๊กเลย >> https://th.iq-test.cc/
- ความเฉลียวฉลาด (Intelligence) รวมทุกตอน >> คลิ๊กที่นี่
ใครที่สนใจ ที่มีเวลา โดยเฉพาะ คนที่ยังมีลูกหลานเล็กๆ ผมแนะนำสุดใจครับ เพราะจะเป็นประโยชน์แน่นอน
ความเฉลียวฉลาด (Intelligence) เป็นส่วนผสมทางชีววิทยา และประสบการณ์ชีวิต หากตั้งใจ หากทำเป็น สร้างเสริมได้ เพิ่มพูนได้ พัฒนาได้ .... และเมื่อเฉลียวฉลาดแล้ว โลกทัศน์จะต่างจากคนทั่วไป จะเห็นสิ่งต่างๆ ได้ชัดเจนกว่า จะเห็นโอกาส และจะมีทางเลือกมากกว่า และสามารถจะใช้โอกาสและทางเลือกที่ดีกว่าเพื่อประโยชน์ของตนเอง ครอบครัว และสังคม ได้แน่นอนครับ !!!