"ความเฉลียวฉลาด" คือ ....
ความสามารถ ในการคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผล ในการวางแผน ในการแก้ปัญหา ในการคิดเชิงนามธรรม ในการเข้าใจเรื่องราวที่ซับซ้อนยุ่งยาก ในการประเมินและเข้าใจสถานการณ์ ในการตัดสินใจเลือก การเรียนรู้ ในการจำ ในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ในการประยุกต์ดัดแปลง ฯลฯ ซึ่งดูเหมือนว่าครอบคลุมแทบทุกสิ่งทุกอย่างแล้ว ....ถ้าเราเอาสิ่งที่กล่าวมาข้างต้น จากในย่อหน้าที่แล้ว มาค่อยๆ พิจารณาอย่างละเอียด ทั้งหลายทั้งปวงล้วนแต่มีรากฐานมาจาก "ความสามารถทางภาษา" ที่ทำให้เข้าใจนามธรรมและประมวลข้อมูลต่างๆ ความสามารถทางคณิตศาสตร์ ซึ่งคือตรรกะเหตุผล และ ความสามารถในการมองเห็น (คาดการณ์) รูปแบบของผลลัพธ์จากสาเหตุที่ต่างกัน ความจำ ความใส่ใจในรายละเอียด และความรวดเร็วแม่นยำของความสามารถที่กล่าวมา ...
แต่ในยุคปัจจุบัน มีความพยายามทำให้ความหมาย และคำจำกัดความของ ความเฉลียวฉลาด ยุ่งยากซับซ้อน ขึ้นไปอีกด้วยการเอาคำอย่าง Emotional หรือทางอารมณ์ อย่าง Social หรือทางสังคม อย่าง Moral หรือทางศีลธรรม มาพ่วง มาเกาะเกี่ยว แล้วอธิบายเรื่องง่ายๆให้ยากขึ้นเพื่อประโยชน์ทางการค้า หรือประโยชน์อย่างอื่น .... ??!! แต่หากเราเล็งดูให้ดีๆ ความเฉลียวฉลาด ที่แยกแขนงออกมาดังกล่าว ก็มาจาก ความเฉลียวฉลาดชั้นต้น
ดังนั้น ในโพสต์นี้ และต่อจากนี้จะไม่กล่าวถึงคำอย่าง EQ, SQ หรือ MQ ให้เสียเวลากับทุกฝ่าย
มีคำอีก 2 คำ ที่เกี่ยวข้องกับ ความเฉลียวฉลาด ที่เราควรต้องรู้จักเอาไว้ เพราะจะทำให้เราเข้าใจในเรื่องนี้ได้ดียิ่งขึ้น นั่นก็คือ ....
- Crystallized Intelligence หรือ ความเฉลียวฉลาด ที่เกิดจาก ความรู้และประสบการณ์ ที่มีเช่น ความเฉลียวฉลาดทางภาษา ความเชียวชาญทางอาชีพการงาน ความเฉลียวฉลาดทางวิชาการ และการนำความรู้มาประยุกต์ใช้งาน
- Fluid Intelligence หรือความเฉลียวฉลาดในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ในการประเมินสถานการณ์ ในการแก้ปัญหา ในการตัดสินใจ และความคิดสร้างสรรค์ ...
โดยที่ความเฉลียวฉลาดทั้งสองแบบนี้ ไม่ขึ้นต่อกัน กล่าวคือ หากมีอย่างหนึ่ง ก็ไม่จำเป็นที่จะมีอีกอย่างหนึ่ง แต่การมีอย่างหนึ่ง ก็ไม่เป็นข้อจำกัด ที่จะทำให้ไม่มีอีกอย่างหนึ่ง หรือแปลเป็นภาษาคนง่ายๆ ก็คือ ในกลุ่มของผู้ที่เฉลียวฉลาด บางคนมีอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือบางคนอาจมีทั้งสองอย่าง ....
การศึกษาค้นคว้าเรื่อง ความเฉลียวฉลาด ในโลกตะวันตก เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนทางการเมืองมากถึงมากที่สุด .... เพราะไปขัดแย้งกับรากฐานของความเชื่อทางการเมืองที่ว่า All men are created equal หรือ มนุษย์ทุกคนเท่าเทียมกัน โดยเฉพาะในสหรัฐฯ ที่ผู้คนถูกทำให้เชื่อว่า If you tried hard enough, you can be successful หรือ หากพยายามมากพอ ก็จะประสบความสำเร็จได้ ??!!
( ภายหลังผิดเพี้ยนไปเป็น If you tried hard enough, you can be anything หรือ หากพยายามมากพอ ก็สามารถเป็นอะไรก็ได้ ซึ่งไม่เป็นความจริงแน่นอน !!!!
หากไม่เชื่อก็ลองคิดกันดูว่า นักมวยตัวโตๆ อย่าง ไมค์ ไทสัน อยากจะเป็นนักฟิสิกส์ อย่าง อัลเบิร์ต ไอสไตน์ หรือ อยากเป็นนางเอกหนัง อย่าง จูเลีย โรเบิร์ต ... เขาจะทำได้รึไม่ ? )
"นักเรียนผิวสี เรียนได้ไม่ดีเท่านักเรียนผิวขาวอย่างมีนัยสำคัญ" ??!!
โดยผู้ที่คิด และสนับสนุนโครงการนี้ เชื่อว่าเป็น ฐานะทางเศรษฐกิจ และสังคมของครอบครัว ทำให้เด็กนักเรียนผิวสี เสียเปรียบ ซึ่งหากชดเชยด้วยการให้ได้เรียนพิเศษ เพื่อกระตุ้นความเฉลียวฉลาด ตั้งแต่อายุน้อยๆ ในที่สุด เด็กผิวดำก็จะสามารถเรียนได้ดีไม่ต่างจากเด็กผิวขาว
.... แต่คนคำนวณมิสู้ฟ้าลิขิต
.... แต่คนคำนวณมิสู้ฟ้าลิขิต
ศจ.อาเธอร์ เจนเซน ได้นำเอาข้อมูลผลการเรียนของเด็กนักเรียนผิวดำ ที่ถูกเก็บบันทึกกว่า 20 ปี มาวิเคราะห์ด้วยวิธีการทางคณิตศาสตร์ และได้พบว่า นักเรียนผิวสีที่เข้าเรียนโครงการ Compensatory education มีผลการเรียนที่ดีขึ้นมากในชั้นประถมต้นจริง แต่ในชั้นที่สูงขึ้นๆ หลังจากนั้น ผลการเรียนก็จะกลับไปเป็นเหมือนเดิมคือ เรียนได้แย่กว่านักเรียนผิวขาว ??!! และในระดับมัธยม ผลการเรียนของนักเรียนผิวสีทั้งที่เข้า และไม่เข้าโครงการ ก็ไม่มีความแตกต่างกันแต่อย่างใด ???
นอกจากนั้น สิ่งที่ทำให้งานวิจัยนี้และบทความที่ว่าของศจ.อาเธอร์ เจนเซน ถูกนักวิชาการที่สนับสนุนโครงการการศึกษาชดเชยสำหรับนักเรียนผิวสี รวมทั้งคนผิวสี โกรธแค้น เกลียดชัง คือความตรงไปตรงมาของประโยคแรกในบทความที่ว่า Compensatory education has been tried and apparently has failed ซึ่งแปลว่า การศึกษาชดเชยได้ถูกนำมาใช้ทดลอง และดูเหมือนว่า ล้มเหลวโดยสิ้นเชิง
นอกจากนี้ งานวิจัยนี้ ยังถูกตีความผิดๆ ไปว่า ผู้ทำวิจัยมีอคติ และความเชื่อว่า เชื้อชาติ (ผิวสี) มีผลต่อความเฉลียวฉลาด และพยายามกดขี่คนผิวสี ???!! ซึ่งไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด ก็มีงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ในภายหลังมากมายที่ยืนยันว่า พันธุกรรมเป็นปัจจัยสำคัญ ที่มีผลส่วนใหญ่กว่า 80% ต่อความเฉลียวฉลาดของมนุษย์ ตามผลสรุปของ ศจ.อาเธอร์ เจนเซน ที่ว่า general cognitive ability is essentially an inherited trait ซึ่งแปลว่า ความเฉลียวฉลาดเป็นลักษณะทางพันธุกรรมอย่างแน่นอน ...
อุทาหรณ์จากเรื่องนี้ คือ คนที่เฉลียวฉลาด พึงระลึกเอาไว้ว่า "คนโง่เง่ามักจะเกลียดและกลัวข้อเท็จจริงที่ว่า พวกตนโง่เง่า !!!
หลังจากนั้น การศึกษาในเรื่องนี้ ก็เป็นที่ยอมรับมากขึ้น แต่การเผยแพร่ผลงาน ก็ยังต้องทำด้วย "ความระมัดระวัง" เพราะสาธารณชน จะไม่สามารถยอมรับข้อเท็จจริงที่ว่า ....
"มนุษย์เรามีความเฉลียวฉลาดไม่เท่ากัน และความเฉลียวฉลาดถ่ายทอดได้ทางพันธุกรรม"
ซึ่งก็แปลกดี แต่มนุษย์เรากลับยอมรับได้ว่า .... รูปร่างหน้าตา อย่างเช่น ความสูง ความสวย (หล่อ) รวมถึงโรคบางชนิด ก็ถ่ายทอดได้ทางพันธุกรรมเช่นกัน ???!!
บทความโดย : Sompob Pordi
- ความเฉลียวฉลาด (Intelligence) รวมทุกตอน >> คลิ๊กที่นี่
ใครที่สนใจ ที่มีเวลา โดยเฉพาะ คนที่ยังมีลูกหลานเล็กๆ ผมแนะนำสุดใจครับ เพราะจะเป็นประโยชน์แน่นอน
ความเฉลียวฉลาด (Intelligence) เป็นส่วนผสมทางชีววิทยา และประสบการณ์ชีวิต หากตั้งใจ หากทำเป็น สร้างเสริมได้ เพิ่มพูนได้ พัฒนาได้ .... และเมื่อเฉลียวฉลาดแล้ว โลกทัศน์จะต่างจากคนทั่วไป จะเห็นสิ่งต่างๆ ได้ชัดเจนกว่า จะเห็นโอกาส และจะมีทางเลือกมากกว่า และสามารถจะใช้โอกาสและทางเลือกที่ดีกว่าเพื่อประโยชน์ของตนเอง ครอบครัว และสังคม ได้แน่นอนครับ !!!