ค้นหาบทความ 🙄





11/20/67

บทรีวิว หนังสือ “ความจริงที่ไม่มีใครพูด กรณีสวรรคต ร.8”

     ผมได้รับหนังสือ “ความจริงที่ไม่มีใครพูด กรณีสวรรคต ร.8” มาอย่างตั้งใจ พร้อมกับอ่านรวดเดียวจบในทันที !!!  .... ในหลายประเด็นผมยังจับต้นชนปลายได้ไม่ดีนัก เหตุเพราะได้ออกห่างวงการประวัติศาสตร์การเมืองไปเสียนาน  แต่จากการลดความสปีดในการอ่านลงมา  ผมจึงค่อยๆ ละเลียดประเด็นที่ผู้เขียนทั้งสองท่านตั้งใจจะสื่อ ....



     เพื่อเอามาบอกกล่าวกันอย่างกระชับว่า หนังสือฉบับนี้น่าสนใจอย่างไร ? 

   นอกจากนั้น ผมพบว่า  กระแสการตามหาหนังสือเล่มนี้  ค่อนข้างคึกคักในฝ่ายขวา !!! แต่น่าเสียดายที่กลับเงียบเชียบในนักประวัติศาสตร์การเมืองฝั่งซ้าย ?? 

   ความเป็นไปดังกล่าว ไม่ได้ผิดคาดมากนัก เพราะกลุ่มคนเหล่านี้ ( 
นักประวัติศาสตร์การเมืองฝั่งซ้าย)   ไม่ถนัดในการใช้ตรรกะที่แข็งแรงในการโต้แย้ง ...

   การปรากฏขึ้นมา  ของหนังสือวิชาการดีๆ  สักเล่มหนึ่ง ที่มีสมมติฐานหักล้างความเชื่อของตนเอง หนังสือนั้นจึงย่อมถูกเมินเฉยเป็นปกติ ...  เนื่องจากพวกเค้ามักจะถูกใจกับการบอกเล่าประวัติศาสตร์แบบวับๆ แวม ๆ จากบรรดานักวิชาการเฉพาะคน ที่ตัวเองชื่นชอบเท่านั้น !!?? 

   โดย การบอกเล่าดังกล่าว มักจะไม่ได้เป็นไปตามเอกสารชั้นต้น หรือหลักฐานเชิงประจักษ์ หรือ แม้กระทั่งมุมมองอื่นๆ  .... พวกเค้าด้อยปัญญา ไม่รู้จักวิธีการใช้เหตุผล ขาดทักษะการอ่าน ขาดทักษะการค้นคว้า เพื่อให้ได้หลักฐานเชิงประจักษ์   

ดังนั้น ..... นิยาย ข่าวลือ เรื่องราวของการจับแพะชนแกะ ของเหล่าอาชญากรวิชาการ ย่อมเป็นอะไรที่ย่อยง่ายมากกว่า .... 

    พลเมืองด้อยปัญญา เหล่านี้ หากได้อ่านหนังสือเล่มนี้แล้ว การตั้งธงว่า “ไม่เชื่อ” ล้วนถูกต้องตามหลักกาลามสูตร ...
    แต่ หากจะต้องการความงอกเงยทางปัญญา พลเมืองเหล่านี้  ควรต้องรู้จัก การตั้งคำถาม แกะรอย ค้นคว้าหาความจริง และเรียนรู้วิธีการใช้เหตุผลจากการวิเคราะห์เอกสารชั้นต้นของผู้เขียนทั้งสองท่านด้วย
....  นั่น.. จะยิ่งทำให้ พลเมืองเหล่านี้มีความเจริญก้าวหน้าทางสติปัญญามากขึ้น ...

      ในส่วนของตัวอย่างสาระสำคัญของหนังสือ มีหลายประเด็นน่าสนใจ เช่น ....

  • " จากคู่มือข่าวลวงของสหรัฐ สู่กรณีสวรรคต "
      บทนี้  ว่าด้วยมุมของการเมืองโลก ที่มีผลกระทบต่อการเมืองภายในประเทศไทย ณ ช่วงเวลาที่เกิดกรณีสวรรคต  บทบาทและอำนาจของสหรัฐอเมริกา จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายปรีดี พนมยงค์ พลตำรวจเอกเผ่า ศรียานนท์ ที่ต่างล้วนมีอิทธิพลต่อความเป็นไปของสถานการณ์ทางการเมืองประเทศไทยในช่วงเวลานั้น
... ผิดกับ พระราชอำนาจของในหลวงรัชกาลที่ 9 ในฐานะที่เป็นพระมหากษัตริย์อายุเพียง 19 ปี เท่านั้น ..!? 

     หากแม้พระองค์จะพอมีบทบาทบ้าง ณ เวลานั้น ก็โดยความสนับสนุนของสหรัฐอเมริกา ที่มีวัตถุประสงค์ในการทำสงครามจิตวิทยา ในการต่อต้าน ลัทธิคอมมิวนิสต์ 

     บทบาทของแต่ละผู้เล่นเหล่านี้ ย่อมบ่งชี้ได้อย่างชัดเจนว่า .... 

     กรณีสวรรคตเป็นเครื่องมือทางการเมืองที่เหล่าผู้มีอำนาจบารมี ในแต่ละฝ่าย  นำมารับใช้ผลประโยชน์ทางการเมืองของตนเอง !!! 

     เอกสารสำคัญชิ้นหนึ่ง  ที่ผู้เขียนใช้นำมาอ้างอิง เป็นเอกสารชั้นต้นที่น่าสนใจคือ  

"...Thailand’s secret War : OSS, SOE and Free Thai underground during World War II ... "    ที่เขียนโดย E.Bruce Reynolds 

      ซึ่งแน่นอนว่า เอกสารชิ้นนี้ เป็นหนึ่งในเอกสารสำคัญ ที่แสดงให้เห็นว่า สถานการณ์ความยุ่งเหยิงวุ่นวายของการเมืองไทย ในช่วงสภาวะสงครามโลกครั้งที่ 2 นั้น  สิ่งที่ส่งผลโดยตรงไม่มากก็น้อย นั่นคือ “การข่าว” ของสหรัฐอเมริกา นั่นเอง ....

น่าเสียดายที่   นักวิชาการผู้จุดประกายกรณีสวรรคตขึ้นมา ในยุคหลัง  อย่าง สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ไม่ได้ให้ความสำคัญกับบริบทเหล่านี้มากนัก .... 
 แต่กลับหมกหมุ่นอยู่กับคดีฆาตกรรมในห้องแคบ จนเกิด Early War ( ถ้าจะเรียกแบบนั้น )   (เฉลียง/ระเบียง)  อย่างดุเดือด กับตัวผมเอง เมื่อหลายปีมาแล้ว (ถ้าใครยังจำกันได้) 

บทต่อมา  “ในวันวิปโยค และการคุกคามรัชกาลที่ 9”   ก่อนกระแส “ปรีดีฯฆ่าในหลวง” และ “น้องฆ่าพี่” ผู้เขียน  ใช้เอกสารอ้างอิงที่น่าสนในคือ หนังสือเรื่อง “แฟ้มการเมือง” ที่เขียนโดย ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช นายกรัฐมนตรีของประเทศไทย คนที่ 6 หัวหน้าเสรีไทย สายสหรัฐอเมริกา ที่บอกเล่าว่า   ในหลวงรัชกาลที่ 9 ถูกเจ้าพนักงานตำรวจสอบสวนในลักษณะคุกคาม ... ?!??!

         ใช่ครับ !!!! เราอ่านไม่ผิด  “ ในหลวงรัชกาลที่ 9 ถูกตำรวจสอบสวนในลักษณะคุกคาม” !!!!

    อีกทั้ง รัฐมนตรีท่านหนึ่ง ที่ใกล้ชิดนายปรีดีฯ ได้แถลงแก่หนังสือพิมพ์ ด้วยการให้สัมภาษณ์ทำนองว่า เหตุการณ์สวรรคต “เป็นเรื่องที่แล้วมาแล้ว โทษใครไม่ได้ ขอให้เป็นเรื่องที่แล้วกันไป”  

    สิ่งเหล่านี้ บ่งชี้ได้อย่างชัดเจนว่า การที่พระมหากษัตริย์สวรรคตทั้งพระองค์ แต่นักการเมืองกลับบอกต่อสาธารณะว่า  “ให้แล้วๆกันไป”  นั้น สถานะความสั่นคลอน ของสถาบันพระมหากษัตริย์ และพระราชอำนาจของในหลวงรัชกาลที่ 9 มีมากน้อยเพียงใด ...

ผู้ที่อ่านหนังสือเล่มนี้  คงใช้วิจารณญาณตัดสินใจเอาเองได้ไม่ยาก ...


.... ข้อเด่นของหนังสือฉบับนี้อีกประการหนึ่ง คือ ....

      การไล่เรียงเส้นเวลา และการ "ขยี้" เหตุผลจากข้อเท็จจริง และนำมาวิเคราะห์ ถึงความเป็นไปได้ของการกระทำจากบุคคลนั้นๆ  ....  เช่น

  •      ..... กรณีหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์  ที่ข้อเท็จจริงนี้ สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ได้เคยนำมาตั้งประเด็นเขียนบทความเผยแพร่  มีการถมดำข้อความ จนผู้อ่านต่างตาลุกวาว กันยกใหญ่ และหากเปิดเผยข้อความจากการถมดำแล้ว ความจริงจะเป็นอย่างไรกันแน่ ข้อเท็จจริง (fact) ที่ว่า  “ใคร พูดอะไร” จะกลายมาเป็นความจริง (truth) หรือไม่ ? 
      ในทางกลับกัน การใช้เหตุผลไล่เรียงของ จิรวุฒิฯ และจิตรากรฯ ก็หักล้างไว้อย่างน่าชื่นชม หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ เป็นตัวละครหลักที่สำคัญในขณะนั้น ที่มีการขยับตัวแต่ละครั้ง ย่อมเล็งเห็นผลทางการเมืองไม่ว่าทางใดก็ทางหนึ่ง 

       จิรวุฒิฯ และจิตรากรฯ อ้างเอกสารทางการทูตของสหรัฐอเมริกา (Stanton to Secretary of State, 16 November 1947) ที่ระบุทั้งประเด็นการมองข้ามข้อกล่าวหาที่ว่า  .... " พระอนุชาทรงเป็นผู้สังหารพระเชษฐา ...."  แต่เอกสารทางการทูตไปให้ความสำคัญกับประเด็นพระองค์เจ้าจุมภฎฯ ที่จะขึ้นมาเป็นพระมหากษัตริย์แทนด้วยเหตุผลบางประการ โดยจิรวุฒิฯ และจิตรากรฯ นำเสนอว่า รายงานทางการทูตนี้  “ผิดคาด และเต็มไปด้วยสิ่งเหลือเชื่อ”  เพราะบทสรุปในการวิเคราะห์ในเอกสารทางการทูตนั้น “ผู้รายงานกลับมีท่าทีฟังหูไว้หู” ?! 

และยังสำทับประกอบรายงานด้วยว่า ....  “น่าจะเป็นเกมส์การเมืองของไทย” มากกว่าจะเป็นเรื่องที่จะมาสนใจว่า ใครอยู่เบื้องหลังการสวรรคตของในหลวงรัชกาลที่ 8  

      จริงๆ การบดขยี้ข้อเท็จจริงเหล่านี้  เพื่อนำมาวิเคราะห์กับท่าทีของตัวละครแต่ละรายในช่วงเวลานั้น จึงมีข้อบ่งชี้ออกมาได้ไม่ยากว่า   นักการเมืองแต่ละฝ่ายมีการป้ายสีกันไปมา โดยใช้สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นเครื่องมือ ....

พลตำรวจเอกเผ่า ศรียานนท์ ก็เป็นอีกตัวละครสำคัญที่ถูก จิรวุฒิฯ และจิตรากรฯ ดึงขึ้นชำระล้างวีรกรรมด้วย

      นี่ไม่ใช่เรื่องที่ว่าด้วย “การขุดศพ” หรือประเด็น “คนตายไม่อาจพูดหรือโต้แย้ง” ....

      แต่สิ่งที่เผ่าฯ กระทำ  ได้ถูกบันทึกไว้ให้เป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์แล้ว หากการนำเสนอของ Willian Stevenson ผ่าน The Revolutionary King เป็นสิ่งที่ต้องเอามารับฟัง อย่างน้อยถือว่า เผ่าฯ เป็นหนึ่งในตัวละครทางประวัติศาสตร์ที่มีบทบาทสำคัญในการสร้าง รักษาความคลุมเครือ และเผยแพร่ข่าวลือเพื่อทำลายพระเกียรติยศของในหลวงรัชกาลที่ 9 ผ่านกรณีสวรรคตเพียงเพราะผลประโยชน์ทางการเมืองของตัวเองและพวกพ้อง ....

      วีรกรรมของเผ่าฯก็ควรต้องถูกบันทึกไว้ในหน้าประวัติศาสตร์ด้วย และตลอดไป ....

     คำพูดที่ว่า "หากนักข่าวต้องการรู้ความจริง เกี่ยวกับกรณีสวรรคต ควรไปถามพระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลปัจจุบัน" ของ พูนศุข พนมยงค์ เป็นการเคลื่อนไหวทางการเมืองแทนปรีดีฯ ในฐานะภรรยาที่แสนดี

    ประเด็นนี้  ถูกนำมาเผยแพร่ทั่วไปอย่างคึกคักในโลกออนไลน์เมื่อหลายปีก่อน แต่ จิรวุฒิฯ และจิตรากรฯ ได้ค้นคว้าจนได้ข้อโต้แย้งว่า การกระทำของพูนศุขฯ นั้น เป็นการพยายามประสานไตรภาคี ทั้ง ปรีดีฯ จอมพล ป. และ เผ่าฯ เพื่อสนับสนุนให้ปรีดีฯกลับประเทศไทย ....

   ข้อเท็จจริงนี้   ก็สอดคล้องกับรายงานทางการทูตต่างๆของสหรัฐฯด้วย พูนศุขฯ  คาดการณ์ว่า บทสัมภาษณ์ดังกล่าว จะลงเผยแพร่ในหนังสือพิมพ์ The Observer ที่เปรียบเสมือนการนำข่าวลือ “น้องฆ่าพี่” มารื้อฟื้นให้เกิดกระแสในทางลบต่อในหลวงรัชกาลที่ 9

   แต่สุดท้าย จากเอกสาร FO 371/1/129653 From Bangkok to Foreign Office 15 May 1957 ที่ จิรวุฒิฯ และจิตรากรฯ ค้นคว้า พบว่า เมื่อ Rawle Knox ได้มีโอกาสพูดคุยกับสถานทูตอังกฤษในเชิงลึก
เขาอาจพบความจริงว่า การตกเป็นเหยื่อของขบวนการช่วยเผยแพร่ข่าวลือ ต่อต้านสถาบันพระมหากษัตริย์ไทยเช่นนี้ ย่อมไม่เป็นผลดีต่อตัวเขาหรือใครทั้งสิ้น (โดยเฉพาะอังกฤษ) การหนังสือพิมพ์ The Observer จึงตัดสินใจไม่เผยแพร่บทความหรือบทสัมภาษณ์ดังกล่าว ...

       แน่นอนว่า ประเด็นนี้ยังถูก “ณัฐพล ใจจริง” นำไปอ้างใน "การเมืองไทยสมัยรัฐบาลจอมพล ป พิบูลสงคราม ภายใต้ระเบียบโลกของสหรัฐอเมริกา (พ.ศ. 2491-2500)", วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553, หน้า 218 ด้วย  ปรากฏข้อเท็จจริงด้วยว่า ณัฐพลฯ อ้างกับ สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ว่า “รายงานของทูตอังกฤษ อ้างถึงคำสัมภาษณ์ที่ตีพิมพ์ไปใน The Observer แล้ว”

      นี่คือตัวอย่างที่ชัดเจน ในการทำงานของ การใช้ข่าวลือ "มาฟอกขาว" ให้เป็นงานวิชาการ  ?? และที่หนักหนาสาหัสที่สุดของงานวิชาการเหล่านี้  (ถ้าจะเรียกแบบนั้น)  คือ การใช้ข่าวลือ เขียนในงานวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก ของมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศ ที่มีการอนุมัติวุฒิปริญญามาแล้ว .... !!! 

      หากข้อด้อยของหนังสือเล่มนี้จะมี   ก็จะเป็นประเด็นเนื้อหาที่ลึก และความเป็นวิชาการโดยแท้ อาจจะเป็นอุปสรรค สำหรับผู้ที่เพิ่งเริ่มสนใจกรณีสวรรคตอยู่บ้าง ที่จะทำให้ปะติดปะต่อเรื่องราว ได้ไม่แม่นยำนัก
...  เนื่องจาก   กรณีสวรรคตเป็นเรื่องที่ข้อเท็จจริง มีความยุ่งเหยิง และความซับซ้อน อยู่ในตัวเอง พอสมควรอยู่แล้ว ทั้งซับซ้อนในแง่ข้อกฎหมาย วิธีพิจารณาความ ข้อเท็จจริง ของเหตุการณ์ วันเกิดเหตุ ข้อเท็จจริงของเหตุการณ์หลังจากนั้น และในแง่ข้อเท็จจริงทางการเมืองทั้งไทย และต่างประเทศ ...

     อย่างไรก็ดี ความลึก และอ่านยากของหนังสือเล่มนี้ ก็มิใช่ความผิด ของทั้งจิรวุฒิฯ และจิตรากรฯ แต่อย่างใด ...

      ในทางกลับกัน เรากลับต้องชื่นชมผู้เขียนทั้งสองด้วยซ้ำ  ที่มีความกล้าหาญในมโนสำนึก และการทำงานอย่างหนักหน่วง ในการเขียนหนังสือ และบอกเล่าเรื่องราวที่ละเอียดอ่อนออกมาอย่างละมุนละม่อมแต่หนักแน่นและตรงไปตรงมา ...

      แม้ข้อเท็จจริงบางเรื่อง  อาจจะมีการระบุชื่อตัวละครอย่างชัดเจน แต่ก็เป็นการนำเสนอผ่านงานวิชาการอย่างชัดเจนโดยอาศัยเอกสารชั้นต้นเป็นหลัก ...

      บางท่าน อาจเจ็บปวดกับการที่บรรพบุรุษตนเอง ถูกกล่าวถึงอย่างเผ็ดร้อน แต่อย่างไรก็ดี มิใช่ เป็นการกล่าวหา อย่างเลื่อนลอยทั้งสิ้น ...

 กล่าวในที่สุด วัตถุประสงค์ของ จิรวุฒิฯ และจิตรากรฯ ชัดเจนว่า  ไม่ต้องการให้ผู้อ่าน ตีความข้อเท็จจริงที่มีอยู่ อย่างจำกัด  เพื่อนำมาใช้เป็นเครื่องมือของการเมือง  ไม่ต้องการส่งเสริม  ให้ใช้ความเชื่อ หรือใช้การเมืองเป็นเครื่องมือไปจัดการกับข้อเท็จจริง ....

      เนื่องจากปัจจัยเหล่านี้ จะปิดกันญาณวิทยา ของผู้อ่าน  ในการหาค้นคว้าหาความรู้  ในทางกลับกัน คือ การปล่อยให้หลักฐานชั้นต้น  ทั้งไทยและต่างประเทศได้  “พูด” ออกมาด้วยตัวของมันเอง โดยจะให้ความสำคัญกับ “วงจรข่าวลือ” ที่อุบัติขึ้น เพื่อสืบหาว่า  ข่าวลือแต่ละกระแส มีที่มาจากใคร และ มีจุดประสงค์ใด
... เมื่อผู้อ่านได้เปรียบเทียบการได้รับรู้  กรณีสวรรคต  เพื่อนำไปวิเคราะห์ด้วยตนเองว่า ระหว่าง การวิเคราะห์สถานการณ์จาก Outside in (แบบ Bird’s Eye View) กับ การวิเคราะห์สถานการณ์จากมุมมอง “ไก่จิกข้าวสาร” (Inside out)   ผู้มีสติปัญญาย่อมพิจารณาได้ว่า มุมมองแบบใดสร้างความงอกเงยทางปัญญาได้มากว่า
กัน

-- บทริวิวโดย : ธงรบ


หนังสือเล่มนี้   ไม่ได้ใส่ร้ายใคร .....
แต่เพียงมอบคืนความเป็นธรรม ให้
“เหยื่อพิษการเมือง” ณ ขณะนั้น
ได้นอนตายตาหลับทุกคน …
เพื่อที่ลูกหลานของเรา ที่อาจกำลังเข้าใจผิด
และออกไปกระทำผิดกฎหมาย
กลายเป็นเครื่องมือทางการเมือง
.... ให้คนบางกลุ่ม

  • หนังสือเล่มนี้ ....  ค้นคว้าหาข้อมูลเชิงลึกจากจดหมายเหตุต่างประเทศ มีการจัดระเบียบช่วงเวลาการสร้างข่าวลือ ข่าวเท็จ ทำให้เห็นถึงการไหลเวียนของข่าวปลอมจนกลายเป็นความจริงและการเลือกผลิตซ้ำๆ ผ่านสื่อที่เป็นเครื่องมือและสื่อที่อ่อนหัด-จนกลายเป็นความจริง- อย่า "กลัว" ที่จะอ่านหนังสือเล่มนี้อีกสักเล่ม
    -  ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร 




Admin Bee

สนับสนุน Misc.Today

นี่คือ ลิ้งค์พันธมิตร หรือที่เรียกว่า affiliate link ซึ่งหมายความว่า... หากคุณคลิ๊กลิ้งค์นี้ และซื้อผลิตภัณฑ์ อะไรก็ได้ ฉันจะได้ค่าคอมมิชชั่นเล็กน้อย สิ่งนี้จะช่วยสนับสนุนเว็บไซด์ และช่วยให้กำลังใจเราต่อไป


  ชาหมักคอมบูชะ Scoby doit  


 






 

คุณอาจสนใจ

5 บทความ ยอดนิยม ในรอบ 30 วัน

🟡 โพสต์แนะนำ

คริสเตียนไซออนนิสท์ คือใคร ? - Christian Zionist

ช่วงนี้ ผมติดตามหาข้อมูลเกี่ยวกับ อิสราเอล กับ ปาเลสไตน์ ครับ ส่วนใหญ่จะเป็นแนวประวัติศาสตร์เสียมาก เพราะผมมีความเชื่อส่วนตัวว่า การที่เราจะ...

Popular Posts

แนะนำหนังสือ


  BOOKs OF THE DAY








ผู้สนับสนุน







Xiaomi Kingsmith Walking Pad

 Xiaomi Kingsmith Walking Pad R1 Pro/ R2 ลู่เดิน/วิ่งไฟฟ้า พับเก็บได้ สำหรับการออกกำลังกายภายในบ้าน >> คลิ๊กดูเพิ่มอีก


ป้ายกำกับ / Tag labels

2475 (1) กฎหมาย (5) กฐิน (2) กรรม (5) กระเป๋า (3) กรุงเทพฯ (19) กรุงศรีอยุธยา (12) กล้องถ่ายภาพ (7) กลอน (4) กลาโหม (9) การเกษตร (7) การจัดเก็บ (3) การปกครอง (1) การเมือง (55) การศึกษา (131) กิจกรรมกลางแจ้ง (2) กีฬา (3) เกษตร (3) เกี่ยวกับสัตว์ (15) ไกลกังวล (1) ขงจื้อ (1) ขนม (2) ขอมไม่ใช่เขมร (6) ข้าว (3) ข่าวสาร (22) ขิง (1) เขมร (10) โขน (2) คณะราษฎร (11) คติธรรม (1) คนเล่านิทาน (15) ครัว (1) ครู (6) ความเชื่อ (12) ความรู้ (159) คอมมิวนิสต์ (34) คำภีร์ (2) คำสอน (11) เครื่องบิน (7) เงินตรา (4) จอมพล ป. พิบูล (1) จอมพล ป. พิบูลสงคราม (13) จีน (53) ช้าง (1) ชายแดนใต้ (5) ญี่ปุ่น (15) ดนตรีไทย (1) ดอกไม้ (1) เด็ก (5) เดนมาร์ก (1) ต้นไม้ (4) ตลาดนัด (1) ตำรวจ (2) เตา (1) เตือนภัย (17) แต่งงาน (1) ทรัพยากร (2) ทวิตเตอร์ (1) ทหาร (9) ท่องเที่ยว (28) ทะเล (3) ทัศนะ (51) ทำบุญ (5) ทำอาหาร (4) เทคโนโลยี (13) โทรศัพท์มือถือ (2) ธนบัตร (1) ธนาคาร (4) ธรณี (1) ธรรมชาติ (10) ธรรมในคำกลอน (1) ธรรมะ (6) ธรรมาธิปไตย (2) ธุรกิจ (10) นราธิวาส (3) นวดไทย (1) นักบิน (1) นักเรียน (4) นางใน (1) นาซี (1) นายกรัฐมนตรี (3) น้ำมัน (1) นิทานพื้นบ้าน (1) นิยาย (3) นิวเคลียร์ (1) เนปาล (1) แนะนำสินค้า (38) โนรา (1) ในหลวง ร.10 (1) ในหลวงรัชกาลที่ 9 (15) บริการ (3) บริหาร (3) บ่อน (1) บัตรเครดิต (2) บัตรประชาชน (1) บุคคล (42) บุญ (3) บุหรี่ (1) เบตง (1) แบรนด์ไทย (5) โบราณวัตถุ (13) โบราณสถาน (7) โบสถ์ (2) ประชาธิปไตย (54) ประท้วง (7) ประเทศไทย (178) ประธานาธิบดี (1) ประวัติศาสตร์ (150) ปรัชญาชีวิต (21) ปรีดี (2) ปลูกต้นไม้ (3) ปูติน (1) ผลไม้ (2) ผลิต (3) ผัก (1) ผิวสี (1) แผ่นดินไหว (1) ฝรั่งเศส (6) พม่า (6) พยาบาล (1) พระเจ้าตากสินมหาราช (2) พระนเรศ (1) พระพุฒาจารย์ (1) พระพุทธเจ้า (1) พระราชกรณียกิจ (4) พระสงฆ์ (10) พราหมณ์ (1) พิบูลสวัสดี (1) พิพิธภัณฑ์ (9) พุทธทาส (1) พุทธศาสนา (11) เพชรบุรี (3) เพลง (8) เพลงผ้า ปรพากย์ (1) แพทย์ (4) ฟาโรห์ (1) ไฟ (4) ไฟฉาย (1) ไฟฟ้า (1) ภัยพิบัติ (1) ภาคใต้ (6) ภาคอีสาน (1) ภาษา (10) ภาษิต (1) ภูเขาไฟ (1) ภูมิปัญญา (19) ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ (1) มวยไทย (5) มาเลเซีย (1) มุมไบ (2) มุสลิม (2) แม่ (1) ไม้ไผ่ (1) ยา (1) ยิว (3) ยูนนาน (1) เยาวชน (1) เยาวราช (1) รถเมล์ (3) รองเท้า (2) ระเบิด (3) รัชกาลที่ ๒ (1) รัชกาลที่ ๔ (3) รัชกาลที่ ๕ (7) รัชกาลที่ ๖ (1) รัชกาลที่7 (8) รัชกาลที่ ๘ (6) รัฐประหาร (7) รัสเซีย (12) ราชาศัพท์ (1) รามเกียรติ์ (1) เรือ (2) เรื่องเก่า (81) เรื่องเล่า (23) โรค (5) โรคระบาด (4) โรงงาน (1) โรงพยาบาล (10) โรงเรียน (16) โรฮิงญา (1) ลอนดอน (1) ละคร (1) ลัทธิ (2) ลัทธิมาร์กซ์ (3) ล้านนา (3) ลาว (4) ลิง (1) เลือกตั้ง (9) โลก (5) โลกร้อน (3) วัฒนธรรม (2) วัด (14) วันแม่ (1) วันสำคัญ (5) วิทยาศาสตร์ (9) วิทยุ (2) วิหาร (4) เวียดนาม (4) ไวรัล (1) ศัพท์ (1) ศาสนา (36) ศิริราช (5) ศิลปะ (5) ศิลปาชีพ (1) เศรษฐกิจ (3) สงขลา (1) สงคราม (50) สถานีรถไฟ (1) สนามบิน (2) สเปน (1) สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร (2) สมัยเมจิ (1) สยาม (13) สวนสนุก (1) สวิตเซอร์แลนด์ (2) สังคม (38) สำนวน (8) สิ่งประดิษฐ์ (13) สื่อ (3) สุขภาพ (13) สุภาพจิต (6) สุสาน (1) หนังแท้ (4) หนังสือ (31) หนังสือพิมพ์ (1) หนู (1) ห้องเรียน (4) เหมาเจ๋อตง (2) เหรียญ (1) อเมริกา (37) ออสเตรีย (1) อังกฤษ (6) อาชีพ (1) อาหาร (15) อาหารจานโปรด (8) อิตาลี (3) อินเดีย (8) อิสราเอล (3) อียิปต์ (1) อีสาน (1) แอปพลิเคชัน (4) ไอร์แลนด์ (1) cpr (1) deep state (1) democracy (1) Diarymisc (3) facebook (1) handmade (1) leather (1) marxism (1) metaverse (1) nomad (6) Nuclear (1) OPENUP (1) powerbank (1) shopee (1) Social media (2) social views (114) startup (1) UNESCO (4) xiaomi (1)


Miscellaneous | Misc.Today 🌱 . ขับเคลื่อนโดย Blogger.

 
miscthailand