เรียบเรียง โดย : ต.ตุลยากร
"Woke" เป็นกริยาช่องที่สองของคำว่า Wake ที่แปลว่า "ตื่น" เลยถูกนำมาใช้เป็นแสลง ในความหมาย ที่ว่า “ตื่นตัวทางการเมือง”
คำว่า Woke เริ่มปรากฎในช่วงทศวรรษ 1940 และถูกใช้ครั้งแรกโดยชาวแอฟริกัน-อเมริกัน เพื่อหมายถึง “การตื่นขึ้นหรือรับรู้ถึงประเด็นความยุติธรรมอย่างแท้จริง" ...
Marcuse นักคิด แนวนีโอมาร์กซิสต์ (Neo-Marxism) ได้เปลี่ยนโฟกัส จากแนวคิดมาร์กซิสต์ ทางเศรษฐกิจแบบดั้งเดิม ไปสู่การต่อสู้ทางวัฒนธรรม และอุดมการณ์ โดย Marcuse กล่าวว่า "การปลดปล่อยที่แท้จริง ต้องเปลี่ยนแปลงบรรทัดฐานทางวัฒนธรรม และการรื้อถอนโครงสร้างทางสังคมที่สืบทอดการกดขี่ "
โดยในปี 1965 Marcuse ได้ตีพิมพ์ บทความเกี่ยวกับ "การอดทนเชิงกดขี่" ( repressive tolerance) ซึ่งต่อมาได้มีอิทธิพล และเป็นแรงบันดาลใจ ให้กับอาจารย์หัวรุนแรงบางคนในสาขากฎหมาย และการศึกษาเกี่ยวกับชาวแอฟริกัน-อเมริกัน ...
ต่อมา ในช่วงทศวรรษ 1970 และ 1980 นักกฎหมาย และนักวิชาการด้านสังคมศาสตร์ ในสหรัฐอเมริกา ได้นำทฤษฎีวิพากษ์ (Critical Theory) มาปรับใช้ เพื่อวิเคราะห์และวิพากษ์บทบาทของกฎหมายในสังคมที่มีการเหยียดเชื้อชาติ กลายเป็นทฤษฎีเชื้อชาติวิพากษ์ Critical Race Theory (CRT) โดยนักวิชาการที่มีบทบาทสำคัญใน CRT เช่นDerrick Bell, Kimberlé Crenshaw, และ Richard Delgado
ในปี 1971 คำว่า Woke ถูกใช้ในละครเวทีเรื่อง Garvey Lives ! โดยนักเขียนบทละครชาวอเมริกัน Barry Beckham ซึ่งเขาเขียนว่า :
"ผมหลับมาตลอดชีวิต และตอนนี้ที่คุณ Garvey ได้ปลุกผมขึ้นมาแล้ว ผมจะยังคงตื่นตัวอยู่ และผมจะช่วยเขาปลุกคนผิวดำคนอื่น ๆ ด้วย”( I been sleeping all my life. And now that Mr Garvey done woke me up, I’m gon’ stay woke. And I’m gon’ help him wake up other black folk. )
ในปี 2008 Erykah Badu ใช้วลี "I stay woke" ในเพลงของเธอ ชื่อ Master Teacher ซึ่งวลีนี้ สื่อถึง "การไม่ยอมจำนน ไม่ยอมถูกทำให้ชาชิน"
“Woke” เริ่มกลายเป็นคำที่มีนัยทางการเมืองในปี ค.ศ. 2014 หลังจากการเสียชีวิตของ Michael Brown ในเมืองเฟอร์กูสัน รัฐมิสซูรี จุดประกายก่อให้เกิดขบวนการ Black Lives Matter (BLM) ซึ่งเป็นเรียกร้องการปฏิบัติที่เท่าเทียม และความยุติธรรมให้กับคนผิวสี ได้ทำให้คำว่า "Woke" กลายเป็นสัญลักษณ์ของการตระหนักรู้ และการเรียกร้องความยุติธรรม ....
จนกระทั่ง ปี ค.ศ. 2106 คำว่า Woke ได้กลายเป็น 1 ใน 10 คำ ที่เข้ารอบสุดท้าย ในการคัดเลือกคำศัพท์แห่งปี ของพจนานุกรมออกซ์ฟอร์ด และได้รับการบัญญัติให้เป็น ‘คำศัพท์ใหม่’ ในการอัพเดตคำศัพท์ปี 2017 ...
โดยพจนานุกรมออกซ์ฟอร์ด ให้ความหมายของ Woke ว่า ....
“ตื่นตัวต่อประเด็นทางสังคมและการเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเหยียดเชื้อชาติ”
ต่อมา "Woke" ไม่ได้จำกัดอยู่แค่การต่อสู้เพื่อความเท่าเทียมทางเชื้อชาติเพียงเท่านั้น แต่ยังขยายตัวไปถึง การต่อสู้เพื่อสิทธิของกลุ่มคนหลากหลายทางเพศ (LGBTQ+ rights) ความเท่าเทียมทางเพศ (Gender equality) สิทธิของผู้ลี้ภัย และประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมอีกด้วย ...
อย่างไรก็ดี แนวคิด Woke แม้จะมีจุดเริ่มต้น จากความตั้งใจดี ในการต่อสู้ เพื่อความเท่าเทียม แต่ก็นำมาซึ่งผลกระทบที่ซับซ้อน .. ?!
ผลข้างเคียงของการ "Woke" คือ วัฒนธรรมของการเป็นเหยื่อ (Victimhood Culture)
คนที่จดจ่ออยู่กับ "Woke" มักจะมองทุกอย่างเป็นการกดขี่ .... คิดว่าตนเองเป็นเหยื่อของระบบ และ ไม่พยายามที่จะพัฒนาตนเอง เพื่อมีชีวิตที่ดีกว่า โทษแต่ว่า ที่ชีวิตตัวเองยังย่ำแย่อยู่อย่างนี้ ก็เพราะ "ระบบ"
และคนเหล่านี้ มักจะตกเป็นเหยื่อของพวกซ้ายใหม่ (Neo-Marxism ) ในการปลุกระดม ให้เคลื่อนไหว
สังคมจึงต้องตระหนักถึงความสำคัญของการคิดวิเคราะห์อย่างรอบด้าน ไม่ตกเป็นเหยื่อของการปลุกระดมทางความคิด และรักษาสมดุลระหว่างการตื่นรู้ทางสังคม กับความรับผิดชอบส่วนบุคคล เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืน และเป็นประโยชน์ต่อทุกภาคส่วนของสังคมอย่างแท้จริง
ท้ายที่สุด การเข้าใจที่มา และพัฒนาการของแนวคิด Woke จะช่วยให้เราสามารถมองเห็นทั้งข้อดีและข้อจำกัด เพื่อนำไปสู่การสร้างสังคมที่เป็นธรรมและเท่าเทียมอย่างแท้จริง โดยไม่ละทิ้งคุณค่าของการพัฒนาตนเองและความรับผิดชอบต่อสังคม
สังคมจึงต้องตระหนักถึงความสำคัญของการคิดวิเคราะห์อย่างรอบด้าน ไม่ตกเป็นเหยื่อของการปลุกระดมทางความคิด และรักษาสมดุลระหว่างการตื่นรู้ทางสังคม กับความรับผิดชอบส่วนบุคคล เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืน และเป็นประโยชน์ต่อทุกภาคส่วนของสังคมอย่างแท้จริง
ท้ายที่สุด การเข้าใจที่มา และพัฒนาการของแนวคิด Woke จะช่วยให้เราสามารถมองเห็นทั้งข้อดีและข้อจำกัด เพื่อนำไปสู่การสร้างสังคมที่เป็นธรรมและเท่าเทียมอย่างแท้จริง โดยไม่ละทิ้งคุณค่าของการพัฒนาตนเองและความรับผิดชอบต่อสังคม
และที่สำคัญจะได้ไม่ตกเป็นเหยื่อของขบวนการซ้ายใหม่ (Neo-Marxism) ในประเทศไทยครับ
เรียบเรียง โดย : ต.ตุลยากร
อ้างอิง
1. https://www.independent.co.uk/.../woke-meaning-word...
2. https://theweek.com/art.../972066/what-woke-revolution--isnt
3. https://intellectualtakeout.org/.../how-wokeness-is-a.../...
บทความที่เกี่ยวข้อง
Neo Marxism คือใคร ? นีโอ มาร์กซิสต์ คืออะไร ?
Neo Marxism ไม่ใช่คอมมิวนิสต์ แต่เป็นมาร์กซิสต์ อีกนิกายหนึ่ง
Tweet