“ข้าพเจ้าขอปฏิเสธ ในข้อที่ข้าพเจ้าถูกกล่าวหาว่าเป็นคอมมูนิสต์ ข้าพเจ้าเป็นแต่เพียงโซเซียลลิสต์ต่างหาก”
ก็เพราะ ปรีดี ไม่ใช่ นิกายคอมมิวนิสต์ ของลัทธิมาร์กซ์ ...
ทั้งนี้ การปราศัยของ นายปรีดี ในที่ประชุมสามัคคีสมาคม (นักเรียนไทยในอังกฤษ) เมื่อวันที่ 24,26 กรกฎาคม 2518 ความตอนหนึ่ง ได้อธิบายถึง ประเภทของสังคมนิยม ประเภทใหญ่ๆ 8 ประเภทคือ
1. ประเภทสังคมนิยมศักดินา (Feudal Socialism)2. ประเภทสังคมนิยมผู้มีทุนน้อย (Petit–Bourgeois Socialism)3. ประเภทสังคมนิยมจารีตนิยม (Conservative Socialism)4. ประเภทสังคมนิยมเจ้าสมบัติ (Bourgeois Socialism)5. ประเภทสังคมนิยมเพียงแต่อุดมคติ (Utopian Socialism)6. ประเภทสังคมนิยมของชนชั้นผู้ไร้สมบัติ (Proletarian Socialism)7. ประเภทสังคมนิยมวิทยาศาสตร์ (Scientific Socialism) *8. ประเภทสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ (Communist Socialism) *
ซึ่ง ประเภทที่ 7 และ 8 นี่แหละครับ คือ ลัทธิมาร์กซ์ (มาร์กซิสต์)
แนวคิดมาร์กซิสต์โดยย่อๆ นั้น คือ
ยึดถือแนวคิดเรื่อง วัตถุนิยม ประวัติศาสตร์ของคาร์ล มาร์กซ์ มองว่า สังคมมีการวิวัฒนาการจากสังคมทาส เป็น สังคมศักดินา และ ทุนนิยม ตามลำดับ ...การเปลี่ยนแปลงนั้นมาจากการต่อสู้ระหว่างชนชั้นผู้ขูดรีด กับชนชั้นผู้ถูกขูดรีด โดยในสังคมยุคทุนนิยม เมื่อพลังการผลิตถึงพร้อม ผู้ถูกขูดรีดก็จะชนะ นำไปสู่สังคมคอมมิวนิสต์ในที่สุด ซึ่งศานุศิษย์ ผู้สมาทานแนวคิดของมาร์กซ์ ก็จะยกย่องว่าเป็นแนวคิด วิทยาศาสตร์ จึงเรียกว่า สังคมนิยมวิทยาศาสตร์
ส่วนอุดมการณ์ คอมมิวนิสต์ ที่พวกเรารู้จักกันดี เปรียบเทียบแล้ว ก็เป็นเพียงนิกายหนึ่งของลัทธิมาร์กซ์ (มาร์กซิสต์) เท่านั้นเอง ซึ่งในที่นี้ จะแนะนำให้รู้จัก คอมมิวนิสต์สองสายหลักๆ ก็คือ
ส่วนอุดมการณ์ คอมมิวนิสต์ ที่พวกเรารู้จักกันดี เปรียบเทียบแล้ว ก็เป็นเพียงนิกายหนึ่งของลัทธิมาร์กซ์ (มาร์กซิสต์) เท่านั้นเอง ซึ่งในที่นี้ จะแนะนำให้รู้จัก คอมมิวนิสต์สองสายหลักๆ ก็คือ
1. มาร์กซิสต์-เลนินนิสต์ (Marxism–Leninism)
เป็นการตึความแนวคิดมาร์กซิสต์ โดย เลนิน ผู้นำการปฏิวัติรัสเซีย ในปี 1917 .... สิ่งที่ เลนินประยุกต์จากคาร์ล มาร์กซ์ ก็คือ เลนิน เชื่อว่า ชนชั้นกรรมาชีพไม่สามารถมีจิตสำนึกชนชั้นได้เอง ต้องมีการชี้นำการปฏิวัติโดยพรรค และการปฏิวัติสังคมนิยมนั้น ต้องกระทำด้วยความ "รุนแรง" พรรคเป็นสมอง ส่วนมวลชนเป็นกำลัง
นอกจากนี้ เลนินยังได้พัฒนาแนวคิดเรื่องจักรวรรดินิยมเพิ่มเติม โดยมองว่า กรรมกรในประเทศเจ้าอาณานิคมได้ผลประโยชน์จากนายทุน ซึ่งขูดรีดจากประเทศอาณานิคมของตน ทำให้กรรมกรในประเทศเจ้าอาณานิคมขาดจิตสำนึกของชนชั้น ดังนั้น การปฏิวัติสังคมนิยมควรเริ่มจากประเทศด้อยพัฒนาก่อน ( ส่วนนี้จะตรงกันข้ามกับคาร์ล มาร์กซ์ เนื่องจากมาร์กซ์เชื่อว่า การปฏิวัติจะเริ่มจากประเทศที่อุตสาหกรรมพัฒนาเต็มที่แล้ว)
2. เหมาอีสต์ (Maoist)
เป็นการตีความแนวคิดมาร์กซิสต์-เลนินนิสต์ โดย เหมา เจ๋อ ตุง ผู้นำการปฏิวัติของจีน เหมาได้ประยุกต์แนวคิดของมาร์กซิสต์-เลนินนิสต์ โดยเปลี่ยนมวลชนหลักจากกรรมกรในเมือง เป็นชาวนาในชนบท เริ่มต้นการปฏิวัติแบบ "ป่าล้อมเมือง" รวมถึงประยุกต์แนวคิดจักรวรรดินิยมของเลนินมาใช้ ด้วยการปลุกจิตสำนึกของชนชั้นต่างๆ เข้าร่วมกัน ต่อต้านจักรวรรดินิยม แต่สิ่งที่ยังเหมือนกันอยู่ก็คือ การชี้นำการปฏิวัติโดยพรรค
ซึ่ง พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย นั้น ยึดถือแนวทางของเหมาอย่างเคร่งครัด ในการเคลื่อนไหว นี่จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ พคท .กับ ขบวนการนักศึกษา (บางส่วน) ที่ศรัทธาในแนวคิดสังคมนิยมวิทยาศาสตร์ ขัดแย้งกัน ....
ทั้งนี้ นิกายคอมมิวนิสต์ ได้ล่มสลายไปจากประเทศไทย ภายหลังจากรัฐบาลพล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประกาศใช้ นโยบาย 66/23
แต่ นิกายสังคมนิยมวิทยาศาสตร์ยังคงอยู่ และได้วิวัฒนาการตัวเอง ด้วยการปรับเปลี่ยนแนวทางจาก war of maneuver ( อำนาจรัฐจักได้มาด้วยกระบอกปืน ) มาเป็น war of position (การชิงอำนาจนำ) ซึ่งเป็นแนวคิดของอันโตนิโอ กรัมชี่ (Antonio Gramsci) รวมถึงใช้ทฤษฎีวิพากษ์ (Critical theory) จากสำนักแฟรงเฟิร์ต ซึ่งมีนักคิดคนสำคัญอย่างเช่น Herbert Marcuse มาใช้ในการปลุกระดม และกลายมาเป็นพวก Neo Marxism ในไทย
ซึ่ง หากไปเรียกพวก Neo Marxism ว่าคอมมิวนิสต์ พวกเขาก็จะไม่ยอมรับ ดังเช่นที่ นายปรีดี ไม่ยอมรับว่าตนเป็นคอมมิวนิสต์ .... แถมพวกเขาจะหาว่าเราปลุกผีคอมมิวนิสต์อีกต่างหาก
ดังนั้น เราต้องเข้าใจนะครับ พวก Neo Marxism ไม่ใช่คอมมิวนิสต์ ....
แต่เป็น “พวกงมงายในลัทธิมาร์กซ์” ต่างหากครับ
อ้างอิง
ฉัตรทิพย์ นาถสุภา, ลัทธิเศรษฐกิจการเมือง (กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2566)
ปรีดี พนมยงค์, ควรจะแก้ปัญหาเมืองไทยอย่างไร คำตอบปัญหาภาคที่ 1 เกี่ยวกับ ระบบสังคมนิยมและระบบคอมมิวนิสต์จะเหมาะสมแก่เมืองไทยหรือไม่ (ตอนที่ 1), (กรุงเทพฯ: พูน พุกกะรัตน์, 2518)
สุรพงษ์ ชัยนาม, ใครคือซ้าย (กรุงเทพฯ : สยามปริทัศน์, 2557)
---------------------------
เรียบเรียง โดย : ต.ตุลยากร