ค้นหาบทความ 🙄


 

4/09/67

จำวัด คือ sleep ไม่ใช่ stay จำพรรษา ถูกต้องกว่า

เมื่อบวชเป็นพระภิกษุสงฆ์ แล้วไปพำนักอยู่ที่นั่นที่โน่น คนสมัยนี้ใช้คำเรียกว่า “จำวัด” เช่น - ดาราหนุ่มบวชแล้วไปจำวัดอยู่ที่เชียงราย ....  ถ้าใช้คำว่า “จำวัด” ก็หมายความว่า ดาราหนุ่มบวชแล้ว ไป "นอนหลับ"  อยู่ที่เชียงราย - ต้องการจะบอกอย่างนี้ใช่ไหม? 

จำวัด คือ sleep ไม่ใช่ stay จำพรรษา ถูกต้องกว่าจำวัด


ผู้เขียนบาลีวันละคำ  เสนอแนะว่า ให้ใช้คำว่า “จำพรรษา” ถูกต้องกว่า “จำวัด”

    มีผู้แย้งว่า คำว่า “จำพรรษา” หมายถึง ไปพักอยู่ที่นั่นที่โน่น 3 เดือน  ภายในช่วงเวลาเข้าพรรษา แต่นี่บวชนอกพรรษา บวชชั่วเวลาสั้น ๆ ไม่ได้จำพรรษา 3 เดือน เรียกว่า “จำพรรษา” น่าจะไม่ถูกต้อง...

ถ้ารู้จักแยกแยะได้ขนาดนี้ ก็ควรจะแยกแยะได้ว่า “จำวัด” กับ “จำพรรษา” ต่างกันอย่างไร ? 

ถือโอกาสศึกษาความหมายคำว่า “จำวัด” กับ “จำพรรษา” ....

คำว่า “จำวัด” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า -
“จำวัด : (คำกริยา) นอนหลับ (ใช้แก่ภิกษุสามเณร).”
คำว่า “จำพรรษา” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า -
“จำพรรษา : (คำกริยา) อยู่ประจำที่วัด ๓ เดือนในฤดูฝน (ใช้แก่พระสงฆ์).”

ขยายความ :

คำว่า “จำพรรษา” ในภาษาบาลีมีคำที่ใช้อยู่ 2 คำ คือ -

(1) “วสฺสูปนายิกา” (วัด-สู-ปะ-นา-ยิ-กา) แปลตามศัพท์ว่า “ดิถีเป็นที่น้อมไปสู่กาลฝน” มาจาก วสฺส ( = ฤดูฝน) + อุป ( = เข้าไป, ใกล้) + นี (ธาตุ = นำไป) + อิก ปัจจัย + อา ปัจจัยอิตถีลิงค์
: วสฺส + อุป = วสฺสูป + นี > เน > นาย = วสฺสูปนาย + อิก = วสฺสูปนายิก + อา = วสฺสูปนายิกา (ติถี) เขียนแบบไทยว่า “วัสสูปนายิกาดิถี” แปลว่า “วันเข้าพรรษา” เป็นคำเรียกเฉพาะวันเข้าพรรษาเพียงวันเดียว

(2) “วสฺสูปวาส” (วัด-สู-ปะ-วา-สะ) คำกริยาว่า วสฺสํ อุปวสติ (วัด-สัง อุ-ปะ-วะ-สะ-ติ) มาจาก วสฺส ( = ฤดูฝน) + อุป ( = เข้าไป, ใกล้) + วาส ( = การอยู่)
: วสฺส + อุป = วสฺสูป + วาส = วสฺสูปวาส เขียนแบบไทยว่า “วัสสูปวาส” (วัด-สู-ปะ-วาด) แปลว่า “การเข้าจำพรรษา” หมายถึงการพักอยู่กับที่ตลอดฤดูฝน ตรงกับที่เราพูดว่า “จำพรรษา”
คำว่า วัสสูปนายิกาดิถี และ วัสสูปวาส ไม่เป็นที่คุ้นปากคุ้นหู และไม่มีเก็บไว้ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน
..............

“จำวัด” ภาษาไทยหมายถึง พระนอนหลับ
พระพำนักอยู่ที่ใดที่หนึ่ง เรียกว่า “จำพรรษา”

“จำวัด” คือ sleep

“จำพรรษา” คือ stay

     เรามุ่งจะพูดว่า พระพำนัก (stay) อยู่ที่ใดที่หนึ่ง  ไม่ได้มุ่งจะพูดว่า พระไปนอนหลับ (sleep) อยู่ที่ใดที่หนึ่ง ...

    เพราะฉะนั้น บวชเป็นพระ  แล้วไปพำนักอยู่ที่นั่นที่โน่น เรียกว่า “จำวัด” จึงผิดชัด ๆ ตัดคำว่า “จำวัด” ทิ้งไปได้เลย ....

บวชเป็นพระ  แล้วไปพำนักอยู่ที่นั่นที่โน่น อย่าได้เรียกว่า “จำวัด” กันอีกต่อไป แต่ให้เรียกว่า “จำพรรษา”

ไม่ใช่ 3 เดือนในระหว่างเข้าพรรษา ไปเรียกว่า “จำพรรษา” ได้อย่างไร?

     จะเข้าใจเรื่องนี้ ต้องรู้ถึงความเป็นมาของการ “จำพรรษา” 

ความเป็นมาของการ “จำพรรษา” มีดังนี้ -

1  >>  ในสมัยพุทธกาล แม้จะมีผู้สร้างเสนาสนะถวายเป็น “อาราม” ( = วัด) ในพระพุทธศาสนาแล้ว   แต่พระสงฆ์  ก็ไม่ได้อยู่ประจำ ณ ที่ใดที่หนึ่งเป็นการถาวร ดังจะพูดเทียบในสมัยนี้ว่า -

พระมหาพีร์วัดมหาธาตุ
พระมหาเทียบวัดพระเชตุพนฯ
สมัยพุทธกาลพูดว่า -
พระสารีบุตรวัดเวฬุวัน
พระมหาโมคคัลลานะวัดกาฬศิลา
พระอานนท์วัดเชตวัน

แบบนี้ไม่มี สมัยพุทธกาลไม่ได้เรียกแบบนี้... 

       ทั้งนี้  เพราะพระสมัยพุทธกาล  ไม่ได้อยู่ประจำที่เหมือนพระในปัจจุบัน เวลาปกติพระสมัยพุทธกาล จะจาริกไปตามที่ต่าง ๆ ที่เป็นสัปปายะแก่การปฏิบัติธรรม หรือเพื่อการประกาศธรรม ครั้นถึงฤดูฝน จึงพักประจำ ณ ที่ใดที่หนึ่งตามพระพุทธานุญาต เมื่อออกพรรษาแล้ว ก็จาริกต่อไปอีก

       พระสงฆ์ไทย  ยังได้คติเช่นนี้ติดมา กล่าวคือ  สมัยก่อนเมื่อออกพรรษาแล้ว พระสงฆ์สามเณรส่วนหนึ่ง จะนิยมจาริกไปตามป่าเขาชั่วระยะเวลาหนึ่ง ที่เรียกกันว่า “ออกธุดงค์” หรือ “เดินธุดงค์”

2  >> กาลต่อมา พระสงฆ์มีกิจที่จะต้องอยู่ประจำที่นอกเวลา 3 เดือนในฤดูฝนมากขึ้น เช่น  ต้องดูแลเสนาสนะ เป็นต้น แม้ออกพรรษาแล้ว ก็ยังคงพักอยู่ ณ สถานที่จำพรรษานั้นต่อไปอีกเป็นเวลานาน...  บางทีจนถึงรอบเข้าพรรษาใหม่ ต้องอยู่จำพรรษาที่เดิมต่อไปอีก ครั้นนานเข้า ก็กลายเป็นอยู่ประจำที่ไปในที่สุด ....

3 >> ปัจจุบันในประเทศไทยมีระเบียบว่า พระภิกษุสามเณร ต้องมีสังกัด เป็นนัยว่า ต้องมีสำนักที่อยู่เป็นหลักแหล่ง  ( หากเทียบกับ  ฆราวาส ก็ ต้องมีชื่อในทะเบียนบ้านใดบ้านหนึ่ง   -Admin misc.today     )เท่ากับว่า แม้จะไม่ใช่ช่วงเวลา 3 เดือนในฤดูฝน ก็ต้องมีที่อยู่ประจำ

4  >> จะเห็นได้ว่า การอยู่ประจำที่นั้น มีมูลมาจาก “จำพรรษา” ดังนั้น ไม่ว่าจะพำนักอยู่ 3 เดือนในฤดูฝน หรือพำนักในช่วงเวลาอื่น ก็ควรเรียกว่า “จำพรรษา” ได้ทั้งสิ้น ...

ข้อเสนอแนะ :

      ควรปรับปรุงคำนิยาม “จำพรรษา” ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554  ใหม่ ให้มีความหมายรวมถึง  การพำนักอยู่ประจำ ณ วัดใดวัดหนึ่งด้วย เช่น -

“จำพรรษา ก. อยู่ประจำที่วัด 3 เดือนในฤดูฝน, พำนักอยู่ประจำที่ในสังกัดวัดใดวัดหนึ่ง (ใช้แก่พระสงฆ์).”

แถมให้คิด :

     “จำพรรษา” หมายถึงพำนักอยู่กับที่ 3 เดือนภายในฤดูฝน แต่กรณีพักอยู่ 10 วันหรือเดือนเดียว ไม่ได้อยู่จำพรรษา เรียกว่า “จำพรรษา” ก็ยังมีความหมายคล้อยตามกันอยู่นั่นเอง เพราะหมายถึง “พำนักอยู่” (stay) เหมือนกัน ไม่ได้ขัดกัน ....

      แต่ “จำวัด” หมายถึง “นอนหลับ” (sleep) เอามาใช้ในความหมายว่า “พำนักอยู่” (stay) ขัดกันขนาดนี้ ทำไมยังขืนใช้กันอยู่ได้? แล้วใช้สิทธิ์อะไรไปเปลี่ยนความหมายของคำเดิม ?

ศึกษาความหมายเดิมให้เข้าใจแล้วใช้ให้ถูกต้อง ...
กรุณาอย่าดันทุรังใช้กันผิด ๆ แล้วอ้างว่าคนเขานิยมใช้แบบนี้

 

ดูก่อนภราดา!
  • ผิดแล้วดันทุรัง พังไปตลอดชีวิต
  • ผิดแล้วยอมรับผิด เป็นบัณฑิตทันที

บทความโดย : ทองย้อย แสงสินชั






Admin Bee

สนับสนุน Misc.Today

นี่คือ ลิ้งค์พันธมิตร หรือที่เรียกว่า affiliate link ซึ่งหมายความว่า... หากคุณคลิ๊กลิ้งค์นี้ และซื้อผลิตภัณฑ์ อะไรก็ได้ ฉันจะได้ค่าคอมมิชชั่นเล็กน้อย สิ่งนี้จะช่วยสนับสนุนเว็บไซด์ และช่วยให้กำลังใจเราต่อไป






 

คุณอาจสนใจ

เครื่องดื่มมหัศจรรย์ เพื่อสุขภาพที่ดี


  ชาหมักคอมบูชะ Scoby doit  



“ จุลินทรีย์ โพรไบโอติก ที่มีอยู่ในชาหมัก คอมบูชะ ( Kombucha ) สามารถแก้ไขปัญหาของระบบทางเดินอาหาร และลำไส้”

KOMBUCHA ORIGINAL 101 / by Scoby Do it 💖
    เครื่องดื่มชาหมักเพื่อสุขภาพ คอมบูชา หรือ คอมบูชะ ( Kombucha ) Scoby do it คือ เครื่องดื่มที่ผ่านกระบวนการหมัก มีสรรพคุณทางยา โดยมี “จุลินทรีย์ โพรไบโอติก Probiotics” ที่เป็นพระเอกของเครื่องดื่มชนิดนี้ “จุลินทรีย์” ที่อยู่ในชาหมักที่เกิดจากการหมักชา จะมี สารฟลาโวนอยด์ (Flavonoids) ช่วยต้านอนุมูลอิสระ และอาจช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือด เบาหวาน มะเร็ง และโรคอัลไซเมอร์ได้ 

   >> ดูเพิ่มเติม 




5 บทความ ยอดนิยม ในรอบ 30 วัน

🟡 โพสต์แนะนำ

คริสเตียนไซออนนิสท์ คือใคร ? - Christian Zionist

ช่วงนี้ ผมติดตามหาข้อมูลเกี่ยวกับ อิสราเอล กับ ปาเลสไตน์ ครับ ส่วนใหญ่จะเป็นแนวประวัติศาสตร์เสียมาก เพราะผมมีความเชื่อส่วนตัวว่า การที่เราจะ...

Popular Posts

แนะนำหนังสือ


  BOOKs OF THE DAY








ผู้สนับสนุน







Xiaomi Kingsmith Walking Pad

 Xiaomi Kingsmith Walking Pad R1 Pro/ R2 ลู่เดิน/วิ่งไฟฟ้า พับเก็บได้ สำหรับการออกกำลังกายภายในบ้าน >> คลิ๊กดูเพิ่มอีก


ป้ายกำกับ / Tag labels

2475 (1) กฎหมาย (4) กฐิน (2) กรรม (5) กระเป๋า (3) กรุงเทพฯ (19) กรุงศรีอยุธยา (11) กล้องถ่ายภาพ (7) กลอน (4) กลาโหม (9) การเกษตร (7) การจัดเก็บ (3) การเมือง (51) การศึกษา (130) กิจกรรมกลางแจ้ง (2) กีฬา (3) เกษตร (3) เกี่ยวกับสัตว์ (13) ไกลกังวล (1) ขงจื้อ (1) ขนม (2) ขอมไม่ใช่เขมร (6) ข้าว (3) ข่าวสาร (22) ขิง (1) เขมร (10) โขน (2) คณะราษฎร (10) คติธรรม (1) คนเล่านิทาน (14) ครัว (1) ครู (6) ความเชื่อ (12) ความรู้ (152) คอมมิวนิสต์ (31) คำภีร์ (2) คำสอน (11) เครื่องบิน (7) เงินตรา (4) จอมพล ป. พิบูล (1) จอมพล ป. พิบูลสงคราม (13) จีน (53) ช้าง (1) ชายแดนใต้ (5) ญี่ปุ่น (15) ดนตรีไทย (1) ดอกไม้ (1) เด็ก (5) เดนมาร์ก (1) ต้นไม้ (4) ตลาดนัด (1) ตำรวจ (2) เตา (1) เตือนภัย (16) แต่งงาน (1) ทรัพยากร (2) ทวิตเตอร์ (1) ทหาร (9) ท่องเที่ยว (28) ทะเล (3) ทัศนะ (49) ทำบุญ (5) ทำอาหาร (5) เทคโนโลยี (13) โทรศัพท์มือถือ (2) ธนบัตร (1) ธนาคาร (4) ธรณี (1) ธรรมชาติ (10) ธรรมในคำกลอน (1) ธรรมะ (6) ธรรมาธิปไตย (2) ธุรกิจ (10) นราธิวาส (3) นวดไทย (1) นักบิน (1) นักเรียน (4) นางใน (1) นาซี (1) นายกรัฐมนตรี (3) น้ำมัน (1) นิทานพื้นบ้าน (1) นิยาย (3) นิวเคลียร์ (1) เนปาล (1) แนะนำสินค้า (38) โนรา (1) ในหลวง ร.10 (1) ในหลวงรัชกาลที่ 9 (15) บริการ (3) บริหาร (3) บ่อน (1) บัตรเครดิต (2) บัตรประชาชน (1) บุคคล (42) บุญ (3) บุหรี่ (1) เบตง (1) แบรนด์ไทย (5) โบราณวัตถุ (13) โบราณสถาน (6) โบสถ์ (2) ประชาธิปไตย (53) ประท้วง (7) ประเทศไทย (175) ประธานาธิบดี (1) ประวัติศาสตร์ (148) ปรัชญาชีวิต (21) ปรีดี (2) ปลูกต้นไม้ (3) ปูติน (1) ผลไม้ (2) ผลิต (3) ผัก (1) ผิวสี (1) แผ่นดินไหว (1) ฝรั่งเศส (6) พม่า (6) พยาบาล (1) พระเจ้าตากสินมหาราช (2) พระนเรศ (1) พระพุฒาจารย์ (1) พระพุทธเจ้า (1) พระราชกรณียกิจ (4) พระสงฆ์ (10) พราหมณ์ (1) พิบูลสวัสดี (1) พิพิธภัณฑ์ (9) พุทธทาส (1) พุทธศาสนา (11) เพชรบุรี (3) เพลง (8) เพลงผ้า ปรพากย์ (1) แพทย์ (4) ฟาโรห์ (1) ไฟ (4) ไฟฉาย (1) ไฟฟ้า (1) ภัยพิบัติ (1) ภาคใต้ (6) ภาคอีสาน (1) ภาษา (9) ภาษิต (1) ภูเขาไฟ (1) ภูมิปัญญา (19) ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ (1) มวยไทย (5) มาเลเซีย (1) มุมไบ (2) มุสลิม (2) แม่ (1) ไม้ไผ่ (1) ยา (1) ยิว (3) ยูนนาน (1) เยาวชน (1) เยาวราช (1) รถเมล์ (3) รองเท้า (2) ระเบิด (3) รัชกาลที่ ๒ (1) รัชกาลที่ ๔ (3) รัชกาลที่ ๕ (7) รัชกาลที่ ๖ (1) รัชกาลที่7 (8) รัชกาลที่ ๘ (5) รัฐประหาร (7) รัสเซีย (12) ราชาศัพท์ (1) รามเกียรติ์ (1) เรือ (2) เรื่องเก่า (80) เรื่องเล่า (23) โรค (5) โรคระบาด (3) โรงงาน (1) โรงพยาบาล (9) โรงเรียน (16) โรฮิงญา (1) ลอนดอน (1) ลัทธิ (2) ลัทธิมาร์กซ์ (2) ล้านนา (3) ลาว (4) เลือกตั้ง (9) โลก (5) โลกร้อน (3) วัฒนธรรม (2) วัด (14) วันแม่ (1) วันสำคัญ (5) วิทยาศาสตร์ (9) วิทยุ (2) วิหาร (4) เวียดนาม (4) ไวรัล (1) ศัพท์ (1) ศาสนา (36) ศิริราช (5) ศิลปะ (5) ศิลปาชีพ (1) เศรษฐกิจ (3) สงขลา (1) สงคราม (50) สถานีรถไฟ (1) สนามบิน (2) สเปน (1) สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร (2) สมัยเมจิ (1) สยาม (12) สวนสนุก (1) สวิตเซอร์แลนด์ (2) สังคม (36) สำนวน (8) สิ่งประดิษฐ์ (13) สื่อ (3) สุขภาพ (14) สุภาพจิต (6) สุสาน (1) หนังแท้ (4) หนังสือ (31) หนังสือพิมพ์ (1) ห้องเรียน (4) เหมาเจ๋อตง (2) เหรียญ (1) อเมริกา (37) ออสเตรีย (1) อังกฤษ (6) อาชีพ (1) อาหาร (16) อาหารจานโปรด (9) อิตาลี (3) อินเดีย (8) อิสราเอล (3) อียิปต์ (1) อีสาน (1) แอปพลิเคชัน (4) ไอร์แลนด์ (1) cpr (1) deep state (1) democracy (1) Diarymisc (3) facebook (1) handmade (1) leather (1) metaverse (1) nomad (6) Nuclear (1) OPENUP (1) powerbank (1) shopee (1) Social media (2) social views (114) startup (1) UNESCO (4) xiaomi (1)


Miscellaneous | Misc.Today 🌱 . ขับเคลื่อนโดย Blogger.

 
miscthailand