ค้นหาบทความ 🙄



3/30/67

อย่าใช้ภาษาธรรม กับเรื่องเลว ๆ ความหมายที่แท้ คำว่า "ร่วมสังฆกรรม"

       ครั้งหนึ่งนานมาแล้ว หนังสือพิมพ์ชื่อดัง ฉบับหนึ่ง เสนอข่าวอาชญากรรม โดยใช้ข้อความในข่าวว่า  “ชายโฉดร่วมสังฆกรรมข่มขืนหญิงสาว”  (( **ข้อความอาจไม่ตรงตามนี้ทุกตัวอักษร แต่ได้ความว่า การที่ผู้ชายหลายคนร่วมกันข่มขืนหญิงสาว ผู้เขียนข่าวใช้คำว่า “ร่วมสังฆกรรม” ))

Sangha karma

"ร่วมสังฆกรรม"
อย่าใช้ภาษาธรรมกับเรื่องเลว ๆ

       ครั้งหนึ่งนานมาแล้ว หนังสือพิมพ์ชื่อดังฉบับหนึ่งเสนอข่าวอาชญากรรม ใช้ข้อความในข่าวว่า “ชายโฉดร่วมสังฆกรรมข่มขืนหญิงสาว”

     ข้อความ  อาจไม่ตรงตามนี้ทุกตัวอักษร แต่ได้ความว่า การที่ผู้ชายหลายคนร่วมกันข่มขืนหญิงสาว ผู้เขียนข่าวใช้คำว่า “ร่วมสังฆกรรม”

กรณีนี้  มีพระภิกษุรูปหนึ่ง เขียนจดหมายไปทักท้วงต่อว่า หนังสือพิมพ์ฉบับนั้นว่า ไม่ควรใช้ภาษาพระธรรมวินัยไปเรียกการกระทำที่เลวทรามเช่นนั้น ...



      พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 เก็บคำว่า “ร่วมสังฆกรรม” ไว้ด้วย บอกไว้ว่า -

“ร่วมสังฆกรรม  : (คำกริยา) อาการที่พระสงฆ์ทำสังฆกรรมร่วมกัน, (ภาษาปาก) ทำงานร่วมกัน เช่น ฉันเข้าร่วมสังฆกรรมกับเขา.”

ความหมายจริง ๆ ของคำว่า “ร่วมสังฆกรรม” คือ ...

     พระสงฆ์ ทำสังฆกรรมร่วมกัน  ส่วนที่ใช้เป็นภาษาปาก พจนานุกรมฯ บอกความหมายว่า “ทำงานร่วมกัน” ...

     การที่ผู้ชายข่มขืนผู้หญิง ไม่ใช่การทำงาน แต่เป็นการ "ประพฤติชั่ว"  จึงไม่ตรงกับความหมายของ “ร่วมสังฆกรรม” ที่เป็นภาษาปาก...

ขยายความ :

คำว่า “สังฆกรรม” ประกอบด้วยคำว่า สังฆ + กรรม

(๑)  “สังฆ” เขียนแบบบาลีเป็น “สงฺฆ” (หนังสือรุ่นเก่าสะกดเป็น “สํฆ” ก็มี) อ่านว่า สัง-คะ แปลตามศัพท์ว่า -
  • (1) “หมู่เป็นที่ไปรวมกันแห่งส่วนย่อยโดยไม่แปลกกัน” หมายความว่า ส่วนย่อยที่มีคุณสมบัติหลัก ๆ “ไม่แปลกกัน” คือมีคุณสมบัติตรงกัน เหมือนกัน ส่วนย่อยดังกล่าวนี้ไปอยู่รวมกัน คือเกาะกลุ่มกัน ดังนี้เรียกว่า “สงฺฆ”
  • (2) “หมู่ที่รวมกันโดยมีความเห็นและศีลเสมอกัน” ความหมายนี้เล็งที่บรรพชิตหรือสาวกที่เป็นนักบวชในลัทธิศาสนาต่างๆ เช่นภิกษุในพระพุทธศาสนาเป็นต้น ต้องมีความคิดเห็นและความประพฤติลงรอยกันจึงจะรวมเป็น “สงฺฆ” อยู่ได้
“สงฺฆ” จึงหมายถึง หมู่, กอง, กลุ่ม, คณะ

(๒)   “กรรม”  บาลีเป็น “กมฺม” อ่านว่า กำ-มะ สันสกฤตเป็น “กรฺม” (กระ-มะ, ก ควบ ร กลืนเสียง ระ ลงคอ) ไทยเขียนอิงสันสกฤตเป็น “กรรม”

“กมฺม” รากศัพท์คือ กรฺ (ธาตุ = กระทำ) + รมฺม (รำ-มะ, ปัจจัย) ลบ รฺ ที่สุดธาตุและ ร ที่ต้นปัจจัย
: กร > ก + รมฺม > มฺม : ก + มฺม = กมฺม

“กมฺม” แปลว่า การกระทำ, สิ่งที่ทำ, การงาน (the doing, deed, work) นิยมพูดทับศัพท์ว่า “กรรม”
สงฺฆ + กมฺม = สงฺฆกมฺม > สังฆกรรม แปลว่า “งานของสงฆ์”

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า -

“สังฆกรรม : (คำนาม) กิจที่พระสงฆ์ตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไปรวมกันทำภายในสีมา เช่น การทำอุโบสถ การสวดพระปาติโมกข์. (ส. สํฆ + กรฺมนฺ; ป. สงฺฆกมฺม).

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต ขยายความคำว่า “สังฆกรรม” ไว้ดังนี้ -

สังฆกรรม : งานของสงฆ์, กรรมที่สงฆ์พึงทำ, กิจที่พึงทำโดยที่ประชุมสงฆ์ มี ๔ คือ

๑. อปโลกนกรรม (อะ-ปะ-โล-กะ-นะ-กำ) กรรมที่ทำเพียงด้วยบอกกันในที่ประชุมสงฆ์ ไม่ต้องตั้งญัตติและไม่ต้องสวดอนุสาวนา เช่น แจ้งการลงพรหมทัณฑ์แก่ภิกษุ
๒. ญัตติกรรม (ยัด-ติ-กำ) กรรมที่ทำเพียงตั้งญัตติไม่ต้องสวดอนุสาวนา เช่น อุโบสถและปวารณา
๓. ญัตติทุติยกรรม (ยัด-ติ-ทุ-ติ-ยะ-กำ) กรรมที่ทำด้วยตั้งญัตติแล้วสวดอนุสาวนาหนหนึ่ง เช่น สมมติสีมา ให้ผ้ากฐิน
๔. ญัตติจตุตถกรรม (ยัด-ติ-จะ-ตุด-ถะ-กำ) กรรมที่ทำด้วยการตั้งญัตติแล้วสวดอนุสาวนา ๓ หน เช่น อุปสมบท ให้ปริวาส ให้มานัต

ดูรายการ ที่เรียกว่า “สังฆกรรม” แล้ว ถ้าพูดแบบเล่นสำนวน ก็พูดได้ว่า การข่มขืนผู้หญิงไม่มีอยู่ในรายการ “สังฆกรรม”

จึงไม่ชอบด้วยเหตุผล และไม่เหมาะไม่ควร  ด้วยประการทั้งปวง  ที่จะเอาคำว่า “ร่วมสังฆกรรม” ไปใช้เรียกการข่มขืนผู้หญิง รวมทั้งการร่วมกันกระทำสิ่งที่ไม่เหมาะไม่ควรอื่น ๆ ทั้งปวง


ขอให้สังเกตว่า สื่อฯ ที่ชอบเอาเรื่องทางศาสนามาล้อเลียนล้อเล่นนั้น จะกล้าทำเฉพาะกับพระพุทธศาสนา เท่านั้น กับศาสนาคริสต์-และโดยเฉพาะกับศาสนาอิสลามด้วยแล้ว สื่อฯ เหล่านี้ไม่กล้าแตะต้องเลย

ลักษณะแบบนี้ พูดตามภาษา “นักเลงปากท่อ” (ภูมิลำเนาของผู้เขียนบาลีวันละคำ) ต้องเรียกว่า “ไม่ใช่นักเลงจริง”
..............
ดูก่อนภราดา!
: เขาไม่ตอบโต้หลงคิดว่าเขากลัว
: ที่แท้เขารังเกียจคนนิสัยชั่วเหมือนเกลียด...อะไรดี


ความรู้เรื่องสังฆกรรม 
แม่แบบแห่งประชาธิปไตย 

      คำว่า “สังฆกรรม” เขียนแบบบาลี เป็น “สงฺฆกมฺม” อ่านว่า สัง-คะ-กำ-มะ แปลว่า “งานของสงฆ์”

   พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “สงฺฆกมฺม” ว่า an act or ceremony performed by a chapter of bhikkhus assembled in solemn conclave (สังฆกรรม, พิธีกรรมที่หมู่สงฆ์ทำในที่ประชุมสงฆ์)

“สงฺฆกมฺม” ในภาษาไทยใช้เป็น “สังฆกรรม”
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๕๔ บอกความหมายของ “สังฆกรรม” ไว้ว่า -

สังฆกรรม : (คำนาม) กิจที่พระสงฆ์ตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไปรวมกันทําภายในสีมา เช่น การทำอุโบสถ การสวดพระปาติโมกข์. (ส. สํฆ + กรฺมนฺ; ป. สงฺฆกมฺม).

พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ไทย-อังกฤษ ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต แปลคำว่า “สังฆกรรม” เป็นอังกฤษ ดังนี้ -

Saṅghakamma : an act or ceremony performed by a chapter of Buddhist monks assembled in solemn conclave; a formal act.


พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต ขยายความคำว่า “สังฆกรรม” ไว้ดังนี้ -

สังฆกรรม : งานของสงฆ์, กรรมที่สงฆ์พึงทำ, กิจที่พึงทำโดยที่ประชุมสงฆ์ มี ๔ คือ
๑. อปโลกนกรรม (อะ-ปะ-โล-กะ-นะ-กำ) กรรมที่ทำเพียงด้วยบอกกันในที่ประชุมสงฆ์ ไม่ต้องตั้งญัตติและไม่ต้องสวดอนุสาวนา เช่น แจ้งการลงพรหมทัณฑ์แก่ภิกษุ
๒. ญัตติกรรม (ยัด-ติ-กำ) กรรมที่ทำเพียงตั้งญัตติไม่ต้องสวดอนุสาวนา เช่น อุโบสถและปวารณา
๓. ญัตติทุติยกรรม (ยัด-ติ-ทุ-ติ-ยะ-กำ) กรรมที่ทำด้วยตั้งญัตติแล้วสวดอนุสาวนาหนหนึ่ง เช่น สมมติสีมา ให้ผ้ากฐิน
๔. ญัตติจตุตถกรรม (ยัด-ติ-จะ-ตุด-ถะ-กำ) กรรมที่ทำด้วยการตั้งญัตติแล้วสวดอนุสาวนา ๓ หน เช่น อุปสมบท ให้ปริวาส ให้มานัต


มีคำที่ควรศึกษาให้เข้าใจต่อไปอีกหลายคำ เช่น - 
  • ตั้งญัตติ
  • สวดอนุสาวนา
  • ลงพรหมทัณฑ์
  • อุโบสถ
  • ปวารณา
  • สมมติสีมา
  • ให้ปริวาส
  • ให้มานัต
      นักเรียนบาลีท่านใด มีอุตสาหะ ช่วยหยิบคำเหล่านี้ไปเขียนอธิบายให้ชาวบ้านเข้าใจง่าย ๆ แล้วเผยแพร่ เช่นโพสต์ทางเฟซบุ๊กนี้ ทางไลน์ หรือทางช่องทางสื่อสารอื่น ๆ ก็จะเป็นการเผยแผ่หลักวิชาทางพระพุทธศาสนา เป็นการรักษาสืบต่อพระพุทธศาสนาได้ทางหนึ่ง นี่คืองานโดยตรงของนักเรียนบาลี

      ในสังคมสงฆ์   -หรือที่ปัจจุบันนี้มีคำที่นิยมใช้กันว่า “สังฆะ”  -มีหลักอยู่ว่า เมื่ออยู่ร่วมกันและจะต้องทำกิจอย่างใด ๆ อันเกี่ยวด้วยหมู่คณะ

(๑) จะต้องพร้อมใจกันทำ
(๒) และตกลงใจทำกิจนั้นตามความเห็นชอบร่วมกัน
(๓) ไม่ทำกิจอันเกี่ยวกับส่วนรวมไปตามความเห็นหรือความชอบใจส่วนตัว
(๔) กิจใดกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการไว้อย่างไร ต้องปฏิบัติตามนั้นอย่างเคร่งครัด


มีข้อควรสังเกตว่า   “สังฆกรรม”  ทุกประเภท หากเป็นกรณีที่ต้องขอมติจากที่ประชุม มตินั้นจะต้องเป็น “เอกฉันท์” หากมีเสียงคัดค้านหรือทักท้วงแม้เพียงเสียงเดียว จะต้องยกเลิกหรือต้องพิจารณาทบทวนกันใหม่ทันที

คำที่รู้จักกันว่า “เยภุยยสิกา” = ถือเสียงข้างมาก ใช้สำหรับกรณีระงับวิวาทาธิกรณ์เท่านั้น ไม่ใช้ในกรณีทำสังฆกรรม

“สังฆกรรม” ของสังฆะจึงนับได้ว่าเป็นแม่แบบของระบบประชาธิปไตยที่แท้จริง ทั้งยังมีธรรมาธิปไตยเป็นพื้นฐานรองรับอีกด้วย


พลเรือตรี ทองย้อย แสงสินชัย
ภาคีสมาชิก ราชบัณฑิตยสภา
๒๗ กรกฎาคม ๒๕๖๗
๑๐:๑๔






Admin Bee

สนับสนุน Misc.Today

นี่คือ ลิ้งค์พันธมิตร หรือที่เรียกว่า affiliate link ซึ่งหมายความว่า... หากคุณคลิ๊กลิ้งค์นี้ และซื้อผลิตภัณฑ์ อะไรก็ได้ ฉันจะได้ค่าคอมมิชชั่นเล็กน้อย สิ่งนี้จะช่วยสนับสนุนเว็บไซด์ และช่วยให้กำลังใจเราต่อไป


  ชาหมักคอมบูชะ Scoby doit  


 






 

คุณอาจสนใจ

5 บทความ ยอดนิยม ในรอบ 30 วัน

🟡 โพสต์แนะนำ

คริสเตียนไซออนนิสท์ คือใคร ? - Christian Zionist

ช่วงนี้ ผมติดตามหาข้อมูลเกี่ยวกับ อิสราเอล กับ ปาเลสไตน์ ครับ ส่วนใหญ่จะเป็นแนวประวัติศาสตร์เสียมาก เพราะผมมีความเชื่อส่วนตัวว่า การที่เราจะ...

Popular Posts

แนะนำหนังสือ


  BOOKs OF THE DAY








ผู้สนับสนุน







Xiaomi Kingsmith Walking Pad

 Xiaomi Kingsmith Walking Pad R1 Pro/ R2 ลู่เดิน/วิ่งไฟฟ้า พับเก็บได้ สำหรับการออกกำลังกายภายในบ้าน >> คลิ๊กดูเพิ่มอีก


ป้ายกำกับ / Tag labels

2475 (1) กฎหมาย (4) กฐิน (2) กรรม (5) กระเป๋า (3) กรุงเทพฯ (19) กรุงศรีอยุธยา (12) กล้องถ่ายภาพ (7) กลอน (4) กลาโหม (9) การเกษตร (7) การจัดเก็บ (3) การปกครอง (1) การเมือง (54) การศึกษา (131) กิจกรรมกลางแจ้ง (2) กีฬา (3) เกษตร (3) เกี่ยวกับสัตว์ (14) ไกลกังวล (1) ขงจื้อ (1) ขนม (2) ขอมไม่ใช่เขมร (6) ข้าว (3) ข่าวสาร (22) ขิง (1) เขมร (10) โขน (2) คณะราษฎร (10) คติธรรม (1) คนเล่านิทาน (15) ครัว (1) ครู (6) ความเชื่อ (12) ความรู้ (157) คอมมิวนิสต์ (34) คำภีร์ (2) คำสอน (11) เครื่องบิน (7) เงินตรา (4) จอมพล ป. พิบูล (1) จอมพล ป. พิบูลสงคราม (13) จีน (53) ช้าง (1) ชายแดนใต้ (5) ญี่ปุ่น (15) ดนตรีไทย (1) ดอกไม้ (1) เด็ก (5) เดนมาร์ก (1) ต้นไม้ (4) ตลาดนัด (1) ตำรวจ (2) เตา (1) เตือนภัย (17) แต่งงาน (1) ทรัพยากร (2) ทวิตเตอร์ (1) ทหาร (9) ท่องเที่ยว (28) ทะเล (3) ทัศนะ (50) ทำบุญ (5) ทำอาหาร (5) เทคโนโลยี (13) โทรศัพท์มือถือ (2) ธนบัตร (1) ธนาคาร (4) ธรณี (1) ธรรมชาติ (10) ธรรมในคำกลอน (1) ธรรมะ (6) ธรรมาธิปไตย (2) ธุรกิจ (10) นราธิวาส (3) นวดไทย (1) นักบิน (1) นักเรียน (4) นางใน (1) นาซี (1) นายกรัฐมนตรี (3) น้ำมัน (1) นิทานพื้นบ้าน (1) นิยาย (3) นิวเคลียร์ (1) เนปาล (1) แนะนำสินค้า (38) โนรา (1) ในหลวง ร.10 (1) ในหลวงรัชกาลที่ 9 (15) บริการ (3) บริหาร (3) บ่อน (1) บัตรเครดิต (2) บัตรประชาชน (1) บุคคล (42) บุญ (3) บุหรี่ (1) เบตง (1) แบรนด์ไทย (5) โบราณวัตถุ (13) โบราณสถาน (6) โบสถ์ (2) ประชาธิปไตย (54) ประท้วง (7) ประเทศไทย (178) ประธานาธิบดี (1) ประวัติศาสตร์ (149) ปรัชญาชีวิต (21) ปรีดี (2) ปลูกต้นไม้ (3) ปูติน (1) ผลไม้ (2) ผลิต (3) ผัก (1) ผิวสี (1) แผ่นดินไหว (1) ฝรั่งเศส (6) พม่า (6) พยาบาล (1) พระเจ้าตากสินมหาราช (2) พระนเรศ (1) พระพุฒาจารย์ (1) พระพุทธเจ้า (1) พระราชกรณียกิจ (4) พระสงฆ์ (10) พราหมณ์ (1) พิบูลสวัสดี (1) พิพิธภัณฑ์ (9) พุทธทาส (1) พุทธศาสนา (11) เพชรบุรี (3) เพลง (8) เพลงผ้า ปรพากย์ (1) แพทย์ (4) ฟาโรห์ (1) ไฟ (4) ไฟฉาย (1) ไฟฟ้า (1) ภัยพิบัติ (1) ภาคใต้ (6) ภาคอีสาน (1) ภาษา (10) ภาษิต (1) ภูเขาไฟ (1) ภูมิปัญญา (19) ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ (1) มวยไทย (5) มาเลเซีย (1) มุมไบ (2) มุสลิม (2) แม่ (1) ไม้ไผ่ (1) ยา (1) ยิว (3) ยูนนาน (1) เยาวชน (1) เยาวราช (1) รถเมล์ (3) รองเท้า (2) ระเบิด (3) รัชกาลที่ ๒ (1) รัชกาลที่ ๔ (3) รัชกาลที่ ๕ (7) รัชกาลที่ ๖ (1) รัชกาลที่7 (8) รัชกาลที่ ๘ (5) รัฐประหาร (7) รัสเซีย (12) ราชาศัพท์ (1) รามเกียรติ์ (1) เรือ (2) เรื่องเก่า (81) เรื่องเล่า (23) โรค (5) โรคระบาด (4) โรงงาน (1) โรงพยาบาล (10) โรงเรียน (16) โรฮิงญา (1) ลอนดอน (1) ลัทธิ (2) ลัทธิมาร์กซ์ (3) ล้านนา (3) ลาว (4) ลิง (1) เลือกตั้ง (9) โลก (5) โลกร้อน (3) วัฒนธรรม (2) วัด (14) วันแม่ (1) วันสำคัญ (5) วิทยาศาสตร์ (9) วิทยุ (2) วิหาร (4) เวียดนาม (4) ไวรัล (1) ศัพท์ (1) ศาสนา (36) ศิริราช (5) ศิลปะ (5) ศิลปาชีพ (1) เศรษฐกิจ (3) สงขลา (1) สงคราม (50) สถานีรถไฟ (1) สนามบิน (2) สเปน (1) สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร (2) สมัยเมจิ (1) สยาม (12) สวนสนุก (1) สวิตเซอร์แลนด์ (2) สังคม (38) สำนวน (8) สิ่งประดิษฐ์ (13) สื่อ (3) สุขภาพ (14) สุภาพจิต (6) สุสาน (1) หนังแท้ (4) หนังสือ (31) หนังสือพิมพ์ (1) หนู (1) ห้องเรียน (4) เหมาเจ๋อตง (2) เหรียญ (1) อเมริกา (37) ออสเตรีย (1) อังกฤษ (6) อาชีพ (1) อาหาร (16) อาหารจานโปรด (9) อิตาลี (3) อินเดีย (8) อิสราเอล (3) อียิปต์ (1) อีสาน (1) แอปพลิเคชัน (4) ไอร์แลนด์ (1) cpr (1) deep state (1) democracy (1) Diarymisc (3) facebook (1) handmade (1) leather (1) marxism (1) metaverse (1) nomad (6) Nuclear (1) OPENUP (1) powerbank (1) shopee (1) Social media (2) social views (114) startup (1) UNESCO (4) xiaomi (1)


Miscellaneous | Misc.Today 🌱 . ขับเคลื่อนโดย Blogger.

 
miscthailand