ในสมัยก่อน เมื่อถึงหน้าว่าว คือตั้งแต่ปลายฤดูหนาว จนเข้าสู่ต้นหน้าฝน ท้องฟ้าในกรุงเทพมหานคร จะเต็มไปด้วยว่าวที่เด็กๆ พากันชักชึ้นไปอย่างสนุกสนาน ส่วนผู้ใหญ่ ก็นิยมไปดูว่าว รวมทั้งแข่งว่าวพนัน เพราะในขณะนั้น ยังไม่มีสิ่งก่อสร้างที่จะเป็นอุปสรรคในการเล่นว่าว รวมทั้งยังไม่มีสิ่งเริงรมย์มากมายเช่นในปัจจุบัน
กีฬาว่าวไทย จึงเป็นของคู่กับชีวิตคนไทย ทั้งในเขตเมืองและชนบททั่วประเทศ
ในประเทศไทยมี หลักฐานว่า คนไทยรู้จักการเล่นว่าว มาตั้งแต่ครั้งกรุงสุโขทัย ในพงศาวดารเหนือ กล่าวถึงพระร่วง ว่า ทรงโปรดการทรงว่าว และในตำราท้าวศรีจุฬาลักษณ์ ก็มีการกล่าวถึงพระราชพิธีบุษยาภิเษกในเดือนยี่ว่า "เป็นนักขัตฤกษ์ที่นางสนมกำนัลได้ดูการเล่นว่าวหง่าวที่มีเสียงไพเราะ"
ในประเทศไทยมี หลักฐานว่า คนไทยรู้จักการเล่นว่าว มาตั้งแต่ครั้งกรุงสุโขทัย ในพงศาวดารเหนือ กล่าวถึงพระร่วง ว่า ทรงโปรดการทรงว่าว และในตำราท้าวศรีจุฬาลักษณ์ ก็มีการกล่าวถึงพระราชพิธีบุษยาภิเษกในเดือนยี่ว่า "เป็นนักขัตฤกษ์ที่นางสนมกำนัลได้ดูการเล่นว่าวหง่าวที่มีเสียงไพเราะ"
"พระราชพิธีแคลง"
ในสมัยอยุธยา ชาวไทยนิยมเล่นว่าว จนเกิดกฏมณเฑียรบาล ห้ามเล่นว่าวข้ามพระราชวัง ?!!
* และได้เกิดพระราชพิธีเกี่ยวกับว่าวขึ้น เรียกว่า "พระราชพิธีแคลง" หรือ มีพระราชพิธีคลึม
ซึ่งก็คือ พิธีชักว่าวเรียกลม โดยในคำให้การ ชาวกรุงเก่า กล่าวไว้ว่า ในเดือนอ้าย เป็นพิธีกรรมที่แสดงความสนุก ดังปรากฏในทวาทศมาส และกาพย์ห่อโคลงนิราศธารโศก ของเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ ว่า ....
.. ฤดูราษฎรเหล้น มหรสพทุกทั่วหญิงชายพวง พวกพ้องสวนเสียงสำเนียงจบ เจียรโลกแสนสนุกนิถ้วนถ้อง ทั่วเมือง ...
* กาพย์ห่อโคลงนิราศธารโศก พระนิพนธ์ของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศ หรือ เจ้าฟ้ากุ้ง
... เดือนอ้ายผายกรุงท้าว พิธีว่าวกล่าวกลแสดงเดือนนี้พิธีแคลง กลุ้มท้องฟ้าคลาอรไกลฯมฤคเศียรดลมาศเกล้า ลมแรงว่าวง่าวพิธีแสดง แหล่งหล้าเรียกชื่อพิธีแขลง โดยที่สาวส่งขึ้นลอยฟ้า ร่ายร้องคนึงสาวฯ ...
กำเนิดชื่อ "ว่าวจุฬา"
ในสมัยอยุธยาได้ปรากฏชื่อ "ว่าวจุฬา" ขึ้นเป็นครั้งแรก ในสมัยพระเพทราชา แม่ทัพแห่งกรุงศรีอยุธยา สามารถปราบเจ้าเมืองนครราชสีมา ซึ่งเป็นกบฏได้ ด้วยใช้หม้อดินดำผูกสายป่านว่าวจุฬา ล่ามชนวนชักข้ามกำแพง เข้าเผาเมืองจนระส่ำระสาย ทำให้ตีเมืองสำเร็จ !!!
*กำเนิดชื่อ "ว่าวปักเป้า"
สมัยแผ่นดินของพระพุทธเจ้าเสือ นอกเหนือจากที่ทรงโปรดการชกมวยแล้ว ยังทรงโปรดการเล่นว่าว และคว้าจุฬาปักเป้ากับ ข้าราชบริพารเสมอๆ คำว่า "ว่าวปักเป้า" จึงเป็นว่าวอีกชนิดหนึ่งที่ปรากฏขึ้น ในสมัยนี้และเป็นที่รู้จักกันแพร่หลายตั้งแต่นั้นมา
สมัยแผ่นดินของพระพุทธเจ้าเสือ นอกเหนือจากที่ทรงโปรดการชกมวยแล้ว ยังทรงโปรดการเล่นว่าว และคว้าจุฬาปักเป้ากับ ข้าราชบริพารเสมอๆ คำว่า "ว่าวปักเป้า" จึงเป็นว่าวอีกชนิดหนึ่งที่ปรากฏขึ้น ในสมัยนี้และเป็นที่รู้จักกันแพร่หลายตั้งแต่นั้นมา
ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ การละเล่น และกีฬาว่าว มีกล่าวไว้มากมาย เช่น
- ในตำนานวังหน้า กล่าวไว้ว่า
"พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และสมเด็จกรมพระราชวังบรวมหาเสนานุรักษ์ พระอนุชาธิราช โปรดการทรงว่าวมาก จนมีคำกล่าวว่า วังหลวงทรงจุฬา วังหน้าทรงปักเป้า..."
ในสมัยรัชกาลที่ 5 นี้ มีนักว่าวมือดี คือ พระยาภิรมย์ภักดี (ชม เศรษฐบุตร) ถนัดในการเล่นว่าวปักเป้า ต่อมาพระยาภิรมย์ภักดีได้แต่งตำราขึ้น ชื่อว่า “ตำนานว่าวพนัน ตำราผูกว่าว วิธีชักว่าว และการเล่นว่าวต่อสู่กันในอากาศ”
* ว่าวพนัน
การเล่นว่าวพนัน ว่าวจุฬา ว่าวปักเป้า ของไทย
โดย : พระยาภิรมย์ภักดี (บุญรอด เศรษฐบุตร, พ.ศ. 2415-2493)
ถือเป็นวิธีการเล่นที่พิเศษกว่าการเล่นว่าวในวัฒนธรรมอื่น
ท่านอธิบายว่า “ว่าวของประเทศใดในโลกนี้ จะเอาขึ้นเล่นต่อสู้ ถึงทำสงครามกันในอากาศ เอาแพ้ชนะกันได้เหมือนว่าวของเราไม่มีเลย ต้องนับว่าว่าวพนันของเราเล่นได้แปลกประหลาดเลิศกว่าว่าวทั้งหลายของต่างประเทศ ... จริงอยู่ทุกประเทศเขาทำว่าวเล่นกันมาแต่ดึกดำบรรพ์ และยังซ้ำมีเล่นมาก่อนไทยเราเสียอีก แต่เขาเอาขึ้นไปลอยอยู่บนอากาศเฉยๆ ผู้เล่นหาสามารถจะบังคับให้มันไปซ้ายมาขวาขึ้นลงคว้ากันจนเป็นเกมไม่”
ว่าวพนันเป็นกีฬากลางแจ้งในฤดูร้อนของภาคกลาง โดยเริ่มเล่นกันในช่วงเดือนมีนาคมถึงเมษายน ว่าวพนันที่ใช้แข่งขันมี 2 ชนิด คือ ว่าวจุฬา และ ว่าวปักเป้า
โดย : พระยาภิรมย์ภักดี (บุญรอด เศรษฐบุตร, พ.ศ. 2415-2493)
ถือเป็นวิธีการเล่นที่พิเศษกว่าการเล่นว่าวในวัฒนธรรมอื่น
ท่านอธิบายว่า “ว่าวของประเทศใดในโลกนี้ จะเอาขึ้นเล่นต่อสู้ ถึงทำสงครามกันในอากาศ เอาแพ้ชนะกันได้เหมือนว่าวของเราไม่มีเลย ต้องนับว่าว่าวพนันของเราเล่นได้แปลกประหลาดเลิศกว่าว่าวทั้งหลายของต่างประเทศ ... จริงอยู่ทุกประเทศเขาทำว่าวเล่นกันมาแต่ดึกดำบรรพ์ และยังซ้ำมีเล่นมาก่อนไทยเราเสียอีก แต่เขาเอาขึ้นไปลอยอยู่บนอากาศเฉยๆ ผู้เล่นหาสามารถจะบังคับให้มันไปซ้ายมาขวาขึ้นลงคว้ากันจนเป็นเกมไม่”
ว่าวพนันเป็นกีฬากลางแจ้งในฤดูร้อนของภาคกลาง โดยเริ่มเล่นกันในช่วงเดือนมีนาคมถึงเมษายน ว่าวพนันที่ใช้แข่งขันมี 2 ชนิด คือ ว่าวจุฬา และ ว่าวปักเป้า
(ภาพ-พระยาภิรมย์ภักดี (ชม เศรษฐบุตร) ชนะเล่นว่าวได้ที่ 1 )
(ภาพจาก หอจดหมายเหตุ กรมศิลปากร)
(ภาพจาก หอจดหมายเหตุ กรมศิลปากร)
ข้อมูลอ้างอิง
(อ้างจากบทโทรทัศน์ รายการ อยู่อย่างไทย เรื่อง ย้อนอดีตว่าวไทย ของสุรินทร์ แปลงประสพโชค. 13 พฤษภาคม 2529)
เรียบเรียงโดย :: สถาบันไทยศึกษา จุฬาฯ Institute Of Thai Studies, Chulalongkorn university | *เพิ่มเติมโดย misc.today