ค้นหาบทความ 🙄





2/06/68

อภิชนาธิปไตย (Aristocracy) คืออะไร ? | #บาลีวันละคำ

    อภิชนาธิปไตย (Aristocracy) เป็นรูปแบบการปกครอง ที่อำนาจอยู่ในมือของ กลุ่มบุคคลชั้นสูง หรือกลุ่มชนชั้นนำ ซึ่งมักเป็นกลุ่มที่มีฐานะทางเศรษฐกิจ สังคม หรือการเมืองที่โดดเด่นกว่าคนทั่วๆ ไป


อภิชนาธิปไตย (Aristocracy)


 โดย คำว่า "อภิชนาธิปไตย" มาจากภาษากรีก โดย "อภิ" (Aristo) 
หมายถึง "ดีที่สุด" หรือ "ชั้นสูง" และ "ปไตย" (Kratos) 
หมายถึง "อำนาจ" หรือ "การปกครอง" 

    ในระบบ อภิชนาธิปไตย การตัดสินใจทางการเมืองและสังคม มักจะถูกควบคุมโดยกลุ่มคนจำนวนน้อยที่มีคุณสมบัติเฉพาะ อาทิ  กลุ่มบุคคลที่มีฐานะร่ำรวย มีการศึกษาสูง  หรือ มีเชื้อสายตระกูลที่โด่งดัง  ระบบนี้แตกต่างจาก ระบบประชาธิปไตย ที่อำนาจอยู่ในมือของประชาชนส่วนใหญ่ หรือระบบราชาธิปไตยที่อำนาจอยู่ในมือของกษัตริย์หรือราชินีเพียงคนเดียว ....

   อภิชนาธิปไตย  อาจเกิดขึ้นได้ในหลายรูปแบบ ตั้งแต่การปกครองโดยกลุ่มขุนนางในยุคกลาง  ไปจนถึงการควบคุมโดยกลุ่มผู้นำทางเศรษฐกิจ หรือการเมืองในยุคสมัยใหม่ ...อย่างไรก็ตาม ระบบนี้มักถูกวิจารณ์ว่าไม่เป็นธรรม เพราะมักกีดกันคนส่วนใหญ่จากการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจที่สำคัญ


อภิชนาธิปไตย
อ่านว่า อะ-พิ-ชะ-นา-ทิ-ปะ-ไต 
#บาลีวันละคำ โดย ทองย้อย แสงสินชัย

ประกอบด้วยคำว่า  อภิชน + อธิปไตย

(๑) “อภิชน”   อ่านว่า อะ-พิ-ชน แยกศัพท์เป็น อภิ + ชน

(ก) “อภิ” (อะ-พิ) เป็นคำอุปสรรค มีความหมายว่า เหนือ, ทับ, ยิ่ง, ข้างบน (over, along over, out over, on top of) โดยอรรถรสของภาษาหมายถึง มากมาย, ใหญ่หลวง (very much, greatly)
(ข) “ชน” บาลีอ่านว่า ชะ-นะ รากศัพท์มาจาก ชนฺ (ธาตุ = เกิด) + อ (อะ) ปัจจัย
: ชนฺ + อ = ชน แปลตามศัพท์ว่า -
(1) “ผู้ยังกุศลหรืออกุศลให้เกิดได้” เป็นคำแปลที่ตรงตามสัจธรรม เพราะธรรมดาของคน ดีก็ทำได้ ชั่วก็ทำได้
(2) “ผู้ยังตัวตนให้เกิดตามกรรม” หมายความว่า นอกจากทำกรรมได้แล้ว ยังทำ “ตัวตน” (คน) ให้เกิดได้อีก

“ชน”  หมายถึง บุคคล, สัตว์, คน (an individual, a creature, person, man)
อภิ + ชน = อภิชน แปลตามศัพท์ว่า “คนผู้ยิ่ง” หมายถึง คนที่อยู่ในฐานะยิ่งใหญ่หรือสูงกว่าคนอื่น ๆ
ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า -
“อภิชน, อภิชน- : (คำนาม) ชนผู้สืบมาจากตระกูลสูง. (ป., ส.).”


(๒) “อธิปไตย”  
บาลีเป็น “อาธิปเตยฺย” (อา-ทิ-ปะ-เตย-ยะ) รากศัพท์มาจาก อธิปติ + ณฺย ปัจจัย

(ก) “อธิปติ” อ่านว่า อะ-ทิ-ปะ-ติ รากศัพท์มาจาก อธิ + ปติ
(1) “อธิ” (อะ-ทิ) เป็นคำอุปสรรค นักเรียนบาลีแปลกันว่า ยิ่ง, ใหญ่, ทับ

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แสดงความหมายไว้ว่า -

1) บอกทิศทาง, จุดหมาย = จนถึง, เหนือ, ไปยัง, บน (up to, over, toward, to, on)
2) บอกสถานที่ = บนยอด, ข้างบน, เหนือ, บน (on top of, above, over)
(2) “ปติ” (ปะ-ติ) รากศัพท์มาจาก -
(ก) ปา (ธาตุ = รักษา, ดูแล) + ติ ปัจจัย, รัสสะ อา ที่ ปา เป็น อะ (ปา > ป)
: ปา + ติ = ปาติ > ปติ แปลตามศัพท์ว่า “ผู้รักษา”
(ข) ปตฺ (ธาตุ = ไป, เป็นไป) + อิ ปัจจัย
: ปตฺ + อิ = ปติ แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ดำเนินไปข้างหน้า”
“ปติ” (ปุงลิงค์) ในบาลีใช้ในความหมายว่า -
(1) พ่อบ้าน, นาย, เจ้าของ, ผู้นำ (lord, master, owner, leader)
(2) สามี (husband)

อธิ + ปติ = อธิปติ แปลตามศัพท์ว่า “เจ้านายผู้เป็นใหญ่”

อีกนัยหนึ่ง “อธิปติ” รากศัพท์มาจาก อธิ (คำอุปสรรค = ยิ่ง, ใหญ่, ทับ) + ปา (ธาตุ = รักษา, ปกครอง) + ติ ปัจจัย, รัสสะ อา ที่ ปา เป็น อะ (ปา > ป)
: อธิ + ปา = อธิปา + ติ = อธิปาติ > อธิปติ แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ปกครองใหญ่”

“อธิปติ” ในบาลีใช้ในความหมายดังนี้ -

(1) ผู้ปกครอง, เจ้าใหญ่ (ruler, master)
(2) ครอบครอง, ปกครอง, มีอำนาจเหนือ; อยู่ใต้อำนาจ หรือปกครองโดย- (ruling over, governing, predominant; ruled or governed by)
(ข) อธิปติ + ณฺย ปัจจัย, ทีฆะ อะ ที่ อ-(ธิ) เป็น อา (อธิ > อาธิ), ลบ ณฺ ที่ ณฺย ปัจจัย, ซ้อน ยฺ ระหว่างศัพท์กับปัจจัย (-ปติ + ยฺ + ณฺย), แปลง อิ ที่ (ป)-ติ เป็น เอ (-ปติ > -ปเต)
: อธิปติ + ณฺย = อธิปติณฺย > อาธิปติณฺย > อาธิปติย > อาธิปติยฺย > อาธิปเตยฺย (นปุงสกลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “ความเป็นผู้เป็นใหญ่ยิ่ง” หมายถึง อำนาจอธิปไตย, ความเป็นใหญ่, ความเป็นเอกราช, อำนาจ (supreme rule, lordship, sovereignty, power)

“อาธิปเตยฺย” ใช้ในภาษาไทยเป็น “อธิปไตย”
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า -
“อธิปไตย : (คำนาม) อํานาจสูงสุดของรัฐที่จะใช้บังคับบัญชาภายในอาณาเขตของตน. (ป. อธิปเตยฺย ว่า ความเป็นใหญ่ยิ่ง). (อ. sovereignty).”
อภิชน + อาธิปเตยฺย = อภิชนาธิปเตยฺย แปลว่า “ความเป็นใหญ่ของคนผู้ยิ่งใหญ่” หมายถึง คนผู้ยิ่งใหญ่มีอำนาจเหนือคนอื่น ๆ
“อภิชนาธิปเตยฺย” ใช้ในภาษาไทยเป็น “อภิชนาธิปไตย” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า -
“อภิชนาธิปไตย : (คำนาม) ระบอบการปกครองแบบหนึ่งที่มีอภิชนเป็นใหญ่. (ป. อภิ + ชน + อธิปเตยฺย). (อ. aristocracy).”
“อภิชนาธิปไตย” เป็นศัพท์บัญญัติจากคำอังกฤษว่า aristocracy :
พจนานุกรมอังกฤษ-บาลี แปล aristocracy เป็นบาลีดังนี้:
(1) issarajanatā อิสฺสรชนตา (อิด-สะ-ระ-ชะ-นะ-ตา) = สถานะของคนที่เป็นใหญ่
(2) adhipatīhi pālana อธิปตีหิ ปาลน (อะ-ทิ-ปะ-ตี-หิ ปา-ละ-นะ) = การปกครองโดยคนที่เป็นใหญ่


ขยายความ :

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี ที่คำว่า “อภิชนาธิปไตย”
(อ่านเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2568 เวลา 20:30 น.)
อธิบายความหมายของคำว่า “อภิชนาธิปไตย” ดังนี้ -

       อภิชนาธิปไตย (อังกฤษ: aristocracy) เป็นระบอบการปกครองที่อำนาจอยู่ในมือของชนชั้นปกครองกลุ่มเล็ก ๆ ซึ่งมีอภิสิทธิ์ เรียกว่า กลุ่มอภิชน (aristocracy)

      ในด้านศัพทมูลนั้น คำว่า "aristocracy" ในภาษาอังกฤษ มาจาก "aristokratia" ในภาษากรีก หมายถึง "การปกครองโดยผู้ที่ดีที่สุด" (rule of the best) ทั้งนี้ เพราะในเวลาที่คำนี้ถือกำเนิดขึ้นในกรีซโบราณ ชาวกรีกมองว่า "อภิชนาธิปไตย" หมายถึง  การปกครองโดยพลเมืองที่มีคุณสมบัติดีที่สุด และมักใช้เปรียบเทียบว่าแตกต่างจากระบอบราชาธิปไตย (การปกครองโดยคนคนเดียว) ในลักษณะที่เห็นว่า "อภิชนาธิปไตย" ดีกว่า ผู้ใช้คำ "อภิชนาธิปไตย" เป็นคนแรก คือ แอริสตอเติล และเพลโต โดยใช้เรียกระบบที่พลเมืองกลุ่มที่ดีที่สุดได้รับเลือกผ่านกระบวนการอันถี่ถ้วนให้ขึ้นเป็นผู้ปกครอง และมีการห้ามสืบทอดตำแหน่งผ่านทางตระกูล เว้นแต่ลูกหลานของผู้ปกครองนั้นแสดงให้เห็นว่า ปฏิบัติงานได้ดีเลิศ และมีคุณลักษณะที่ดีสมจะเป็นผู้ปกครองได้เมื่อเทียบกับพลเมืองคนอื่น ๆ ในหน่วยการเมืองเดียวกัน ส่วนการปกครองที่มีการสืบทอดตำแหน่งผ่านทางตระกูลนั้น ... มองกันว่า เกี่ยวข้องกับระบอบคณาธิปไตยมากกว่า ซึ่งเป็นรูปแบบที่ฉ้อฉลของอภิชนาธิปไตย เพราะถึงแม้การปกครองอยู่ในมือของคณะบุคคล แต่ก็ไม่ใช่กลุ่มบุคคลที่ดีที่สุด ปรัชญาเมธีหลายคน เช่น แอริสตอเติล เพลโต โสกราตีส และเซโนโฟน เห็นว่า อภิชนาธิปไตย ซึ่งเป็นรูปแบบในอุดมคติของการปกครองโดยคนจำนวนน้อยนั้น โดยสภาพแล้ว ดีกว่าประชาธิปไตย ซึ่งเป็นรูปแบบในอุดมคติของการปกครองโดยคนจำนวนมาก แต่ก็เห็นว่า คณาธิปไตย ซึ่งเป็นรูปแบบที่ฉ้อฉลของอภิชนาธิปไตยนั้น เลวร้ายกว่ากฎหมู่ ซึ่งเป็นรูปแบบที่ฉ้อฉลของประชาธิปไตย ...

      ในยุคปัจจุบัน "อภิชนาธิปไตย" มักใช้หมายถึง การปกครองโดยกลุ่มคนที่มีอภิสิทธิ์ (กลุ่มอภิชน) และมักใช้เปรียบเทียบว่าแตกต่างจากระบอบประชาธิปไตย
..............

ดูก่อนภราดา!

: ระบอบการปกครองใด ๆ ก็ไร้ผล
: ถ้าไม่สร้างคนที่รู้จักปกครองตนเอง


Admin Bee

สนับสนุน Misc.Today

นี่คือ ลิ้งค์พันธมิตร หรือที่เรียกว่า affiliate link ซึ่งหมายความว่า... หากคุณคลิ๊กลิ้งค์นี้ และซื้อผลิตภัณฑ์ อะไรก็ได้ ฉันจะได้ค่าคอมมิชชั่นเล็กน้อย สิ่งนี้จะช่วยสนับสนุนเว็บไซด์ และช่วยให้กำลังใจเราต่อไป


  ชาหมักคอมบูชะ Scoby doit  


 






 

คุณอาจสนใจ

5 บทความ ยอดนิยม ในรอบ 30 วัน

🟡 โพสต์แนะนำ

คริสเตียนไซออนนิสท์ คือใคร ? - Christian Zionist

ช่วงนี้ ผมติดตามหาข้อมูลเกี่ยวกับ อิสราเอล กับ ปาเลสไตน์ ครับ ส่วนใหญ่จะเป็นแนวประวัติศาสตร์เสียมาก เพราะผมมีความเชื่อส่วนตัวว่า การที่เราจะ...

Popular Posts

แนะนำหนังสือ


  BOOKs OF THE DAY








ผู้สนับสนุน







Xiaomi Kingsmith Walking Pad

 Xiaomi Kingsmith Walking Pad R1 Pro/ R2 ลู่เดิน/วิ่งไฟฟ้า พับเก็บได้ สำหรับการออกกำลังกายภายในบ้าน >> คลิ๊กดูเพิ่มอีก


ป้ายกำกับ / Tag labels

2475 (1) กฎหมาย (5) กฐิน (2) กรรม (5) กระเป๋า (3) กรุงเทพฯ (19) กรุงศรีอยุธยา (12) กล้องถ่ายภาพ (7) กลอน (4) กลาโหม (9) การเกษตร (7) การจัดเก็บ (3) การปกครอง (2) การเมือง (57) การศึกษา (133) กิจกรรมกลางแจ้ง (2) กีฬา (3) เกษตร (3) เกี่ยวกับสัตว์ (15) ไกลกังวล (1) ขงจื้อ (1) ขนม (2) ขอมไม่ใช่เขมร (6) ข้าว (3) ข่าวสาร (22) ขิง (1) เขมร (10) โขน (2) คณะราษฎร (11) คติธรรม (1) คนเล่านิทาน (15) ครัว (1) ครู (6) ความเชื่อ (13) ความรู้ (164) คอมมิวนิสต์ (34) คำภีร์ (2) คำสอน (12) เครื่องบิน (7) เงินตรา (4) จอมพล ป. พิบูล (1) จอมพล ป. พิบูลสงคราม (13) จีน (53) ช้าง (1) ชายแดนใต้ (5) ญี่ปุ่น (15) ดนตรีไทย (1) ดอกไม้ (1) เด็ก (5) เดนมาร์ก (1) ต้นไม้ (4) ตลาดนัด (1) ตำรวจ (2) เตา (1) เตือนภัย (17) แต่งงาน (1) ทรัพยากร (2) ทวิตเตอร์ (1) ทหาร (9) ท่องเที่ยว (28) ทะเล (3) ทัศนะ (52) ทำบุญ (5) ทำอาหาร (4) เทคโนโลยี (13) โทรศัพท์มือถือ (2) ธนบัตร (1) ธนาคาร (4) ธรณี (1) ธรรมชาติ (11) ธรรมในคำกลอน (1) ธรรมะ (6) ธรรมาธิปไตย (2) ธุรกิจ (10) นราธิวาส (3) นวดไทย (1) นักบิน (1) นักเรียน (4) นางใน (1) นาซี (1) นายกรัฐมนตรี (3) น้ำมัน (1) นิทานพื้นบ้าน (1) นิยาย (3) นิวเคลียร์ (1) เนปาล (1) แนะนำสินค้า (38) โนรา (1) ในหลวง ร.10 (1) ในหลวงรัชกาลที่ 9 (15) บริการ (3) บริหาร (3) บ่อน (1) บัตรเครดิต (2) บัตรประชาชน (1) บาลีวันละคำ (3) บุคคล (42) บุญ (3) บุหรี่ (1) เบตง (1) แบรนด์ไทย (5) โบราณวัตถุ (13) โบราณสถาน (7) โบสถ์ (2) ประชาธิปไตย (56) ประท้วง (7) ประเทศไทย (178) ประธานาธิบดี (2) ประวัติศาสตร์ (150) ปรัชญาชีวิต (21) ปรีดี (2) ปลูกต้นไม้ (3) ปูติน (1) ผลไม้ (2) ผลิต (3) ผัก (1) ผิวสี (1) แผ่นดินไหว (1) ฝรั่งเศส (6) พม่า (6) พยาบาล (1) พระเจ้าตากสินมหาราช (2) พระนเรศ (1) พระพุฒาจารย์ (1) พระพุทธเจ้า (1) พระราชกรณียกิจ (4) พระสงฆ์ (11) พราหมณ์ (1) พิธีกรรม (1) พิบูลสวัสดี (1) พิพิธภัณฑ์ (9) พุทธทาส (1) พุทธศาสนา (12) เพชรบุรี (3) เพลง (8) เพลงผ้า ปรพากย์ (1) แพทย์ (4) ฟาโรห์ (1) ไฟ (4) ไฟฉาย (1) ไฟฟ้า (1) ภัยพิบัติ (1) ภาคใต้ (6) ภาคอีสาน (1) ภาษา (12) ภาษิต (1) ภูเขาไฟ (1) ภูมิปัญญา (19) ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ (1) มวยไทย (5) มหาสมุทร (1) มาเลเซีย (1) มุมไบ (2) มุสลิม (2) แม่ (1) แมลง (1) ไม้ไผ่ (1) ยา (1) ยิว (3) ยูเครน (1) ยูนนาน (1) เยาวชน (1) เยาวราช (1) รถเมล์ (3) รองเท้า (2) รอบโลก (1) ระบบนิเวศน์ (1) ระเบิด (3) รัชกาลที่ ๒ (1) รัชกาลที่ ๔ (3) รัชกาลที่ ๕ (7) รัชกาลที่ ๖ (1) รัชกาลที่7 (8) รัชกาลที่ ๘ (6) รัฐประหาร (7) รัสเซีย (13) ราชาศัพท์ (1) รามเกียรติ์ (1) เรือ (3) เรื่องเก่า (81) เรื่องเล่า (23) โรค (5) โรคระบาด (4) โรงงาน (1) โรงพยาบาล (10) โรงเรียน (16) โรฮิงญา (1) ลอนดอน (1) ละคร (1) ลัทธิ (2) ลัทธิมาร์กซ์ (3) ล้านนา (3) ลาว (4) ลิง (1) เลือกตั้ง (9) โลก (7) โลกร้อน (4) วัฒนธรรม (2) วัด (14) วันแม่ (1) วันสำคัญ (5) วิทยาศาสตร์ (9) วิทยุ (2) วิหาร (4) เวียดนาม (4) ไวรัล (1) ศัพท์ (2) ศาสนา (37) ศิริราช (5) ศิลปะ (5) ศิลปาชีพ (1) เศรษฐกิจ (3) สงขลา (1) สงคราม (50) สถานีรถไฟ (1) สนามบิน (2) สเปน (1) สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร (2) สมัยเมจิ (1) สยาม (13) สวนสนุก (1) สวิตเซอร์แลนด์ (2) สังคม (38) สำนวน (8) สิ่งประดิษฐ์ (13) สื่อ (4) สุขภาพ (13) สุภาพจิต (6) สุสาน (1) หนังแท้ (4) หนังสือ (31) หนังสือพิมพ์ (1) หนู (1) ห้องเรียน (4) เหมาเจ๋อตง (2) เหรียญ (1) อเมริกา (38) ออสเตรีย (1) อังกฤษ (6) อาชีพ (1) อาหาร (15) อาหารจานโปรด (8) อิตาลี (3) อินเดีย (8) อิสราเอล (3) อียิปต์ (1) อีสาน (1) แอปพลิเคชัน (4) ไอร์แลนด์ (1) cpr (1) deep state (1) democracy (1) Diarymisc (3) facebook (1) handmade (1) leather (1) marxism (1) metaverse (1) nomad (6) Nuclear (1) OPENUP (1) powerbank (1) shopee (1) Social media (2) social views (114) startup (1) UNESCO (4) xiaomi (1)


Miscellaneous | Misc.Today 🌱 . ขับเคลื่อนโดย Blogger.

 
miscthailand