หลายเรื่องราวในหลายรัชกาลเกิดจากภูมิปัญญาของสถาบันกษัตริย์ สถาบันการปกครองไทย และ หลายวาระเกิดจากชะตาฟ้าลิขิตบันดาล…หรือ ปาฏิหาริย์ด้วยซ้ำ จึงทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์ เป็นเสาหลัก ค้ำจุนชาติ บ้านเมืองมายาวนานอย่างสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของโลกสากลเสมอมา..
ผมจะลองเขียนโดยย่อดังนี้…
เมื่อสิ้นในหลวงรัชกาลที่ ๒ …ถ้านับกันตาม ฐานันดรแล้ว…ในหลวงรัชกาลที่ ๔ จะต้องเป็นรัชกาลที่ ๓ … แต่ถ้าเราไม่มี “สมเด็จพระนั่งเกล้าฯ เป็นรัชกาลที่ ๓” เราก็จะไม่มีใครสะสม ”เงินในถุงแดง” เก็บเอาไว้เป็นเงินออมให้เรานำมาใช้ไถ่ถอนแผ่นดินจากมหาอำนาจยุโรป ... รวมถึงการใช้พระราชทุนทรัพย์ทำนุบำรุงแผ่นดิน สร้างวัดวาอาราม บูรณะปฏิสังขรณ์พระบรมมหาราชวังให้งดงามอร่ามเรืองรองมาเป็นมรดกอันล้ำค่าจนถึงปัจจุบัน
ในห้วงเวลาการครองแผ่นดินของรัชกาลที่ 3 นั้น….
ฟ้าก็ขีดเส้นชีวิตให้ “เจ้าฟ้ามงกุฎ” ต้องอยู่ในเพศบรรพชิต บวชเรียน เดินทางไปทั่วราชอาณาจักรเพื่อศึกษาธรรม และเรียนรู้ศาสตร์ศิลปะที่หลากหลายในยามที่การศึกษายุคใหม่จากตะวันตกหลั่งไหลเข้าสู่ตะวันออก
เมื่อเจ้าฟ้ามงกุฎ ได้รับบัลลังก์ คืนมาต่อจากในหลวงรัชกาลที่ ๓ …พระองค์ท่านจึงเป็นพระเจ้าแผ่นดิน ที่ได้รับการศึกษาแบบตะวันตกมากกว่าพระมหากษัตริย์ก่อนหน้านั้น
คำถามก็คือ… ถ้า ฟ้าไม่ลิขิต ให้สมเด็จพระนั่งเกล้ามาเป็นรัชกาลที่ ๓ ก่อนเจ้าฟ้ามงกุฎ…แล้วเจ้าฟ้ามงกุฎ จะทรงมีเวลาหลายสิบปีในเพศบรรพชิตสนใจใฝ่เรียนใฝ่ศึกษาจนแตกฉานหรือไม่ ?
การศึกษาเล่าเรียนในหลายปี ที่เป็นพระภิกษุทำให้ “สมเด็จพระจอมเกล้าฯ”ในหลวงรัชกาลที่ ๔ ให้ความสำคัญกับการศึกษาแบบตะวันตกอย่างมาก….
ดังนั้น จึงโปรดเกล้าฯให้ จัดเตรียมการศึกษาให้กับรัชทายาท และข้าราชบริพารในยุคนั้นอย่างกว้างขวางดังที่เราทราบกันดี
“สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง “ในหลวงรัชกาลที่ ๕ …จึงได้รับการศึกษาจากฝรั่งมาตั้งแต่ทรงพระเยาว์ แม้พระองค์ท่านจะไม่เคยเป็น “นักเรียนนอก” แต่มีความรู้ความเข้าใจในการศึกษาแบบตะวันตกและเดินทางไป “ดูงาน” ในต่างประเทศนำเอาแบบแผนการพัฒนาบ้านเมืองมาปรับใช้กับสยาม
ฟ้าก็ขีดเส้นชีวิตให้ “เจ้าฟ้ามงกุฎ” ต้องอยู่ในเพศบรรพชิต บวชเรียน เดินทางไปทั่วราชอาณาจักรเพื่อศึกษาธรรม และเรียนรู้ศาสตร์ศิลปะที่หลากหลายในยามที่การศึกษายุคใหม่จากตะวันตกหลั่งไหลเข้าสู่ตะวันออก
เมื่อเจ้าฟ้ามงกุฎ ได้รับบัลลังก์ คืนมาต่อจากในหลวงรัชกาลที่ ๓ …พระองค์ท่านจึงเป็นพระเจ้าแผ่นดิน ที่ได้รับการศึกษาแบบตะวันตกมากกว่าพระมหากษัตริย์ก่อนหน้านั้น
คำถามก็คือ… ถ้า ฟ้าไม่ลิขิต ให้สมเด็จพระนั่งเกล้ามาเป็นรัชกาลที่ ๓ ก่อนเจ้าฟ้ามงกุฎ…แล้วเจ้าฟ้ามงกุฎ จะทรงมีเวลาหลายสิบปีในเพศบรรพชิตสนใจใฝ่เรียนใฝ่ศึกษาจนแตกฉานหรือไม่ ?
การศึกษาเล่าเรียนในหลายปี ที่เป็นพระภิกษุทำให้ “สมเด็จพระจอมเกล้าฯ”ในหลวงรัชกาลที่ ๔ ให้ความสำคัญกับการศึกษาแบบตะวันตกอย่างมาก….
ดังนั้น จึงโปรดเกล้าฯให้ จัดเตรียมการศึกษาให้กับรัชทายาท และข้าราชบริพารในยุคนั้นอย่างกว้างขวางดังที่เราทราบกันดี
“สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง “ในหลวงรัชกาลที่ ๕ …จึงได้รับการศึกษาจากฝรั่งมาตั้งแต่ทรงพระเยาว์ แม้พระองค์ท่านจะไม่เคยเป็น “นักเรียนนอก” แต่มีความรู้ความเข้าใจในการศึกษาแบบตะวันตกและเดินทางไป “ดูงาน” ในต่างประเทศนำเอาแบบแผนการพัฒนาบ้านเมืองมาปรับใช้กับสยาม
เพราะรากฐานการศึกษาที่ในหลวงรัชกาลที่ ๔ ปลูกฝังให้แต่เล็กๆ จึงทำให้ในหลวงรัชกาลที่ ๕ “ทรงคุ้นเคยกับฝรั่ง” ที่มาถวายความรู้แก่พระองค์มาตั้งแต่เยาว์วัย
ดังนั้นเมื่อพระองค์ท่าน เสด็จพระราชดำเนินไปยังประเทศมหาอำนาจต่างๆ ในยุโรป พระองค์จึงเสด็จพระราชดำเนินอย่าง “สง่างาม” ด้วยทัศนคติ ที่ไม่ได้คิดว่าตนเองด้อยกว่าฝรั่ง
ในสองรัชกาลนั้นคือ ห้วงวิกฤติของสยามที่สามารถรอดพ้นจากลัทธิล่าอาณานิคมมาได้ด้วยการเดินหน้าเข้าสู่สากลด้วยวิถีการทูตที่ประสบความสำเร็จ
ถ้าฟ้าไม่ลิขิตให้ “เจ้าฟ้ามงกุฎ” ไปเป็นพระภิกษุศึกษาเล่าเรียนอยู่นานปี ..จนเห็นความสำคัญของการศึกษาอย่างยิ่งยวด…”ในหลวงรัชกาลที่ ๕ “ จะได้รับการศึกษาอย่างตะวันตกเป็นอย่างดีมีรากฐานแข็งแรง มาตั้งแต่เล็กๆหรือไม่ ??
ในหลวงรัชกาลที่ ๔ กับ ในหลวงรัชกาลที่ ๕ …ทั้งสองพระองค์ไม่ได้เป็น “นักเรียนนอก” แต่ทุ่มเทให้กับการศึกษาแบบตะวันตกอย่างเต็มที่ทั้งการก่อตั้งโรงเรียนสอนวิชาภาษาอังกฤษหรือส่งไปเรียนในต่างประเทศ
ในหลวงรัชกาลที่ ๕ …ส่งพระราชโอรสและข้าราชบริพารของพระองค์ไปเรียนหนังสือในแทบทุกประเทศมหาอำนาจในยุโรป เพื่อศึกษา และนำความก้าวหน้าในยุโรปกลับมาพัฒนาบ้านเมืองให้ทัดเทียมนานาประเทศ…ดังพระราชดำรัสที่เตือนนักเรียนนอกทุกคนว่า
“ให้พึงนึกในใจไว้ว่าเราไม่ได้มาเรียนจะเปนฝรั่ง เราเรียนเพื่อจะเปนคนไทยที่มีความรู้เสมอด้วยฝรั่ง”
พระราชโอรสของ “สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง” ได้รับการศึกษาจากหลายประเทศสำคัญๆ ในยุโรป…ทั้งเยอรมัน รัสเซีย และโดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศอังกฤษ ที่แทบทุกพระองค์จะต้องมาเรียนวิชาเบื้องต้นที่อังกฤษ ก่อนจะแยกย้ายไปศึกษาต่อในเยอรมัน ฝรั่งเศส หรือ รัสเซีย
จบจากวิกฤติล่าอาณานิคม…ประเทศสยาม ก้าวเข้าสู่วิกฤติสงครามโลก และวิกฤติลัทธิการปกครองแบบตะวันตก ที่ระบอบประชาธิปไตยมาแทนที่ระบอบกษัตริย์ในหลายประเทศที่เปลี่ยนแปลงกันมากมาย !!
เมื่อสิ้นแผ่นดินพระพุทธเจ้าหลวง…
ในหลวงรัชกาลที่ ๖ และในหลวงรัชกาลที่ ๗ ….เป็นพระราชโอรส ที่สำเร็จการศึกษามาจาก “ประเทศอังกฤษ” …ตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงระดับมหาวิทยาลัย
เมื่อในหลวงรัชกาลที่ ๖ ครองราชย์…คือช่วงการเกิดสงครามโลกครั้งที่ ๑ ..ที่มีมหาอำนาจอย่างเยอรมันและอังกฤษอยู่คนละฝั่ง
คิดเล่นๆว่า ถ้าเรามีพระเจ้าอยู่หัวที่สำเร็จการศึกษาจากเยอรมัน…สยามจะอยู่ฝ่ายใด… ? และถ้าอยู่กับฝ่ายเยอรมัน…อะไรจะเกิดขึ้นเมื่อเยอรมันแพ้สงคราม ? !!
ในหลวงรัชกาลที่ ๖ นำสยามเข้ากับฝ่ายอังกฤษและอยู่ในฝ่ายชนะสงคราม
ผลของสงครามโลกครั้งที่ ๑ …สร้างความอ่อนแอให้กับหลายราชวงศ์สำคัญๆ ในยุโรปที่เข้าร่วมรบ เช่น ออสเตรีย , เยอรมัน จนไม่สามารถจะรักษาสถาบันเอาไว้ได้ในเวลาต่อมาไม่นาน ... ต่างจากราชวงศ์อังกฤษ ที่ยืนหยัดมาได้อย่างเข้มแข็งหลังสงครามโลก…
และเราต้องไม่ลืมว่า ประเทศอังกฤษ คือประเทศที่เป็นแม่แบบการปกครองระบบ ประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นพระประมุข ที่ในหลวงรัชกาลที่ ๖ และรัชกาลที่ ๗ รวมทั้งพระประยูรญาติหลายพระองค์ได้มีโอกาสเรียนรู้เมื่อครั้งศึกษาอยู่ที่นั่น ...
“สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง” ทรงเน้นในการส่งพระราชโอรสไปรับการศึกษาที่อังกฤษก่อนที่จะไปเล่าเรียนในประเทศอื่นๆที่สนใจ
แม้จะมีความขัดแย้งวุ่นวายในช่วงการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี ๒๔๗๕ …แต่ในหลวงรัชกาลที่ ๗ ก็ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ในช่วงเปลี่ยนผ่าน และพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรกของประเทศไทยไปสู่การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
ผมเชื่อว่า การที่ทั้งสองพระองค์ ทรงศึกษาจากประเทศอังกฤษ จึงทำให้ประวัติศาสตร์การเปลี่ยนแปลงการปกครองของไทย มิได้รุนแรงเหมือนในหลายประเทศในยุโรป…
ผมเชื่อว่า การที่ทั้งสองพระองค์ ทรงศึกษาจากประเทศอังกฤษ จึงทำให้ประวัติศาสตร์การเปลี่ยนแปลงการปกครองของไทย มิได้รุนแรงเหมือนในหลายประเทศในยุโรป…
ภูมิปัญญาของสถาบันพระมหากษัตริย์ ที่วางรากฐานเอาไว้หลายสิบปีล่วงหน้า ได้ลดทอนความรุนแรงลงมาได้ เมื่อเกิดเหตุการณ์พลิกแผ่นดิน…
เมื่อในหลวงรัชกาลที่ ๗ ทรงสละราชสมบัติ
…พระองค์มิได้เลือกเชื้อพระวงศ์อาวุโสชั้นผู้ใหญ่ขึ้นมาเป็นพระมหากษัตริย์..
หากพระองค์ทรงเลือก “พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล” ในขณะที่มีพระชนมายุเพียง ๙ พรรษา…ขึ้นมาเป็นในหลวงท่ามกลางสถานการณ์วิกฤติที่สุดของราชวงศ์จักรี (ดังปรากฎในพระราชบันทึกถึงพระยาวังสัน ทูตไทยในปารีส)
ในเวลานั้น “ในหลวงอานันท์” ไม่ได้เรียนที่เยอรมัน ไม่ได้เรียนที่อังกฤษ…ไม่ได้ประทับในวังใหญ่หรูหรา แต่ทท่านทรงพักอาศัยอยู่กับ พี่น้องและแม่ใ นอพาร์ตเมนต์ห้องเช่าชั้นล่างที่…สวิตเซอร์แลนด์
นี่เป็นอีกครั้งหนึ่งที่ “ภูมิปัญญาของสถาบันฯ มาบรรจบกับ ฟ้าบันดาล” จนเกิดแผ่นดินใหม่ที่ต่างไปจากอดีตโดยสิ้นเชิง..
…
เป็นที่ทราบกันดีว่า “เจ้าฟ้ามหิดล” ทรงเป็นพระราชโอรสของในหลวงรัชกาลที่ ๕ กับ สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ซึ่งมีพระราชโอรสองค์โต คือ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร ผู้ที่จะต้องเป็นพระมหากษัตริย์องค์ถัดมา
แต่ เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศพระองค์ท่านสิ้นพระชนม์เสียแต่ยังเยาว์ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๓๗
…เส้นทางราชบัลลังก์จึงเปลี่ยนไปยัง เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ ในหลวงรัชกาลที่ ๖ และสืบทอดต่อไปยังพระอนุชาคือ เจ้าฟ้าประชาธิปก ในหลวงรัชกาลที่ ๗ พระราชโอรสของ สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
นั่นก็ดูเหมือนว่า เส้นทางสายราชบัลลังก์จะผ่านเลยบุตรหลานของสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าไปแล้ว
…แต่เมื่อกาลเวลาผ่านไปเกือบ ๔๐ ปี ..เส้นทางสายนั้น พลันหวนคืนมาอย่างไม่มีใครคาดถึง
ในหลวงรัชกาลที่ ๖ ไม่มีพระราชโอรส..
ในหลวงรัชกาลที่ ๗ ไม่มีรัชทายาท…
ในหลวงรัชกาลที่ ๖ ไม่มีพระราชโอรส..
ในหลวงรัชกาลที่ ๗ ไม่มีรัชทายาท…
ชะตาบ้านเมือง ได้ชี้ไปยัง “เจ้านายเล็กๆ” วัย ๙ ปี ที่กำลังวิ่งเล่นอย่างสนุกสนานในโรงเรียนประถม ณ เมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ให้กลายมาเป็น “ยุวกษัตริย์” อันเป็นที่รักของปวงชนชาวไทย ในห้วงเวลาแห่งสุญญากาศของสถาบันพระมหากษัตริย์สยาม…
ชีวิตของ “ในหลวงอานันท์” แทบจะแตกต่างจากเจ้านายองค์อื่นๆ โดยสิ้นเชิง เพราะบิดาของพระองค์คือ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช นั้น เปรียบเสมือน “เจ้าฟ้าพเนจร”..ที่ตลอดพระชนม์ชีพต้องเสด็จพระราชดำเนินไปแทบจะรอบโลก ทรงเข้ารับการศึกษาเบื้องต้นที่อังกฤษและไปสำเร็จการศึกษาวิชาทหารจากเยอรมัน…แต่ฟ้าลิขิตหักเหชีวิตให้ต้องไปเรียนวิชาการแพทย์ทั้งในอังกฤษและอเมริกาและพรหมบันดาลให้พบรักและแต่งงานกับนางสาวสังวาลย์..สมเด็จย่าผู้มีชีวิตยิ่งกว่าเทพนิยายซิลเดอเรลล่า ....
ในเวลานั้น ทั้งสองก็ยังไม่ได้ลงหลักปักฐานให้มั่นคง หากยังต้องเดินทางไปทั่วโลกเพื่อเรียนหนังสือและสร้างครอบครัวไปด้วยกัน ...
- สมเด็จพระพี่นางฯ ประสูติที่ลอนดอน ประเทศอังกฤษ
- ในหลวงอานันท ประสูติที่ไฮเดลเบิร์ก ประเทศเยอรมัน
- ในหลวงภูมิพล ประสูติที่บอสตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา..
จากนั้น อีกหนึ่งปี ครอบครัวราชสกุลมหิดลก็เริ่มต้น ผจญภัยในโลกกว้างอีกครั้งหนึ่ง…โดยไม่รู้อนาคตว่าจะได้กลับมาบ้านเกิดเมืองนอนหรือไม่
หลังจากเลือกประเทศที่จะพำนักอยู่หลายแห่ง…เหมือนชะตาลิขิตอีกครั้ง…เมื่อสวิตเซอร์แลนด์กลายเป็นตัวเลือกสุดท้ายที่เจ้านายเล็กๆ ทั้งสามพระองค์ จะใช้เป็นที่เล่าเรียน และอยู่อาศัยอย่างสมถะ ..ซึ่งที่ไม่ใช่อังกฤษ ไม่ใช่อเมริกา ไม่ใช่ฝรั่งเศส ไม่ใช่เยอรมัน…แต่เป็นสวิตเซอร์แลนด์..ประเทศที่เป็นกลางทางการเมืองและมีระบบการศึกษาที่ดีเยี่ยม..
ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ในเวลานั้นกำลังรุ่งเรืองด้วยระบบการศึกแนวใหม่ที่มุ่งสร้างเด็กๆให้เป็นบุคลากรที่มีคุณภาพ ทั้งทักษะการเรียนในห้องเรียนและการใช้ชีวิตนอกห้องเรียน
ในหลวงอานันทมหิดล กับ ในหลวงภูมิพล จึงมีรากฐานการศึกษาจากระบบใหม่ล่าสุดของโลกในแผ่นดินที่มีแต่ความสงบ สันติสุข สมถะ ทรงเติบโตขึ้นมาต่างจากพระมหากษัตริย์ไทยองค์ก่อนๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ชีวิตวัยเยาว์ ที่ไม่ได้แตกต่างไปจากคนธรรมดาสามัญเท่าใดนัก
เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ ๒.. ทั้งสองพระองค์ก็เติบโตและศึกษาเล่าเรียนหนังสือในแผ่นดินเป็นกลางอย่างสวิตเซอร์แลนด์ และเรียนรู้ชีวิตลำบากของผู้คนในยุโรปท่ามกลางสงครามโลกอันโหดร้าย
ช่วงเวลา ๑๒ ปีของรัชกาลที่ ๘ นั้น… ราวกับว่า สถาบันพระมหากษัตริย์ไทย ล่องลอยอยู่ในจินตนาการของชาวไทย มิได้ประจักษ์ชัดด้วยสายตา แต่ยังเต็มเปี่ยมไปด้วยความผูกพันถวิลหาอย่างจงรักภักดี ....
ครั้นสงครามโลกครั้ง ๒ สิ้นสุดลง
…ทั้งสองพระองค์ จึงได้มีโอกาสเสด็จพระราชดำเนินกลับสยามประเทศเป็นมิ่งขวัญของปวงชนชาวไทยอีกครั้ง…
แต่แล้ว ก็เกิดเหตุการณ์ที่สะเทือนใจคนทั้งแผ่นดินเมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน ๒๔๘๙ ..
ดูเหมือนว่าการจากไปอย่างเศร้าสลดของในหลวงอานันทฯ จะทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์ของไทยในยามนั้นเหมือนช่วงพระอาทิตย์ตกดิน…มืดมิดที่สุดในประวัติศาสตร์
แต่สิ่งที่ฟ้า ได้กำหนดมานั้น นอกเหนือความคาดหมายของคนเราเสมอมา…คนคำนวณ มิสู้ฟ้าลิขิตHero มักจะก่อกำเนิดมาจาก Zero…
นั่นคือ การขึ้นครองราชย์ของในหลวงภูมิพล “รัชกาลที่ ๙ “ ในห้วงเวลาที่ลำบากยากที่สุดช่วงหนึ่งในประวัติศาสตร์ราชวงศ์จักรี ที่ในยามนั้น ไม่มีใครจะคาดคิดว่าสถาบันพระมหากษัตริย์ไทยจะกลับมายิ่งใหญ่ได้อีก ...
หลังจากขึ้นครองราชย์แล้วในหลวงภูมิพล ทรงเสด็จพระราชดำเนินกลับไปศึกษาต่อที่สวิตเซอร์แลนด์ แผ่นดินที่หล่อหลอมชีวิต ความคิด และปณิธาน ให้พระองค์ก้าวขึ้นสู่การเป็นพระมหากษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่พระองค์หนึ่งของโลก ..
ในห้วงเวลาหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ จบลง… มหาอำนาจทั่วโลกร่วมกันจัดตั้ง องค์การสหประชาชาติ เป็นองค์กรที่มีวาระยิ่งใหญ่ในการสร้างโลกสันติภาพไม่ให้เกิดสงครามทำลายล้างกันอีกเหมือนสงครามโลกสองครั้งที่ผ่านไป
หลักการสำคัญๆของสหประชาชาติก็คือ มุ่งเน้นการพัฒนาสังคม เพื่อสร้างสังคมโลกขึ้นมาใหม่หลังจากสงครามที่ล้างผลาญกันไปหลายสิบล้านคน
สวิตเซอร์แลนด์ เป็นประเทศที่เป็นชุมทางการประชุมนานาชาติมานานนับร้อยปีและกลายเป็นที่ตั้งในยุโรปของ องค์การสหประชาชาติ…
ในหลวงภูมิพล ทรงศึกษาในสวิตเซอร์แลนด์ในช่วงที่สหประชาชาติกำลังมีบทบาทอย่างมากในการกระจายแนวคิดการพัฒนาประเทศต่างๆ ไปทั่วโลก ทั้งเรื่องความมั่นคงทางด้านอาหาร การพัฒนาสังคม การพัฒนาสาธารณูปโภค การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และอื่นๆ
บรรยากาศของการสร้างโลกสันติภาพยุคหลังสงครามที่อบอวลอยู่ในสวิตเซอร์แลนด์ และในสากลโลกเวลานั้น…น่าจะทำให้ “ในหลวงภูมิพล” ได้เรียนรู้กำลังอำนาจแนวใหม่ของโลกยุคหลังสงคราม และทรงนำมาใช้กับประเทศชาติและประชาชนของพระองค์ตลอดรัชสมัย..
กำลังอำนาจแนวใหม่ มิใช่กำลังอำนาจทางทหาร แต่เป็นกำลังอำนาจแห่งการพัฒนามนุษย์ สร้างสรรค์สังคมให้อยู่ดีกินดี พ้นจากความยากจน กำลังอำนาจชนิดนั้นเป็นสิ่งที่คนในยุคปัจจุบันเรียกว่า Soft Power…
….
จากแผ่นดินรัชกาลที่ ๑ จนถึงรัชกาลที่ ๗
..สยามอยู่ท่ามกลาง การใช้กำลังอำนาจทางทหารรุกราน กันไปมาทั่วโลก..พระมหากษัตริย์ไทยต้องสร้างสายสัมพันธ์ผูกไมตรีกับมหาอำนาจทางทหารแทบทุกประเทศ รวมทั้งการส่งพระราชโอรสและข้าราชการไปเรียนรู้วิทยาการต่างๆ มาจากมหาอำนาจเหล่านั้นทั้งรัสเซีย เยอรมัน อังกฤษ
แต่ครั้นโลกเผชิญหน้าหายนะครั้งใหญ่ จากสงครามโลกครั้งที่ ๒ …นานาชาติได้ตระหนักถึงภัยพิบัติอันโหดร้าย และร่วมใจกันหาทางป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นอีก
ยุโรป คือ จุดกำเนิดแห่งหายนะสงครามโลก
ยุโรป คือ จุดกำเนิดแห่งหายนะสงครามโลก
ยุโรป จึงเริ่มต้นสร้างสันติภาพจากการก่อตั้งองค์การสหประชาชาติและมีที่ตั้งอยู่ที่สวิตเซอร์แลนด์ แผ่นดินเป็นกลางที่สงบสันติทันสมัย แผ่นดินที่ “เจ้านายเล็กๆ” ไปพำนักอาศัยในยามที่บ้านเกิดเมืองนอนลุกเป็นไฟ
ใครจะรู้ได้ล่ะว่า…”เจ้านายเล็กๆ ที่กำพร้าพ่อ ”ทั้งสองพระองค์จะกลายมาเป็น พระมหากษัตริย์ ที่ถูกหล่อหลอมมาจากประเทศที่เป็นศูนย์กลางกำหนดสถานการณ์ทิศทางใหม่ของโลกในยุคต่อมา
หากมิใช่เพราะภูมิปัญญาและ..ฟ้าที่กำหนด…
แม้จะสิ้นสงครามโลกครั้งที่ ๒ ลงไปแล้ว …แต่สายลมเยียบเย็ นแห่งการเปลี่ยนแปลงได้พัดกระหน่ำอีกครั้งในนามของ Cold War
ประวัติศาสตร์การเมืองโลก ในยุคต้นรัชกาลที่ ๙ ได้บอกเราชัดเจนว่า
มหาอำนาจโลก ถูกแบ่งเป็น 2 ค่าย คือ ...
ทุนนิยม กับ คอมมิวนิสต์
ประเทศไทย ต้องยืนหยัดต่อต้านภัยคุกคามจากคอมมิวนิสต์ที่มาจากจีนและรัสเซีย โดยมีสหรัฐอเมริกา และชาติตะวันตกเป็นเพื่อนที่แสนดีของไทยในยามนั้น
สถาบันพระมหากษัตริย์ กองทัพและรัฐบาล ได้ร่วมมือกันแก้ไขปัญหาภัยคอมมิวนิสต์จนผ่านพ้นด้วยดีจากการต่อสู้หลายรูปแบบ
โดยมีในหลวงรัชกาลที่ ๙ ทรงถือธงนำเสด็จพระราชดำเนินเข้าสู่พื้นที่ชนบทกันดารทั่วประเทศเพื่อนำการพัฒนาเข้าถึงประชาชนทุกแห่งหน
พระองค์ไม่ได้มองประชาชน (บางคน) ของท่านเป็น “คอมมิวนิสต์” พระองค์ทรงมุ่งมั่น หลักการทำงานแก้ไขปัญความยากจน ยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้น พระองค์เชื่อมั่นว่า เมื่อประชาชนอยู่ดีกินดี ภัยจากคอมมิวนิสต์ก็จะหมดไป และในกาลต่อมาก็เป็นดั่งที่พระองค์กล่าวไว้จริงๆ
ในยุคนั้น มหาอำนาจใหญ่ที่อยู่เบื้องหลังการคุกคามประเทศไทยด้วยภัยคอมมิวนิสต์ประเทศหนึ่ง คือ “จีน”…ที่ภาพของ “เมาเซตุง” ถูกสร้างให้เป็นปีศาจร้ายของคนไทยทั้งประเทศ
แต่แล้วในปี พ.ศ. ๒๕๑๘ ประเทศไทยก็เปิดสัมพันธไมตรีกับจีนแผ่นดินใหญ่ โดยรัฐบาลของอาจารย์คึกฤทธิ์ ปราโมช ผู้เดินทางไปจับมือกับประธานเหมาถึงปักกิ่ง
ในห้วงเวลานั้น ประเทศไทยยังต้องเผชิญสงครามยึดแผ่นดินจากเพื่อนบ้านที่รุกรานมาประชิดพรมแดนในเหตุการณ์ที่เรียกกันว่า ทฤษฎีโดมิโน …
แต่สถาบันพระมหากษัตริย์ ได้เป็นศูนย์กลางความสามัคคีของคนไทยทุกภาคส่วนช่วยกัน “หยุดการยึดครองของคอมมิวนิสต์ได้ ” โดยไม่ล้มเป็นโดมิโน่ตามไปด้วย
ในที่สุด…จีนแผ่นดินใหญ่ …จากผู้คุกคาม กลายมาเป็น มหามิตร ผู้ยิ่งใหญ่ของไทย…
ในปี พ.ศ. ๒๕๒๑ นายเติ้ง เสี่ยว ผิง เดินทางมาเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลที่พระตำหนักจิตรลดา..
ระหว่างที่เยือนประเทศไทย ๕ วัน เติ้ง เสี่ยว ผิง ได้สนทนากับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน และยังได้ทรงเชิญเติ้ง เสี่ยว ผิง เข้าร่วมพระราชพิธีผนวชสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช มกุฎราชกุมาร เมื่อวันที่ ๖ พ.ย. ๒๕๒๑
เติ้ง เสี่ยว ผิง เป็นผู้นำคนหนึ่งที่ได้ถวายผ้าไตร แด่พระบรมโอรสาธิราชฯ ซึ่งเป็นการปฏิบัติที่สื่อจีนระบุในเวลาต่อมาว่า “เติ้งได้ชนะใจประชาชนชาวไทย” (คัดจาก ผู้จัดการออนไลน์) และต่อจากนั้นโมเมนตัม แห่งความสัมพันธ์ก็เริ่มต้นเคลื่อนที่ไปในทิศทางมิตรภาพมากขึ้น มากขึ้น…เพราะนับจากนั้นประธานาธิบดีจีนทุกสมัยก็ได้เยือนประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง ในฐานะพระราชอาคันตุกะ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
จีน เคยมีบันทึกไว้ว่า ความสัมพันธ์ไทยจีนในยุคใหม่นั้น..บทบาทของสถาบันพระมหากษัตริย์ไทยมีความสำคัญยิ่งยวด เพราะพระบรมวงศานุวงศ์แทบทุกพระองค์เสด็จเยือนประเทศจีนอย่างต่อเนื่องและมีความสัมพันธ์ที่แนบแน่นมากเป็นพิเศษ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสมเด็จพระเทพฯ ที่ได้ทรงเปลี่ยนจากการเรียนรู้ภาษาตะวันตกมาเริ่มเรียนภาษาจีนอย่างจริงจัง และมุ่งเน้นการเสด็จพระราชดำเนินไปเยือนประเทศจีนนับตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๔ มาจนถึงปัจจุบัน นับเป็นระยะเวลานานถึง ๔๒ ปีติดต่อกัน
พระองค์ทรงเป็นที่รักของชาวจีนมาโดยตลอด…
ถ้าจะเรียกพระองค์ว่า ทรงเป็นเอกอัครราชฑูตไทยประจำประเทศจีนตลอดกาล…ก็ไม่น่าจะผิดนัก
สถาบันพระมหากษัตริย์ไทย ได้มีบทบาทนำในการสร้างสายสัมพันธ์นี้ด้วยวิถีทางที่ลึกซึ้งมากไปกว่าความสัมพันธ์ทางการทูตทั่วไป ...
ก่อนที่โลกจะเริ่มเห็นประเทศจีนเป็น Super power ของโลก…ประเทศไทยของเรา ได้ก้าวเข้าไปอยู่ในหัวใจของชาวจีนเรียบร้อยแล้วนานนับสิบๆปี
ความร่วมมือของสถาบันพระมหากษัตริย์ สถาบันทหาร และสถาบันการเมืองไทย ผสานร่วมมือกันเปลี่ยนมหาอำนาจผู้เป็นภัยคุกคามเสรีภาพของประเทศไทยนานหลายทศวรรษให้กลายมาเป็นมหามิตรผู้ยิ่งใหญ่ในปัจจุบัน…
สายลมของการเปลี่ยนแปลง
ทางการเมืองในประเทศไทย
นั้นแปลก…
นั้นแปลก…
ในยุคก่อนนั้น คนไทยจะชื่นชมนิยมยินดีกับสหรัฐอเมริกามากกว่าจีน และรัสเซีย …
แต่ถึงวันนี้ คนไทยจำนวนมาก ดูเหมือนจะนิยมชมชอบ รัสเซียกับจีน ไม่ได้น้อยไปกว่าอเมริกาหรือชาติตะวันตกอื่นๆ ที่เคยครองใจชาวไทยมานาน…
( ข้อความที่ประธานาธิบดี วลาดิเมียร์ ปูติน กล่าวยกย่องในหลวงภูมิพลนั้น แพร่หลายไปทั่วถึงพสกนิกรชาวไทยมานานปีและเราคงปฏิเสธไม่ได้ว่าข้อความยกย่องดังกล่าวมีส่วนสำคัญที่ทำให้ภาพลักษณ์ของรัสเซียดีขึ้นในสายตาของชาวไทยผู้มีหัวใจจงรักภักดี)
แผ่นดินในรัชกาลที่ ๙ เคลื่อนผ่านไปอย่างโศกเศร้าเชื่องช้ายังไม่จางหาย แต่ยังตรึงแน่นอ้อยอิ่งอยู่ความทรงจำของพวกเราชาวไทยตลอดเวลา
เพียงชั่วไม่นานนัก…แผ่นดินในหลวงรัชกาลที่ ๑๐ ผ่านเข้ามาแล้วถึง ๗ ปี…
พระองค์ทรงสำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยวิชาการทหารดันทรูน ออสเตรเลีย เป็นพระมหากษัตริย์นักการทหาร ที่ขึ้นครองราชย์ในช่วงที่การเผชิญหน้าทางสงครามของมหาอำนาจคู่แค้นรัสเซียกับนาโต้ (อเมริกา) กลับมาเดือดระอุอีกครั้งหนึ่งในรอบหลายสิบปี และส่งผลให้เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจ และการเมือง ให้ตึงเครียดไปทั่วโลก มีการใช้แสนยานุภาพทางการทหารข่มขวัญและทำลายล้างกันรุนแรง ...นับเป็นความเหมาะเจาะอีกครั้งหนึ่งของสถาบันพระมหากษัตริย์ไทยกับสถานการณ์วิกฤติโลกล่าสุด…
การเสด็จพระราชดำเนินของในหลวง และสมเด็จพระราชินีไปร่วมพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของกษัตริย์ชาร์ลส์ที่ ๓ นั้นนับเป็นเหตุการณ์ที่นำความปิติยินดีมาสู่ปวงชนชาวไทยเป็นอย่างยิ่ง…
เพราะนอกจากจะเป็นการตอกย้ำ ให้เห็นถึงสายสัมพันธ์ของสองราชวงศ์แห่งราชอาณาจักรไทยกับสหราชอาณาจักรที่แนบแน่นข้ามศตวรรษแล้ว .. พวกเราได้เห็นรอยยิ้มของทั้งสองพระองค์อีกครั้งหนึ่งหลังจากที่ไม่เห็นมานาน และหาก “ปาฏิหาริย์ที่พวกเรารอคอย” นั้นเป็นความจริงขึ้นมา..เราคงจะได้เห็นรอยยิ้มที่เปี่ยมสุขของแผ่นดินเช่นนี้ตลอดไป…
๒๔๑ ปีแห่งราชวงศ์จักรี
เคลื่อนผ่านกาลเวลามามากมายพบพานทั้งสุข
ทั้งทุกข์โศก ทั้งแย้มยิ้มและร้องไห้
๒๔๑ ปีของสมาชิกแห่งราชวงศ์จักรี มีทั้งสมหวัง พลัดพราก จากลาและหวนคืน แต่ไม่ว่าสายลมแห่งการเปลี่ยนแปลง จะพัดกระหน่ำอีกกี่ครั้งและรุนแรงแค่ไหนก็ตาม…. สถาบันพระมหากษัตริย์ไทยก็ยังคงดำรงบทบาทภารกิจและหน้าที่ต่อปวงชนชาวไทยต่อไป..ดังที่เคยเป็นมาตลอด ๒๔๑ ปี
(ขอบพระคุณทุกท่านที่ติดตามจนถึงบรรทัดนี้)
บทความโดย : เถกิง สมทรัพย์
ศึกษาเพิ่มเติม
- เงินถุงแดง คืออะไร ? https://www.stou.ac.th/study/sumrit/5-60/page1-5-60.html
โดย...คุณสิริน โรจนสโรช
บรรณารักษ์ สำนักบรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (เรียบเรียงเนื้อหาจากบทวิทยุกระจายเสียง ปี 2557)