ค้นหาบทความ 🙄





1/19/66

เลิก "แบล็กลิสต์" บูโร ใช้ "เครดิตสกอริ่ง" ? จะเอาแบบนี้จริงๆหรือ ?

ต้องออกตัวก่อนเลยว่า พรรคการเมืองนี้ แอดมิน ก็แอบเชียร์อยู่ แต่พอเห็นป้ายหาเสียง นโยบายนี้ออกมา เกลื่อนเต็มถนนไปหมด  แอดมินก็รู้สึกไม่สบาย เนื่องด้วยเป็นนโยบายที่คลุมเคลือ กำกวม และมีการให้ข้อมูลที่ผิดพลาดอย่างมาก ....โดยเฉพาะ "แบล็กลิสต์" บูโร ?? 

แบล็กลิสต์ เครดิตบูโร




      แอดมินเห็นป้ายนี้มาสักพักหนึ่งแล้ว และพยายามจะเขียนเรื่องประเด็นนี้ มา 1-2 วันแล้ว แต่ก็ไม่สามารถเขียนอธิบายได้อย่างที่ใจคิด จนได้มาพบบทความของคุณ Dr. Nuch Tantisantiwong  ใน facebook  ซึ่งท่าน Dr.Nuch ก็สามารถเขียนได้ตรงใจผมมาก และมีความชัดเจนอย่างที่สุด ในแบบที่พอจะอ่านเข้าได้ง่ายๆ สำหรับบุคคลทั่วไป   แอดมิน ขอหยิบยก บทความนี้ มาให้อ่านกันนะครับ  


ที่มา จากประเด็นเรื่องนี้


บริษัทเครดิตบูโร มี Credit Score มานานหลายปีแล้วค่ะ นโยบายนี้ มัน too late มากๆ

ตอนแรกว่าจะโพสต์พรุ่งนี้ แต่อดใจไม่ได้ เพราะในคลิป มีการให้ข้อมูลผิดพลาดเต็มไปหมด เข้าประเด็นเลยละกันค่ะ

1. Credit score ไม่ใช่เรื่องใหม่ และบริษัทเครดิตบูโร เค้ามีมานานแล้ว

2. สถาบันการเงินไม่ได้ส่งข้อมูลการชำระหนี้  และการเป็นหนี้ของลูกค้าที่มีการค้างชำระหนี้เท่านั้นค่ะ มันไม่มีระบบแบล็คลิสต์  มันเป็นการส่งข้อมูล facts คุณจะจ่ายงวดตรงเวลาหรือจ่ายไม่ตรง สถาบันการเงินที่เป็นสมาชิกบริษัทเครดิตบูโรตามกฏหมาย มีหน้าที่ต้องส่งข้อมูลให้บริษัทเครดิตบูโรตามกฏหมายค่ะ  
และการรายงานข้อมูล fact แบบนี้ ทำกันทั่วโลกค่ะ

3. การเสนอว่า จะไม่ให้สถาบันการเงิน ที่เป็นสมาชิกของบริษัทเครดิตบูโรตามกฏหมาย   ได้รับข้อมูลพฤติกรรมการชำระหนี้ของลูกค้าเลย โดยจะให้สถาบันการเงินได้ไปแต่คะแนนที่คำนวณมาจาก การคำนวณปนๆ หลายสิ่งอย่างเท่านั้น ... แล้ว .... 

  • สถาบันการเงิน ทั้งหลายจะรู้ยอดหนี้คงค้างรวมทั้งหมดของคนขอกู้ภายในระบบการเงินไทยได้ยังไร ??  

  • สถาบันการเงิน จะเตรียมตัวรับมือได้ยังไง เมื่อลูกหนี้เริ่มไปค้างชำระที่สถาบันการเงินอื่น และตัวเองอาจจะกลายเป็นรายต่อไปที่ไม่ได้เงิน 
.. ถ้าแก้ กฏหมาย เป็นแบบที่เสนอตามนโยบายนี้จริง 

        สิ่งที่จะเกิดตามมา คือ คนจะไปขอกู้หลายสถาบันซ้อนๆ กันเยอะขึ้น เพราะแต่ละ สถาบันไม่รู้ภาระหนี้ที่มีอยู่ของลูกค้ารายนี้ !!!  และอาจส่งผลให้  สถาบันการเงินก็จะไม่กล้าปล่อยสินเชื่อ เพราะไม่รู้ว่าคนที่มาขอกู้ไปค้างหนี้ที่อื่นไว้เท่าไหร่ ??!!!

      สิ่งที่เสนอปรับแก้กฏหมายมานั้น จะทำให้เกิดปัญหาทางเศรษฐศาสตร์ที่เรียกว่า Asymmetric Information ค่ะ โดยหลักแล้ว Asymmetric Information*  จะก่อให้เกิด Market failure หรือความล้มเหลวของตลาดค่ะ

4.  ทุกสถาบันการเงิน เค้ามี Credit Scoring Model ของตัวเค้าเองมากันหลาย 10 ปีแล้วค่ะ !!!


  ก่อนเสนออะไรแบบนี้ ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า credit scoring modelling มี 2 แบบค่ะ

      1. แบบที่ใช้ข้อมูลการชำระหนี้ และการเป็นหนี้ในอดีต เพื่อบอกถึงพฤติกรรมเสี่ยง 

       เพราะมีสมมติฐานว่าถ้าคนๆ หนึ่ง มีพฤติกรรมอย่างไรในอดีต ก็มี "โอกาส" ที่จะมีพฤติกรรมแบบเดียวกันในอนาคต ? อันนี้คือแบบที่ บริษัทเครดิตบูโรคำนวณอยู่ และสถาบันการเงินทั้งหลายก็สามารถซื้อข้อมูล credit score นี้ได้

 Score แบบนี้ของเครดิตบูโร ไม่จำเป็นต้องใช้ข้อมูลพฤติกรรมบนกิจกรรมชีวิตอื่นของคนหรือธุรกิจนั้น เช่น น้ำไฟ รายได้ อะไรอื่นมาประกอบ ... เพราะเป็นการใช้ข้อมูลเครดิตของแต่ละคนที่มีสินเชื่อหรือบัตรเครดิตที่มีอยู่ทั้งหมดในระบบการเงินไทยในการคำนวณ เรียกว่ามี full credit information

      2. แบบที่ใช้ข้อมูลพฤติกรรมการชำระหนี้และยอดหนี้ รวมถึงปัจจัยอื่นๆ 

      เช่น รายได้ transaction อื่นๆ มาประกอบเพื่อทำนายโอกาสผิดนัดชำระหนี้จากความสามารถในการชำระหนี้ อันนี้เป็นการทำ credit scoring/rating ขององค์กรใดองค์กรหนึ่ง ที่ไม่ได้มีฐานข้อมูลระดับชาติ
... ที่ต้องใช้ข้อมูลปัจจัยอื่น ก็เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำนาย ไม่ใช่เพื่อเป็นการปรับให้ credit score ดูบวก หรือดูดีขึ้น .... 
    นั่นเพราะว่า  ไม่ได้มีข้อมูลหนี้ และการชำระหนี้ของคนๆ นั้นที่มีอยู่ในระบบการเงินไทยทั้งหมด มันยังมีอะไรที่ต้องทาย ต้องเดา ก็เอาปัจจัยอื่นมาช่วยทาย ช่วยเดา และในปัจจุบัน credit score ของบริษัทเครดิตบูโร เค้าก็ไม่ได้ใช้แค่ข้อมูลหนี้และการชำระหนี้นะคะ เค้าใช้ข้อมูลประเภทอื่นด้วยเพื่อประเมินความเสี่ยงของธุรกิจ ... 

เพราะฉะนั้นที่เสนอปรับแก้มาในคลิป มันช้าไปแล้วค่ะ เค้าทำกันไปหมดแล้ว

     และ เรื่องแบล็คลิสต์ เพียงเพราะผิดนัดชำระหนี้ครั้งเดียว มันไม่น่าจะเป็นเกณฑ์ที่เกี่ยวอะไรกับเครดิตบูโรค่ะ  ไม่งั้นสถาบันการเงินทั้งหลายคงไม่เหลือคนให้ปล่อยกู้ได้แล้วค่ะ ... 

     โดยทั่วไป การจะปล่อยสินเชื่อให้คนที่เคยมีหนี้ค้างชำระหรือไม่ มันขึ้นอยู่กับการบริหารจัดการความเสี่ยง และการกำหนดระดับความเสี่ยงที่รับได้ของเหล่าสถาบันการเงินทั่วโลก ... เค้าเรียกว่า
risk management ค่ะ ใครอื่นจะออกกฏบังคับให้ปล่อยหรือไม่ปล่อยสินเชื่อกลุ่มเสี่ยงได้คะ ? 

ก่อนเสนอ ควรศึกษาข้อมูลเชิงลึก หรือมีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องในปัจจุบัน เพื่อให้รู้สิ่งที่เป็นไปในปัจจุบัน เพื่อจะได้นำเสนอการเปลี่ยนแปลงเพื่ออนาคต ไม่ใช่เพื่ออดีตที่ผ่านมาแล้ว


#เศรษฐศาสตร์วันละนิด
ที่มาของรูปและประเด็นในโพสต์นี้







แบล็กลิสต์เครดิตบูโร
เขียนวันที่
วันพฤหัสบดี ที่ 19 มกราคม 2566 เวลา 11:30 น.
เขียนโดย  ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล

"...เครดิตบูโรไม่มีแบล็คลิสต์ มีแต่ข้อมูลการผิดนัดชำระหนี้ซึ่งไม่สามารถยกเลิกได้ เพราะจะทำให้ระบบสถาบันการเงินของไทย กลับไปเน้นแต่หลักประกัน..."

      เมื่อวันที่ 15 ม.ค.66 นายกรณ์ จาติกวณิช หัวหน้าพรรคชาติพัฒนากล้า แถลงนโยบายว่า มีคนไทยติดแบล็กลิสต์เครดิตบูโร กว่า 5.5 ล้านคน ทำให้กู้ในระบบไม่ได้ ต้องไปกู้นอกระบบแทนพรรคชาติพัฒนากล้า จึงเสนอนโยบาย ยกเลิกแบล็กลิสต์ แล้วใช้ระบบ Credit Score แทน ซึ่งเป็นระบบที่ใช้ข้อมูลในการชำระหนี้ประจำวันต่างๆ มาเป็นเกณฑ์ตัดสิน เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์มือถือ ใครมีประวัติดีก็ได้เครดิตดี สามารถกู้ได้มาก ใครเครดิตไม่ดีก็กู้ได้น้อย ซึ่งเป็นระบบที่ทันสมัยและตอบโจทย์มากกว่าการติดแบล็กลิสต์

อ่านต่อ >> https://www.isranews.org/article/isranews-article/115356-isranews-115.html


ความรู้เพิ่มเติม 

ทฤษฎี Asymmetrical Information*

     ทฤษฎีนี้เป็นทฤษฎีของ จอร์จ อะเคอร์ลอฟ ที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่ออธิบายว่า ทำไมตลาดที่ขายรถมือสองถึงเป็นตัวอย่างของความล้มเหลวของตลาด (Market Failure) – ซึ่งพูดง่ายๆ ก็คือ กลไกการซื้อขายในตลาดมันพังนั่นเอง

     อะเคอร์ลอฟบอกว่า ในตลาดรถมือสองนั้นมีรถที่มีคุณภาพดีและรถคุณภาพไม่ดี โดยเขาเรียกรถคุณภาพดีว่า ‘พีช (Peach)’ ส่วนรถคุณภาพไม่ดีนั้นเขาเรียกว่า ‘มะนาว (Lemon)’

     มีแต่คนขายเท่านั้นที่รู้ว่า รถของเขาเป็นรถ ‘พีช’ หรือ ‘มะนาว’

     ส่วนคนซื้อนั้นไม่มีข้อมูลเพียงพอที่จะไขปริศนาได้เลยว่า รถคันไหนในตลาดเป็นรถพีช และคันไหนเป็นรถมะนาว และนี่ก็คือที่มาของ Asymmetrical Information ระหว่างคนซื้อและคนขาย

     อ่านเรื่อง ทฤษฎี Asymmetrical Information ต่อที่นี่ >>  https://thestandard.co/asymmetrical-information/

 


Admin Bee

Author & Editor

ความรู้รอบตัวสั้นๆ 🌱 Miscellaneous บทความขนาดสั้น เบ็ดเตล็ด เกร็ดความรู้ทั่วไป เกี่ยวกับ สังคม , ทัศนะ - Social Views , ประวัติศาสตร์ , วัฒนธรรม ,ท่องเที่ยวเชิงนิเวศ แนะนำหนังสือ






เครื่องดื่มมหัศจรรย์ เพื่อสุขภาพที่ดี


  ชาหมักคอมบูชะ Scoby doit  


“ จุลินทรีย์ โพรไบโอติก ที่มีอยู่ในชาหมัก คอมบูชะ ( Kombucha ) สามารถแก้ไขปัญหาของระบบทางเดินอาหาร และลำไส้”
KOMBUCHA ORIGINAL 101 / by Scoby Do it 💖

    เครื่องดื่มชาหมักเพื่อสุขภาพ คอมบูชา หรือ คอมบูชะ ( Kombucha ) Scoby do it คือ เครื่องดื่มที่ผ่านกระบวนการหมัก มีสรรพคุณทางยา โดยมี “จุลินทรีย์ โพรไบโอติก Probiotics” ที่เป็นพระเอกของเครื่องดื่มชนิดนี้ “จุลินทรีย์” ที่อยู่ในชาหมักที่เกิดจากการหมักชา จะมี สารฟลาโวนอยด์ (Flavonoids) ช่วยต้านอนุมูลอิสระ และอาจช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือด เบาหวาน มะเร็ง และโรคอัลไซเมอร์ได้ 

   >> ดูเพิ่มเติม 




5 บทความ ยอดนิยม ในรอบ 30 วัน

🟡 โพสต์แนะนำ

พิน็อกคิโอ Pinocchio

สังคมไทย ต้องช่วยกันจับโกหกพวกนักการเมือง เพราะคนโกหกไม่ควรมีที่ยืน ถ้านักการเมืองโกหกประชาชนได้แม้กระทั่งเรื่องเล็กน้อย อำพรางความจริง พูด...

Popular Posts

แนะนำหนังสือ


  BOOKs OF THE DAY








ผู้สนับสนุน







ป้ายกำกับ / Tag labels

กฎหมาย (3) กฐิน (2) กรรม (4) กระเป๋า (3) กรุงเทพฯ (17) กรุงศรีอยุธยา (9) กล้องถ่ายภาพ (6) กลอน (1) กลาโหม (8) การเกษตร (2) การจัดเก็บ (2) การเมือง (22) การศึกษา (95) กิจกรรมกลางแจ้ง (2) กีฬา (3) เกษตร (1) เกี่ยวกับสัตว์ (11) ไกลกังวล (1) ขนม (1) ขอมไม่ใช่เขมร (6) ขันที (1) ข้าว (2) ข่าวสาร (21) ขิง (1) เขมร (9) โขน (2) คณะราษฎร (4) คนเล่านิทาน (12) ครู (4) ความเชื่อ (4) ความรู้ (113) คอมมิวนิสต์ (23) คำภีร์ (1) คำสอน (1) เครื่องบิน (6) เงินตรา (3) จอมพล ป. พิบูลสงคราม (10) จีน (47) ช้าง (1) ชายแดนใต้ (2) ญี่ปุ่น (12) ดนตรีไทย (1) ดอกไม้ (1) เด็ก (3) เดนมาร์ก (1) ต้นไม้ (2) ตลาดนัด (1) ตำรวจ (2) เตา (1) เตือนภัย (12) แต่งงาน (2) ทวิตเตอร์ (1) ทหาร (9) ท่องเที่ยว (26) ทะเล (2) ทัศนะ (22) ทำบุญ (2) ทำอาหาร (4) เทคโนโลยี (12) โทรศัพท์มือถือ (2) ธนบัตร (1) ธนาคาร (4) ธรรมชาติ (4) ธรรมะ (2) ธรรมาธิปไตย (1) ธุรกิจ (7) นราธิวาส (3) นวดไทย (1) นางใน (2) นาซี (1) น้ำมัน (1) นิทานพื้นบ้าน (1) นิยาย (3) แนะนำสินค้า (26) โนรา (1) ในหลวงรัชกาลที่ 9 (11) บริการ (2) บริหาร (2) บ่อน (1) บัตรเครดิต (2) บัตรประชาชน (1) บุคคล (39) บุญ (2) บุหรี่ (1) เบตง (1) แบรนด์ไทย (5) โบราณวัตถุ (11) โบราณสถาน (3) โบสถ์ (2) ประชาธิปไตย (28) ประท้วง (2) ประเทศไทย (130) ประวัติศาสตร์ (120) ปรัชญาชีวิต (17) ปลูกต้นไม้ (2) ปูติน (1) ผลิต (2) ผิวสี (1) แผ่นดินไหว (1) ฝรั่งเศส (2) พม่า (6) พระเจ้าตากสินมหาราช (2) พระนเรศ (1) พระพุฒาจารย์ (1) พระราชกรณียกิจ (4) พระสงฆ์ (7) พราหมณ์ (1) พิพิธภัณฑ์ (6) เพชรบุรี (2) เพลง (6) เพลงผ้า ปรพากย์ (1) แพทย์ (2) ฟาโรห์ (1) ไฟ (4) ไฟฉาย (1) ไฟฟ้า (1) ภาคใต้ (5) ภาคอีสาน (1) ภาษา (6) ภูมิปัญญา (13) ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ (1) มวยไทย (5) มุมไบ (2) มุสลิม (2) แม่ (1) ไม้ไผ่ (1) ยิว (2) ยูนนาน (1) เยาวราช (1) รถเมล์ (3) รองเท้า (2) ระเบิด (3) รัชกาลที่ ๒ (1) รัชกาลที่ ๔ (3) รัชกาลที่ ๕ (6) รัชกาลที่7 (6) รัชกาลที่ ๘ (2) รัสเซีย (12) ราชาศัพท์ (1) รามเกียรติ์ (1) เรือ (1) เรื่องเก่า (71) เรื่องเล่า (13) โรค (2) โรคระบาด (3) โรงงาน (1) โรงพยาบาล (5) โรงเรียน (11) โรฮิงญา (1) ลอนดอน (1) ลัทธิ (1) ล้านนา (2) ลาว (4) เลือกตั้ง (7) โลก (3) โลกร้อน (1) วัด (10) วันสำคัญ (2) วิทยาศาสตร์ (8) วิทยุ (2) วิหาร (4) เวียดนาม (4) ไวรัล (1) ศาสนา (29) ศิริราช (4) ศิลปะ (4) ศิลปาชีพ (1) เศรษฐกิจ (2) สงขลา (1) สงคราม (38) สถานีรถไฟ (1) สเปน (1) สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร (1) สมัยเมจิ (1) สยาม (12) สวนสนุก (1) สวิตเซอร์แลนด์ (2) สังคม (29) สำนวน (8) สิ่งประดิษฐ์ (9) สุขภาพ (11) สุภาพจิต (3) สุสาน (1) หนังแท้ (4) หนังสือ (22) ห้องเรียน (3) เหมาเจ๋อตง (1) เหรียญ (1) อเมริกา (28) ออสเตรีย (1) อังกฤษ (3) อาหาร (10) อาหารจานโปรด (6) อิตาลี (2) อินเดีย (8) อียิปต์ (1) อีสาน (1) แอปพลิเคชัน (4) cpr (1) deep state (1) democracy (1) Diarymisc (3) facebook (1) handmade (1) leather (1) metaverse (1) nomad (6) Nuclear (1) OPENUP (1) powerbank (1) shopee (1) Social media (2) social views (88) startup (1) UNESCO (3) xiaomi (1)





Miscellaneous | Misc.Today 🌱 . ขับเคลื่อนโดย Blogger.

 
miscthailand