คำว่า “ฮ่อ” มาจากไหน มีนิยามว่าอะไร ?
คำถามนี้ เป็นประเด็นที่มีการสันนิษฐานคาดเดาต่างๆ นานา
- บางคนว่า คำว่า “ฮ่อ” อาจจะเป็นเสียงเพี้ยนมาจาก คำว่า “หู” ( 胡 ) ที่ชาวจีนเรียกชาวต่างเชื้อชาติในภาคเหนือ และภาคตะวันตกเฉียงเหนือ
- บ้างก็ว่า อาจจะมาจากคำว่า “ฮว๋า” ( 華 ) ซึ่งเป็นคำโบราณที่เรียกชาวจีนหรือชาวฮั่น แต่การคาดเดาดังกล่าวไม่ถูกต้องเพราะไม่มีหลักฐานยืนยัน จากการศึกษาของผู้เขียน คำว่า “ฮ่อ”
เดิมที เป็นชื่อที่ชาวจีนในอดีตใช้มาเรียกชนเผ่า “ ซีเอ่อเหอหมาน ( 西洱河蠻 ) ”
(ชาวเหอ=ชาวแม่น้ำป่าเถื่อนในแม่น้ำซีเอ่อ) ในหนังสือโบราณที่ชื่อ “หมานซู” (蠻書 - หนังสือว่าด้วยเผ่าป่าเถื่อน) ที่บัณฑิตชื่อ ฝานจ๊อะ(樊綽) สมัยราชวงศ์ถังเรียบเรียงเมื่อประมาณปี ค.ศ.864 ระบุว่า “เหอหมาน (河蠻 - ชาวแม่น้ำป่าเถื่อน) เดิมเป็นชาวเหอ (หรือชาวแม่น้ำ) ใน (แม่น้ำ) ซีเอ่อ(西洱) ปัจจุบันเรียกว่าชาวเหอ (ชาวแม่น้ำ)” คำว่า “เหอ” (河) เป็นการออกเสียงตามสำเนียงมาตรฐานจีนปักกิ่ง แต่สำเนียงจีนยูนนานออกเสียงว่า “ห่อ” ภาษาเขียนไทลื้อสะกดว่า “ห้อ” ทางเมืองไทยเลยออกเสียงว่า “ฮ่อ”
(ชาวเหอ=ชาวแม่น้ำป่าเถื่อนในแม่น้ำซีเอ่อ) ในหนังสือโบราณที่ชื่อ “หมานซู” (蠻書 - หนังสือว่าด้วยเผ่าป่าเถื่อน) ที่บัณฑิตชื่อ ฝานจ๊อะ(樊綽) สมัยราชวงศ์ถังเรียบเรียงเมื่อประมาณปี ค.ศ.864 ระบุว่า “เหอหมาน (河蠻 - ชาวแม่น้ำป่าเถื่อน) เดิมเป็นชาวเหอ (หรือชาวแม่น้ำ) ใน (แม่น้ำ) ซีเอ่อ(西洱) ปัจจุบันเรียกว่าชาวเหอ (ชาวแม่น้ำ)” คำว่า “เหอ” (河) เป็นการออกเสียงตามสำเนียงมาตรฐานจีนปักกิ่ง แต่สำเนียงจีนยูนนานออกเสียงว่า “ห่อ” ภาษาเขียนไทลื้อสะกดว่า “ห้อ” ทางเมืองไทยเลยออกเสียงว่า “ฮ่อ”
“แม่น้ำซีเอ่อ” ในหนังสือ “หมานซู” ก็คือทะเลสาบเอ่อห่าย(洱海)หรือทะเลสาบ “หนองแส” ที่เราได้ค้นคว้าวิเคราะห์มาแล้ว สาเหตุที่ถูกเรียกว่าแม่น้ำ เพราะทะเลสาบเอ่อห่ายหรือหนองแสมีลักษณะยาวรี โดยมีความยาวจากเหนือถึงใต้ 40 กิโลเมตร ความกว้างจากตะวันออกถึงตะวันตก 4-8 เมตรประจวบกับด้านเหนือและด้านใต้ของทะเลสาบเชื่อมโยงกับลำคลอง เลยถูกเรียกว่าแม่น้ำ
“ชาวฮ่อ” หรือ ชาวแม่น้ำแถบทะเลสาบเอ่อห่ายหรือหนองแส
เป็นบรรพชนแขนงหนึ่งของชนเผ่าไป๋ในยูนนาน เผ่าไป๋(白族)และเผ่าหยี(彝族)ได้ร่วมกันสถาปนาอาณาจักรน่านจ้าว(南詔)เมื่อปี ค.ศ.649 สมัยราชวงศ์ถัง ต่อมา เผ่าไป๋ ยังได้ก่อตั้งอาณาจักรต้าหลี่(大理國)ช่วง ค.ศ.937-1253 เมืองหลวงของอาณาจักรน่านจ้าวและอาณาจักรต้าหลี่ก็ตั้งอยู่ในเมืองแสริมทะเลสาบหนองแสนั่นเอง
ทำเลของเมืองแสสมัยโบราณ ที่จีนเรียกว่าเมือง “เซอะหยี(楪榆)” นั้นก็คือเมืองต้าหลี่ปัจจุบัน แต่เอกสารไทลื้อและไทล้านนา ต่างก็เรียกเมืองต้าหลี่ว่า เมืองแส เช่นเดิม อาณาจักรเชียงรุ่งอยู่แถบตะเข็บชายแดนของยูนนาน ไทลื้อในอดีตรู้แต่ว่าเมืองแสหรือเมืองต้าหลี่เป็นถิ่นฐานของชาวฮ่อ เลยทำให้เข้าใจว่า ฮ่อเป็นกลุ่มชนปกครองยูนนาน ซึ่งต่อมายังได้ขยายความหมายถึงชนชาติฮั่นและชาวจีน ถึงแม้ว่าระบอบการปกครองของจีน ได้ผ่านวิวัฒนาการแปรเปลี่ยน
จากราชวงศ์ซ่ง (ชนชาติฮั่น) เป็นราชวงศ์หยวนชาวมองโกล
ราชวงศ์หมิงชาวฮั่น ราชวงศ์ชิงชาวแมนจู จนกระทั่งถึงสมัยการปกครองของก๊กมินตั๋ง แต่ไทลื้อก็ยังเรียกกลุ่มชนปกครองประเทศจีนว่า “ฮ่อ” เช่นเอกสารโบราณของสิบสองพันนาจะเขียนว่า “เจ้าว้องฮ่อ” หรือ “เจ้าว้องฮ่อลุ่มฟ้า” เรียกประเทศจีนว่า “เมืองฮ่อ” เรียกเรียนหนังสือจีนว่า “เรียนหนังสือฮ่อ”
อ้างอิง
ทำเลของเมืองแสสมัยโบราณ ที่จีนเรียกว่าเมือง “เซอะหยี(楪榆)” นั้นก็คือเมืองต้าหลี่ปัจจุบัน แต่เอกสารไทลื้อและไทล้านนา ต่างก็เรียกเมืองต้าหลี่ว่า เมืองแส เช่นเดิม อาณาจักรเชียงรุ่งอยู่แถบตะเข็บชายแดนของยูนนาน ไทลื้อในอดีตรู้แต่ว่าเมืองแสหรือเมืองต้าหลี่เป็นถิ่นฐานของชาวฮ่อ เลยทำให้เข้าใจว่า ฮ่อเป็นกลุ่มชนปกครองยูนนาน ซึ่งต่อมายังได้ขยายความหมายถึงชนชาติฮั่นและชาวจีน ถึงแม้ว่าระบอบการปกครองของจีน ได้ผ่านวิวัฒนาการแปรเปลี่ยน
จากราชวงศ์ซ่ง (ชนชาติฮั่น) เป็นราชวงศ์หยวนชาวมองโกล
ราชวงศ์หมิงชาวฮั่น ราชวงศ์ชิงชาวแมนจู จนกระทั่งถึงสมัยการปกครองของก๊กมินตั๋ง แต่ไทลื้อก็ยังเรียกกลุ่มชนปกครองประเทศจีนว่า “ฮ่อ” เช่นเอกสารโบราณของสิบสองพันนาจะเขียนว่า “เจ้าว้องฮ่อ” หรือ “เจ้าว้องฮ่อลุ่มฟ้า” เรียกประเทศจีนว่า “เมืองฮ่อ” เรียกเรียนหนังสือจีนว่า “เรียนหนังสือฮ่อ”
ส่วนกรณีที่คนไทยและคนลาวเรียกชาวยูนนานว่า “ฮ่อ” หรือ “จีนฮ่อ” นั้น ก็มาจากเหตุการณ์ที่เดิมที ไทลื้อเรียกกลุ่มผู้ปกครองยูนนานว่า “ฮ่อ” นั่นเอง..."
อ้างอิง
หนังสือ ปกิณกะการค้นคว้าเรื่องไท-ไทย
โดย : ศาสตราจารย์ยรรยง จิระนคร
โดย : ศาสตราจารย์ยรรยง จิระนคร
ฮ่อ (อังกฤษ: Haw, จีน: 云南人)
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี Tweet