ค้นหาบทความ 🙄






1/20/66

เซียนหยู่ เจ้าหญิงสายลับ Yoshiko Kawashima

      เจ้าหญิงแห่งราชวงศ์ชิง พระองค์หนึ่ง นามว่า อ้ายซินเจว่หลัว เซียนหยู่ (爱新觉罗 显玗) ซึ่งมีชีวิตโลดโผนมาก เจ้าหญิงพระองค์นี้ ยังมีชื่อเป็นภาษาญี่ปุ่นว่า “Yoshiko Kawashima”

เซียนหยู่ เจ้าหญิงสายลับ Yoshiko Kawashima

      เซียนหยู่   เป็นพระธิดาองค์ที่ ๑๔ ของเจ้าชายซู  (肃亲王)  ซึ่งเป็นเชื้อพระวงศ์ชั้นชินหวางอันนับว่าเป็นบรรดาศักดิ์สูงที่สุด เทียบเท่ายศชั้นเจ้าฟ้าของไทย ...  ต่อมาเจ้าชาย ได้ประทานพระองค์หญิงให้เป็นบุตรบุญธรรมของ Naniwa Kawashima ซึ่งเป็นเพื่อนสนิทของพระองค์ ชายผู้นี้มีบทบาทในกองทัพญี่ปุ่น ที่เจ้าชายซูประทานพระธิดาให้เพราะว่าหวังว่าจะเป็นสะพานใช้ในการหาความช่วยเหลือเพื่อฟื้นฟูราชวงศ์ชิง

พระองค์หญิง  ได้เดินทางไปญี่ปุ่น ในปี ๑๙๑๒ ตอนนั้น พระองค์มีพระชนม์เพียง ๗ ชันษาเท่านั้น

  ....  เมื่อไปอยู่ญี่ปุ่น บิดาบุญธรรมของพระองค์หญิงได้ตั้งชื่อใหม่ให้เป็นภาษาญี่ปุ่นว่า Yoshiko Kawashima ตลอดเวลาที่เติบโตในญี่ปุ่น พระองค์ได้รับการอบรมแบบญี่ปุ่น เรียนหนังสือในโรงเรียนสตรีชั้นนำของญี่ปุ่น พระองค์ไม่ได้ถูกอบรมเพียงคุณสมบัติกุลสตรีเท่านั้น แต่ยังได้รับการศึกษาเกี่ยวกับการเมือง การปกครอง และการทหารจากบิดาบุญธรรม
    บิดาบุญธรรมผู้นี้ภายหลังได้ข่มขืนพระองค์ เมื่อพระองค์หญิงมีพระชนม์เพียง ๑๗ ชันษา ซึ่งเรื่องที่เลวร้ายนี้พระองค์ได้กล่าวเองในภายหลัง
   ... ในวัยสาว   พระองค์หญิงเซียนหยู่ ได้พบรักกับผู้หมวดหนุ่ม ชาวญี่ปุ่นคนหนึ่ง แต่ต่อมาได้พลาดรักไป  พระองค์หญิงได้พยายามปลงพระชนม์ตนเองแต่ไม่สำเร็จ  ภายหลังจะเพื่อแก้แค้นเพศของตน หรือต้องการจะต่อต้านเพศชายที่ทำร้ายระองค์ ....  สุดท้าย พระองค์หญิงเซียนหยู่ได้ทำการปลงเกษาให้สั้น แต่งตัวเหมือนบุรุษ และทำทุกอย่างที่ผู้ชายทำ พร้อมประกาศก้องว่า

     พระองค์ได้ “หลุดพ้นจากความเป็นหญิงแล้ว”

ภาพพระองค์หญิงตั้งแต่วัยเยาว์จนถึงวัยรุ่น
ภาพพระองค์หญิงตั้งแต่วัยเยาว์จนถึงวัยรุ่น และหลังจากที่ปลงพระเกษาทิ้ง

ในปี ค.ศ. ๑๙๒๗  พระองค์ได้ทรงสมรสกับ เจ้านายชาวมองโกล นามว่ากัน จูเออร์จาปู้ ซึ่งเป็นบุตรของนายพลปาปู้จาปู้ ท่านนายพลผู้นี้เป็นผู้นำในขบวนการแยกดินแดนมองโกลเป็นอิสระ พระบิดาแท้ๆ ของพระองค์หญิงเซี่ยนหยู่ สนิทสนมกับครอบครัวนี้มาก และเป็นผู้ส่งจูเออร์จาปู้ ไปเรียนต่อด้านวิชาทหารที่ญี่ปุ่น เมื่อจบการศึกษาในปี ๑๙๒๗ จึงให้สมรสกับพระธิดาของพระองค์เอง



       อย่างไรก็ตามใน ปี ค.ศ. ๑๙๓๑  ทั้งสองได้เลิกร้างกันไป  และ ...  ในปีเดียวนี่เอง พระองค์หญิงเซี่ยนหยู่ ก็ได้ไปอยู่อาศัยร่วมกับ นายทหารญี่ปุ่น ชื่อว่า ริวคิชิ ทานากะ (Ryukichi Tanaka) ตอนนี้เอง ที่เธอเริ่มต้นการทำงานกับญี่ปุ่นใกล้ชิดมากขึ้น โดยอาศัยเส้นสายของบิดาเลี้ยง ( 
Naniwa Kawashima )  

       ในเวลาเดียวกัน ทางญี่ปุ่นได้อาศัยความสัมพันธ์ของเธอ กับเหล่าเชื่อพระวงศ์แมนจู และเจ้านายชาวมองโกลในการสร้างรัฐแมนจูกัว พระเจ้าปูยีอดีตพระจักรพรรดิแห่งราชวงศ์ชิง เมตตากับพระองค์หญิงมาก เพราะเห็นเป็นเชื้อพระวงศ์ที่สนิทกัน การที่พระเจ้าปูยียอมไปเป็นจักพรรดิของรัฐแมนจูกัวที่ญี่ปุ่นสร้างขึ้น ปัจจัยส่วนหนึ่งก็เพราะการเกลี้ยกล่อมของพระองค์หญิง
เซี่ยนหยู่ นี่เอง ...

ภายหลังในปี ๑๙๓๒  ...  เมื่อญี่ปุ่นได้สร้างรัฐแมนจูกัวขึ้น พระองค์หญิงเซี่ยนหยู่ ได้รับแต่งตั้งเป็น นายพลหญิง แห่งแมนจูกัว มีบทบาทด้านกรมโฆษณาการของแมนจูกัว ออกวิทยุและถึงขั้นร้องเพลง และบันทึกแผ่นเสียง แต่พระองค์ไม่ได้มีความสามารถแค่นั้น พระองค์มีความสามรถถึงขนาดร่วมรบไปกับกองทัพของแมนจูกัวคราวสงครามแม่น้ำเร่อ  โดยมีความสามารถโดดเด่นถึงขนาดทางญี่ปุ่นได้ประกาศว่า ทหารอาสาของกองทัพได้เดินทัพไป โดยมีเจ้าหญิงชาวแมนจู เป็นผู้นำ !!! 

   แม้พระองค์หญิงได้เข้าร่วมกับกองทัพญี่ปุ่นอย่างใกล้ชิด แต่ .... 

     ....  ในใจของพระองค์ ยังยึดถือว่าตัวเองเป็น ชาวแมนจู และทุกสิ่งที่ทำเพื่อกอบกู้ราชวงศ์ เมื่อค้นพบว่าแมนจูกัว ไม่ใช่ประเทศของกษัตริย์ชิง แต่เป็นดินแดนของญี่ปุ่น พระองค์หญิงเซี่ยนหยู่ จึงเริ่มทำการต่อต้านญี่ปุ่น และกล่าวประณามการกระทำของรัฐบาลญี่ปุ่น ต่อประเทศจีน รวมถึงพยายามใช้อำนาจที่มีช่วยให้คนจีนที่ญี่ปุ่นจับตัวได้หลบหนีออกไป ทำให้รัฐบาลญี่ปุ่นรู้สึกว่า พระองค์เริ่มเป็นอันตรายต่อกองทัพญี่ปุ่น สุดท้ายจึงถูกส่งตัวไปอยู่ที่ญี่ปุ่น ในปี ๑๙๓๔  .... แต่ในปี ๑๙๓๖  
พระองค์ ก็ได้กลับเข้ามายังจีนอีก โดยอาศัยอยู่ในเทียนจิน และทำงานเป็น สายลับให้แก่ญี่ปุ่น ... 

อย่างไรก็ตามหนังสือประวัติศาสตร์ไม่น้อย กล่าวว่าพระองค์หญิงเซี่ยนหยู่ เป็น "นางมารขายชาติ" เมื่ออยู่ในแมนจูกัวได้ปฏิบัติต่อคนจีนอย่างโหดร้าย พร้อมมีเรื่องเล่าอีกมากมาย  *สุดท้าย ข้อเท็จจริงจะเป็นอย่างไร ? คงต้องตัดสินใจเองว่าจะเลือกเชื่อแบบใด.... 
ภาพพระองค์หญิงกับกลุ่มสายลับญี่ปุ่น

ในปี ค.ศ. ๑๙๔๕ เมื่อญี่ปุ่นได้แพ้สงคราม

       พระองค์หญิงเซี่ยนหยู่ ได้เป็นหนึ่งในกลุ่มชาวจีนที่ถูกลงโทษฐานเป็นขายชาติในวันที่ ๒๒ ตุลาคม ปี ๑๙๔๗ ได้ถูกพิพากษาลงโทษ ประหารชีวิต
       ในที่สุดในวันที่ ๒๕ มีนาคม ปี ๑๙๔๘ หลังจากที่ทรงเขียนพินัยกรรมเสร็จสิ้น พระองค์ได้ถูกสำเร็จโทษ ด้วยการยิงปืนเข้าที่ศีรษะ โดยยิงเข้าที่ด้านหน้า ต่อมา ทางการได้ถวายพระเพลิง และส่งพระอัฐิกลับไปยังที่ฝังที่ประเทศญี่ปุ่นในสุสานของตระกูลคาวาซึมะ 


ภาพระหว่างต้องโทษ พระศพหลังการสำเร็จโทษ และภาพหลุมฝังพระอัฐิของพระองค์

ภาพระหว่างต้องโทษ พระศพหลังการสำเร็จโทษ และภาพหลุมฝังพระอัฐิของพระองค์


      หลังการตายของพระองค์หญิง ได้มีข่าวแจ้งว่าพบพระองค์หญิงในช่วงปี ๑๙๕๐ แต่ก็ไม่มีการติดตาม 

      ตำนานนี้สุดท้ายในปี ๒๐๐๖ ได้มีจิตรกรชาวมลฑลจี่หลินเมืองฉางชุน (吉林省长春市) ชื่อว่าจางยู่  (张钰) ได้นำมรดกข้าวของเครื่องใช้ และรูปถ่ายของหญิงชราคนหนึ่งที่คนที่นั้นเรียกว่า คุณยายฝาง (方姥)  ซึ่งเสียชีวิตในปี ๑๙๗๘ และกล่าวว่า สตรีชรา ผู้นี้ คือ พระองค์หญิงเซี่ยนหยู่ ในวัยปั้นปลาย โดยพระองค์อาศัยอยู่ในหมู่บ้านเล็กๆ ของมณฑลจี่หลิน จิตรกรผู้นี้กล่าวว่า หญิงชราเป็นผู้เลี้ยงดูตน จนเติบใหญ่ ที่เขารู้ความลับนี้ เพราะว่า คุณปู่เขาก่อนตายได้บอกความจริงแก่เขา


ชื่อฝาง (方) เป็นการอ่านออกเสียงอักษรญี่ปุ่น ที่ออกเสียงเป็นภาษาจีนในชื่อภาษาญี่ปุ่นของพระองค์ ชื่อญี่ปุ่นที่ออกเสียงแบบจีนคือ ชวน เต่า ฝาง จึ (川岛芳子)


     เนื่องจากระยะเวลาผ่านไปนานมากแล้ว การที่จะค้นหาจาก DNA ที่ตกค้างบนวัตถุหรือรอยนิ้วมือที่หลงเหลือไม่สามารถทำได้  กระดูกก็ถูกเผาทำลายจนไม่อาจจะตรวจสอบได้เช่นกัน 

     ดังนั้นจึงยากที่จะยืนยันว่าจริงหรือไม่ แต่ทว่า ทางการจีน และญี่ปุ่น ได้ทำการตรวจสอบภายหลังมีการรับแจ้ง ทางการจีนแจ้งว่าจากภาพของศพที่ตายและภาพของพระองค์หญิงเซี่ยนหยู่ตรวจสอบแล้วมิใช่ภาพของคนๆเดียวกัน และทางการญี่ปุ่นได้ศึกษาโครงร่างของศพ เพื่อดูสภาพของกระดูกมีลักษณะเป็นอย่างไร ทางการญี่ปุ่นแถลงว่า เป็นของสตรีใช้แรงงานหนัก และเคยมีบุตรมาแล้ว  ซึ่งไม่น่าจะใช่ของพระองค์หญิงเซี่ยนหยู่ เพราะตลอดชีวิตพระองค์ใช้ชีวิตอย่างชนชั้นสูง ไม่เคยใช้แรงงานใดๆ ทั้งยังไม่เคยมีบุตรอีกด้วย ...

   แต่ก็ยากที่จะตรวจสอบว่าหญิงชราที่ตายไป ใช่พระองค์หญิงจริงหรือเปล่า เพราะว่าศพของหญิงผู้นี้ถูกเผาไปแล้ว และยากที่จะตรวจสอบDNA จากเถ้ากระดูกที่เหลือ

เรื่องราวของพระองค์คงเป็นหนึ่งในสตรีที่มีชีวิตโลดโผนที่สุดคนหนึ่งของประวัติศาสตร์จีน นี้คือเรื่องของพระองค์ เซียนหยู่ เจ้าหญิงสายลับ

มีการนำเรื่องราว ประวัติชีวิตของพระองค์ มาสร้างเป็นภาพยนต์หลายเรื่อง กระทั่งปรากฎอยู่ในเกมต่างๆ ข้าพเจ้าลงเนื้อหาจากวิกีพีเดียให้ทุกท่านอ่านดู เผื่อท่านใดจะตามค้นดู
  • Kawashima has been depicted in numerous movies from 1932 until the present day by many actresses. She was also featured in the movie The Last Emperor, where she appeared as "Eastern Jewel", played by Maggie Han.
  • Anita Mui played Kawashima Yoshiko in a 1990 Hong Kong-produced film, The Last Princess of Manchuria.
  • She is a prominent character in the 2007 drama Ri Kouran, which tells the story of the life of Yoshiko Yamaguchi, also known as Li Xianglan (李香蘭). She was portrayed by Japanese idol Rei Kikukawa.
  • An eight-year-old Kawashima Yoshiko makes a cameo appearance in the PlayStation 2 game Shadow Hearts: Covenant, as Yoshiko Kawashima. A character in the previous game was also named Yoshiko Kawashima, though she was another person altogether and, in the second game, was portrayed as the namesake for the historical figure.
  • The Private Papers of Eastern Jewel, by Maureen Lindley, is a 2008 novel about the life of Yoshiko Kawashima (a.k.a. “Eastern Jewel”).
  • Meisa Kuroki portrays Kawashima in the 2008 Japanese drama "Dansō no Reijin ~Kawashima Yoshiko no Shōgai~".
  • Kawashima was featured as a character in Ian Buruma's novel The China Lover, released in 2008.
  • More scholarly and peer-reviewed research exists on Kawashima Yoshiko in English in Dan Shao's "Princess, Traitor, Soldier, Spy: Aisin Gioro Xianyu and the Dilemma of Manchu Idnentity" in Mariko Asano Tamanoi, ed. ''Crossed Histories: Manchuria in the Age of Empire. Honolulu: University of Hawai'i Press, 2005.

Ref. คุณ han_bing / ประวัติศาสตร์โลก http://www.reurnthai.com/


 



  บันทึกลับตงเจิน
 หนังสือ  บันทึกลับตงเจิน เรื่องราวอิง จาก  ชีวิตจริง ของเจ้าหญิง ตงเจิน แห่งราชวงศ์ชิง ที่ผันตัวเป็นสายลับ ให้กับญี่ปุ่น  ||||| เรื่องราวอิงชีวิตจริงของเจ้าหญิงตงเจินแห่ง ราชวงศ์ชิง ที่ทางการจีนถือว่าเธอทรยศต่อชาติอันเป็นแผ่นดินเกิด ผู้เขียน Maureen Lindled (โมรีน ลินด์ลีย์), โมรีน ลินด์ลีย์ ผู้แปล วิภาดา กิตติโกวิท   >> ดูเพิ่มเติม 





Admin Bee

สนับสนุน Misc.Today

นี่คือ ลิ้งค์พันธมิตร หรือที่เรียกว่า affiliate link ซึ่งหมายความว่า... หากคุณคลิ๊กลิ้งค์นี้ และซื้อผลิตภัณฑ์ อะไรก็ได้ ฉันจะได้ค่าคอมมิชชั่นเล็กน้อย สิ่งนี้จะช่วยสนับสนุนเว็บไซด์ และช่วยให้กำลังใจเราต่อไป


  ชาหมักคอมบูชะ Scoby doit  


 






 

คุณอาจสนใจ

5 บทความ ยอดนิยม ในรอบ 30 วัน

🟡 โพสต์แนะนำ

คริสเตียนไซออนนิสท์ คือใคร ? - Christian Zionist

ช่วงนี้ ผมติดตามหาข้อมูลเกี่ยวกับ อิสราเอล กับ ปาเลสไตน์ ครับ ส่วนใหญ่จะเป็นแนวประวัติศาสตร์เสียมาก เพราะผมมีความเชื่อส่วนตัวว่า การที่เราจะ...

Popular Posts

แนะนำหนังสือ


  BOOKs OF THE DAY








ผู้สนับสนุน







Xiaomi Kingsmith Walking Pad

 Xiaomi Kingsmith Walking Pad R1 Pro/ R2 ลู่เดิน/วิ่งไฟฟ้า พับเก็บได้ สำหรับการออกกำลังกายภายในบ้าน >> คลิ๊กดูเพิ่มอีก


ป้ายกำกับ / Tag labels

2475 (1) กฎหมาย (4) กฐิน (2) กรรม (5) กระเป๋า (3) กรุงเทพฯ (19) กรุงศรีอยุธยา (11) กล้องถ่ายภาพ (7) กลอน (4) กลาโหม (9) การเกษตร (7) การจัดเก็บ (3) การปกครอง (1) การเมือง (53) การศึกษา (131) กิจกรรมกลางแจ้ง (2) กีฬา (3) เกษตร (3) เกี่ยวกับสัตว์ (14) ไกลกังวล (1) ขงจื้อ (1) ขนม (2) ขอมไม่ใช่เขมร (6) ข้าว (3) ข่าวสาร (22) ขิง (1) เขมร (10) โขน (2) คณะราษฎร (10) คติธรรม (1) คนเล่านิทาน (15) ครัว (1) ครู (6) ความเชื่อ (12) ความรู้ (155) คอมมิวนิสต์ (33) คำภีร์ (2) คำสอน (11) เครื่องบิน (7) เงินตรา (4) จอมพล ป. พิบูล (1) จอมพล ป. พิบูลสงคราม (13) จีน (53) ช้าง (1) ชายแดนใต้ (5) ญี่ปุ่น (15) ดนตรีไทย (1) ดอกไม้ (1) เด็ก (5) เดนมาร์ก (1) ต้นไม้ (4) ตลาดนัด (1) ตำรวจ (2) เตา (1) เตือนภัย (16) แต่งงาน (1) ทรัพยากร (2) ทวิตเตอร์ (1) ทหาร (9) ท่องเที่ยว (28) ทะเล (3) ทัศนะ (49) ทำบุญ (5) ทำอาหาร (5) เทคโนโลยี (13) โทรศัพท์มือถือ (2) ธนบัตร (1) ธนาคาร (4) ธรณี (1) ธรรมชาติ (10) ธรรมในคำกลอน (1) ธรรมะ (6) ธรรมาธิปไตย (2) ธุรกิจ (10) นราธิวาส (3) นวดไทย (1) นักบิน (1) นักเรียน (4) นางใน (1) นาซี (1) นายกรัฐมนตรี (3) น้ำมัน (1) นิทานพื้นบ้าน (1) นิยาย (3) นิวเคลียร์ (1) เนปาล (1) แนะนำสินค้า (38) โนรา (1) ในหลวง ร.10 (1) ในหลวงรัชกาลที่ 9 (15) บริการ (3) บริหาร (3) บ่อน (1) บัตรเครดิต (2) บัตรประชาชน (1) บุคคล (42) บุญ (3) บุหรี่ (1) เบตง (1) แบรนด์ไทย (5) โบราณวัตถุ (13) โบราณสถาน (6) โบสถ์ (2) ประชาธิปไตย (54) ประท้วง (7) ประเทศไทย (176) ประธานาธิบดี (1) ประวัติศาสตร์ (148) ปรัชญาชีวิต (21) ปรีดี (2) ปลูกต้นไม้ (3) ปูติน (1) ผลไม้ (2) ผลิต (3) ผัก (1) ผิวสี (1) แผ่นดินไหว (1) ฝรั่งเศส (6) พม่า (6) พยาบาล (1) พระเจ้าตากสินมหาราช (2) พระนเรศ (1) พระพุฒาจารย์ (1) พระพุทธเจ้า (1) พระราชกรณียกิจ (4) พระสงฆ์ (10) พราหมณ์ (1) พิบูลสวัสดี (1) พิพิธภัณฑ์ (9) พุทธทาส (1) พุทธศาสนา (11) เพชรบุรี (3) เพลง (8) เพลงผ้า ปรพากย์ (1) แพทย์ (4) ฟาโรห์ (1) ไฟ (4) ไฟฉาย (1) ไฟฟ้า (1) ภัยพิบัติ (1) ภาคใต้ (6) ภาคอีสาน (1) ภาษา (9) ภาษิต (1) ภูเขาไฟ (1) ภูมิปัญญา (19) ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ (1) มวยไทย (5) มาเลเซีย (1) มุมไบ (2) มุสลิม (2) แม่ (1) ไม้ไผ่ (1) ยา (1) ยิว (3) ยูนนาน (1) เยาวชน (1) เยาวราช (1) รถเมล์ (3) รองเท้า (2) ระเบิด (3) รัชกาลที่ ๒ (1) รัชกาลที่ ๔ (3) รัชกาลที่ ๕ (7) รัชกาลที่ ๖ (1) รัชกาลที่7 (8) รัชกาลที่ ๘ (5) รัฐประหาร (7) รัสเซีย (12) ราชาศัพท์ (1) รามเกียรติ์ (1) เรือ (2) เรื่องเก่า (80) เรื่องเล่า (23) โรค (5) โรคระบาด (4) โรงงาน (1) โรงพยาบาล (10) โรงเรียน (16) โรฮิงญา (1) ลอนดอน (1) ลัทธิ (2) ลัทธิมาร์กซ์ (3) ล้านนา (3) ลาว (4) ลิง (1) เลือกตั้ง (9) โลก (5) โลกร้อน (3) วัฒนธรรม (2) วัด (14) วันแม่ (1) วันสำคัญ (5) วิทยาศาสตร์ (9) วิทยุ (2) วิหาร (4) เวียดนาม (4) ไวรัล (1) ศัพท์ (1) ศาสนา (36) ศิริราช (5) ศิลปะ (5) ศิลปาชีพ (1) เศรษฐกิจ (3) สงขลา (1) สงคราม (50) สถานีรถไฟ (1) สนามบิน (2) สเปน (1) สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร (2) สมัยเมจิ (1) สยาม (12) สวนสนุก (1) สวิตเซอร์แลนด์ (2) สังคม (37) สำนวน (8) สิ่งประดิษฐ์ (13) สื่อ (3) สุขภาพ (14) สุภาพจิต (6) สุสาน (1) หนังแท้ (4) หนังสือ (31) หนังสือพิมพ์ (1) หนู (1) ห้องเรียน (4) เหมาเจ๋อตง (2) เหรียญ (1) อเมริกา (37) ออสเตรีย (1) อังกฤษ (6) อาชีพ (1) อาหาร (16) อาหารจานโปรด (9) อิตาลี (3) อินเดีย (8) อิสราเอล (3) อียิปต์ (1) อีสาน (1) แอปพลิเคชัน (4) ไอร์แลนด์ (1) cpr (1) deep state (1) democracy (1) Diarymisc (3) facebook (1) handmade (1) leather (1) metaverse (1) nomad (6) Nuclear (1) OPENUP (1) powerbank (1) shopee (1) Social media (2) social views (114) startup (1) UNESCO (4) xiaomi (1)


Miscellaneous | Misc.Today 🌱 . ขับเคลื่อนโดย Blogger.

 
miscthailand