ค้นหาบทความ 🙄





6/01/65

ขอม ไม่ใช่เขมร และไม่ใช่ชื่อประเทศ แล้ว ขอม เป็นใครกันแน่ ? ตอนที่ ๑

ไทยลอกแบบมาจากเขมร หรือ เขมรลอกไปจากไทย ตอนที่ ๑ “ขอม” ไม่ใช่เขมร ไม่ใช่ชื่อประเทศ  | โดย อัษฎางค์ ยมนาค



ขอม เป็นใครกันแน่?

ในวิชาประวัติศาสตร์ไทย ที่สอนกันมาตลอดชั่วนาตาปี บอกว่า “ขอม” คือ “เขมร” แต่ประวัติศาสตร์ของเขมรโบราณ ไม่เคยเรียกตัวเองว่า “ขอม”  


    มีการค้นพบศิลาจารึกในพม่า ที่มีอายุนับพันปี เป็นศิลาจารึกที่เขียนด้วยอักษรขอม แต่เมื่ออ่านแล้ว ไม่ได้เป็นอักขรวิธีที่เขียนแบบภาษาบาลีหรือภาษาเขมร แต่เป็นอักขรวิธีแบบไทย ศิลาจารึกแผ่นนี้ มีอายุเก่าแก่กว่าศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงแห่งกรุงสุโขทัย ซึ่งเมื่ออ่านลงไปแล้ว สามารถอ่านออกมาเป็นภาษาไทยได้ตรงๆ เลย ศิลาจารึกอันนั้น เขียนด้วยอักษรขอม แต่อ่านออกเสียงเป็นภาษาไทย น้องอิงนั่งอยู่ในใกล้ๆ ได้ยินที่ผมดูคลิปรายการนี้ เลยถามขึ้นมาด้วยความสงสัย ว่า มันแปลว่าอะไร ? ไม่เข้าใจว่า เขียนด้วยอักษรขอม แต่อ่านออกเสียงเป็นภาษาไทย มันคืออะไร ?

ผมอธิบายแบบนี้ครับ เผื่อมีเพื่อนๆ ไม่เข้าใจเหมือนน้องอิง ... 

  ผมบอกน้องอิงว่า  .... เขียนชื่อจริงน้องอิงออกมาให้พ่อดูซิ .. ( น้องอิงเขียนภาษาไทยไม่ได้ครับ ไม่เคยเรียน แต่พูดและฟังภาษาไทยไทยได้ดี)   น้องอิงก็เขียนชื่อตัวเอง เป็นตัวอักษรภาษาอังกฤษ ลงมาว่า  Yommanak

   ผมก็บอกน้องอิงว่า มองด้วยตา เราก็เห็นอย่างชัดเจน ว่ามันคือตัวอักษรภาษาอังกฤษ ใช่มั้ย ? เพราะฉะนั้น ถ้าเวลาผ่านไปพันปี  มีคนมาเห็นที่น้องอิงเขียนอันนี้  คนอีกพันปีข้างหน้า อาจจะบอกว่า "คนฝรั่งเป็นคนเขียน"
แต่ถ้าบังเอิญมีคนที่รู้ทั้งภาษาอังกฤษ และภาษาไทย มาอ่าน คนๆ จะอ่านชื่อน้องอิงที่เขียนด้วยตัวอักษรอังกฤษว่าอะไร ?  เขาก็จะอ่านว่า “ยมนาค”

เห็นมั้ยว่า ตัวอักษรอังกฤษ แต่อ่านออกเสียงเป็นภาษาไทย เข้าใจแล้วใช่มั้ย ? 
     ตัวอักษรภาษาอังกฤษ แต่อ่านออกเสียงเป็นภาษาไทย เพราะคนไทยเป็นคนเขียน เช่นเดียวกัน ตัวอักษรขอม แต่อ่านออกเสียงเป็นภาษาไทย เพราะคนไทยเป็นคนเขียน เข้าใจแล้วใช่มั้ยครับ (จริงๆ แล้วตัวอักษรที่เราเรียกว่า เป็นตัวอักษรภาษาอังกฤษนั้น มันคือตัวอักษร โรมัน)

ในสมัยพระเจ้าอนิรุทธิ์แห่งอาณาจักรพุกาม 

     ได้มีการบันทึกไว้ว่า ขอมได้ยกทัพมาตีหงสาวดี พระเจ้าพระเจ้าอนิรุทธิ์จึงยกทัพมาต่อสู้ และก็บอกว่า “ขอม” ที่ว่านี้ก็คือ “คนไทยโบราณ” นั่นเอง  มีชนชาติที่พูดภาษาไต หรือภาษาไทย อยู่ทั่วไปในดินแดนแถบนี้ แต่คนที่พูดภาษาไต หรือไทย ที่อยู่ทางเหนือ เช่น ไทยใหญ่ ล้านนา สิบสองปันนา เรียกคนที่พูดภาษาไทย ที่อาศัยอยู่ทางใต้ ( ใต้ของคนทางเหนือ ซึ่งก็คือบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ) ว่า “ขอม” แม้แต่ในบันทึกของอาณาจักรพม่าโบราณก็เรียก คนที่พูดไทย และอาศัยอยู่ในภาคกลางของไทยในปัจจุบันว่า “ขอม”

      สมัยโบราณ  ไม่มีเส้นแบ่งพรมแดนที่ชัดเจน ในเมืองแต่ละเมือง อาจมีคนหลายเผ่าพันธุ์ หลายเชื้อชาติ อาศัยปะปนกันอยู่ เวลาเราจะระบุว่าใครเป็นใคร เขามักจะระบุว่า คนนั้นคนนี้ เป็นชาวสุโขทัย เป็นชาวลพบุรี เป็นชาวเชียงตุง แต่เขาจะไม่ได่ระบุว่า คนนั้นคนนี้ เป็นคนไทย เป็นพม่า เป็นมอญ นึกภาพออกมั้ย ? 

      คนไทยภาคกลาง พม่า มอญ ลาว คนไทยทางเหนือ(ล้านนาเชียงใหม่) คนไทยอีสาน หรือแม้แต่เขมร มีรูปร่างหน้าตาที่คล้ายคลึงกันมาก จนบางทีแยกไม่ออกด้วยซ้ำ แต่เราสามารถแยกได้ว่า เป็นชาวโคราช เป็นชาวเชียงใหม่ เป็นชาวสุพรรณบุรี เป็นชาวกรุงเทพ ตามถิ่นที่อยู่ ... 

     ลองนึกง่ายๆ ในปัจจุบัน  เวลาเราไปถามคนที่อยู่ในกรุงเทพว่าเป็นคนที่ไหน เด็กรุ่นใหม่จะตอบว่า ตัวเองเป็นคนกรุงเทพ ทั้งๆ ที่เขามีหน้าตาไม่เหมือนคนกรุงเทพ และเขาก็มีพ่อแม่ ปู่ย่าตายาย ที่อาจจะเป็นคนเหนือ อีสาน ใต้ เป็นคนจีน เป็นแขก เป็นฝรั่ง เป็นลูกครึ่ง ที่เพิ่งย้ายมาอยู่กรุงเทพ แล้วก็ให้กำเนิดลูกในกรุงเทพ เด็กที่เกิดมาใหม่ ก็บอกว่าตัวเองเป็นคนกรุงเทพ นึกออกมั้ย  ... 
ขอมไทย หรืออักษรที่เขียนด้วยตัวอักษรขอม แต่อ่านเป็นอักขรวิธีแบบไทยนี้ ถูกยกเลิกการเรียนการสอน ไปเมื่อ พ.ศ.๒๔๙๐ มานี่เอง ท่านรู้หรือไม่ ? 
     ปัจจุบันมีการขุดพบหลักฐานมากมาย รวมทั้งค้นพบโครงกระดูกมนุษย์อายุนับหมื่นปี ในดินแดนแทบนี้
คนไทย พม่า มอญ เขมร ลาว และอีกหลายชนชาติ เริ่มต้นกันมาบนดินแดนนี้ ไม่เคยอพยพย้ายถิ่นมาจากที่อื่นใดเลย พวกเราอยู่ตรงนี้มากันนับเป็นหมื่นปีแล้ว ... 

สรุป คนโบราณที่อาศัยอยู่ในดินแดนแหลมทอง หรือแหลมอินโดจีน นับตั้งแต่ฝั่งพม่าทางตะวันตก ผ่านมาดินแดนสิบสองปันนาทางเหนือ ไปจนสุดลุ่มแม่น้ำโขงทางตะวันออก เรียกคนที่พูดภาษาไต หรือไทย ที่อาศัยอยู่ในลุ่มแม่น้ำตอนกลางของดินแดนสุวรรณภูมิ ที่อยู่ใกล้กับทะเล ซึ่งก็คือภาคกลางของประเทศไทยในปัจจุบัน เหล่านี้ว่า “ขอม” 

    ซึ่ง “ขอม” ในที่นี้ ก็คือ “คนไทยในสมัยโบราณ” ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มคนที่ถูกเรียกว่า “ขอม”นั้นเอง ..ขอมนครวัดเคยรุ่งเรืองเมื่อพันกว่าปีก่อน และสูญหายไปนานมากแล้ว และเขมร ๔๐๐ ปีหลังมานี้ รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมมาจากไทย เพราะเขมรเป็นเมืองขึ้นของไทยมา ๔๐๐ ปี

คลิปของ อ.มิกกี้ นักวิชาการชาวพม่า ที่โชว์หลักฐานว่า ในประวัติศาสตร์ของพม่าบอกว่าขอม คือคนไทยโบราณ ตามลิงค์นี้

  • ที่มา: อ.มิกกี้ ฮาร์ท |  นักวิชาการประวัติศาสตร์ชาวพม่า
  • รายการโยเดีย ที่คิดถึง ทาง Thai PBS  
  • อัษฎางค์ ยมนาค รวบรวม เรียบเรียง และอธิบายเพิ่มเติม

โปรดติดตามตอนต่อไป จาก ป้ายกำกับนี้ คลิ๊ก >>   ขอมไม่ใช่เขมร

 
หนังสือขอมโบราณ แนะนำ 


"ขอม" เป็นชนชาติที่ยิ่งใหญ่ที่สุดชนชาติหนึ่ง ในภูมิภาคอุษาคเนย์  

    รวบรวมเรื่องราวของชนชาติขอม ด้านประวัติศาสตร์ความเป็นมา ช่วงรัชสมัยต่างๆ ทั้งอารยธรรมที่ขอมได้ฝากไว้ กระทั่งสงครามหรืออิทธิพลที่ขอมมีต่อไทย เพื่อให้ผู้สนใจศึกษาประวัติศาสตร์ขอมได้เห็นภาพรวมตามลำดับเวลา เพื่อให้ง่ายต่อการอ่านพร้อมบันทึกของยอดนักบันทึกโจวต้ากวน เหมาะสำหรับผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องราวขอมไม่มากนัก หรือไม่มีพื้นฐานเลย

     


Admin Bee

สนับสนุน Misc.Today

นี่คือ ลิ้งค์พันธมิตร หรือที่เรียกว่า affiliate link ซึ่งหมายความว่า... หากคุณคลิ๊กลิ้งค์นี้ และซื้อผลิตภัณฑ์ อะไรก็ได้ ฉันจะได้ค่าคอมมิชชั่นเล็กน้อย สิ่งนี้จะช่วยสนับสนุนเว็บไซด์ และช่วยให้กำลังใจเราต่อไป



 

คุณอาจสนใจ

เครื่องดื่มมหัศจรรย์ เพื่อสุขภาพที่ดี


  ชาหมักคอมบูชะ Scoby doit  



“ จุลินทรีย์ โพรไบโอติก ที่มีอยู่ในชาหมัก คอมบูชะ ( Kombucha ) สามารถแก้ไขปัญหาของระบบทางเดินอาหาร และลำไส้”

KOMBUCHA ORIGINAL 101 / by Scoby Do it 💖
    เครื่องดื่มชาหมักเพื่อสุขภาพ คอมบูชา หรือ คอมบูชะ ( Kombucha ) Scoby do it คือ เครื่องดื่มที่ผ่านกระบวนการหมัก มีสรรพคุณทางยา โดยมี “จุลินทรีย์ โพรไบโอติก Probiotics” ที่เป็นพระเอกของเครื่องดื่มชนิดนี้ “จุลินทรีย์” ที่อยู่ในชาหมักที่เกิดจากการหมักชา จะมี สารฟลาโวนอยด์ (Flavonoids) ช่วยต้านอนุมูลอิสระ และอาจช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือด เบาหวาน มะเร็ง และโรคอัลไซเมอร์ได้ 

   >> ดูเพิ่มเติม 




5 บทความ ยอดนิยม ในรอบ 30 วัน

🟡 โพสต์แนะนำ

ทองคำของไทยหนักกว่า 31 ตัน ฝากไว้ในห้องนิรภัยของสหรัฐ

 ... ประเทศไทยมีทองคำน้ำหนักกว่า 31 ตัน ที่เคยฝากไว้ในห้องนิรภัยของสหรัฐ (ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒)  แต่ทวงแล้วทวงอีก สหรัฐอเมริกาปฏิเสธ ...

Popular Posts

แนะนำหนังสือ


  BOOKs OF THE DAY








ผู้สนับสนุน







ป้ายกำกับ / Tag labels

กฎหมาย (4) กฐิน (2) กรรม (5) กระเป๋า (3) กรุงเทพฯ (19) กรุงศรีอยุธยา (11) กล้องถ่ายภาพ (7) กลอน (4) กลาโหม (9) การเกษตร (6) การจัดเก็บ (2) การเมือง (46) การศึกษา (123) กิจกรรมกลางแจ้ง (2) กีฬา (3) เกษตร (2) เกี่ยวกับสัตว์ (12) ไกลกังวล (1) ขงจื้อ (1) ขนม (2) ขอมไม่ใช่เขมร (6) ข้าว (3) ข่าวสาร (21) ขิง (1) เขมร (10) โขน (2) คณะราษฎร (9) คนเล่านิทาน (14) ครู (6) ความเชื่อ (10) ความรู้ (140) คอมมิวนิสต์ (29) คำภีร์ (2) คำสอน (10) เครื่องบิน (7) เงินตรา (4) จอมพล ป. พิบูล (1) จอมพล ป. พิบูลสงคราม (13) จีน (53) ช้าง (1) ชายแดนใต้ (5) ญี่ปุ่น (15) ดนตรีไทย (1) ดอกไม้ (1) เด็ก (5) เดนมาร์ก (1) ต้นไม้ (4) ตลาดนัด (1) ตำรวจ (2) เตา (1) เตือนภัย (15) แต่งงาน (1) ทรัพยากร (2) ทวิตเตอร์ (1) ทหาร (9) ท่องเที่ยว (27) ทะเล (3) ทัศนะ (43) ทำบุญ (4) ทำอาหาร (5) เทคโนโลยี (13) โทรศัพท์มือถือ (2) ธนบัตร (1) ธนาคาร (4) ธรรมชาติ (7) ธรรมในคำกลอน (1) ธรรมะ (6) ธรรมาธิปไตย (2) ธุรกิจ (10) นราธิวาส (3) นวดไทย (1) นักบิน (1) นักเรียน (4) นางใน (1) นาซี (1) นายกรัฐมนตรี (2) น้ำมัน (1) นิทานพื้นบ้าน (1) นิยาย (3) นิวเคลียร์ (1) เนปาล (1) แนะนำสินค้า (36) โนรา (1) ในหลวง ร.10 (1) ในหลวงรัชกาลที่ 9 (15) บริการ (3) บริหาร (3) บ่อน (1) บัตรเครดิต (2) บัตรประชาชน (1) บุคคล (42) บุญ (3) บุหรี่ (1) เบตง (1) แบรนด์ไทย (5) โบราณวัตถุ (13) โบราณสถาน (6) โบสถ์ (2) ประชาธิปไตย (47) ประท้วง (7) ประเทศไทย (169) ประวัติศาสตร์ (146) ปรัชญาชีวิต (20) ปรีดี (1) ปลูกต้นไม้ (3) ปูติน (1) ผลไม้ (1) ผลิต (3) ผิวสี (1) แผ่นดินไหว (1) ฝรั่งเศส (6) พม่า (6) พยาบาล (1) พระเจ้าตากสินมหาราช (2) พระนเรศ (1) พระพุฒาจารย์ (1) พระพุทธเจ้า (1) พระราชกรณียกิจ (4) พระสงฆ์ (8) พราหมณ์ (1) พิบูลสวัสดี (1) พิพิธภัณฑ์ (9) พุทธทาส (1) พุทธศาสนา (8) เพชรบุรี (3) เพลง (8) เพลงผ้า ปรพากย์ (1) แพทย์ (4) ฟาโรห์ (1) ไฟ (4) ไฟฉาย (1) ไฟฟ้า (1) ภาคใต้ (6) ภาคอีสาน (1) ภาษา (9) ภาษิต (1) ภูเขาไฟ (1) ภูมิปัญญา (19) ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ (1) มวยไทย (5) มาเลเซีย (1) มุมไบ (2) มุสลิม (2) แม่ (1) ไม้ไผ่ (1) ยา (1) ยิว (3) ยูนนาน (1) เยาวชน (1) เยาวราช (1) รถเมล์ (3) รองเท้า (2) ระเบิด (3) รัชกาลที่ ๒ (1) รัชกาลที่ ๔ (3) รัชกาลที่ ๕ (7) รัชกาลที่ ๖ (1) รัชกาลที่7 (7) รัชกาลที่ ๘ (5) รัฐประหาร (5) รัสเซีย (12) ราชาศัพท์ (1) รามเกียรติ์ (1) เรือ (2) เรื่องเก่า (80) เรื่องเล่า (21) โรค (5) โรคระบาด (3) โรงงาน (1) โรงพยาบาล (9) โรงเรียน (16) โรฮิงญา (1) ลอนดอน (1) ลัทธิ (1) ล้านนา (3) ลาว (4) เลือกตั้ง (9) โลก (5) โลกร้อน (2) วัฒนธรรม (1) วัด (13) วันแม่ (1) วันสำคัญ (5) วิทยาศาสตร์ (9) วิทยุ (2) วิหาร (4) เวียดนาม (4) ไวรัล (1) ศาสนา (36) ศิริราช (5) ศิลปะ (4) ศิลปาชีพ (1) เศรษฐกิจ (3) สงขลา (1) สงคราม (50) สถานีรถไฟ (1) สนามบิน (1) สเปน (1) สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร (2) สมัยเมจิ (1) สยาม (12) สวนสนุก (1) สวิตเซอร์แลนด์ (2) สังคม (36) สำนวน (8) สิ่งประดิษฐ์ (13) สื่อ (2) สุขภาพ (13) สุภาพจิต (5) สุสาน (1) หนังแท้ (4) หนังสือ (31) ห้องเรียน (4) เหมาเจ๋อตง (1) เหรียญ (1) อเมริกา (36) ออสเตรีย (1) อังกฤษ (6) อาชีพ (1) อาหาร (16) อาหารจานโปรด (9) อิตาลี (3) อินเดีย (8) อิสราเอล (3) อียิปต์ (1) อีสาน (1) แอปพลิเคชัน (4) ไอร์แลนด์ (1) cpr (1) deep state (1) democracy (1) Diarymisc (3) facebook (1) handmade (1) leather (1) metaverse (1) nomad (6) Nuclear (1) OPENUP (1) powerbank (1) shopee (1) Social media (2) social views (112) startup (1) UNESCO (4) xiaomi (1)


Miscellaneous | Misc.Today 🌱 . ขับเคลื่อนโดย Blogger.

 
miscthailand