๒. ทมะ คือ ความสามารถในการฝึกตน การรู้จักข่มจิต รักษาใจ ไม่หุนหันพลันแล่น
๓. ขันติ คือ ความอดทน และอดกลั้นต่อกิเลส และให้อภัย
๔. จาคะ คือ การเสียสละแบ่งปันของตนแก่คนที่ควรแบ่งปัน
ทมะ คือ ความสามารถในการฝึกให้รู้จัก การข่มจิตของตน การฝึกตน กล่าวคือ การบังคับควบคุมตนเองได้ หรือการข่มใจตนเอง การฝึกนิสัย และปรับตัว รู้จักควบคุมจิตใจ ฝึกหัดดัดนิสัย รวมถึงการแก้ไขข้อบกพร่อง โดยเฉพาะการปรับตัวเข้าหากัน ปรับปรุงตนให้เจริญก้าวหน้าด้วยสติและปัญญา
ทมะ ในบริบทของสังคมในปัจจุบันนี้ จึงมีบทบาทอย่างมากในยุคการสื่อสารไร้พรมแดน และการอยู่ร่วมกันในสังคม ทั้งโลกจริง หรือโลกสังคมออนไลน์ ได้อย่างสันติสุข
นอกจากนี้ หลักทมะ ย่อมเป็นเหตุให้คนในสังคมการทำงานร่วมกันในหมู่มาก อยู่และปฎิบัติการงาน ด้วยความราบรื่น ไม่กระทบกระทั่งกัน มีความใจเย็น ส่งผลให้เกิดความสามารถในการทำงานที่ดียิ่งขึ้น การปรับตัวเข้าหากัน การเอื้อเฟื้อต่อกัน การยับยั้งตัวเอง ข่มใจตัวเองได้เมื่อจะทำผิด หรือทำร้าย ไม่พูดผิด ไม่พูดร้าน ทำผิด ทำร้าย เพราะอารมณ์ชั่ววูบ หลักของทมะ สามารถช่วยปรับปรุง และพิจารณาตนเองตลอดเวลา เป็นมิตรกับบุคคลทั่วไป ไม่มีเวรร้ายกับใครๆ เพราะการทะเลาะถกเถียงกันในสังคมโลกในปัจจุบัน โดยเฉพาะโลกออนไลน์ มีคนที่หลากหลายประเภทรวมอยู่กันมาก เป็นเรื่องธรรมดาที่แต่ละคนจะมีนิสัยใจคอที่ "แตกต่าง" กันออกไป จะด้วยเหตุผลจากปัจจัยใดๆก็แล้วแต่ เช่น พื้นฐานการศึกษา และการเลี้ยงดู
ด้วยหลักของ ทมะ นี้ จะช่วย "แปลง" ความแตกต่าง ที่ก่อเกิดความ "ขัดแย้ง" เป็นการ "เติมเต็ม" ซึ่งกันและกัน ด้วยหลักคิดที่ว่า คนเราในโลกนี้ ไม่มีสักคนเลยที่จะสมบูรณ์แบบ ทั้งหมด ทุกเรื่อง เมื่อคนสองคน หรือหลายคน มีข้อที่แตกต่างกัน โดยใช้หลักของ ทมะ เข้ามาช่วย มาเสริมกัน ก็จะกลายเป็นเรื่องดี การงานก็จะราบรื่น หรือสังคม ก็จะเกิดความสันติสุข
ความแตกต่างนั้น ถ้าใช้ไม่เป็น ก็เป็นความ "ขัดแย้ง" แต่ถ้าใช้ความแตกต่าง ในทางที่ถูกต้อง ความแตกต่างจะช่วยให้เป็นการ "เติมเต็ม" ได้ เพราะว่าคนเรา ไม่มีใครที่ "สมบูรณ์แบบ" สักคน
💬 Reference
- ข้อมูลโดย หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ - สวนโมกข์กรุงเทพ
หนังสือ เรื่อง ฆราวาสธรรม เป็นหนังสือชุดที่แปลมาจากพระไตรปิฎกมาเรียบเรียงขยายความ ในสำนวนของพระธรรมโกศาจารย์ (หลวงพ่อพุทธทาสภิกขุ) โดยเนื้อหาที่นำมาแปลแล้ว ได้จัดพิมพ์เผยแพร่ มีจำนวน ๗๙ เล่ม ๗๘ เรื่อง