ค้นหาบทความ 🙄



3/19/65

รำโยเดีย ( Yodhaya Ahka ) หรือ รำโยดายา

เป็นระบำแบบอยุธยา ที่ปัจจุบันหายสาบสูญไปแล้ว มีคนเจอใน Film หนังของพม่า หนังเรื่องนี้ถ่ายทำเมื่อปี 1960 หรือก่อนยุคนายพลเนวินยึดอำนาจจากรัฐบาลอูนู ซึ่งเป็นยุคที่ศิลปะวัฒนธรรมพม่าเสื่อมถอยที่สุด

Yodhaya Ahka


     
เมียนมาร์ ในยุคที่ศิลปะวัฒนธรรมพม่าเสื่อมถอยที่สุด

CR : สยามกุฎิ์ 


     ประเทศเต็มไปด้วยสงคราม และความโหดร้าย หมู่บ้านชาวโยเดียหลายแห่งถูกตัดขาดจากโลกภายนอกเพราะไม่กล้าแสดงตัวว่าเป็นใคร  ( * ในยุคนั้นผู้ที่ไม่ใช่ชาว Burmese มักถูกมองว่าเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ ถึงแม้จะตั้งถิ่นฐานอยู่ในเขตมัณฑะเลย์ก็ตาม ) เมื่อมีใครถามถึงโยเดียมักปิดบังตัวเองเสมอ และสนทนาด้วยภาษาพม่า  ในยุคนายพลเนวินนั้นโหดร้ายมาก ต่อมาชาวโยเดีย จึงถูกกลืน ลูกหลานไม่มีใครพูดภาษาไทยได้แล้ว

      จนกระทั่ง เมียนมาร์เปิดประเทศ ในปี พ.ศ.2556 ได้มีการค้นพบชุมชนเชื้อสายอยุธยาชื่อ หมู่บ้านซูก้า ( มาจากคำว่า สุขะ ในภาษาบาลี) มีประชากรราว 200 คน และยังมีชุมชนของผู้มีเชื้อสายอยุธยา ณ หมู่บ้านมินตาซู หรือย่านเจ้าฟ้า มีประชากรเชื้อสายอยุธยาอยู่ไม่ต่ำกว่า 30 คน ทั้งสองชุมชนนี้ ตั้งอยู่ในเมืองมัณฑะเลย์ แม้ไม่สามารถใช้ภาษาไทยในชีวิตประจำวันได้ แต่วัฒนธรรมหลายอย่างของชาวอยุธยายังคงอยู่ และส่งอิทธิพลต่อวัฒนธรรมพม่าบางประการมาจนถึงยุคปัจจุบัน

  •  การเข้ามาของชาวอยุธยาในพม่าครั้งใหญ่ เริ่มต้นในปี พ.ศ.2310

     พระเจ้ามังระ ทรงยึดกรุงศรีอยุธยาได้ สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ เสด็จสวรรคต พม่าได้ทำการเผากรุงศรีอยุธยา ปล้นชิงทรัพย์สินในพระนคร บังคับราษฎรทั้งภิกษุทั้งฆราวาสให้แจ้งที่อยู่ทรัพย์สิน ผู้ขัดขืนต้องเผชิญโทษทัณฑ์ต่าง ๆ แล้วให้จับผู้คนรวมถึงพระราชวงศ์ ข้าราชการ สมณะเพศ ไปคุมขังไว้ โดยพระสงฆ์ให้กักไว้ที่ค่ายโพธิ์สามต้น ส่วนฆราวาสให้ไว้ตามค่ายของแม่ทัพนายกองทั้งหลาย คำนวณแล้วปรากฏว่า เชื้อพระวงศ์ถูกกวาดต้อนไปกว่า 2,000 พระองค์ รวมจำนวนผู้ถูกพม่ากวาดต้อนไปนั้นมากกว่า 30,000 – 100,000 คน อันรวมไปถึ งสมเด็จพระเจ้าอุทุมพร และกรมขุนวิมลพัตร

    เชลยส่วนใหญ่คือประชากรที่อยู่รายรอบกรุงศรีอยุธยา ได้แก่ อ่างทอง, สิงห์บุรี, สุพรรณบุรี, กาญจนบุรี, ชัยนาท, อุทัยธานี, นนทบุรี, ปราจีนบุรี, และธนบุรี มีกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ที่อาศัยอยู่ในกรุงศรีอยุธยา

    ถูกกวาดต้อนไปด้วย เป็นต้นว่าบุคคลเชื้อสายเปอร์เซียและพราหมณ์ ดังปรากฏใน พระราชพงศาวดารพม่า ความว่า

" สั่งให้เผาพระนครและปราสาททั้ง ๓ องค์ และให้เผาอาราม และวิหารเสียให้หมดด้วย และสั่งให้ทำลายกำแพงเมือง และบรรดาเข้าของที่มีอยู่ในกรุงศรีอยุธยา มีพระไตรปิฎก คือ พระธรรมวินัย เป็นต้น สั่งให้ทำลายเสียแล้วก็กลับมายังพระนครแห่งตน "


      ทำให้เกิดภาวะบ้านแตกสาแหรกขาด มีราษฎรอยุธยาจำนวนไม่น้อยเสียชีวิตจากการสู้รบ ป่วยไข้ หรืออดอาหารตายจำนวนมากถึง 200,000 คน ด้วยเหตุนี้ ราษฎรอยุธยาจำนวนมากอพยพหนีพม่า ไปไกลถึงเมืองเขมร และเมืองพุทไธมาศ เฉพาะเมืองพุทไธมาศ มีคนไทยอาศัยรวมกันกว่า 30,000 คน และมีชาวเมืองสวรรคโลกอพยพเข้าไปเมืองเชียงใหม่ ซึ่งขณะนั้นเป็นประเทศราชของพม่า นอกจากจะกวาดต้อนผู้คนจากกรุงศรีอยุธยาแล้ว พระเจ้ามังระยังทรงกวาดต้อนเชลยสยามจากเมืองสุโขทัย, สวรรคโลก และพิษณุโลกเข้าสู่อังวะเป็นจำนวนมาก

ส่วนในพงศาวดารเมืองสงขลา ระบุไว้อีกว่า  " พม่าตีแตกมากระทั่งถึงเมืองชุมพร ไชยา พวกกองทัพมากวาดเอาครอบครัวไทยไปเป็นอันมาก "

     เมื่อคราวที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพเสด็จเยือนประเทศพม่า ในสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงพบกับเจ้าหญิงตะรังงา ( Htayanga ) เจ้านายพม่า ที่มีเจ้าจอมมารดาสืบสันดานมาจากเจ้านายอยุธยา ตามพระนิพนธ์ในหนังสือ เที่ยวเมืองพม่า ความว่า

" พระองค์หญิงดาราตรัสบอกว่า เธอเป็นเชื้อไทย ด้วยสกุลเจ้าจอมมารดาของเธอเป็นไทย ผู้ใหญ่เล่ากันมาว่าต้นสกุลเป็นเจ้าชายที่ถูกกวาดต้อนไปจากกรุงศรีอยุธยาแต่ยังเยาว์ ถ้าเช่นนั้นคิดตามเวลา พระองค์เจ้าหญิงดาราก็คงเป็นชั้น ๔ หรือชั้น ๕ ต่อมาจากต้นสกุล "


ยังมีชาวโยเดียอีกหลายคนที่ทราบการเสด็จมาเยือนพม่าของกรมพระยาดำรงราชานุภาพ แต่ไม่ทันจะพบปะพูดคุย ก็ได้เวลาเสด็จกลับสยามมาก่อน


CR : สยามกุฎิ์ 
https://youtu.be/CLTypIHzOG0


  เพื่อเข้าใจถึงแก่นแท้แห่งการล่มสลายของราชบัลลังก์พม่า 


“KONBAUNG DYNASTY”
ราชวงศ์คองบอง สงคราม ความรัก และหายนะเหนือบัลลังก์พม่า 

    ราชวงศ์สุดท้ายของราชอาณาจักรพม่า ครองอำนานยาวนานถึง 133 ปี ทั้งออกศึกรบพุ่งกับชนชาติอื่นรอบด้าน ต่อต้านการรุกรานของมหาอำนาจตะวันตก กรำศึกภายในจากการช่วงชิงอำนาจของหมู่ญาติวงศ์มากครั้ง ราวกับราชบัลลังก์นี้ชุ่มไปด้วยเลือด ตลอดระยะเวลาร้อยกว่าปีของ "ราชวงศ์คองบอง"

   >> ดูเพิ่มเติม 




หนังสือใหม่ 📖 แนะนำ 


หนังสือแนะนำ : แม่นากภาคสมบูรณ์ 

    หนังสือสารคดีเล่มนี้  ได้รวบรวมความเป็นมา เกี่ยวกับการเล่าขานถึงตำนาน ผีแม่นาก จากทุกสถานที่ จากหลายยุคสมัย เพื่อมาประติดประต่อเรื่องราว และพิสูจน์ว่าตำนานที่เล่าขานนี้มีมูลความจริงหรือไม่! รวบรวมเรื่องราวและเล่าถึงรายละเอียดต่างๆ อย่างละเอียดลออ โดย ​ เอนก นาวิก มูล ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ประจำปี 256​3

 


Admin Bee

สนับสนุน Misc.Today

นี่คือ ลิ้งค์พันธมิตร หรือที่เรียกว่า affiliate link ซึ่งหมายความว่า... หากคุณคลิ๊กลิ้งค์นี้ และซื้อผลิตภัณฑ์ อะไรก็ได้ ฉันจะได้ค่าคอมมิชชั่นเล็กน้อย สิ่งนี้จะช่วยสนับสนุนเว็บไซด์ และช่วยให้กำลังใจเราต่อไป


  ชาหมักคอมบูชะ Scoby doit  


 






 

คุณอาจสนใจ

5 บทความ ยอดนิยม ในรอบ 30 วัน

🟡 โพสต์แนะนำ

คริสเตียนไซออนนิสท์ คือใคร ? - Christian Zionist

ช่วงนี้ ผมติดตามหาข้อมูลเกี่ยวกับ อิสราเอล กับ ปาเลสไตน์ ครับ ส่วนใหญ่จะเป็นแนวประวัติศาสตร์เสียมาก เพราะผมมีความเชื่อส่วนตัวว่า การที่เราจะ...

Popular Posts

แนะนำหนังสือ


  BOOKs OF THE DAY








ผู้สนับสนุน







Xiaomi Kingsmith Walking Pad

 Xiaomi Kingsmith Walking Pad R1 Pro/ R2 ลู่เดิน/วิ่งไฟฟ้า พับเก็บได้ สำหรับการออกกำลังกายภายในบ้าน >> คลิ๊กดูเพิ่มอีก


ป้ายกำกับ / Tag labels

2475 (1) กฎหมาย (4) กฐิน (2) กรรม (5) กระเป๋า (3) กรุงเทพฯ (19) กรุงศรีอยุธยา (11) กล้องถ่ายภาพ (7) กลอน (4) กลาโหม (9) การเกษตร (7) การจัดเก็บ (3) การปกครอง (1) การเมือง (54) การศึกษา (131) กิจกรรมกลางแจ้ง (2) กีฬา (3) เกษตร (3) เกี่ยวกับสัตว์ (14) ไกลกังวล (1) ขงจื้อ (1) ขนม (2) ขอมไม่ใช่เขมร (6) ข้าว (3) ข่าวสาร (22) ขิง (1) เขมร (10) โขน (2) คณะราษฎร (10) คติธรรม (1) คนเล่านิทาน (15) ครัว (1) ครู (6) ความเชื่อ (12) ความรู้ (156) คอมมิวนิสต์ (34) คำภีร์ (2) คำสอน (11) เครื่องบิน (7) เงินตรา (4) จอมพล ป. พิบูล (1) จอมพล ป. พิบูลสงคราม (13) จีน (53) ช้าง (1) ชายแดนใต้ (5) ญี่ปุ่น (15) ดนตรีไทย (1) ดอกไม้ (1) เด็ก (5) เดนมาร์ก (1) ต้นไม้ (4) ตลาดนัด (1) ตำรวจ (2) เตา (1) เตือนภัย (17) แต่งงาน (1) ทรัพยากร (2) ทวิตเตอร์ (1) ทหาร (9) ท่องเที่ยว (28) ทะเล (3) ทัศนะ (50) ทำบุญ (5) ทำอาหาร (5) เทคโนโลยี (13) โทรศัพท์มือถือ (2) ธนบัตร (1) ธนาคาร (4) ธรณี (1) ธรรมชาติ (10) ธรรมในคำกลอน (1) ธรรมะ (6) ธรรมาธิปไตย (2) ธุรกิจ (10) นราธิวาส (3) นวดไทย (1) นักบิน (1) นักเรียน (4) นางใน (1) นาซี (1) นายกรัฐมนตรี (3) น้ำมัน (1) นิทานพื้นบ้าน (1) นิยาย (3) นิวเคลียร์ (1) เนปาล (1) แนะนำสินค้า (38) โนรา (1) ในหลวง ร.10 (1) ในหลวงรัชกาลที่ 9 (15) บริการ (3) บริหาร (3) บ่อน (1) บัตรเครดิต (2) บัตรประชาชน (1) บุคคล (42) บุญ (3) บุหรี่ (1) เบตง (1) แบรนด์ไทย (5) โบราณวัตถุ (13) โบราณสถาน (6) โบสถ์ (2) ประชาธิปไตย (54) ประท้วง (7) ประเทศไทย (177) ประธานาธิบดี (1) ประวัติศาสตร์ (148) ปรัชญาชีวิต (21) ปรีดี (2) ปลูกต้นไม้ (3) ปูติน (1) ผลไม้ (2) ผลิต (3) ผัก (1) ผิวสี (1) แผ่นดินไหว (1) ฝรั่งเศส (6) พม่า (6) พยาบาล (1) พระเจ้าตากสินมหาราช (2) พระนเรศ (1) พระพุฒาจารย์ (1) พระพุทธเจ้า (1) พระราชกรณียกิจ (4) พระสงฆ์ (10) พราหมณ์ (1) พิบูลสวัสดี (1) พิพิธภัณฑ์ (9) พุทธทาส (1) พุทธศาสนา (11) เพชรบุรี (3) เพลง (8) เพลงผ้า ปรพากย์ (1) แพทย์ (4) ฟาโรห์ (1) ไฟ (4) ไฟฉาย (1) ไฟฟ้า (1) ภัยพิบัติ (1) ภาคใต้ (6) ภาคอีสาน (1) ภาษา (9) ภาษิต (1) ภูเขาไฟ (1) ภูมิปัญญา (19) ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ (1) มวยไทย (5) มาเลเซีย (1) มุมไบ (2) มุสลิม (2) แม่ (1) ไม้ไผ่ (1) ยา (1) ยิว (3) ยูนนาน (1) เยาวชน (1) เยาวราช (1) รถเมล์ (3) รองเท้า (2) ระเบิด (3) รัชกาลที่ ๒ (1) รัชกาลที่ ๔ (3) รัชกาลที่ ๕ (7) รัชกาลที่ ๖ (1) รัชกาลที่7 (8) รัชกาลที่ ๘ (5) รัฐประหาร (7) รัสเซีย (12) ราชาศัพท์ (1) รามเกียรติ์ (1) เรือ (2) เรื่องเก่า (80) เรื่องเล่า (23) โรค (5) โรคระบาด (4) โรงงาน (1) โรงพยาบาล (10) โรงเรียน (16) โรฮิงญา (1) ลอนดอน (1) ลัทธิ (2) ลัทธิมาร์กซ์ (3) ล้านนา (3) ลาว (4) ลิง (1) เลือกตั้ง (9) โลก (5) โลกร้อน (3) วัฒนธรรม (2) วัด (14) วันแม่ (1) วันสำคัญ (5) วิทยาศาสตร์ (9) วิทยุ (2) วิหาร (4) เวียดนาม (4) ไวรัล (1) ศัพท์ (1) ศาสนา (36) ศิริราช (5) ศิลปะ (5) ศิลปาชีพ (1) เศรษฐกิจ (3) สงขลา (1) สงคราม (50) สถานีรถไฟ (1) สนามบิน (2) สเปน (1) สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร (2) สมัยเมจิ (1) สยาม (12) สวนสนุก (1) สวิตเซอร์แลนด์ (2) สังคม (38) สำนวน (8) สิ่งประดิษฐ์ (13) สื่อ (3) สุขภาพ (14) สุภาพจิต (6) สุสาน (1) หนังแท้ (4) หนังสือ (31) หนังสือพิมพ์ (1) หนู (1) ห้องเรียน (4) เหมาเจ๋อตง (2) เหรียญ (1) อเมริกา (37) ออสเตรีย (1) อังกฤษ (6) อาชีพ (1) อาหาร (16) อาหารจานโปรด (9) อิตาลี (3) อินเดีย (8) อิสราเอล (3) อียิปต์ (1) อีสาน (1) แอปพลิเคชัน (4) ไอร์แลนด์ (1) cpr (1) deep state (1) democracy (1) Diarymisc (3) facebook (1) handmade (1) leather (1) marxism (1) metaverse (1) nomad (6) Nuclear (1) OPENUP (1) powerbank (1) shopee (1) Social media (2) social views (114) startup (1) UNESCO (4) xiaomi (1)


Miscellaneous | Misc.Today 🌱 . ขับเคลื่อนโดย Blogger.

 
miscthailand