ย้อนอดีต ไปในปี พ.ศ.๒๔๔๐ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ มีพระราชดําริ ที่จะกระจายอํานาจ ไปสู่ท้องถิ่น
โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศใช้ พระราชกําหนด สุขาภิบาลกรุงเทพฯ ร.ศ. (รัตนโกสินทร์ศกที่) ๑๑๖ ขึ้น
ท่าฉลอม เดิมเป็นตําบลหนึ่งอยู่ในการปกครองของอําเภอเมืองสมุทรสาคร ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่นํ้าท่าจีน ตรงข้าม กับตําบลมหาชัย ซึ่งเป็นที่ตั้งของจังหวัดสมุทรสาคร ในอดีตการคมนาคมระหว่างตําบลท่าฉลอมกับตําบลมหาชัย มีอยู่เพียงทางเดียว คือ ต้องนั่งเรือข้ามแม่นํ้าท่าจีน ซึ่งมีท่าเรืออยู่ หน้าเมือง จึงเป็นที่มาของเพลง “ท่าฉลอม กับมหาชัย” ที่ครูเพลงชาลี อินทรวิจิตร แต่งให้ ชนินทรนันทนาคร ร้องจนโด่งดังเป็นเพลงอมตะที่ชาวสมุทรสาครและคนทั่วไปรู้จักเพลงนี้เป็นอย่างดี
แต่ปัจจุบันถนนและสะพานตัดข้ามแม่น้ําท่าจีนเชื่อมต่อถนนพระราม ๓ ถึงท่าฉลอม จึงทําให้การคมนาคมมีความสะดวกสบายมากขึ้น
สุขาภิบาลท่าฉลอม ตําบลท่าฉลอม อําเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร เป็นสุขาภิบาลแห่งแรกของประเทศไทย
ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ มีพระบรมราชโองการประกาศจัดตั้งสุขาภิบาลตลาดท่าฉลอม พร้อมกับ พระราชทานชื่อถนนว่า “ถนนถวาย” ซึ่งประชาชนชาวตําบลท่าฉลอม ได้ร่วมกันสละที่ดิน และเงินสร้างไว้ เมื่อวันที่ ๑๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๔๘
วันที่ 18 มีนาคม 2565 ครบรอบ 117 ปี "วันท้องถิ่นไทย"
ย้อนอดีต ไปในปี พ.ศ.๒๔๔๐
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ มีพระราชดําริ ที่จะกระจายอํานาจไปสู่ท้องถิ่น โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศใช้ พระราชกําหนดสุขาภิบาลกรุงเทพฯ ร.ศ. (รัตนโกสินทร์ศกที่) ๑๑๖ ขึ้น ภายหลังที่ทรงส่งคนไปศึกษาดูงานการปกครองในแถบประเทศยุโรป และได้เริ่มทําการทดลองศึกษาขึ้นในกรุงเทพมหานคร
สุขาภิบาลนี้ในชั้นต้นให้มีหน้าที่ ทําลายขยะมูลฝอย การจัดเก็บที่ถ่ายอุจจาระและปัสสาวะของประชาชนคนทั่วไป จัดการห้ามต่อไปภายหน้า อย่าได้ปลูกสร้าง หรือซ่อมโรงเรือนที่จะเป็นเหตุให้เกิดโรค ขนย้ายสิ่งโสโครกและสิ่งรําคาญของมหาชนไปให้พ้นเสีย การบริหารงานของสุขาภิบาลกรุงเทพฯ นี้ ดําเนินการโดยข้าราชการทั้งหมด โดยมีเสนาบดีกระทรวงนครบาลเป็นผู้กําหนด
เมื่อพิจารณารูปแบบการปกครองแล้ว จึงไม่อาจกล่าวได้ว่า สุขาภิบาลกรุงเทพฯ ร.ศ.๑๑๖ เป็นการปกครองท้องถิ่น เนื่องจากประชาชนมิได้มีส่วนร่วมแต่อย่างใด เป็นการดําเนินการโดยข้าราชการและใช้จ่ายงบประมาณจากส่วนกลาง
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้งเสด็จประพาส เมืองนครเขื่อนขันธ์ ( เมืองพระประแดง
สมุทรปราการ) เมื่ อวันที่ ๓๐ กรกฎาคม ร.ศ.๑๒๔ ทรงทอดพระเนตรเห็นสภาพตลาดเมืองนครเขื่อนขันธ์
สกปรกมาก และทรงมีพระราชดํารัสในที่ประชุมเสนาบดีว่า
“โสโครกเหมือนกับตลาดท่าจีน” (ตลาดท่าฉลอม)
จึงเป็นเหตุให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดํารงราชานุภาพ เสนาบดี กระทรวงมหาดไทย ร้อนพระทัยมากทรงคิดหาวิธีร่วมกับ พระยาพิไชยสุนทร ผู้ว่าราชการเมืองสมุทรสาคร ทางพระยาพิไชยสุนทร จึงได้เชิญกํานัน ผู้ใหญ่บ้าน และพ่อค้าชาวจีน ในตลาดท่าฉลอมมาประชุม เพื่อร่วมกันพิจารณาหาทางปรับปรุงแก้ไข ซึ่งได้ข้อสรุปว่า ประชาชนและพ่อค้าชาวจีน ยินดีที่จะออกเงินซื้ออิฐปูถนน แต่ขอให้ทาง ผู้ว่าราชการเมืองเป็นผู้ทําถนน โดยใช้แรงงานนักโทษ ทําการปรับพื้นดินและเก็บกวาดขยะ มูลฝอยขนไปเททิ้ง
เป็นครั้งคราว
โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดํารงราชานุภาพ ได้เสด็จออกตรวจดูการดําเนินงาน ก่อสร้างถนนในวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ร.ศ.๑๒๔ ถนนสายนี้ ข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน ได้เรี่ยไรกันเป็น จํานวนเงิน ๕,๔๗๒ บาท เป็นถนนปูอิฐกว้าง ๒ วา ยาว ๑๑ เส้น ๑๔ วา และทรงมีพระดําริว่า ถนนสายนี้ เป็นของราษฎรได้ลงทุนเสียสละเงิน เป็นจํานวนมาก หากไม่มีแผนรองรับการซ่อมแซมไว้ให้ดีแล้วอาจชํารุดเสียหาย ทรงเห็นเป็นโอกาสที่ดี ที่จะใช้ภาษีโรงร้านให้เป็นภาษีสําหรับสุขาภิบาล จึงกราบบังคมทูลขอพระราชทานเงินภาษีโรงร้านตลาดท่าฉลอมมาใช้ทํานุ บํารุงท้องถิ่นในกิจการ ๓ ประเภท คือ ซ่อมแซมถนน จุดโคมไฟให้มีแสงสว่าง ในเวลาค่ําคืน และจัดจ้างคนงานสําหรับ กวาดขยะมูลฝอย
ข้อเสนอในการใช้ ภาษีโรงร้านนี้ ได้รับพระบรมราชานุญาต จากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ เมื่อวันที่ ๙ มีนาคม พ.ศ.๒๔๔๘จึงนับได้ว่าเป็นวันกําเนิดสุขาภิบาล แห่งแรกของประเทศไทย โดยมีคณะกรรมบริหารชุดแรก ประกอบด้วย
๑. หลวงพัฒนาการภักดี กํานันตําบลท่าฉลอม
๒. ขุนพิจารณ์นรกิจ
๓. ขุนพินิจนรภาร
๔. จีนพัก
๕. จีนศุข
๖. จีน เน่า
๗. จีนอู๊ด
และ ๘. จีนโป๊ะ ผู้ใหญ่บ้าน
จากนั้นใน วันที่ ๑๘ มี นาคม พ.ศ.๒๔๔๘ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเสด็จพระราชดําเนินมายัง เมืองสมุทรสาครโดยทางรถไฟเพื่อทรงเปิด “ถนนถวาย” ที่ประชาชนชาวตําบล ท่าฉลอมมีความสามัคคี ร่วมแรงร่วมใจกันเสียสละเพื่อพัฒนาท้องถิ่น ของตนเอง ต่อมาจึงได้ถือเอาวันที่ ๑๘ มีนา ของทุกปี เป็น “วันท้องถิ่นไทย”
อ้างอิง / ข้อมูลเพิ่มเติม
ข้อมูล/ภาพ :
- fb ท้องถิ่นไทย : แฟนเพจอย่างเป็นทางการของ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย
- http://www.tambonbansong.go.th/tambonbansong/mainfile/fileupdate105.pdf
- กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น http://www.dla.go.th/index.jsp