ค้นหาบทความ 🙄






1/11/65

ช้างบรรณาการ จากรัชกาลที่ 4 จบชีวิตที่ร้านขายเนื้อกรุงปารีส

 เครื่องราชบรรณาการจากสยามสมัยรัชกาลที่ 4 ส่งไปพระราชทานพระเจ้านโปเลียนที่ 3 ถึงฝรั่งเศส ไม่ได้มีเพียงพระมหามงกุฎเท่านั้น แต่ยังมีช้างสยามอีก 2 เชือก ที่มีชีวิตอยู่ที่นั่นนานกว่า 10 ปี

แต่อนิจจา ช้างทั้ง 2 เชือก ต้องเผชิญชะตากรรมน่ารันทด และจบชีวิตลงด้วยฝีมือทหารฝรั่งเศส ใน ค.ศ.1870 เกิดอะไรขึ้นกับของขวัญจากสยาม

 


    ช้างบรรณาการจากสยามได้รับการต้อนรับที่ปารีสอย่างอบอุ่น พระเจ้านโปเลียนที่ 3 ได้ทรงมอบให้หน่วยงานของสวนสัตว์กรุงปารีส รับหน้าที่เป็นผู้ดูแลเป็นอย่างดี จนพอจะคุ้นเคยกับสภาพภูมิอากาศแบบเมืองหนาว และมีชื่อเสียงอย่างกว้างขวางกับเด็กๆ ที่มาเยี่ยมเยียนสวนสัตว์อย่างอุ่นหนาฝาคั่ง เมื่อใดที่มีการโฆษณาหรือพูดถึงสวนสัตว์ Jardin des Plantes ช้างสยาม 2 เชือกนี้ก็จะเป็นดาวเด่นในใบโฆษณาเสมอ

    พระเจ้านโปเลียนที่ 3 ได้พระราชทานชื่อใหม่อัน โก้หร่าน ( ความหมายจาก พจนานุกรมแปล ไทย-ไทย ราชบัณฑิตยสถาน โก้หร่าน แปลว่า หรูหราภูมิฐาน (มักใช้แก่กิริยาแต่งตัวหรือการแสดงกิริยาอื่น ๆ). )    ให้ช้างบรรณาการคู่นี้ว่า คาสเตอร์ และพอลลุกซ์ (Castor & Pollux) ตามชื่อของพระโอรสแฝดของเทพธิดาลีด และเทพเจ้าซีอุส (Leda & Zeus) ทำให้ช้างทั้งคู่มีสถานภาพค่อนข้างมีเส้นสายกับทางราชสำนักและมีกิตติศัพท์พอควร

    คาสเตอร์ และพอลลุกซ์ (Castor & Pollux) ใช้ชีวิตอยู่ภายในสวนสัตว์กรุงปารีสจนมี อายุราว 14 ปี ก็เกิดวิกฤติการณ์ทางการเมืองขึ้น ในปลายรัชกาลของพระเจ้านโปเลียนที่ 3 และส่งผลต่อความเป็นอยู่ของคาสเตอร์ และพอลลุกซ์  โดยตรง 

    ในปี ค.ศ. 1870-71 สงครามฟรังโก-ปรัสเซีย ได้อุบัติขึ้น ส่งผลให้ฝรั่งเศสพ่ายแพ้อย่างยับเยิน พวกสาธารณรัฐนิยมในปารีส ฉกฉวยโอกาสทำการปฏิวัติล้มราชบัลลังก์ แล้วจัดตั้งระบอบสาธารณรัฐขึ้นอีกครั้งหนึ่ง โดยโจมตีและประณามพระเจ้านโปเลียนที่ 3 ว่าเป็นต้นเหตุของความพ่ายแพ้และอับจน ทรงถูกจับและเนรเทศออกนอกประเทศอย่างน่าเวทนา คุณความดีของราชวงศ์โบนาปาร์ตลบเลือนออกไปจากหัวใจของประชาชนจนหมดสิ้น

    กรุงปารีสถูกปิดล้อมนานหลายเดือน เกิดยุคข้าวยากหมากแพง แต่ในปารีสเป็นที่อยู่ของทั้งคนรวยและคนจน คนจนต้องจับหนู และเอาหมาแมวที่ตนเลี้ยงไว้มากินกันตาย แต่คนร่ำรวยที่อยู่ในปารีสก็ยังพอใช้เงินซื้อหาอาหารได้ แต่ที่ขาดแคลนคืออาหารชั้นดี ที่คนมีฐานะต้องการในช่วงเทศกาลคริสต์มาส ของสังคมมีระดับ

    ปลายปี ค.ศ. 1870 ทางการจึงตัดสินใจ ชำแหละเนื้อของสัตว์ในสวนสัตว์อันเป็นแหล่งเนื้อชั้นดีแห่งเดียวที่เหลืออยู่ แต่กองกำลังป้องกันชาติตั้งกองกำลังดูแลสัตว์จากการถูกขโมยมาปีกว่า แต่แล้วในที่สุด ช้างสยาม 2 เชือกสุดท้าย คาสเตอร์ และพอลลุกซ์ (Castor & Pollux)  ซึ่งเป็นของขวัญจากพระเจ้ากรุงสยาม ก็ถูกสังเวยชีวิตเพื่อเอาใจคนมีฐานะ คาสเตอร์ และพอลลุกซ์  ถูกฆ่าและชำแหละที่ร้านขายเนื้อ เป็นเมนูอาหารชั้นเลิศ ณ ภัตตาคารหรูของปารีส เป็นข่าวเกรียวกราวไปทั่วยุโรปต้นปี ค.ศ. 1871


อ้างอิง
คัดบางส่วนมาจากบทความ “ช้างบรรณาการ” จากรัชกาลที่ 4 จบชีวิตที่ร้านขายเนื้อกรุงปารีส จริงหรือ? โดย ไกรฤกษ์ นานา ในนิตยสารศิลปวัฒนธรรม ฉบับกันยายน 2559

เรียบเรียงอีกครั้งโดย
กลุ่ม...ค้นภาพเก่ามาเล่าประวัติ​ศาสตร์​ โดย ณัชชา หิรัญธนาบดี · 8 มกราคม เวลา 20:00 น.

(ภาพจาก THE ILLUSTRATED LONDON NEWS, 28 January 1871)

 


  BOOKs OF THE DAY


หนังสือ : ฝีมือ โชคชะตา หรือว่าสุ่ม 
Fooled by Randomnessrade

ในโลกที่หาคนประสบความสำเร็จได้ง่ายกว่าการหาคนธรรมดา เราอาจเชื่อกันว่า ความสำเร็จของใครสักคนมันเกิดขึ้นได้เพราะความเก่งและความขยันของเขาที่มากกว่าคนทั่วไปนัก แต่ถ้าเป็นเช่นนั้นจริง แล้วทำไมคนอีกตั้งมากมายที่ขยันเหมือนกัน เก่งเหมือนกัน กลับไม่ประสบความสำเร็จได้อย่างที่ควรจะเป็น แท้จริงแล้วคนที่ประสบความสำเร็จนั้นขยันกว่า เก่งกว่า หรือแค่เพราะว่าเขาโชคดีกว่าคนอื่นกันแน่?     >> ดูเพิ่มเติม



Admin Bee

สนับสนุน Misc.Today

นี่คือ ลิ้งค์พันธมิตร หรือที่เรียกว่า affiliate link ซึ่งหมายความว่า... หากคุณคลิ๊กลิ้งค์นี้ และซื้อผลิตภัณฑ์ อะไรก็ได้ ฉันจะได้ค่าคอมมิชชั่นเล็กน้อย สิ่งนี้จะช่วยสนับสนุนเว็บไซด์ และช่วยให้กำลังใจเราต่อไป


  ชาหมักคอมบูชะ Scoby doit  


 






 

คุณอาจสนใจ

5 บทความ ยอดนิยม ในรอบ 30 วัน

🟡 โพสต์แนะนำ

คริสเตียนไซออนนิสท์ คือใคร ? - Christian Zionist

ช่วงนี้ ผมติดตามหาข้อมูลเกี่ยวกับ อิสราเอล กับ ปาเลสไตน์ ครับ ส่วนใหญ่จะเป็นแนวประวัติศาสตร์เสียมาก เพราะผมมีความเชื่อส่วนตัวว่า การที่เราจะ...

Popular Posts

แนะนำหนังสือ


  BOOKs OF THE DAY








ผู้สนับสนุน







Xiaomi Kingsmith Walking Pad

 Xiaomi Kingsmith Walking Pad R1 Pro/ R2 ลู่เดิน/วิ่งไฟฟ้า พับเก็บได้ สำหรับการออกกำลังกายภายในบ้าน >> คลิ๊กดูเพิ่มอีก


ป้ายกำกับ / Tag labels

2475 (1) กฎหมาย (4) กฐิน (2) กรรม (5) กระเป๋า (3) กรุงเทพฯ (19) กรุงศรีอยุธยา (11) กล้องถ่ายภาพ (7) กลอน (4) กลาโหม (9) การเกษตร (7) การจัดเก็บ (3) การปกครอง (1) การเมือง (53) การศึกษา (131) กิจกรรมกลางแจ้ง (2) กีฬา (3) เกษตร (3) เกี่ยวกับสัตว์ (14) ไกลกังวล (1) ขงจื้อ (1) ขนม (2) ขอมไม่ใช่เขมร (6) ข้าว (3) ข่าวสาร (22) ขิง (1) เขมร (10) โขน (2) คณะราษฎร (10) คติธรรม (1) คนเล่านิทาน (15) ครัว (1) ครู (6) ความเชื่อ (12) ความรู้ (155) คอมมิวนิสต์ (33) คำภีร์ (2) คำสอน (11) เครื่องบิน (7) เงินตรา (4) จอมพล ป. พิบูล (1) จอมพล ป. พิบูลสงคราม (13) จีน (53) ช้าง (1) ชายแดนใต้ (5) ญี่ปุ่น (15) ดนตรีไทย (1) ดอกไม้ (1) เด็ก (5) เดนมาร์ก (1) ต้นไม้ (4) ตลาดนัด (1) ตำรวจ (2) เตา (1) เตือนภัย (16) แต่งงาน (1) ทรัพยากร (2) ทวิตเตอร์ (1) ทหาร (9) ท่องเที่ยว (28) ทะเล (3) ทัศนะ (49) ทำบุญ (5) ทำอาหาร (5) เทคโนโลยี (13) โทรศัพท์มือถือ (2) ธนบัตร (1) ธนาคาร (4) ธรณี (1) ธรรมชาติ (10) ธรรมในคำกลอน (1) ธรรมะ (6) ธรรมาธิปไตย (2) ธุรกิจ (10) นราธิวาส (3) นวดไทย (1) นักบิน (1) นักเรียน (4) นางใน (1) นาซี (1) นายกรัฐมนตรี (3) น้ำมัน (1) นิทานพื้นบ้าน (1) นิยาย (3) นิวเคลียร์ (1) เนปาล (1) แนะนำสินค้า (38) โนรา (1) ในหลวง ร.10 (1) ในหลวงรัชกาลที่ 9 (15) บริการ (3) บริหาร (3) บ่อน (1) บัตรเครดิต (2) บัตรประชาชน (1) บุคคล (42) บุญ (3) บุหรี่ (1) เบตง (1) แบรนด์ไทย (5) โบราณวัตถุ (13) โบราณสถาน (6) โบสถ์ (2) ประชาธิปไตย (54) ประท้วง (7) ประเทศไทย (176) ประธานาธิบดี (1) ประวัติศาสตร์ (148) ปรัชญาชีวิต (21) ปรีดี (2) ปลูกต้นไม้ (3) ปูติน (1) ผลไม้ (2) ผลิต (3) ผัก (1) ผิวสี (1) แผ่นดินไหว (1) ฝรั่งเศส (6) พม่า (6) พยาบาล (1) พระเจ้าตากสินมหาราช (2) พระนเรศ (1) พระพุฒาจารย์ (1) พระพุทธเจ้า (1) พระราชกรณียกิจ (4) พระสงฆ์ (10) พราหมณ์ (1) พิบูลสวัสดี (1) พิพิธภัณฑ์ (9) พุทธทาส (1) พุทธศาสนา (11) เพชรบุรี (3) เพลง (8) เพลงผ้า ปรพากย์ (1) แพทย์ (4) ฟาโรห์ (1) ไฟ (4) ไฟฉาย (1) ไฟฟ้า (1) ภัยพิบัติ (1) ภาคใต้ (6) ภาคอีสาน (1) ภาษา (9) ภาษิต (1) ภูเขาไฟ (1) ภูมิปัญญา (19) ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ (1) มวยไทย (5) มาเลเซีย (1) มุมไบ (2) มุสลิม (2) แม่ (1) ไม้ไผ่ (1) ยา (1) ยิว (3) ยูนนาน (1) เยาวชน (1) เยาวราช (1) รถเมล์ (3) รองเท้า (2) ระเบิด (3) รัชกาลที่ ๒ (1) รัชกาลที่ ๔ (3) รัชกาลที่ ๕ (7) รัชกาลที่ ๖ (1) รัชกาลที่7 (8) รัชกาลที่ ๘ (5) รัฐประหาร (7) รัสเซีย (12) ราชาศัพท์ (1) รามเกียรติ์ (1) เรือ (2) เรื่องเก่า (80) เรื่องเล่า (23) โรค (5) โรคระบาด (4) โรงงาน (1) โรงพยาบาล (10) โรงเรียน (16) โรฮิงญา (1) ลอนดอน (1) ลัทธิ (2) ลัทธิมาร์กซ์ (3) ล้านนา (3) ลาว (4) ลิง (1) เลือกตั้ง (9) โลก (5) โลกร้อน (3) วัฒนธรรม (2) วัด (14) วันแม่ (1) วันสำคัญ (5) วิทยาศาสตร์ (9) วิทยุ (2) วิหาร (4) เวียดนาม (4) ไวรัล (1) ศัพท์ (1) ศาสนา (36) ศิริราช (5) ศิลปะ (5) ศิลปาชีพ (1) เศรษฐกิจ (3) สงขลา (1) สงคราม (50) สถานีรถไฟ (1) สนามบิน (2) สเปน (1) สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร (2) สมัยเมจิ (1) สยาม (12) สวนสนุก (1) สวิตเซอร์แลนด์ (2) สังคม (37) สำนวน (8) สิ่งประดิษฐ์ (13) สื่อ (3) สุขภาพ (14) สุภาพจิต (6) สุสาน (1) หนังแท้ (4) หนังสือ (31) หนังสือพิมพ์ (1) หนู (1) ห้องเรียน (4) เหมาเจ๋อตง (2) เหรียญ (1) อเมริกา (37) ออสเตรีย (1) อังกฤษ (6) อาชีพ (1) อาหาร (16) อาหารจานโปรด (9) อิตาลี (3) อินเดีย (8) อิสราเอล (3) อียิปต์ (1) อีสาน (1) แอปพลิเคชัน (4) ไอร์แลนด์ (1) cpr (1) deep state (1) democracy (1) Diarymisc (3) facebook (1) handmade (1) leather (1) metaverse (1) nomad (6) Nuclear (1) OPENUP (1) powerbank (1) shopee (1) Social media (2) social views (114) startup (1) UNESCO (4) xiaomi (1)


Miscellaneous | Misc.Today 🌱 . ขับเคลื่อนโดย Blogger.

 
miscthailand