นาธาน เอเมส (Nathan Ames) ชาวอเมริกัน เป็นผู้คิดไอเดียของ บันไดเลื่อนเป็นคนแรก โดยมีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยม ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไอน้ำ เลื่อนขึ้นด้านหนึ่ง และเลื่อนลงอีกด้านหนึ่ง ....
แต่ นาธาน เอเมส ไม่ได้ประดิษฐ์ขึ้นมาจริงๆ เป็นเพียงแบบร่างเท่านั้น มีหลักฐานเป็นสิทธิบัตรของอเมริกาที่ออก ให้เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม ค.ศ. 1859 หลงเหลืออยู่
ในปี ในปี ค.ศ. 1891 ก็เกิดต้นแบบบันไดเลื่อนที่เป็นตัวเป็นตนจริงๆ แต่เกิดจาก ฝีมือของเจสซี รีโน (Jesse Reno) และถูกเปิดตัว เป็นครั้งแรกในอีก 4 ปีต่อมา คือ ค.ศ. 1895 ณ สวนสนุก บนเกาะโคนีย์ (Coney Island) ในมลรัฐนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา สิ่งประดิษฐ์นี้ ไม่ได้ถูกใช้ให้เป็นบันไดเลื่อน แต่ทว่า ประดิษฐ์มาเพื่อเป็นเครื่องเล่น ในสวนสนุกเท่านั้นเอง หากเป็นชายก็จะ ขี่คร่อมขึ้นไป แต่หากเป็นหญิงก็จะนั่งหันข้าง (เหมือนสาวๆ ซ้อนมอเตอร์ไซด์สมัยนี้) โดยเครื่องจะพาขึ้น ไปสูงแค่ 7 ฟุต (ราวสองเมตรกว่าๆ) ด้วยมุมเอียง25 องศา และเร็ว 75 ฟุตต่อนาที หากลองคําานวณ ดูคร่าวๆ จะพบว่า นั่งเพียงแค่ 13 วินาที ก็ถึงจุด หมายแล้ว เพราะนี่เป็นเพียง ‘ของเล่น’ ในสวนสนุก
เจสซี รีโน เปิดบริษัทชื่อ The Reno’s Electric Stairway and Conveyor Organization ( ยาวมาก !!! แปลว่า องค์กรบันได ไฟฟ้าและสายพานลําาเลียงของ รีโน ) และปรับปรุงสิ่งประดิษฐ์ จากของเล่นในสวนสนุก ที่โด่งดัง ของตน มาใช้งานเป็นบันไดเลื่อน ในห้างร้าน โถงแสดงสินค้า และสถานีรถไฟ ในราวปี ค.ศ. 1900
ในช่วงใกล้ๆ กันนั้นเอง ก็มียอดนักประดิษฐ์เกิดขึ้นอีก 2 คน คือ จอร์จ วีลเลอร์ (George A. Wheeler) และชาลส์ ซีเบอร์เกอร์ (Charles D. Seeberger) เขาได้ต่อยอดความคิดของรีโน ออกไป โดยวีลเลอร์ ออกแบบและ คิดกลไกอย่างละเอียด ที่สําคัญ คือ ขั้นบันไดในแนวราบ
ส่วนซีเบอร์เกอร์ได้ซื้อสิทธิบัตรของวีลเลอร์ไปพัฒนา ต่ออีกที และได้ขายสิทธิบัตรให้บริษัท โอทิส (Otis) ( บริษัทนี้หลายคนคงจะคุ้นๆ ชื่อ เพราะเขาเป็นยักษ์ใหญ่ในการผลิตลิฟต์โดยสารนั่นเอง (ลองดูลิฟต์ที่คุณใช้อยู่ เผลอๆ อาจเป็นยี่ห้อนี้ก็ได้)
ชาลส์ ซีเบอร์เกอร์ นี่เองที่เป็นคนคิดคําาว่า Escalator (เอสเคเลเทอร์) ซึ่งมาจากคําาว่า Scala (ภาษาลาตินแปลว่า ขั้น) + Elevator (ลิฟต์โดยสาร – ซึ่งมีอยู่แล้วในขณะนั้น) สังเกตดีๆ จะเห็นว่า ตัว E ในคําว่า Escalator เป็นตัวใหญ่ เพราะถือว่า ชื่อนี้เป็นชื่อทางการค้าที่สงวนให้ใช้กับ บริษัทโอทิส เท่านั้น
อย่างไรก็ตาม เมื่อถึงปี ค.ศ. 1950 สํานักงานสิทธิบัตรของอเมริกา ได้ตัดสินว่า คําๆ นี้เป็นคําสามัญ ที่ใช้กันโดยทั่วไป ทําให้คําาว่า escalator เขียนขึ้นต้น ด้วยตัว e เล็กเหมือนคําศัพท์โดยทั่วไป มีประเด็นสําคัญที่น่าจะย้อนเวลากลับไปสักหน่อย คือ ในปี ค.ศ. 1911 บริษัท โอทิส ได้ฮุบบริษัทของ รีโน และต่อมาในราวทศวรรษที่ 1920 วิศวกรของโอทิสชื่อ เดวิด ลินด์ควิสต์ (David Linquist) ก็ได้พัฒนา บันไดเลื่อนโดยผนวกดีไซน์ของรีโนและซีเบอร์เกอร์เข้าด้วยกัน จนได้บันไดเลื่อนที่มีหน้าตาคล้ายในปัจจุบัน
จากนั้นมา บันไดเลื่อนก็แพร่กระจายออกไปทั่วโลก เช่น อังกฤษ (ปี ค.ศ. 1911) และญี่ปุ่น (ปี ค.ศ. 1914)
หนังสือพิมพ์ The Illustrated London News ฉบับวันที่ 14 ตุลาคม 1911 บันทึกข้อความ ตอนหนึ่งว่า “อุปกรณ์อันน่าพิศวงนี้ได้ผนวกความ เพลิดเพลินเข้ากับกิจธุระ และมีคนจําานวนไม่น้อย ได้ใช้ขึ้น-ลงหลายต่อหลายเที่ยวด้วยความรู้สึกตื่นเต้นเร้าใจ"
การมาถึงของบันไดเลื่อน ครั้งแรกในประเทศไทย
ไทยไดมารู 2507 ราชประสงค์ สถานที่แห่งแรกที่มีบันไดเลื่อน ในประเทศไทย
ห้างฯ ไทยไดมารู เปิดให้บริการครั้งแรก ในประเทศไทย เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2507 (ค.ศ.1964) ห้างไดมารูเป็นห้างสรรพสินค้าเก่าแก่ของญี่ปุ่น ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 2321 โดยเอส ชิโมนูรา
ที่มาภาพ > http://www.theelevatormuseum.org/f/f_4.htm
ประวัติห้างไทยไดมารู >
http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2010/05/K9275625/K9275625.html
Tweet