ในขณะที่บางคน หรือบางสังคม คิดว่า ความสำเร็จในชีวิต คือ สถานะทางเศรษฐกิจ สถานะทางสังคม ตำแหน่งใหญ่โต บางคน หรือบางสังคมกลับคิดว่า ความสำเร็จในชีวิตเป็นสิ่งอื่นๆ ที่ต่างออกไปโดยสิ้นเชิง อย่างเช่น การมีชีวิตที่เป็นประโยชน์ ได้ช่วยเหลือผู้อื่น และสังคม หรือ การมีครอบครัวมีลูกหลานที่ดี หรือกระทั่ง การมีชีวิตที่นำไปสู่การพ้นทุกข์ ....
แต่ ในตอนนี้ เราจะยังไม่พูดถึงความสำเร็จเหล่านั้นครับ เอาเรื่องที่ง่ายกว่า มาเล่าก่อน นั่นคือ ความสัมพันธ์ระหว่าง ความเฉลียวฉลาด และการมีอายุยืนยาวมีสุขภาพที่ดี ....
ในวงการแพทย์ และสาธารณสุขของฝรั่ง มีความพยายามที่จะศึกษาหาสาเหตุว่า อะไรที่ทำให้คนๆ หนึ่งมีชีวิตที่ยืนยาว และมีสุขภาพที่ดี มานานมากแล้ว ซึ่งน่าจะเป็นเพราะว่า ในสังคมอุตสาหกรรม คนเป็นหนึ่งในปัจจัยการผลิตที่สำคัญ การสร้าง และรักษาปัจจัยการผลิต ก็ย่อมมีความสำคัญต่อสังคม และเศรษฐกิจไปด้วย .... หากเขารู้แน่ว่า สาเหตุที่ว่านั้น คืออะไร และทำให้คนของเขามีสุขภาพที่ดี มีชีวิตที่ยืนยาวด้วย ก็จะยิ่งทำให้สังคม และเศรษฐกิจของเขามีความมั่นคงยิ่งขึ้นๆ ....
ในปี ค.ศ. 1932 สก๊อตแลนด์ได้นำ เด็กนักเรียนอายุ 11 ขวบ หรือเด็กที่เกิดในปี ค.ศ. 1921 ทุกคนทำข้อสอบ เพื่อเข้าเรียนต่อ จำนวนกว่า 65,000 คน โดยเป็นเด็กผู้ชายกว่า 33,000 คน และเด็กผู้หญิงกว่า 32,000 คน ซึ่งข้อสอบที่ว่า เป็นการทดสอบความเฉลียวฉลาด คล้ายกับแบบทดสอบวัดไอคิวในปัจจุบันนี้ แล้วหลังจากนั้นอีก 70 กว่าปี I J Dearly นักวิชาการทางด้านจิตวิทยา L J Whally อาจารย์ด้านโรคทางจิต และ J M Starr แพทย์ผู้ชำนาญด้านโรคในผู้สูงอายุ ของมหาวิทยาลัยเอดินเบอเรอะ ของสก๊อตแลนด์ ก็ได้ขุดเอาข้อมูลชุดนี้ ขึ้นมาทำการศึกษาต่อ จนเป็นที่รู้จักกันดีในชื่อว่า IQ at Age 11 and Longevity : Results from a Follow-Up of the Scottish Mental Survey 1932 ( ใครอยากอ่านรายละเอียดสามารถใช้ ชื่อนี้กูเกิลหาได้เลย )
การศึกษาที่ว่านี้ เลือกเฉพาะเด็กนักเรียนในโรงเรียนในเมืองอเบอร์ดีนจำนวน 2,792 คน แล้วตามไปดูว่า ยังเหลือที่มีชีวิตจนอายุ 76 ปี หรือถึง วันที่ 1 มกราคม 1997 เป็นจำนวนกี่คน และคนที่ยังอยู่ รวมทั้งอายุเมื่อเสียชีวิตของคนที่ตายไปก่อนหน้า มีความสัมพันธ์อย่างไรกับผลทดสอบความเฉลียวฉลาดเมื่อปี ค.ศ. 1932 บ้าง
หลังจากเอาข้อมูลความเฉลียวฉลาด อายุขัย สาเหตุการตาย และประวัติสุขภาพ ของกลุ่มตัวอย่างนี้มาศึกษา มาวิเคราะห์ด้วยวิธีการทางสถิติแล้วก็ได้ความว่า
นักเรียนที่เฉลียวฉลาดกว่า จะมีอายุยืนยาวกว่า แต่จะมีความแตกต่างในรายละเอียดของเพศหญิงและเพศชาย
ในกลุ่มนักเรียนหญิง ความเฉลียวฉลาดเป็นปัจจัยหลักของอายุที่ยืนยาวตลอดชั่วชีวิตของกลุ่มตัวอย่าง
ในกลุ่มนักเรียนชาย ระหว่างช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ผู้ที่เฉลียวฉลาดกว่ากลับตายมากกว่า เพราะถูกเลือกให้ออกไปรบในสงคราม และได้รับตำแหน่งหน้าที่สูงกว่า ผู้ที่เฉลียวฉลาดน้อยกว่า จึงมีความเสี่ยงที่ต้องเสียชีวิตจากการรบสูงกว่า (การแกล้งโง่ ในภาวะสงครามน่าจะช่วยให้มีความเสี่ยงน้อยลง - ผมเอง)
ในทั้งสองเพศ ผู้ที่มีคะแนนความเฉลียวฉลาดตํ่ากว่าจะตายจากโรคมะเร็ง โดยเฉพาะมะเร็งปอดและกระเพาะอาหารสูงกว่า
จากผลการศึกษาดังกล่าว ที่พบว่าผู้ที่มีความเฉลียวฉลาดสูงกว่า มีแนวโน้มที่จะมีประวัติทางสุขภาพที่ดีกว่า ก็มีคำถามตามมาว่า " ความเฉลียวฉลาดทำให้สุขภาพดี หรือ การสุขภาพดี ทำให้เฉลียวฉลาด ..." ซึ่งถึงตรงนี้ก็ยังไม่สามารถได้ผลสรุปโดยปราศจากข้อสงสัยได้ .... ซึ่งก็ไม่แปลกอะไร
หลังจากนั้น ในปลายปี ค.ศ. 2015 ได้มีการนำเอาข้อมูลที่ว่า และข้อมูลการเสียชีวิต สาเหตุการเสียชีวิตและ สุขภาพของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด ห้าหมื่นกว่าราย มาวิเคราะห์ เพื่อหาความสัมพันธ์ความเชื่อมโยงของความเฉลียวฉลาด และความยืนยาวของชีวิต รวมทั้งสุขภาพด้วย อีกครั้งอย่างละเอียดมากขึ้น ....
ซึ่งสรุปได้ว่า ผู้ที่เฉลียวฉลาด มักจะเลือกใช้ชีวิต และเลือกอาชีพที่มีความเสี่ยงน้อยกว่า ต่อการเสียชีวิตหรือเป็นผลร้ายต่อสุขภาพ เช่น เลือกเป็นแพทย์ เป็นนักบัญชี นักกฏหมาย มากกว่า การเลือกที่จะไปเป็นตำรวจ ทหาร ตำรวจดับเพลิง ฯ สูบบุหรี่น้อยกว่า มีโภชนาการที่ดีกว่า ดูแลสุขภาพของตนเองเป็นประจำมากกว่า ....
ในการศึกษาอื่นๆ เช่น ในปี ค.ศ. 1991 รัฐบาลสหราชอาณาจักร ได้นำข้อมูลทางการแพทย์ของข้าราชการทั้งประเทศมาวิเคราะห์ และพบว่า ผู้ที่มีตำแหน่งหน้าที่สูงกว่า จะมีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตน้อยกว่าผู้ที่มีตำแหน่งหน้าที่ตํ่ากว่า ที่ทำงานประเภทเดียวกันและมีอายุใกล้เคียงกันถึง 65%
แม้ว่าการศึกษาดังกล่าว มีสมมุติฐานว่า ผู้ที่มีตำแหน่งหน้าที่สูงกว่าจะมีความเฉลียวฉลาดมากกว่า แต่ก็ไม่ได้มีการยืนยัน หรือพิสูจน์ด้วยการทดสอบไอคิวของข้าราชการแต่อย่างใด ก็เลยยังไม่สามารถเชื่อมโยงความสัมพันธ์ที่ว่าได้
นอกจากนี้ ยังมีการศึกษาในเรื่องนี้อีกมากมายหลายแห่ง โดยที่แทบทุกการศึกษา ต่างก็ให้ผลสรุปที่ตรงกันว่า ผู้ที่มีความเฉลียวฉลาดในวัยเด็กมากกว่า จะมีอายุยืนยาวกว่า มีสุขภาพที่ดีกว่า มีโรคภัยไข้เจ็บตํ่ากว่า มีการเสียชีวิตจากทุกสาเหตุตํ่ากว่า โดยเฉพาะจากอุบัติเหตุและภัยพิบัติ แต่เนื่องจากการมีชีวิตอยู่ของผู้คนในกลุ่มตัวอย่างที่ถูกศึกษา มีปัจจัยอื่นๆ ที่มีผลต่อสุขภาพและการเสียชีวิต นอกเหนือจากความเฉลียวฉลาด อย่างเช่น รายได้ สถานะทางสังคมและเศรษฐกิจ ปะปนอยู่ด้วยอย่างไม่สามารถแยกออกได้ จึงยังไม่สามารถสรุปได้ว่า ความเฉลียวฉลาดมีผลต่อสุขภาพและอายุที่ยืนนานมากเท่าใดกันแน่




จากผลการศึกษาดังกล่าว ที่พบว่าผู้ที่มีความเฉลียวฉลาดสูงกว่า มีแนวโน้มที่จะมีประวัติทางสุขภาพที่ดีกว่า ก็มีคำถามตามมาว่า " ความเฉลียวฉลาดทำให้สุขภาพดี หรือ การสุขภาพดี ทำให้เฉลียวฉลาด ..." ซึ่งถึงตรงนี้ก็ยังไม่สามารถได้ผลสรุปโดยปราศจากข้อสงสัยได้ .... ซึ่งก็ไม่แปลกอะไร
หลังจากนั้น ในปลายปี ค.ศ. 2015 ได้มีการนำเอาข้อมูลที่ว่า และข้อมูลการเสียชีวิต สาเหตุการเสียชีวิตและ สุขภาพของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด ห้าหมื่นกว่าราย มาวิเคราะห์ เพื่อหาความสัมพันธ์ความเชื่อมโยงของความเฉลียวฉลาด และความยืนยาวของชีวิต รวมทั้งสุขภาพด้วย อีกครั้งอย่างละเอียดมากขึ้น ....
ซึ่งสรุปได้ว่า ผู้ที่เฉลียวฉลาด มักจะเลือกใช้ชีวิต และเลือกอาชีพที่มีความเสี่ยงน้อยกว่า ต่อการเสียชีวิตหรือเป็นผลร้ายต่อสุขภาพ เช่น เลือกเป็นแพทย์ เป็นนักบัญชี นักกฏหมาย มากกว่า การเลือกที่จะไปเป็นตำรวจ ทหาร ตำรวจดับเพลิง ฯ สูบบุหรี่น้อยกว่า มีโภชนาการที่ดีกว่า ดูแลสุขภาพของตนเองเป็นประจำมากกว่า ....
ในการศึกษาอื่นๆ เช่น ในปี ค.ศ. 1991 รัฐบาลสหราชอาณาจักร ได้นำข้อมูลทางการแพทย์ของข้าราชการทั้งประเทศมาวิเคราะห์ และพบว่า ผู้ที่มีตำแหน่งหน้าที่สูงกว่า จะมีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตน้อยกว่าผู้ที่มีตำแหน่งหน้าที่ตํ่ากว่า ที่ทำงานประเภทเดียวกันและมีอายุใกล้เคียงกันถึง 65%
แม้ว่าการศึกษาดังกล่าว มีสมมุติฐานว่า ผู้ที่มีตำแหน่งหน้าที่สูงกว่าจะมีความเฉลียวฉลาดมากกว่า แต่ก็ไม่ได้มีการยืนยัน หรือพิสูจน์ด้วยการทดสอบไอคิวของข้าราชการแต่อย่างใด ก็เลยยังไม่สามารถเชื่อมโยงความสัมพันธ์ที่ว่าได้
นอกจากนี้ ยังมีการศึกษาในเรื่องนี้อีกมากมายหลายแห่ง โดยที่แทบทุกการศึกษา ต่างก็ให้ผลสรุปที่ตรงกันว่า ผู้ที่มีความเฉลียวฉลาดในวัยเด็กมากกว่า จะมีอายุยืนยาวกว่า มีสุขภาพที่ดีกว่า มีโรคภัยไข้เจ็บตํ่ากว่า มีการเสียชีวิตจากทุกสาเหตุตํ่ากว่า โดยเฉพาะจากอุบัติเหตุและภัยพิบัติ แต่เนื่องจากการมีชีวิตอยู่ของผู้คนในกลุ่มตัวอย่างที่ถูกศึกษา มีปัจจัยอื่นๆ ที่มีผลต่อสุขภาพและการเสียชีวิต นอกเหนือจากความเฉลียวฉลาด อย่างเช่น รายได้ สถานะทางสังคมและเศรษฐกิจ ปะปนอยู่ด้วยอย่างไม่สามารถแยกออกได้ จึงยังไม่สามารถสรุปได้ว่า ความเฉลียวฉลาดมีผลต่อสุขภาพและอายุที่ยืนนานมากเท่าใดกันแน่
ใครที่สนใจอ่านเรื่องการศึกษาที่ว่านี้ สามารถกูเกิลด้วยคำว่า IQ and Health หรือ IQ and Lifespan หรือ IQ and Death ได้เลยครับ มีให้เลือกอ่านมากมายจริงๆ
ถึงตรงนี้ ผมเชื่อว่าหลายๆคนคงมองออกและสรุปได้เองแล้วว่า




ดังนั้น หากใครอยากมีสุขภาพดี มีอายุยืนยาว แม้ว่าเราจะเลือกพ่อแม่ที่จะส่งผ่านพันธุกรรมความเฉลียวฉลาดมาให้เราไม่ได้ แต่การเลือกคู่ครองที่เฉลียวฉลาด (กว่าเรา) ก็เพิ่มโอกาสที่จะทำให้เรามีไลฟ์สไตล์ มีคุณภาพชีวิต ที่เกื้อหนุนให้เรามีสุขภาพที่ดี มีอายุที่ยืนยาวตามเขาไปด้วย โดยเฉพาะคุณผู้ชาย ทั้งหลาย ควรต้องไม่พยายามต่อล้อต่อเถียง (หรือพยายามไม่ต่อล้อต่อเถียง) ให้คิดซะว่า ยิ่งอยากเอาชนะ ยิ่งเถียงมาก ก็ยิ่งมีความเสี่ยงที่อาจจะทำให้อายุสั้นจุ๊ดจู๋ได้แล้วกัน
บทความโดย : Sompob Pordi
- ความเฉลียวฉลาด (Intelligence) รวมทุกตอน >> คลิ๊กที่นี่
ใครที่สนใจ ที่มีเวลา โดยเฉพาะ คนที่ยังมีลูกหลานเล็กๆ ผมแนะนำสุดใจครับ เพราะจะเป็นประโยชน์แน่นอน
ความเฉลียวฉลาด (Intelligence) เป็นส่วนผสมทางชีววิทยา และประสบการณ์ชีวิต หากตั้งใจ หากทำเป็น สร้างเสริมได้ เพิ่มพูนได้ พัฒนาได้ .... และเมื่อเฉลียวฉลาดแล้ว โลกทัศน์จะต่างจากคนทั่วไป จะเห็นสิ่งต่างๆ ได้ชัดเจนกว่า จะเห็นโอกาส และจะมีทางเลือกมากกว่า และสามารถจะใช้โอกาสและทางเลือกที่ดีกว่าเพื่อประโยชน์ของตนเอง ครอบครัว และสังคม ได้แน่นอนครับ !!!