การศึกษาวิจัยในเรื่องนี้ ที่เป็นที่รู้จักมากที่สุด คือ การศึกษาสาเหตุของความแตกต่างทางจิตวิทยา : การศึกษาฝาแฝด ที่ถูกเลี้ยงแยกกันใน มินิโซต้า หรือ Sources of Human Psychological Differences : The Minnesota Study of Twins Reared Apart โดย Thomas J. Bouchard, Jr., David T. Lykken, Matthew McGue, Nancy L. Segal and Auke Tellegen
ซึ่งสรุปได้ชัดเจนว่า พันธุกรรมมีผลมากกว่า 70% ต่อระดับไอคิว หรือความเฉลียวฉลาด
คู่แฝดที่ถูกเลี้ยงแยกกัน มีความเฉลียวฉลาดใกล้เคียงกันเอง มากกว่า จะใกล้เคียงกับครอบครัวอุปถัมถ์อย่างมีนัยสำคัญ ไม่ว่าสภาพแวดล้อมของครอบครัวอุปถัมถ์ จะต่างกันมากน้อยแค่ไหนก็ตาม
หลังจากการศึกษานี้ ถูกตีพิมพ์ และนำเสนอในปี ค.ศ. 1990 นักวิทยาศาสตร์ และนักการศึกษา ที่สนับสนุนว่า การเลี้ยงดู หรือ Nurture มีผลต่อความเฉลียวฉลาดมากกว่าปัจจัยอื่นๆ ก็ออกมาวิพากษ์ว่า โทมัส บูชาร์ด และคณะ ใช้วิธีทางสถิติ ที่ไม่ถูกต้องบ้าง ( มีการพิสูจน์ภายหลังโดยนักสถิติว่าถูกต้องแล้ว) ละเลยไม่ทำการศึกษาในกลุ่มควบคุมหรือ control group บ้าง ซึ่งทางผู้ศึกษา ก็ออกมาโต้แย้งว่า หากใช้กลุ่มควบคุม ซึ่งคือฝาแฝด ที่ถูกเลี้ยงด้วยกันในครอบครัว และสภาพแวดล้อมเดียวกัน จะพบว่า คู่แฝดยิ่งมีความเฉลียวฉลาดเหมือนกันมากขึ้นไปอีก ซึ่งก็เป็นความจริงอีก
นอกจากนี้ การศึกษาอื่นๆ ในเรื่องนี้ ต่างก็ให้ผลไปในทางเดียวกัน อย่างไม่มีข้อสงสัย จนกระทั่งเมื่อปีที่แล้วมีการปั่น เอ๊ย มีเผยแพร่ข่าวคู่ฝาแฝดเด็กผู้หญิงชาวเกาหลี ที่ถูกแยกในปี ค.ศ. 1974 ในกรุงโซล โดยคนหนึ่งถูกนำมาเลี้ยงโดยครอบครัวอุปถัมถ์ที่อบอุ่นในสหรัฐ และอีกคนหนึ่ง ถูกเลี้ยงขึ้นมาในครอบครัวที่มีปัญหาเกาหลีใต้ และเมื่อนำทั้งสองคน มาทดสอบความเฉลียวฉลาดด้วยการวัดไอคิว ก็พบว่าแฝดที่โตในสหรัฐฯ มีไอคิวสูงกว่าแฝดที่โตในเกาหลีใต้ถึง 16 คะแนน ....
อย่างไรก็ตาม กลุ่มนักวิทยาศาสตร์ที่เชื่อว่า พันธุกรรมมีผลต่อความเฉลียวฉลาดมากกว่า ก็ได้วิจารณ์ว่า นอกจากจะมีแค่หนึ่งตัวอย่างเท่านั้น ซึ่งไม่ถือว่าเป็นการศึกษาตามหลักวิชาการ การใช้ข้อสอบวัดไอคิวภาษาอังกฤษทดสอบ ทำให้แฝดที่โตในเกาหลีเสียเปรียบแฝดที่โตในสหรัฐฯ ...
ถึงตรงนี้ เราคงสงสัยหรืองง ว่า มันอะไรกันนักกันหนาเนี่ย ไหงทั้งสองฝ่าย ไม่ยอมร่วมมือกัน ไม่ยอมลดลาวาศอกให้กัน แล้วแถมยังเตะตัดขากันอีก ไหงการที่เป็นเพราะ กรรมพันธุ์ หรือ การเลี้ยงดู มันถึงได้คอขาดบาดตายขนาดนั้นด้วย (วะ) ซึ่งเรื่องนี้ มันมีที่มาที่ไปที่เป็นเรื่องของการเมืองสุดขั้วด้วย
ย้อนหลังกลับไปถึง ก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง อุดมการณ์ที่น่าสะพรึงกลัวของเยอรมันนาซี เรื่องหนึ่งคือ เผ่าพันธุ์อารยัน ของพวกตนที่รูปร่างสูง ผมสีทอง ตาสีฟ้า เป็นเผ่าพันธุ์สุดยอดของมนุษย์ ดีกว่า เฉลียวฉลาดกว่า เผ่าพันธุ์อื่นๆ ที่จะถูกกำจัดออกไป หรือใช้เป็นทาสแรงงาน ซึ่งนำไปสู่การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ที่โหดร้าย อย่างที่เรารู้กัน ....
ด้วยเหตุนี้เอง หลังจากสงครามโลกครั้งที่สอง การศึกษา ค้นคว้า วิจัย ใดก็ตามที่ศึกษาลักษณะต่างๆ ในมนุษย์ที่ส่งต่อทางพันธุกรรม จะถูกมองด้วยความ "ไม่ไว้วางใจ" และ ความเคลือบแคลงสงสัยใน "เจตนา" หรือจะถูกคัดค้าน ต่อต้าน ด้วย
ด้วยเหตุนี้ การศึกษาว่าความเฉลียวฉลาดของมนุษย์ เป็นผลจากพันธุกรรมหรือไม่ อย่างไร ก็ยิ่งถูกสงสัย คัดค้าน ต่อต้าน เช่นกัน ด้วยสาเหตุที่ว่ามา
นอกจากนี้ บรรดานักการศึกษาของฝรั่ง ก็พยายามคัดค้านการศึกษานี้ด้วย เพราะขัดกับความเชื่อของพวกตนที่ว่า เด็กนักเรียนทุกคนทีศักยภาพเหมือนกัน หากมีโอกาสเรียนเท่าเทียมกัน มีสภาพแวดล้อมเหมือนกัน อย่างเช่น โภชนาการ การเลี้ยงดูของครอบครัว ก็จะสามารถเรียนรู้ได้ดีเหมือนๆกัน ( ซึ่งพิสูจน์แล้วว่าไม่เป็นความจริง )
แล้วอีกอย่างหนึ่ง ที่มีผลอย่างแน่นอนด้วย ก็คือ ธรรมชาติของมนุษย์เราเอง ที่ไม่ต้องการจำนนต่อธรรมชาติ ผู้คนจำนวนมาก แทบจะทุกเชื้อชาติ ไม่ต้องการเชื่อว่า ความเฉลียวฉลาดของตน ถูกกำหนดเอาไว้แล้วตั้งแต่เกิด แต่ก็แปลกดี ที่คนจำนวนมากเชื่อเรื่องดวงชะตา ซึ่งก็ไม่ต่างกัน หรือที่คนจำนวนมากไม่ใฝ่รู้ ไม่ชอบเรียน ไม่ต้องการฉลาดขึ้น แต่อย่างใด ... ?!
ดังนั้น ห้ามลืมเด็ดขาดว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ไม่ควรไปพูดคุยกับใครก็ตาม ที่เราไม่คุ้นเคย เพราะแม้ว่าจะเป็นเรื่องจริง เป็นสิ่งที่ไม่น่าจะตาย แต่คนพูดอาจจะไม่รอดก็ได้ ( 5555 )
บทความโดย : Sompob Pordi
ความเฉลียวฉลาด (Intelligence) รวมทุกตอน >> คลิ๊กที่นี่ ...
ผมอยากฉลาด และชอบคนฉลาด ผมเชื่อว่า ความเฉลียวฉลาดและคนฉลาดมีประโยชน์มากกว่าโทษ และคือสิ่งที่นำพาให้มนุษยชาติมาถึงวันนี้ ผมก็เลยสนใจเรื่องความเฉลียวฉลาดของมนุษย์มาก มากพอที่จะตะลุยหาความรู้ในเรื่องนี้อย่างจริงจัง
ใครที่สนใจ ที่มีเวลา โดยเฉพาะ คนที่ยังมีลูกหลานเล็กๆ ผมแนะนำสุดใจครับ เพราะจะเป็นประโยชน์แน่นอน
ความเฉลียวฉลาด (Intelligence) เป็นส่วนผสมทางชีววิทยา และประสบการณ์ชีวิต หากตั้งใจ หากทำเป็น สร้างเสริมได้ เพิ่มพูนได้ พัฒนาได้ .... และเมื่อเฉลียวฉลาดแล้ว โลกทัศน์จะต่างจากคนทั่วไป จะเห็นสิ่งต่างๆ ได้ชัดเจนกว่า จะเห็นโอกาส และจะมีทางเลือกมากกว่า และสามารถจะใช้โอกาสและทางเลือกที่ดีกว่าเพื่อประโยชน์ของตนเอง ครอบครัว และสังคม ได้แน่นอนครับ !!!
ใครที่สนใจ ที่มีเวลา โดยเฉพาะ คนที่ยังมีลูกหลานเล็กๆ ผมแนะนำสุดใจครับ เพราะจะเป็นประโยชน์แน่นอน
ความเฉลียวฉลาด (Intelligence) เป็นส่วนผสมทางชีววิทยา และประสบการณ์ชีวิต หากตั้งใจ หากทำเป็น สร้างเสริมได้ เพิ่มพูนได้ พัฒนาได้ .... และเมื่อเฉลียวฉลาดแล้ว โลกทัศน์จะต่างจากคนทั่วไป จะเห็นสิ่งต่างๆ ได้ชัดเจนกว่า จะเห็นโอกาส และจะมีทางเลือกมากกว่า และสามารถจะใช้โอกาสและทางเลือกที่ดีกว่าเพื่อประโยชน์ของตนเอง ครอบครัว และสังคม ได้แน่นอนครับ !!!