สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก ไม่ทราบแน่ชัดว่าติดมาจากสัตว์ใด และก็พบเรื่อยมา ต่อมาจึงเข้าใจว่าสัตว์นำโรค น่าจะเป็นสัตว์ตระกูลฟันแทะ หรือหนู และสามารถติดต่อระหว่างคนสู่คนได้
การตั้งชื่อ ฝีดาษลิง หรือฝีดาษวานร เหตุก็เพราะว่า โรคนี้ถูกค้นพบครั้งแรก ในลิง แต่ความเป็นจริง การติดต่อสู่คน ไม่ทราบว่าเป็นสัตว์ชนิดใด น่าจะเป็นสัตว์ในตระกูลฟันแทะ
ในระยะหลังนี้องค์การอนามัยโลกเอง จะตั้งชื่อโรคที่เกิดจากไวรัส หรือโรคอุบัติใหม่ จะไม่ใช้ชื่อ สถานที่ , สัตว์นำโรค หรือ ชื่อบุคคล มาตั้งเป็นชื่อโรค เพราะจะทำให้เกิด "บาดแผล" ต่อสิ่งนั้น หรือแนวคิดทัศนคติทางลบต่อสิ่งนั้นๆ
องค์การอนามัยโลกจึงตั้งชื่อว่า “Mpox”
สำหรับประเทศไทย ผู้ที่ตั้งชื่อว่าฝีดาษวานร คือ ศาสตราจารย์นายแพทย์ประเสริฐ ทองเจริญ
ขอบคุณข้อมูลโดย :
ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ยง ภู่วรวรรณ
ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก
คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
21 สิงหาคม 2567
ข้อมูลเพิ่มเติม
ข้อเท็จจริงสำคัญ
- วัคซีนที่ใช้ระหว่างการดำเนินการตามแผนการกำจัดโรคฝีดาษ (smallpox) สามารถป้องกันโรคฝีดาษวานรได้ด้วย มีการพัฒนาวัคซีนชนิดใหม่หลายชนิดและมีวัคซีนชนิดหนึ่งได้รับอนุมัติให้ใช้ป้องกันโรคฝีดาษวานร
- เกิดจากไวรัสฝีดาษวานร (monkeypox virus) ซึ่งเป็นไวรัสในสกุล Orthopoxvirus ของวงศ์ Poxviridae
- ปกติฝีดาษวานรเป็นโรคที่หายได้เอง ระยะแสดงอาการตั้งแต่ 2 ถึง 4 สัปดาห์ แต่อาการรุนแรงก็อาจเกิดขึ้นได้ เมื่อไม่นานนี้ อัตราการป่วยตาย (case fatality ratio) อยู่ที่ประมาณร้อยละ 3-6
- การแพร่เชื้อสู่มนุษย์ของโรคฝีดาษวานรเกิดขึ้นจากการสัมผัสใกล้ชิดกับคนหรือสัตว์ติดเชื้อหรือการสัมผัสวัสดุปนเปื้อนเชื้อไวรัส
- โรคฝีดาษวานรสามารถแพร่เชื้อจากคนสู่คนผ่านการสัมผัสรอยโรคบนผิวหนัง ของเหลวในร่างกาย ละอองน้ำจากการหายใจ และวัสดุที่ปนเปื้อน เช่น ปลอกหมอนหรือผ้าปูที่นอน
- ฝีดาษวานรเป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คนที่เกิดจากเชื้อไวรัส ซึ่งส่วนใหญ่เกิดขึ้นในบริเวณพื้นที่ป่าฝนเขตร้อนแถบแอฟริกากลางและแอฟริกาตะวันตก และบางครั้งมีโอกาสแพร่กระจายไปยังภูมิภาคอื่น
- ยาต้านไวรัสที่พัฒนาสำหรับการรักษาโรคฝีดาษได้รับอนุมัติให้ใช้รักษาโรคฝีดาษวานรด้วย
- อาการที่สังเกตได้ของโรคฝีดาษวานรคล้ายลักษณะอาการของโรคฝีดาษ ซึ่งเป็นการติดเชื้อไวรัสในสกุล orthopoxvirus เหมือนกัน ซึ่งมีประกาศว่าถูกกำจัดไปจนหมดสิ้นทั่วโลกเมื่อปี 2523 โรคฝีดาษวานรติดต่อได้ยากกว่าโรคฝีดาษและทำให้เกิดภาวะเจ็บป่วยที่รุนแรงน้อยกว่า
- โดยทั่วไป ลักษณะอาการของโรคฝีดาษวานรมีดังนี้ มีไข้ ผื่นแดง และต่อมน้ำเหลืองโต และอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนทางการแพทย์ตามมา
ผู้ที่ตั้งชื่อว่าฝีดาษวานร คือ ศาสตราจารย์นายแพทย์ประเสริฐ ทองเจริญ
1 ใน 10 แพทย์ต้นแบบแห่งมหาวิทยาลัยมหิดล
ศาสตราจารย์นายแพทย์ประเสริฐ ทองเจริญ
ศาสตราจารย์นายแพทย์ประเสริฐ ทองเจริญ
อ่านประวัติ >>
https://museum.li.mahidol.ac.th/th/MU-10th-prototype/index.php/prasert-thongcharoen-1/