ความเป็นมา ก่อนที่จะก่อเกิด "สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม" หรือ ที่เรียกว่า ส.ป.ก.
องค์นี้เกิดขึ้นด้วยเหตุเพราะ ในอดีต เกิดปัญหาเกี่ยวกับที่ดินทำกิน เกษตรกรไทย ขาดโอกาสการเข้าถึงพื้นที่ทำกินได้ ด้วยเพราะถูกเอารัดเอาเปรียบจากนายทุน ก่อเกิดปัญหาความยากจนของเกษตรกรไทย ไร้ที่ดินทำกินมายาวนาน และยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น...
จัดตั้ง "สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.)
รัฐบาลในขณะนั้น คือ รัฐบาลนายสัญญา ธรรมศักดิ์ นายกรัฐมนตรี (พ.ศ. 2516 - 2518) จึงได้เสนอร่าง พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ต่อสภานิติบัญญัติ และได้รับความเห็นชอบ เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2518 โดยได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม นี้ ในปี พ.ศ.2518 ในพระราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่มที่ 92 ตอนที่ 54 วันที่ 5 มีนาคม 2518 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 6 มีนาคม 2518 เป็นต้นมา ...
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร.๙ ( พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ) ทรงให้การสนับสนุน ให้โครงการปฏิรูปที่ดินดำเนินไปโดยสัมฤทธิ์ผล
พระองค์ได้พระราชทานที่ดินทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ จำนวน 51,967 ไร่ 95 ตารางวา ในพื้นที่ 8 จังหวัด คือ ปทุมธานี , พระนครศรีอยุธยา , นครนายก นครปฐม , ราชบุรี , เพชรบุรี , สระบุรี และ จังหวัดฉะเชิงเทรา ให้กับ "สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมที่ดิน" เป็นประเดิมเริ่มแรก...
พระมหากรุณาธิคุณที่ได้พระราชทานที่ดินในครั้งนั้น ยังเป็นการหล่อหลอมให้ประชาชนเกิดความมั่นใจ มีความเข้าใจ ในนโยบายการปฏิรูปที่ดิน เพื่อเกษตรกรรมของรัฐบาลตรงกัน และทำให้เกิดผลดีต่อการดำเนินการปฏิรูปที่ดิน ...
การคมนาคม และการชลประทาน
ทั้งนี้ ที่ดินพระราชทานสวนใหญ่นี้ มีสภาพเป็นที่นา ไม่มีถนนเข้าถึงแปลงที่ดิน เดิมที เกษตรกรต้องเดินทาง โดยทางน้ำเป็นหลัก สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจึงได้ดำเนินการก่อสร้างและปรับปรุงถนน เพื่อเป็นการคมนาคมติดต่อระหว่างหมู่บ้าน ตำบล และอำเภอ เพื่อใช้เป็นเส้นทางขนส่งปัจจัยการผลิต และผลผลิตทางการเกษตร ในที่ดินพระราชทาน จำนวน 5 จังหวัด โดยก่อสร้างถนนลูกรังสายหลัก รวมระยะทาง 15,320 กิโลเมตร และก่อสร้างถนนลูกรังสายซอย รวมระยะทาง 91 .147 กิโลเมตร รวมถึง การขุดคลองส่งน้ำ และคลองระบายน้ำ
การจัดตั้ง "สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) " ขึ้น เพื่อนำที่ดินของรัฐ และที่ดินจากการจัดซื้อจากเอกชน มาจัดสรรให้เกษตรกรไทย ได้เข้าถึง และสามารถใช้ทำประโยชน์ เรียกที่ดินเหล่านี้ว่า ที่ดิน ส.ป.ก. 4-01
ที่ดิน ส.ป.ก. หรือ คำเรียกที่เรามักได้ยินจากสื่อต่างๆ คือ ที่ดิน ส.ป.ก. 4-01
เอกสาร ส.ป.ก. 4-01 คือ เอกสารแสดงการครอบครองที่ดิน โดยสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ออกให้ กับประชาชน เพื่อได้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน ตามพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 โดยมีหลักว่า
"ที่ดินในเขตปฏิรูปนั้น ใช้ทำเกษตรกรรมได้อย่างเดียวเท่านั้น ทำประโยชน์อย่างอื่นไม่ได้ และผู้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดิน ส.ป.ก. 4-01 จะต้องมีฐานะยากจน"
และนอกเหนือจาก ฐานนะยากจนแล้ว ยังมี ผู้ที่มีสิทธิได้ที่ดิน ยังเป็นบุคคลกลุ่มนี้
- สถาบันเกษตรกร
- ผู้ประกอบกิจการ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
- ผู้ที่ถูกอพยพออกจากพื้นที่สงวนของรัฐ
- ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการของทางราชการที่สูญเสียที่ดิน
โดย สิทธินี้จะหมดไปเมื่อ ...
- ผู้ถือครอง เสียชีวิต หรือสละสิทธิ์
- ผู้ถือครอง โอนสิทธิการเข้าทำประโยชน์ การเช่าให้ผู้อื่น
- ผู้ถือครอง ขาดคุณสมบัติที่กำหนดไว้
- ผู้ถือครอง ฝ่าฝืนข้องบังคับเกี่ยวกับการเข้าทำประโยชน์
ในหลวง ร.10 พระราชทานโฉนดที่ดิน
เพื่อใช้เป็นประโยชน์ทางราชการ - การศึกษา
เพื่อใช้เป็นประโยชน์ทางราชการ - การศึกษา
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานโฉนดที่ดินในพระปรมาภิไธย เพื่อใช้ประโยชน์เป็นสถานที่ทำงาน สถานที่ศึกษา และเป็นประโยชน์ของทางราชการ
- เว็บไซต์กรมประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ข้อมูลภาพรวมการพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ช่วยเหลือราษฏรในด้านต่าง ๆ และการพระราชทานโฉนดที่ดินในพระปรมาภิไธยเพื่อใช้เป็นประโยชน์ทางราชการ ในรูปแบบที่เข้าใจง่าย ช่วยให้ประชาชนและสื่อมวลชนเข้าถึงข้อมูลที่ถูกต้องในทันที (Real time) รวมทั้งสามารถนำข้อมูลไปอ้างอิงได้ โดยค้นหาการพระราชทานความช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ
ข้อมูลเพื่มเติม เกี่ยวกับ ส.ป.ก.
- สำนักงานการปฏิรูปที่ดิน | https://alro.go.th/th/alro
- สำนักงานกิจการยุติธรรม | https://justicechannel.org/