บทความ และภาพปก โดย : อโยธยามหรสพ
ทุกคน น่าจะเคยได้ยินกันมาบ้างแล้วใช่ไหมล่ะครับ ... ว่า ในสมัยโบราณเนี่ย "เกลือ" ถือได้ว่า เป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญอย่างมาก หากใครยังนึกไม่ออก ว่าสำคัญขนาดไหน ก็ลองเอาไปเทียบกับเครื่องเทศดูนะครับ ในสมัยโบราณ เครื่องเทศ ก็เป็นสินค้าราคาแพง หน้าที่ของเครื่องเทศ ใช้ปรุงอาหารให้มี "กลิ่นรส (Flavor)" ส่วนเกลือ เป็นวัตถุดิบที่เอาไว้ชูรสชาติ (Taste) ... ถ้าเรามีแต่เครื่องเทศ แต่ไม่มีเกลือ อาหารก็มีแต่กลิ่นรส แต่ไม่มีตัวชูรสชาติ .... ดังนั้นในดินแดน ที่ไม่สามารถผลิตเกลือสมุทรเองได้ เกลือจึงเป็นสินค้าที่เป็นที่ต้องการสูงมาก ....
โดยเฉพาะในสังคมอยุธยาสมัยศักดินา ที่อาหารการกินส่วนใหญ่ของชาวบ้าน มักจะประกอบไปด้วย ข้าว, ผัก และปลา ( นานๆ ทีจะได้กินสัตว์ใหญ่อย่างหมูหรือเนื้อ) ตามสภาพภูมิประเทศ และวิถีชีวิตที่ยึดโยงกับไร่นา ป่าไม้และแม่น้ำ "เกลือ" จึงเป็นส่วนประกอบสำคัญในทุกครัวเรือน เพราะถ้าไม่มีเกลือ ปลาจะไม่อร่อย นอกจากจะใช้ใส่อาหารตรงๆ แล้ว เกลือยังใช้หมักทำน้ำปลา และใช้ถนอมอาหารอีกด้วย ...
นอกจากความสำคัญในระดับครัวเรือนแล้ว "เกลือ" ยังถือเป็นยุทธปัจจัย ที่มีความสำคัญในยามศึกสงคราม
พระเจ้าตากสิน ถึงขนาดสร้างฉางเกลือเก็บไว้เป็นเสบียงยามศึกสงคราม โดยเฉพาะ
เพราะกรุงธนบุรี ไม่เคยว่างเว้นจากการศึก ( ปัจจุบันฉางเกลือแห่งนี้ ตั้งอยู่ในวัดโมลีโลก ) ... เกลือนั้น นอกจากจะใช้ปรุงอาหารในค่าย และใช้ถนอมอาหาร ให้สามารถเดินทัพได้ระยะเวลานานๆ แล้ว เกลือ ยังมีความสำคัญ กับเรี่ยวแรงของทหารในทัพอีกด้วย... เพราะการรบทัพจับศึก ที่ต้องใช้พละกำลัง จนเหงื่อโชกเป็นแรมเดือนนั้น ย่อมต้องทำให้ทหาร อ่อนล้าและสูญเสียแร่ธาตุ ทหารในกองทัพจึงต้องการเกลือมาบำรุงกำลังวังชา ( เหมือนที่เราต้องดื่มเกลือแร่ หลังออกกำลังกายหรือตอนท้องเสีย นั่นเอง... )
นอกจากทหารแล้ว พวกสัตว์อย่างม้าศึกเอง ก็จำเป็นต้องกินเกลือด้วย มิเช่นนั้น ม้าก็ไม่มีแรงวิ่งเช่นกัน จึงเรียกได้ว่า ในสมัยโบราณ หากอาณาจักรไหนขาดเกลือก็เกียมขิตได้เลย !!!
... พวกเราที่เกิดในยุคอุตสาหกรรมเกลือสมุทรเฟื่องฟู อาจจะไม่ได้สัมผัสถึงคุณค่าของเกลือสินเธาว์
หลายอาณาจักรในอดีต ไม่รู้วิธีผลิตเกลือสมุทร (Sea salt) ทำให้ส่วนใหญ่ต้องพึ่งพาเกลือสินเธาว์ (Rock Salt) ดินแดนแถบประเทศไทยในอดีต มีแหล่งผลิตเกลือขนาดใหญ่อยู่ไม่กี่ที่เท่านั้น คือ
1. วรนครแห่งปัว - ปัจจุบัน คือ จังหวัดน่าน เป็นแหล่งผลิตเกลือสินเธาว์ที่ใหญ่ที่สุดในแถบนี้ วรนครทำการผลิตเกลือโดยตักน้ำเกลือธรรมชาติ (Brine) จากที่เกิดจากชั้นหินเกลือใต้ภูเขามาต้มให้น้ำระเหย เกลือน่านเป็นเกลือสินเธาว์ที่ขาวจั๊วะคุณภาพดี เป็นสินค้าที่สร้างอำนาจทางเศรษฐกิจให้กับวรนครผ่านการค้าขายกับอาณาจักรสุโขทัย
2. ดินแดนแถบที่ราบสูงโคราช - กินพื้นที่หลายจังหวัด ในภาคอีสานปัจจุบัน แต่เกลือสินเธาว์ที่นี่มีกรรมวิธีการผลิตแตกต่างจากของน่าน คือจะใช้ดินเค็มมาละลายน้ำ แล้วเอาน้ำไปต้มต่อให้น้ำระเหยจนได้ผลึกเกลืออีกทีหนึ่ง ด้วยการผลิตที่เพิ่มขั้นตอนเข้ามาจึงทำให้ดินแดนแถบนี้ผลิตเกลือสินเธาว์ได้น้อยกว่า ช้ากว่า สีคล้ำกว่า และผลิตเฉพาะฤดูหลังนาเท่านั้น นอกจากนั้นผลผลิตส่วนใหญ่ก็ถูกส่งไปขายให้อาณาจักรของเขมร
3. จีน - เป็นชนชาติเดียวแถบนี้ที่มีปัญญาผลิตเกลือสมุทรได้ เกลือเป็นสินค้าผูกขาด โดยราชสำนัก วิธีการผลิตเกลือสมุทร เป็นความลับที่ห้ามเปิดเผย ปัญญาชนที่รู้กระบวนการผลิตเกลือสมุทร จะถูกสั่งห้ามย้ายถิ่นฐานเพื่อป้องกันความลับรั่วไหล ....
1. วรนครแห่งปัว - ปัจจุบัน คือ จังหวัดน่าน เป็นแหล่งผลิตเกลือสินเธาว์ที่ใหญ่ที่สุดในแถบนี้ วรนครทำการผลิตเกลือโดยตักน้ำเกลือธรรมชาติ (Brine) จากที่เกิดจากชั้นหินเกลือใต้ภูเขามาต้มให้น้ำระเหย เกลือน่านเป็นเกลือสินเธาว์ที่ขาวจั๊วะคุณภาพดี เป็นสินค้าที่สร้างอำนาจทางเศรษฐกิจให้กับวรนครผ่านการค้าขายกับอาณาจักรสุโขทัย
2. ดินแดนแถบที่ราบสูงโคราช - กินพื้นที่หลายจังหวัด ในภาคอีสานปัจจุบัน แต่เกลือสินเธาว์ที่นี่มีกรรมวิธีการผลิตแตกต่างจากของน่าน คือจะใช้ดินเค็มมาละลายน้ำ แล้วเอาน้ำไปต้มต่อให้น้ำระเหยจนได้ผลึกเกลืออีกทีหนึ่ง ด้วยการผลิตที่เพิ่มขั้นตอนเข้ามาจึงทำให้ดินแดนแถบนี้ผลิตเกลือสินเธาว์ได้น้อยกว่า ช้ากว่า สีคล้ำกว่า และผลิตเฉพาะฤดูหลังนาเท่านั้น นอกจากนั้นผลผลิตส่วนใหญ่ก็ถูกส่งไปขายให้อาณาจักรของเขมร
3. จีน - เป็นชนชาติเดียวแถบนี้ที่มีปัญญาผลิตเกลือสมุทรได้ เกลือเป็นสินค้าผูกขาด โดยราชสำนัก วิธีการผลิตเกลือสมุทร เป็นความลับที่ห้ามเปิดเผย ปัญญาชนที่รู้กระบวนการผลิตเกลือสมุทร จะถูกสั่งห้ามย้ายถิ่นฐานเพื่อป้องกันความลับรั่วไหล ....
เนื่องจากเกลือสินเธาว์ อีสานผลิตได้ยากกว่า และมีคู่ค้า คือเขมรอยู่แล้ว และเกลือสมุทรจีน ก็ต้องเดินทางไปซื้อถึงถิ่น เกลือน่าน หรือเกลือวรนคร จึงเป็นผู้ผลิตที่ทรงอิทธิพลที่สุดในละแวกนี้
การผลิตเกลือของเมืองปัว จะมีลักษณะเหมือนสังคมศักดินาทั่วไปในยุคนั้น คือ บ่อเกลือทั้ง 9 บ่อถูกผูกขาดโดยคนของราชวงศ์ภูคา ที่ปกครองกลุ่มนครรัฐน่าน ไพร่พลถูกเกณฑ์มาตักเกลือต้มเกลือ และบรรทุกวัวออกไปขายให้กับดินแดนรอบข้าง โดยมีสุโขทัยเป็นจุดรับซื้อสินค้าที่จะบรรทุกเรือลงแม่น้ำยม ลงไปดินแดนทางใต้ถึงอยุธยา และเมืองติดทะเล .... (แน่นอนว่าเมืองติดทะเลก็ต้องการเกลือ เพราะสมัยนั้นไม่มีใครรู้ว่าทำนาเกลือสมุทรอย่างไร ครั้นเอาน้ำทะเลมาต้มก็ได้เกลือปริมาณน้อยมากจนไม่คุ้มเวลา)
.... ด้วยความที่น่านทำมาค้าขายกับสุโขทัยเป็นหลัก จึงทำให้ความสัมพันธ์ของสองรัฐนี้แนบแน่นเป็นอย่างยิ่ง ....
.... และแล้วความตึงเครียดก็บังเกิด ใน ค.ศ. 1450 พระเจ้าติโลกราช แห่งล้านนาได้ส่งกองทัพมายึด เมืองปัว และเริ่ม บอยคอต ( บอยคอต คืออะไร ? ) ไม่ส่งเกลือมาขายที่สุโขทัย (รวมถึงเกลือจากแหล่งผลิตขนาดเล็กในเมืองอื่น เช่น เขลางค์ , เชียงคำ และ เชียงของ)
ทำให้เส้นทางการค้าเกลือ สู่แดนใต้ขาดสะบั้น !!!
ผลของการยึดเมืองปัว เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้ พระยายุทธิษฐิระ แห่งเมืองสองแคว ชิงหักหลังอยุธยาไปเข้ากับล้านนา (ประวัติศาสตร์กระแสหลัก ให้เหตุผลว่า พระยายุทธิษฐิระงอนพระบรมไตรโลกนาถ) และการหักหลังของพระยายุทธิษฐิระนี้เอง ก็ได้กลายเป็นชนวนเหตุของสงครามอยุธยา-ล้านนา (ครั้งที่ 2) ในสมัยพระบรมไตรโลกนาถ ...
สงครามอยุธยา-ล้านนา ครั้งนี้
กินระยะเวลาราว 24 ปี ตั้งแต่ปี 1451 จนถึงปี 1475
ในขณะที่สงครามดำเนินไปอย่างเชือดเฉือน ทั้งบุ๋นบู๊ .... อยุธยาก็ถูกตัดเส้นทางลำเลียงเกลือ จากแหล่งผลิตแดนเหนือนานกว่าทศวรรษ จนทำให้ชาวอยุธยาเดือดร้อน ทั้งเจ้านายทั้งไพร่ เกิดเป็นวิกฤตขาดแคลนเกลือครั้งใหญ่ขึ้น ...
อยุธยาพยายามแก้เกม โดยการ หาแหล่งขายเกลือแหล่งใหม่
ในขั้นต้น อยุธยาได้จ้างคนจีนชื่อ "เจี่ยบุ้งปิง" มาเป็นขุนนาง และให้เดินทางไปค้าขายกับจีน และในขากลับนั้นเอง เจี่ยบุ้งปิงก็ได้ลอบซื้อเกลือเถื่อน กลับมาเป็นจำนวนมาก จนจักรพรรดิจีนต้อง "สั่งให้อำมาตย์ ตักเตือนห้ามปรามพวก 'ฮวน' มิให้กระทำเช่นนั้นอีก" ...
สงครามอยุธยา-ล้านนา ครั้งนี้
กินระยะเวลาราว 24 ปี ตั้งแต่ปี 1451 จนถึงปี 1475
ในขณะที่สงครามดำเนินไปอย่างเชือดเฉือน ทั้งบุ๋นบู๊ .... อยุธยาก็ถูกตัดเส้นทางลำเลียงเกลือ จากแหล่งผลิตแดนเหนือนานกว่าทศวรรษ จนทำให้ชาวอยุธยาเดือดร้อน ทั้งเจ้านายทั้งไพร่ เกิดเป็นวิกฤตขาดแคลนเกลือครั้งใหญ่ขึ้น ...
อยุธยาพยายามแก้เกม โดยการ หาแหล่งขายเกลือแหล่งใหม่
ในขั้นต้น อยุธยาได้จ้างคนจีนชื่อ "เจี่ยบุ้งปิง" มาเป็นขุนนาง และให้เดินทางไปค้าขายกับจีน และในขากลับนั้นเอง เจี่ยบุ้งปิงก็ได้ลอบซื้อเกลือเถื่อน กลับมาเป็นจำนวนมาก จนจักรพรรดิจีนต้อง "สั่งให้อำมาตย์ ตักเตือนห้ามปรามพวก 'ฮวน' มิให้กระทำเช่นนั้นอีก" ...
ในภายหลัง ไม่ทราบว่าอยุธยาใช้กลอุบายอันใด หรือมีภารกิจรอบเร้นแฝงกายอย่างไรบ้าง แต่สุดท้ายแล้วอยุธยาก็ได้สูตรการทำนาเกลือสมุทรมา !!หลักการทำงานของนาเกลือสมุทร ก็คือ
แบ่งพื้นที่นาไว้เป็นส่วนๆ วิดน้ำทะเลเข้านา ส่วนแรกทิ้งไว้ให้ตกตะกอนจนใส จากนั้น จึงส่งน้ำไปส่วนต่อไปเพื่อตากแดดให้ระเหยจนมีความเค็มมากขึ้น ทำซ้ำอีกสองครั้งจนเกิดผลึกเกลือขึ้นพร้อมเก็บเกี่ยว
อยุธยาเริ่ม เมกะโปรเจกต์ทดลองทำนาเกลือสมุทรครั้งแรกในสมัยพระบรมไตรโลกนาถทันที
อยุธยาเริ่ม เมกะโปรเจกต์ทดลองทำนาเกลือสมุทรครั้งแรกในสมัยพระบรมไตรโลกนาถทันที
โปรเจกต์นี้ หลานของพระบรมไตรโลกนาถ นำไพร่พลไปทดลองทำนาเกลือสมุทรกันครั้งแรก ที่อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี ดังที่เอกสารตำนานเมืองนครศรีธรรมราชว่าไว้ว่า
“…พระพนมทะเลศรีมเหสวัสดิทราราชกษัตริย์พระบวรเชษฐา พระราชกุมารอันเป็นพระเจ้าหลาน และพระก็ลาพระปู่พระย่ามาตั้งที่เพชรบุรี ท่านเอาพลมา 33,000 ช้างพังพลาย 500 ม้า 700 พลอันตามท่านมาเองนั้น 5,400 ท่านตั้งรั้ววัง เรือนหลวงหน้าพระลาน เรือนชาวแม่พระสนม แล้วก็ให้ท่านทำนาเกลือ แลท่านก็เอามาถวายแก่พระเจ้าปู่พระเจ้าย่าๆ ท่านก็ชื่นชมนักหนาว่าพระเจ้าหลานเรารู้หลัก มีบุญญาอันประเสริฐทุกประการ…”
“…พระพนมทะเลศรีมเหสวัสดิทราราชกษัตริย์พระบวรเชษฐา พระราชกุมารอันเป็นพระเจ้าหลาน และพระก็ลาพระปู่พระย่ามาตั้งที่เพชรบุรี ท่านเอาพลมา 33,000 ช้างพังพลาย 500 ม้า 700 พลอันตามท่านมาเองนั้น 5,400 ท่านตั้งรั้ววัง เรือนหลวงหน้าพระลาน เรือนชาวแม่พระสนม แล้วก็ให้ท่านทำนาเกลือ แลท่านก็เอามาถวายแก่พระเจ้าปู่พระเจ้าย่าๆ ท่านก็ชื่นชมนักหนาว่าพระเจ้าหลานเรารู้หลัก มีบุญญาอันประเสริฐทุกประการ…”
เมื่อ... อยุธยาสามารถผลิตเกลือได้เอง ... ในปริมาณมหาศาล อยุธยาและหัวเมืองทางใต้ ก็ไม่จำเป็นต้องง้อล้านนาอีกต่อไป....
และแล้ว ภูมิภาคนี้ ก็ได้ผู้ผลิตเกลือรายใหม่ คือ เมืองเพชรบุรี ซึ่งเป็นหัวเมืองของอาณาจักรอยุธยา อาณาจักรที่กำลังจะเรืองอำนาจมากขึ้นเรื่อยๆ ในกาลต่อมาครับ
บทความ และภาพปก โดย : อโยธยามหรสพ
- ศุภกาณฑ์ นานรัมย์. (2564) ความเป็นพหุสังคมอยุธยากับวัฒนธรรมอาหารเพื่อการท่องเที่ยว ตามรอยเสด็จประพาสต้นพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.
- คมชัดลึก. (2565). ชม วิหารฉางเกลือ วัดโมลีโลกยารามราชวรวิหาร. https://www.komchadluek.net/kom-lifestyle/general-knowledge/526796
- ภาสพันธ์ ปานสีดา. (2563). “กองเกียกกาย”..หัวใจหลักแห่งปากท้องกองทัพ. https://www.siambusinessnews.com/25600
- เพ็ญสุภา สุขคตะ. (2561). “ล้านนาศึกษา” ใน “ไทศึกษา” ครั้งที่ 13 (23) เกลือเมืองน่าน : ยุทธศาสตร์ร้อนแรงแห่งสมรภูมิเลือด ล้านนา-อยุธยา. https://www.matichonweekly.com/column/article_89976
- กฤช เหลือลมัย. (2561). เกลือสินเธาว์โบราณ ที่ “บ่อกระถิน” แหล่งทำเกลือสินเธาว์แบบพื้นบ้านสืบเนื่องยาวนานมาจนถึงปัจจุบัน. https://www.technologychaoban.com/folkways/article_52897
- ประทีป ชุมพล. (2542). ความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรม เน้นเฉพาะเรื่องการทำนาเกลือสมุทรระหว่างเมืองเพชรบุรี-เมืองนครศรีธรรมราช (พุทธศตวรรษที่ 19-22) : การตีความในเอกสารท้องถิ่น. https://dric.nrct.go.th/index.php?/Search/SearchDetail/149265