การตั้งชื่อชุมชน และชื่อเมือง จะมีความหมายที่บ่งบอกถึงลักษณะพื้นที่ เช่น ถ้ามีคำว่า โนน, เนิน หรือ โคก นำหน้า จะหมายถึงพื้นที่แห่งนี้ เป็นที่ดอน เป็นเนินเขาเตี้ย ๆ น้ำไม่ท่วมถึง โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคอีสาน เป็นต้น อีกตัวอย่างหนึ่ง คือ ภาคเหนือจะเรียกว่า ดอย, ม่อน ส่วนคำหน้าชุมชนและเมือง ที่มีความหมายเกี่ยวกับน้ำ ในภาคกลางจะมีคำว่า กรุง, บาง, มาบ, คลอง, วัง, หนอง, บึง, ห้วย เป็นต้น
สัญลักษณ์ทางความเชื่อ ที่เกี่ยวพันกับน้ำ ที่มักเห็นกันอยู่เสมอ ได้แก่ รูปพญานาค , หอยสังข์ และ ปลาตะเพียน เป็นต้น
(ภาพปลาตะเพียนสาน จาก sacit : https://www.sacit.or.th/th )
เรียบเรียงโดย : สถาบันไทยศึกษา จุฬาฯ Institute Of Thai Studies, Chulalongkorn university
สัญลักษณ์ทางความเชื่อ ที่เกี่ยวพันกับน้ำ ที่มักเห็นกันอยู่เสมอ ได้แก่ รูปพญานาค , หอยสังข์ และ ปลาตะเพียน เป็นต้น
- พญานาค
คนไทยเชื่อมโยงพญานาคเข้ากับธาตุน้ำ มากำหนดปริมาณของน้ำในแต่ละปี ที่เรียกว่า นาคให้น้ำ คนไทย จึงนับถือพญานาคมาก พญานาคจึงปรากฏในงานศิลปกรรมต่าง ๆ รวมทั้งข้าวของเครื่องใช้ ของตกแต่งมากมาย เพราะเชื่อว่า พญานาคเป็นสัญลักษณ์ของความร่มเย็น ความดีงาม และความอุดมสมบูรณ์
- หอยสังข์
ส่วนหอยสังข์นั้น คนไทยนำคติความเชื่อมาจากศาสนาฮินดู หอยสังข์ ถือว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ จึงนำหอยสังข์ มาใช้เป็นอุปกรณ์สำหรับประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ เช่น นำมาบรรจุ รสสุคนธ์ ใช้รินสรงพระแก้วมรกต ใช้หลั่งน้ำพระพุทธมนต์ ในพระราชพิธีต่าง ๆ เรียกว่า "น้ำมหาสังข์" หรือนำมาเป็นเครื่องเป่า ในพิธีทางพราหมณ์ แม้แต่การวางผังเมืองในอดีต ก็ยังใช้รูปลักษณะของผังเมืองเป็นรูปหอยสังข์ เช่น เมืองลำพูน เมืองแพร่ เขลางนคร เป็นต้น
- ปลาตะเพียน
นอกจากนี้ สัญลักษณ์เกี่ยวกับน้ำ ยังพบในงานศิลปะพื้นบ้านในรูปของ ปลาตะเพียนสาน ที่สะท้อนให้เห็นความผูกพันการดำรงชีวิตของไทยกับน้ำ ปลาตะเพียนสานเป็นเครื่องประดับตกแต่ง เครื่องแขวน ตลอดจนเป็นเครื่องเล่นของเด็ก ปลาตะเพียนสาน ยังเป็นสัญญลักษณ์แห่ง ความอุดม สมบูรณ์ นอกจากนี้ผู้ใหญ่มักจะแขวน ปลาตะเพียนสาน ไว้เหนือเปลเด็ก เพื่อเป็นการอวยพร ให้เด็กสุขภาพแข็งแรงอีกด้วย
(อ้างอิงจาก หนังสือ น้ำกับชีวิตไทย สำนักนายกรัฐมนตรี 2532)
(ภาพปลาตะเพียนสาน จาก sacit : https://www.sacit.or.th/th )
Cultures of Fermented
by Scoby Doit
Tweet