ค้นหาบทความ 🙄






6/23/66

ฉื่อปา (尺八) แปลว่า ฟุตแปด | Shakuhachi ขลุ่ยไม้ไผ่ ญี่ปุ่น

จาก "ฉื่อปา" ถึง "นารูโตะ" ขลุ่ยไม้ไผ่ ที่เห็นนี้ เป็นเครื่องดนตรีญี่ปุ่นที่ชื่อ Shakuhachi ... อันที่จริงขลุ่ยชนิดนี้ ญี่ปุ่นรับมาจากจีน ซึ่งที่จีนจะเรียกขลุ่ยชนิดนี้ว่า "ฉื่อปา" (尺八) แปลว่า "ฟุตแปด" ซึ่งแน่นอนหมายถึงฟุตจีน ...  |  โดย Ong China


Shakuhachi


จุดกำเนิด ฉื่อปา (尺八) 

      เริ่มในสมัยฮั่น ตะวันออก ก่อนโจโฉ เล่าปี่ ซุนกวน ออกมาโลดแล่นในหน้าประวัติศาสตร์หนึ่งสมัย

บ้างก็ว่า  ฉื่อปา อาจจะมีต้นกำเนิดจาก อิยิปต์ ซึ่งเชื่อว่าคงเป็นคอนเซ็ปท์การออกแบบ เครื่องดนตรีชนิดนี้ เพราะดูเหมือนวัตถุดิบที่ใช้ผลิตฉื่อปา จะเป็นต้นไผ่ ซึ่งน่าจะใช้กันที่จีนและญี่ปุ่นเป็นหลัก

ฉื่อปามาเฟื่องฟูเอาเมื่อ ยุคถังยุคซ่ง  คือ ช่วงราชวงศ์ที่มีบู๊เช็กเทียน หยางกุ้ยเฟย จนถึงงักฮุย เปาบุ้นจิ้น อึ้งย้ง ก๊วยเจ๋ง แน่นอนว่าสองคนหลังไม่ได้มีตัวตนจริง เป็นแค่ตัวละครในนิยายอิงยุคสมัย

แต่จุดที่ความนิยมในฉื่อปา สูงสุด คือยุคถัง ศักราชเจิ้นกวนแห่งฮ่องเต้ถังไท่จง พระองค์ปฏิรูประบบดนตรีในวัง จัดระเบียบชุดขลุ่ยซึ่งมีทั้งหมด 12 ชนิด ชนิดที่สั้นที่สุดมีขนาดหนึ่งฟุตแปดนิ้วจีน นี่จึงเป็นที่มาของชื่อ "ฉื่อปา" "ฟุตแปด"

ฉื่อปากลายเป็นเครื่องดนตรีเลิศหรูใช้กับดนตรีพระราชวัง

ชาวถังชื่นชอบขลุ่ยชนิดนี้ไม่น้อย พอถึงยุคซ่ง ขลุ่ยจีนที่ถูกพัฒนาขึ้นได้รับความนิยมสูงกว่า พอทายาทเจงกิสข่านรุกรานมา ซ่งล่มสลาย ฉื่อปาก็หายไปจากจีนเช่นกัน ...

แต่ฉื่อปา ถูกสืบสานอยู่ในญี่ปุ่น... ตั้งแต่ยุคซ่งใต้ ภิกษุญี่ปุ่นรูปหนึ่งได้เรียนการเป่าขลุ่ยชนิดนี้ที่วัดนิกายเซ็นที่ชื่อ ฮู่กั๋วเหญินหวาง (护国仁王禅寺) แห่งเมืองหังโจว แล้วนำเข้าไปเผยแพร่ในญี่ปุ่น ต่อมาจึงฝังรากแน่นหนา

หังโจว ในวันนี้
ไร้ซึ่ง วัดฮู่กั๋วเหญินหวางแล้ว แต่ยังมีอนุสรณ์สถานของวัดตั้งไว้ ทำเป็นรูปขลุ่ยปักทะลุลงหิน ผู้ศึกษาวิธีการเป่า ฉื่อปา ที่ญี่ปุ่น เรียกสถานที่ตรงนี้ว่า "ศาลาบรรพบุรุษแห่งฉื่อปา"

      ฉื่อปา อยู่ในสถานะของดนตรีในวัง เป่ายาก ในบรรดาผู้เรียนการเป่าฉื่อปา มีจำนวนน้อยนัก ที่ได้ชื่อว่า เป็นนักเป่าตัวยง ซึ่งก็เป็นธรรมชาติของเครื่องใช้เครื่องดนตรี ที่ทรงสถานะสูงส่งมักมีความยาก และแพร่หลายได้น้อยกว่าที่เล่นง่าย ฟังง่าย

ญี่ปุ่นในอดีต เห็นขลุ่นฉื่อปา เป็นเครื่องดนตรีที่ใช้กันในวงพระสงฆ์นิกายเซน 

     ถือเป็นเครื่องดนตรีศักดิ์สิทธิ์ โดยเห็นการฝึกเป่าฉื่อปาคือการฝึกลมหายใจเข้าออก เทียบเท่าการฝึกสมาธิ


เมื่อถึงยุคญี่ปุ่นปฏิรูป


   ฉื่อปา ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง ทั้งที่รูปร่างหน้าตาของขลุ่ยฉื่อปา แทบไม่แตกต่างจากที่ได้เรียนรู้จากต้นทางเลย แต่กลับถูกเล่นกันอย่างหลากหลาย  ในปัจจุบันถูกใช้ประกอบเพลงสมัยใหม่ เช่นเรื่อง The Last Samurai, Memoirs of a Geisha
ไม่เว้นแม้กระทั่งเอามาประกอบดนตรีร็อคในเพลงหลักของการ์ตูนดังเรื่องนารูโตะ
ทุกวันนี้หากใครหาเพลงการ์ตูนนารูโตะในยูทูป  ก็จะพบกับคลิป Cover เพลง โดยใช้ฉื่อปา บ้างก็โดยคนญี่ปุ่น บ้างก็โดยฝรั่ง แต่ถ้าเป็นชาวไทยจะใช้ขลุ่ยจีนแทน

แน่นอนว่าหากฟังให้ดี จะมีลักษณะเสียงบางอย่างที่ ฉื่อปาเท่านั้นที่ทำได้ แต่ขลุ่ยจีนทำไม่ได้ เช่นเสียงแหบกระพือที่คนชอบดูหนังยุคนี้ฟังแล้วก็จะรู้สึกทันที ว่ามันมีความเป็นญี่ปุ่นชัดเจน

ฉื่อปายังคงเป่ายาก ผู้เล่นเก่งๆ มีไม่มาก

ซาโต้ ยะซึโอะ นักดนตรีที่ถูกเชิญให้มาเป่าฉื่อปาในเพลงของการ์ตูนเรื่องนารูโตะ เรียนฉื่อปาตั้งแต่ยังเด็ก แต่ออกเวทีได้ก็เมื่ออายุ 18 และชีวิตนี้ก็มีไว้เพื่อเล่าเรียนและสานต่อการเป่าฉื่อปาตลอดมาและตลอดไป

เพลงประกอบของ นารูโตะ


ปัจจุบันในจีนแผ่นดินใหญ่ ความนิยมในฉื่อปาค่อยๆ มากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในกลุ่มคนรุ่นใหม่ ซึ่งบอกได้ว่า ที่ฉื่อปายังไม่หายไป ส่วนหลักก็เพราะทางญี่ปุ่นได้รักษาไว้ แต่ไม่อนุรักษ์ตายตัว และยอมรับการนำมาผสมผสานกับเครื่องดนตรียุคใหม่ จนกลายเป็นเอกลักษณ์และความลงตัว

นี่ก็คือฉื่อปา (ซากุฮาชิ) หรือฟุตแปด เครื่องดนตรีที่มีเรื่องราวยาวนาน


ลองหาฟังเสียงกันดูนะครับ



บทความโดย :   Ong China


ขลุ่ยญี่ปุ่น Shakuhachi 

✔️
ทําจากไม้ไผ่ชาวอินโดนีเซีย








 


Admin Bee

สนับสนุน Misc.Today

นี่คือ ลิ้งค์พันธมิตร หรือที่เรียกว่า affiliate link ซึ่งหมายความว่า... หากคุณคลิ๊กลิ้งค์นี้ และซื้อผลิตภัณฑ์ อะไรก็ได้ ฉันจะได้ค่าคอมมิชชั่นเล็กน้อย สิ่งนี้จะช่วยสนับสนุนเว็บไซด์ และช่วยให้กำลังใจเราต่อไป


  ชาหมักคอมบูชะ Scoby doit  


 






 

คุณอาจสนใจ

5 บทความ ยอดนิยม ในรอบ 30 วัน

🟡 โพสต์แนะนำ

คริสเตียนไซออนนิสท์ คือใคร ? - Christian Zionist

ช่วงนี้ ผมติดตามหาข้อมูลเกี่ยวกับ อิสราเอล กับ ปาเลสไตน์ ครับ ส่วนใหญ่จะเป็นแนวประวัติศาสตร์เสียมาก เพราะผมมีความเชื่อส่วนตัวว่า การที่เราจะ...

Popular Posts

แนะนำหนังสือ


  BOOKs OF THE DAY








ผู้สนับสนุน







Xiaomi Kingsmith Walking Pad

 Xiaomi Kingsmith Walking Pad R1 Pro/ R2 ลู่เดิน/วิ่งไฟฟ้า พับเก็บได้ สำหรับการออกกำลังกายภายในบ้าน >> คลิ๊กดูเพิ่มอีก


ป้ายกำกับ / Tag labels

2475 (1) กฎหมาย (4) กฐิน (2) กรรม (5) กระเป๋า (3) กรุงเทพฯ (19) กรุงศรีอยุธยา (11) กล้องถ่ายภาพ (7) กลอน (4) กลาโหม (9) การเกษตร (7) การจัดเก็บ (3) การปกครอง (1) การเมือง (53) การศึกษา (131) กิจกรรมกลางแจ้ง (2) กีฬา (3) เกษตร (3) เกี่ยวกับสัตว์ (14) ไกลกังวล (1) ขงจื้อ (1) ขนม (2) ขอมไม่ใช่เขมร (6) ข้าว (3) ข่าวสาร (22) ขิง (1) เขมร (10) โขน (2) คณะราษฎร (10) คติธรรม (1) คนเล่านิทาน (15) ครัว (1) ครู (6) ความเชื่อ (12) ความรู้ (155) คอมมิวนิสต์ (33) คำภีร์ (2) คำสอน (11) เครื่องบิน (7) เงินตรา (4) จอมพล ป. พิบูล (1) จอมพล ป. พิบูลสงคราม (13) จีน (53) ช้าง (1) ชายแดนใต้ (5) ญี่ปุ่น (15) ดนตรีไทย (1) ดอกไม้ (1) เด็ก (5) เดนมาร์ก (1) ต้นไม้ (4) ตลาดนัด (1) ตำรวจ (2) เตา (1) เตือนภัย (16) แต่งงาน (1) ทรัพยากร (2) ทวิตเตอร์ (1) ทหาร (9) ท่องเที่ยว (28) ทะเล (3) ทัศนะ (49) ทำบุญ (5) ทำอาหาร (5) เทคโนโลยี (13) โทรศัพท์มือถือ (2) ธนบัตร (1) ธนาคาร (4) ธรณี (1) ธรรมชาติ (10) ธรรมในคำกลอน (1) ธรรมะ (6) ธรรมาธิปไตย (2) ธุรกิจ (10) นราธิวาส (3) นวดไทย (1) นักบิน (1) นักเรียน (4) นางใน (1) นาซี (1) นายกรัฐมนตรี (3) น้ำมัน (1) นิทานพื้นบ้าน (1) นิยาย (3) นิวเคลียร์ (1) เนปาล (1) แนะนำสินค้า (38) โนรา (1) ในหลวง ร.10 (1) ในหลวงรัชกาลที่ 9 (15) บริการ (3) บริหาร (3) บ่อน (1) บัตรเครดิต (2) บัตรประชาชน (1) บุคคล (42) บุญ (3) บุหรี่ (1) เบตง (1) แบรนด์ไทย (5) โบราณวัตถุ (13) โบราณสถาน (6) โบสถ์ (2) ประชาธิปไตย (54) ประท้วง (7) ประเทศไทย (176) ประธานาธิบดี (1) ประวัติศาสตร์ (148) ปรัชญาชีวิต (21) ปรีดี (2) ปลูกต้นไม้ (3) ปูติน (1) ผลไม้ (2) ผลิต (3) ผัก (1) ผิวสี (1) แผ่นดินไหว (1) ฝรั่งเศส (6) พม่า (6) พยาบาล (1) พระเจ้าตากสินมหาราช (2) พระนเรศ (1) พระพุฒาจารย์ (1) พระพุทธเจ้า (1) พระราชกรณียกิจ (4) พระสงฆ์ (10) พราหมณ์ (1) พิบูลสวัสดี (1) พิพิธภัณฑ์ (9) พุทธทาส (1) พุทธศาสนา (11) เพชรบุรี (3) เพลง (8) เพลงผ้า ปรพากย์ (1) แพทย์ (4) ฟาโรห์ (1) ไฟ (4) ไฟฉาย (1) ไฟฟ้า (1) ภัยพิบัติ (1) ภาคใต้ (6) ภาคอีสาน (1) ภาษา (9) ภาษิต (1) ภูเขาไฟ (1) ภูมิปัญญา (19) ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ (1) มวยไทย (5) มาเลเซีย (1) มุมไบ (2) มุสลิม (2) แม่ (1) ไม้ไผ่ (1) ยา (1) ยิว (3) ยูนนาน (1) เยาวชน (1) เยาวราช (1) รถเมล์ (3) รองเท้า (2) ระเบิด (3) รัชกาลที่ ๒ (1) รัชกาลที่ ๔ (3) รัชกาลที่ ๕ (7) รัชกาลที่ ๖ (1) รัชกาลที่7 (8) รัชกาลที่ ๘ (5) รัฐประหาร (7) รัสเซีย (12) ราชาศัพท์ (1) รามเกียรติ์ (1) เรือ (2) เรื่องเก่า (80) เรื่องเล่า (23) โรค (5) โรคระบาด (4) โรงงาน (1) โรงพยาบาล (10) โรงเรียน (16) โรฮิงญา (1) ลอนดอน (1) ลัทธิ (2) ลัทธิมาร์กซ์ (3) ล้านนา (3) ลาว (4) ลิง (1) เลือกตั้ง (9) โลก (5) โลกร้อน (3) วัฒนธรรม (2) วัด (14) วันแม่ (1) วันสำคัญ (5) วิทยาศาสตร์ (9) วิทยุ (2) วิหาร (4) เวียดนาม (4) ไวรัล (1) ศัพท์ (1) ศาสนา (36) ศิริราช (5) ศิลปะ (5) ศิลปาชีพ (1) เศรษฐกิจ (3) สงขลา (1) สงคราม (50) สถานีรถไฟ (1) สนามบิน (2) สเปน (1) สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร (2) สมัยเมจิ (1) สยาม (12) สวนสนุก (1) สวิตเซอร์แลนด์ (2) สังคม (37) สำนวน (8) สิ่งประดิษฐ์ (13) สื่อ (3) สุขภาพ (14) สุภาพจิต (6) สุสาน (1) หนังแท้ (4) หนังสือ (31) หนังสือพิมพ์ (1) หนู (1) ห้องเรียน (4) เหมาเจ๋อตง (2) เหรียญ (1) อเมริกา (37) ออสเตรีย (1) อังกฤษ (6) อาชีพ (1) อาหาร (16) อาหารจานโปรด (9) อิตาลี (3) อินเดีย (8) อิสราเอล (3) อียิปต์ (1) อีสาน (1) แอปพลิเคชัน (4) ไอร์แลนด์ (1) cpr (1) deep state (1) democracy (1) Diarymisc (3) facebook (1) handmade (1) leather (1) metaverse (1) nomad (6) Nuclear (1) OPENUP (1) powerbank (1) shopee (1) Social media (2) social views (114) startup (1) UNESCO (4) xiaomi (1)


Miscellaneous | Misc.Today 🌱 . ขับเคลื่อนโดย Blogger.

 
miscthailand