รู้ไหมครับ มีเกาะเล็กๆแห่งหนึ่งในประเทศไทยที่มีขนาดพื้นที่ไม่ถึง 100 ตารางเมตร เกาะแห่งนี้ไม่มีคนอาศัยอยู่ , ไม่มีต้นไม้ ไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกใดๆ เป็นเกาะที่ตั้งโดดๆ มีเพียงประภาคาร ตั้งโดดเด่นเป็นจุดสังเกตแก่นักเดินเรือเท่านั้น
" เกาะแห่งนี้ไม่มีคนอาศัยอยู่ , ไม่มีต้นไม้ ไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกใดๆ เป็นเกาะที่ตั้งโดดๆ มีเพียงประภาคาร ตั้งโดดเด่นเป็นจุดสังเกตแก่นักเดินเรือเท่านั้น ..."
แต่ เกาะแห่งนี้สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจจำนวนมหาศาลแก่บ้านเราครับ !!! แน่นอนว่า เกาะแห่งไม่ใช่ เกาะชนิดที่พวกเราคุ้นเคยกันอย่างเช่น เกาะภูเก็ต , เกาะสมุย หรือ เกาะช้าง แน่ๆครับ
เกาะแห่งนี้ อาจจะเป็นที่รู้จักกันในวงการนักดำน้ำมานาน ในเรื่องของแหล่งประการังน้ำลึกที่ยังคงความสวยงามอยู่ แต่คนนอกวงการอาจจะไม่เคยได้ยินชื่อด้วยครับ
เกาะแห่งนี้ อยู่ห่างออกจากชายฝั่งจังหวัดนราธิวาสออกไปทางทิศตะวันออกเป็นระยะทางประมาณ 100 กิโลเมตร
เกาะแห่งนี้ มีชื่อเรียกว่า เกาะโลซิน (Losin)
มาทำความรู้จักเกาะแห่งนี้กันครับ
เรื่องราวของเกาะโลซิน อยู่ในความเงียบงันมาเป็นเวลานาน .... นับตั้งแต่มีการก่อร่างสร้างตัวของประเทศไทย เนื่องด้วยพื้นที่อาณาเขตทางทะเลที่แต่ละประเทศยังไม่ได้ให้ความสนใจกันมากนัก จะมีก็เพียง "เส้นสมมติ" ที่ลากกันตามทฤษฎีออกจากชายฝั่ง ... แต่นั่นก็เป็นเรื่องของแผนที่ เพราะชีวิตจริง เกาะโลซินเล็กเกินกว่าที่จะมีคนให้ความสำคัญไปอ้างสิทธิ์ ...
คนไทย เราไปสร้าง ประภาคารเหนือกองหินโลซินที่มีขนาดพื้นที่เพียงกว่า 100 ตารางเมตรนี้ไว้ เพื่อ ใช้ไว้ส่องไฟนำทางให้กับเรือทะเลยามค่ำคืน ให้ระมัดระวัง หรือเป็นป้ายบอกทางให้แก่ชาวประมงท้องถิ่น
แต่หลังจาก พ.ศ. 2515 เป็นต้นมาเรื่องราวของเกาะโลซิน
ก็ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป
เนื่องจาก ความต้องการใช้พลังงานของประเทศไทยสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว การมองหาแหล่งพลังงานใหม่ๆ เป็นเรื่องสำคัญในช่วงนั้น ซึ่งช่วงก่อนหน้านี้มนุษย์เรายังสนใจเรื่องราวการใช้พลังงานจากน้ำมันดิบกันเป็นส่วนใหญ่ จนกระทั่งเราเริ่มรู้จักสิ่งที่อยู่ใต้ทะเลที่กำลังจะกลายมาเป็นอีกหนึ่งแหล่งพลังงานสำคัญ นั่นคือ ก๊าซธรรมชาติ นั่นเองครับ
แต่เนื่องจากอ่าวไทยนั้น เป็นทะเลเปิดที่มีพื้นที่ติดต่อกับอาณาเขตทางทะเลของประเทศมาเลเซีย และเราพบว่ามีแหล่งก๊าซธรรมชาติจำนวนมหาศาลแห่งหนึ่งนั้นตั้งอยู่บนพื้นที่รอยต่อของ 2 ประเทศ
พอดี ในช่วงปี พ.ศ. 2515 จึงได้เริ่มมีการเจรจาระหว่างรัฐบาลไทย และมาเลเซีย ในเรื่องของการปักปันแนวอาณาเขตโดยใช้แนวเขตไหล่ทวีป ...
กล่าวคือ ... การลากเส้นตั้งฉากจากปากแม่น้ำโกลก ที่จังหวัดนราธิวาส แล้วไล่ไปตามแนวโค้งของแผ่นดิน ผลการของใช้วิธีการแนวเขตไหล่ทวีป จะทำให้พื้นที่แหล่งก๊าซดังกล่าวกลายเป็นอยู่ในอาณาเขตของประเทศมาเลเซียทั้งหมด เนื่องด้วยความได้เปรียบทางภูมิศาสตร์ของพื้นที่ทะเล
กล่าวคือ ... การลากเส้นตั้งฉากจากปากแม่น้ำโกลก ที่จังหวัดนราธิวาส แล้วไล่ไปตามแนวโค้งของแผ่นดิน ผลการของใช้วิธีการแนวเขตไหล่ทวีป จะทำให้พื้นที่แหล่งก๊าซดังกล่าวกลายเป็นอยู่ในอาณาเขตของประเทศมาเลเซียทั้งหมด เนื่องด้วยความได้เปรียบทางภูมิศาสตร์ของพื้นที่ทะเล
เกาะโลซิน ทำให้บทสรุปของเรื่องนี้เปลี่ยนไป
ตาม...
“อนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ.1958”
(1958 Geneva Conventions on the Law of the Sea)
ได้มีคำจำกัดความของคำว่า "เกาะ" เอาไว้ว่า
เกาะ หมายถึง แผ่นดินที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ และมีน้ำล้อมรอบ และแผ่นดินยังคงอยู่เหนือน้ำในขณะที่น้ำขึ้นสูง (A naturally-formed area of land, surrounded by waters, which is above water at high tide)ซึ่งนั่นหมายความว่า โลซิน ไม่ใช่เป็นเพียงกองหินธรรมดา แต่ โลซิน ได้รับการยกฐานะเป็นดินแดนอาณาเขตของประเทศไทยไป และผลต่อเนื่องก็คือ การประกาศเขตเศรษฐกิจจำเพาะประเทศไทยจะได้เพิ่มพื้นที่ชายฝั่งออกไปได้อีก 200 ไมล์ทะเล
เกาะโลซิน ที่ตั้งอยู่นอนชายฝั่งจังหวัดนราธิวาสจึงทำหน้าที่เป็นตัวขยายเขตแดนทางทะเลของเราออกมาโดยปริยาย
แหล่งก๊าซธรรมชาติขนาดใหญ่ ที่เราพูดถึงในตอนต้น ก็อยู่ในพื้นที่ 200 ไมล์ทะเลที่ว่าไว้นั่นเองครับ
ผลของการใช้เกาะโลซินเป็นอาณาเขต ทำให้ทั้งไทยและมาเลเซียหันหน้าเข้าโต๊ะเจรจา มาตกลงตัดสินใจนำพื้นที่ทับซ้อนแห่งนี้มาพัฒนาร่วมกันภายในพื้นที่ขนาด 7,250 ตารางกิโลเมตรแห่งนี้นั่นเอง
และนี่ก็คือเรื่องราวของ กองหินโลซิน โลกใต้ทะเลของนักดำน้ำ หรือ เกาะโลซิน จุดขยายอาณาเขตเส้นเขตแดนทางทะเลของประเทศไทย
ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม
รู้จักเกาะโลซิน โดย กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมDepartment of Marine and Coastal Resources >> https://projects.dmcr.go.th/miniprojects/173/description/48924
ขอบคุณรูปภาพ ประกอบบทความ
Tweet
- ส่วนหนึ่งของรูปภาพปกบทความ https://www.instagram.com/lightculture/