วันอัฐมีบูชา เป็นวันถวายพระเพลิง พระพุทธสรีระของพระพุทธเจ้า หลังจากเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานได้ ๘ วัน คือหลังจากวันวิสาขบูชาแล้ว ๘ วัน ...
กล่าวคือ หลังจากพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานใต้ต้นสาละ ในราตรี ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ แล้ว พวกเจ้ามัลลกษัตริย์ ก็จัดพิธีบูชาด้วยของหอม ดอกไม้ และเครื่องดนตรีทุกชนิด ที่มีอยู่ในเมืองกุสินาราตลอด ๗ วัน และให้เจ้ามัลละระดับหัวหน้า ๘ คน สรงเกล้า นุ่งห่มผ้าใหม่ อัญเชิญพระสรีระไปทางทิศตะวันออก ของพระนคร เพื่อถวายพระเพลิง
จากนั้น ก็ให้พวกเจ้ามัลละระดับหัวหน้า ๔ คน พยายามจุดไฟที่เชิงตะกอน แต่ก็ไม่อาจให้ไฟติดได้ ทั้งที่ได้ทำตามคำของพระอานนท์เถระ ที่ให้ห่อพระสรีระ "พระพุทธเจ้า" ด้วยผ้าใหม่แล้วซับด้วยสำลี แล้วใช้ผ้าใหม่ห่อทับอีก ทำเช่นนี้จนหมดผ้า ๕๐๐ คู่ แล้วเชิญลงในรางเหล็กที่เติมด้วยน้ำมัน แล้วทำจิตกาธานด้วยดอกไม้จันทน์ และของหอมทุกชนิด
ในการนี้ พระอนุรุทธะ จึงแจ้งว่า
“... เพราะเทวดา มีความประสงค์ให้รอพระมหากัสสปะ และภิกษุหมู่ใหญ่ ๕๐๐ รูป ผู้กำลังเดินทางมาเพื่อถวายบังคมพระบาทเสียก่อน ไฟก็จะลุกไหม้”ทั้งนี้ เนื่องจาก เทวดาเหล่านั้น เคยเป็น โยมอุปัฏฐากของพระเถระ และพระสาวกผู้ใหญ่มาก่อน จึงไม่ยินดีที่ไม่เห็นพระมหากัสสปะอยู่ในพิธี และเมื่อภิกษุหมู่ ๕๐๐ รูป โดยมีพระมหากัสสปะเป็นประธานเดินทางมาพร้อมกัน ณ ที่ถวายพระเพลิงแล้ว ไฟจึงลุกโชนขึ้นเองโดยไม่ต้องมีใครจุด
หลังจากที่พระเพลิงเผาซึ่งเผาไหม้พระพุทธสรีระดับมอดลงแล้ว บรรดากษัตริย์มัลละทั้งหลายจึงได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุทั้งหมด ใส่ลงในหีบทองแล้วนำไปรักษาไว้ภายในนครกุสินารา ส่วนเครื่องบริขารต่างๆ ของพระพุทธเจ้าได้มีการอัญเชิญไปประดิษฐานตามที่ต่างๆ
และเมื่อบรรดากษัตริย์จากแคว้นต่างๆ ได้ทราบว่า "พระพุทธเจ้า" ได้เสด็จดับขันธปรินิพพานที่กรุงกุสินารา จึงได้ส่งตัวแทนไปขอแบ่งพระบรมสารีริกธาตุ เพื่อนำกลับมาสักการะยังแคว้นของตน แต่ก็ถูกกษัตริย์มัลละปฏิเสธ จึงทำให้ทั้งสองฝ่ายขัดแย้งและเตรียมทำสงครามกัน
แต่ในสุด โทณพราหมณ์ ได้เข้ามาเป็นตัวกลางเจรจาไกล่เกลี่ย เพื่อยุติความขัดแย้งโดยเสนอให้แบ่งพระบรมสารีริกธาตุออกเป็น ๘ ส่วนเท่าๆ กัน ซึ่งกษัตริย์แต่ละเมืองทรงสร้างเจดีย์ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ตามเมืองต่างๆ ดังนี้
แต่ในสุด โทณพราหมณ์ ได้เข้ามาเป็นตัวกลางเจรจาไกล่เกลี่ย เพื่อยุติความขัดแย้งโดยเสนอให้แบ่งพระบรมสารีริกธาตุออกเป็น ๘ ส่วนเท่าๆ กัน ซึ่งกษัตริย์แต่ละเมืองทรงสร้างเจดีย์ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ตามเมืองต่างๆ ดังนี้
- "กษัตริย์ลิจฉวี ทรงสร้างเจดีย์บรรจุไว้ที่ เมืองเวสาลี
- กษัตริย์ศากยะ ทรงสร้างเจดีย์บรรจุไว้ที่ เมืองกบิลพัสดุ์
- กษัตริย์ถูลิยะ ทรงสร้างเจดีย์บรรจุไว้ที่ เมืองอัลลกัปปะ
- กษัตริย์โกลิยะ ทรงสร้างเจดีย์บรรจุไว้ที่ เมืองรามคาม
- มหาพราหมณ์ สร้างเจดีย์บรรจุไว้ที่ เมืองเวฏฐทีปกะ
- กษัตริย์มัลละแห่งเมืองปาวา ทรงสร้างเจดีย์บรรจุไว้ที่ เมืองปาวา
- พระเจ้าอชาตศัตรู ทรงสร้างเจดีย์บรรจุไว้ที่ เมืองราชคฤห์
- มัลลกษัตริย์แห่งกุสินารา ทรงสร้างเจดีย์บรรจุไว้ที่ เมืองกุสินารา
- กษัตริย์เมืองโมริยะ ทรงสร้างสถูปบรรจุพระอังคาร (อังคารสถูป) ที่ เมืองปิปผลิวัน
- โทณพราหมณ์ สร้างสถูปบรรจุทะนานตวงพระบรมสารีริกธาตุ ที่ เมืองกุสินารา"
ทำให้ต่อมา เมืองกุสินารา กลายเป็นเมืองสำคัญ
เป็นศูนย์กลางแห่งการสักการะบูชาของ พุทธศาสนิกชน เหล่ามัลลกษัตริย์ได้สร้างเจดีย์และวิหารเป็นจำนวนมากไว้รอบๆสถูปใหญ่ คือ มหาปรินิพานสถูป อันเป็นสถานที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า และมหาสถูปนี้แห่งได้กลายเป็นศูนย์กลางของปูชนียสถานอื่นๆ ที่สร้างขึ้นมาภายหลังในบริเวณนั้นอีกด้วย
พุทธศาสนิกชนทุกหมู่เหล่า ควรได้ตระหนักว่า ชีวิตคืออะไร และเข้าใจว่า ธรรมชาติของมนุษย์นั้นเป็นของไม่เที่ยง การเกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นเรื่องธรรมดาของมนุษย์ทุกคน ไม่มีใครหนีพ้น จะได้ไม่เกิดการยึดมั่นถือมั่น ความจริงเหล่านี้เป็นธรรมดาของมนุษย์ ที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบและทรงเน้นเป็นหลักธรรมในพระพุทธศาสนา
หลักธรรมที่เกี่ยวเนื่องและควรศึกษามีมากมาย เช่น ขันธ์ 5 กฎไตรลักษณ์ และหลักธรรมเรื่องความไม่ประมาท
.. ไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
แสดงลักษณะของสังขารทั้งปวงในภาวะความเป็นไปตามกฎธรรมชาติดังต่อไปนี้
1. อนิจจตา คือ ความไม่เที่ยง ไม่คงที่ ไม่ถาวร ไม่แน่นอน
ภาวะที่เกิดขึ้นแล้วเสื่อมสลายไป เกิดดับ มีแล้วไม่มี เป็นของแปรปรวนเปลี่ยนแปลง แปรสภาพไปเรื่อย อยู่ได้ชั่วขณะเป็นครั้งคราว เป็นอนิจจัง
ดังนั้น เราจึงควรมองเห็นความเสื่อมตามความเป็นจริงอย่างรู้เท่าทัน เมื่อสูญเสียตามสภาพ ความเศร้าโศกทุกข์ร้อนย่อมไม่เพิ่มพูน เป็นเครื่องเตือนสติตนเมื่อประสบภัยพิบัติในชีวิต ที่ช่วยบรรเทาหรือกำจัดทุกข์โศกได้
ภาวะที่เกิดขึ้นแล้วเสื่อมสลายไป เกิดดับ มีแล้วไม่มี เป็นของแปรปรวนเปลี่ยนแปลง แปรสภาพไปเรื่อย อยู่ได้ชั่วขณะเป็นครั้งคราว เป็นอนิจจัง
ดังนั้น เราจึงควรมองเห็นความเสื่อมตามความเป็นจริงอย่างรู้เท่าทัน เมื่อสูญเสียตามสภาพ ความเศร้าโศกทุกข์ร้อนย่อมไม่เพิ่มพูน เป็นเครื่องเตือนสติตนเมื่อประสบภัยพิบัติในชีวิต ที่ช่วยบรรเทาหรือกำจัดทุกข์โศกได้
2. ทุกขตา คือ ความเป็นทุกข์จากสภาพที่อยู่ในสภาวะเดิมไม่ได้ ภาวะที่ถูกบังคับด้วยการเกิดขึ้นแล้วสลายไปเพราะปัจจัยที่ปรุงแต่งเปลี่ยนแปลงไป บังคับให้คงอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ เป็นเพราะมีตัณหาอุปาทาน
3. อนัตตตา คือ ความไม่มีตัวตน ไม่ใช่ตัวตนแท้จริง ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชา ไม่มีใครเป็นเจ้าของ เป็นไปตามเหตุปัจจัยโดยธรรมชาติ ขันธ์ 5 ทั้งหลายล้วนเป็น อนัตตา
กฎของไตรลักษณ์เป็นหลักเพื่อให้เรามองเห็นของความจริงของชีวิตโดยใช้ปัญญาพิจารณาไตร่ตรองดูสภาวะที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริงอย่างมีสติและไม่ประมาท
ธรรมเนียมการปฏิบัติ ในวันอัฏฐมีบูชาของประเทศไทย มีการจัดบำเพ็ญกุศลจากวัดต่าง ๆ เพียงไม่กี่แห่งเท่านั้น สำหรับ พุทธศาสนิกชนที่ต้องการปฏิบัติเพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สามารถปฏิบัติได้โดย การให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา ดำเนินตามคำสอนของพระพุทธองค์เพื่อยังชีวิตอยู่บนความไม่ประมาทสืบไป....
ค้นหาข้อมูลเพิ่มอีก ..
- สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ National Office of Buddhism
https://www.onab.go.th/th/content/category/detail/id/73/iid/3402