ผู้ป่วยนั่งอยู่ในห้องหนังสือ เป็นเวลา 2 ชั่วโมง ขณะรื้อหนังสือ โดยไม่ได้ใส่หน้ากากอนามัย เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2565 หลังจากนั้น 9 วันเริ่มมีไข้ ไอแห้งๆ เหนื่อยบ้าง
ผู้ป่วยเป็นโรคเส้นประสาทอักเสบแบบระยะเรื้อรัง ( Chronic inflammatory demyelinating polyradiculoneuropathy หรือ CIDP หรือโรคซีไอดีพี ) ทำให้แขนขาชาและอ่อนแรง 3 เดือน กำลังรักษาด้วยยาสเตียรอยด์ขนาดสูง และยากดภูมิเซลเซ็ป (cellcept)
ตรวจร่างกาย >> มีไข้ อุณหภูมิ 38.1 องศาเซลเซียส ฟังเสียงปอดปกติ
เอกซเรย์ปอด ผิดปกติทั้ง 2 ข้าง (ดูรูป)
เอกซเรย์ปอด ผิดปกติทั้ง 2 ข้าง (ดูรูป)
ทำคอมพิวเตอร์สแกนปอด พบโพรงเล็กๆ ในบริเวณปอดที่มีปื้นสีขาวหลายตำแหน่งในปอดทั้ง 2 ข้าง (ดูรูป)
ส่องกล้องเข้าไปดูในปอด พบเสมหะสีขาวเล็กน้อย ส่งเสมหะที่ดูดจากหลอดลมไปตรวจ ย้อมพบเชื้อราสาย ไม่พบวัณโรค เพาะเชื้อรา ขึ้นแอสเปอร์จิลลัส ฟูมิกาทัส (aspergillus fumigatus) และ aspergillus spp อีกตัวหนึ่งไม่ทราบสปีชี่ส์ (ดูรูป)
ส่งน้ำล้างปอดวัดระดับ bronchial aspergillus galactomannan ให้ผลบวก ยืนยันการติดเชื้อรา aspergillus
สรุป : ผู้ป่วยรายนี้ มีภูมิคุ้มกันบกพร่องจากการกินยา "สเตียรอยด์ และยากดภูมิ" ติดเชื้อรา aspergillus จากการสูดดมหายใจสปอร์ของเชื้อรา aspergillus ที่เจริญงอกอยู่ในเนื้อกระดาษ ที่ชื้นของหนังสือเก่าๆ ลอยออกมาในอากาศ ขณะหนังสือถูกรื้อ เข้าไปในปอด ทำให้เกิดโรคแอสเปอร์จิลโลสิส ปอดติดเชื้อราแอสเปอร์จิลลัสชนิดรุกราน (invasive pulmonary aspergillosis)
ให้การรักษา ด้วยยาฆ่าเชื้อรา ชนิดกินวอริโคนาโซล (voriconazole) คนไข้ค่อยๆดีขึ้น คนที่ช่วยย้ายหนังสือ ไม่มีใครป่วยใด ถึงแม้จะสูดดมสปอร์ของเชื้อราเข้าไป แต่เพราะสุขภาพแข็งแรง และมีภูมิต้านทานดี
คำแนะนำ : ขอให้คนที่ร่างกายอ่อนแอ มีโรคประจำตัว มีภูมิคุ้มกันต่ำ ใส่หน้ากากอนามัยเวลารื้อหนังสือเก่าๆในบ้าน หรือทางที่ดีที่สุด หลีกเลี่ยงอยู่ในห้องที่กำลังรื้อหนังสือ เพราะอาจหายใจเอาสปอร์ของเชื้อราเข้าปอด ทำให้ติดเชื้อราในปอดได้
บทความโดย : หมอมนูญ ลีเชวงวงศ์
อ้างอิงบทความ
ชาหมักคอมบูชะ Scoby doit
KOMBUCHA ORIGINAL 101 / by Scoby Do it 💖
เครื่องดื่มชาหมักเพื่อสุขภาพ คอมบูชา หรือ คอมบูชะ ( Kombucha ) Scoby do it คือ เครื่องดื่มที่ผ่านกระบวนการหมัก มีสรรพคุณทางยา โดยมี “จุลินทรีย์ โพรไบโอติก Probiotics” ที่เป็นพระเอกของเครื่องดื่มชนิดนี้ “จุลินทรีย์” ที่อยู่ในชาหมักที่เกิดจากการหมักชา จะมี สารฟลาโวนอยด์ (Flavonoids) ช่วยต้านอนุมูลอิสระ และอาจช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือด เบาหวาน มะเร็ง และโรคอัลไซเมอร์ได้
>> ดูเพิ่มเติม
Tweet