สันนิษฐานว่า ในสมัยอยุธยาอาจได้รับอิทธิพลของดาบลักษณะนี้ มาจากญี่ปุ่น เนื่องจากในสมัยอยุธยาก็มีกองอาสาญี่ปุ่นประจำกองทัพอยู่เช่นกัน และอาจจะมีบางกลุ่มที่ใช้ดาบ ลักษณะแบบนี้ในการต่อสู้ให้เห็น
ดาบเชลยยังปรากฏอยู่ในนามของพระแสงราชศาสตราวุธด้วย คือ "พระแสงดาบเชลย"
พระแสงดาบเชลยนี้มีขนาดใหญ่ สันนิษฐานว่าการขนานนามเช่นนี้คงมีที่มาจากรูปทรงของดาบที่มีขนาดใหญ่เช่นกัน แม้ว่าดาบเชลยจะมีลักษณะที่คล้ายคลึงกับง้าวแต่ก็มีสัดส่วนที่แตกต่างกัน กล่าวคือด้ามง้าวจะยาวกว่าตัวใบ ในขณะที่ด้ามของดาบเชลยจะไม่ยาวไปกว่าตัวใบ
ดาบเชลย เป็นดาบที่ออกแบบมา เพื่อใช้เป็นเครื่องอาวุธโดยแท้ โดยใช้กับรูปแบบขบวนของทหารหลวง หรือตำรวจหลวงที่ไปเป็นกองทหาร ไม่ได้ออกแบบเพื่อชาวบ้าน หรือเพื่อประโยชน์ที่หลากหลาย การใช้งานที่สำคัญของดาบเชลยคือ เพื่อให้เห็นเป็นสัญลักษณ์ของกองทัพในการนำขบวน เนื่องจากสามารถมองเห็นได้ชัดเจน
นอกจากนี้ ดาบเฉลย ยังสามารถใช้ฟันขนาดสัตว์ใหญ่ (เมื่อถึงภาวะคับขัน) และหวดลงไปในกลุ่มของศัตรูเพื่อให้เสียรูปขบวน และสันนิษฐานกันว่า ดาบเชลยนั้นเหมาะที่จะใช้บนหลังช้างด้วยเช่นกัน
ที่มาของคำว่า "ดาบเชลย"
สันนิษฐานว่า อาจหมายถึง ดาบที่มีขนาดใหญ่ จึงเป็นไปได้ว่า คำว่า "เชลย" น่าจะแผลงมาจากคำว่า "ชเกย" ซึ่งหมายถึงการแบก กล่าวคือ เมื่อมีการเคลื่อนพลหรือขบวนก็จะให้ทหารนี้แบกดาบขึ้นบ่าไป
ที่มา : ปริญญา สัญญะเดช. วิถีศาสตรา ปริศนา ศรัทธา และอาคมแห่งอาวุธไทย.
เรียบเรียงโดย : facebook : โลโต Siam Liger
Tweet