ค้นหาบทความ 🙄





4/20/66

ฝนไม่ได้ตกมาจากฟ้า แต่มาจากผืนดิน

คู่มือการปลูกต้นไม้ยืนต้น ในพื้นที่แห้งแล้ง   โดย อาจารย์ประภัทร ปริปุณณะ 

"ฝนไม่ได้ตกมาจากฟ้า แต่มาจากผืนดิน"
"มีน้ำที่เรามองเห็นได้และน้ำที่เรามองไม่เห็น"
 
 
คู่มือการปลูกต้นไม้ยืนต้น ในพื้นที่แห้งแล้ง


    คู่มือต่อไปนี้ ถอดจากประสบการณ์ จากการปลูกไม้ยืนต้นกว่า ๒,๐๐๐ ต้น ในพื้นที่ ๑๔ ไร่เศษ ในพื้นที่แห้งแล้ง ณ "สวนอีสานร่มเย็น" ทุ่งเมืองเพีย อ.บ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น ของ "อาจารย์ประภัทร ปริปุณณะ" ซึ่งเขียนขึ้นมาแจกจ่ายเพื่อเป็นวิทยาทานให้แก่คนไทยเมื่อปี ๒๕๓๒ ก่อนที่ท่านจะถึงแก่กรรมในปี ๒๕๓๘

...  ครั้งนั้นศูนย์เทคโนโลยีเพื่อสังคมและนิเวศวิทยา ได้จัดพิมพ์เป็นคู่มือเล็กๆ แจกจ่ายแก่ชาวบ้านในปีเดียวกัน นิเวศเกษตรนำคู่มือซึ่งพิมพ์ง่ายๆ มาเพิ่มสีสัน เพื่อให้น่าอ่าน ร่วมสมัยขึ้น ดังความรู้ที่ท่านได้เผยแพร่เมื่อกว่า ๓ ทศวรรษแล้ว แต่ยังสามารใช้ประโยชน์ได้ แม้ในเวลานี้

ขอน้อมคารวะ "อาจารย์ประภัทร ปริปุณณะ" อีกครั้ง สำหรับความรู้อันมีคุณค่ายิ่งนี้

--- เรียบเรียงโดย : fb/ นิเวศเกษตร Biodiversity and Agroecology
       
        นิเวศเกษตร ขอนำเนื้อหาจากคู่มือ "การปลูกไม้ยืนต้นในพื้นที่แห้งแล้ง" ซึ่งพิมพ์เผยแพร่เมื่อปี 2532 โดย "ศูนย์เทคโนโลยีเพื่อสังคมและนิเวศวิทยา" มาเผยแพร่อีกครั้ง ซึ่งนอกเหนือจากจะนำใช้สำหรับการปลูกไม้ยืนต้นแล้ว ยังสามารถปรับใช้สำหรับการปลูกพืชชนิดอื่นๆก็ได้ ตามเจตนารมณ์ของอาจารย์ที่มุ่งหวังเผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์สาธารณะและพัฒนาความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้ให้ขยายและงอกงามต่อๆไป


"ฝนไม่ได้ตกมาจากฟ้า แต่มาจากผืนดิน"
"มีน้ำที่เรามองเห็นได้และน้ำที่เรามองไม่เห็น"

น้ำที่เรามองไม่เห็น คือ "ความชื้น" ทั้งที่อยู่ในดิน และในอากาศ

การปลูกพืชในที่ดินแห้งแล้ง จึงต้องให้ความสำคัญในการบริหารจัดการน้ำ ในรูปแบบดังจะกล่าว โดยสรุปจากประสบการณ์ได้ ๑๔ แนวทาง 


1. การปรับปรุงดิน
      หลักการข้อนี้สำคัญที่สุด   คือ การปรับปรุงดินในหลุมปลูกไว้ล่วงหน้าก่อน ลงมือปลูกเป็นเดือน ๆ หรือหลายเดือน เพ่งเล็งให้หลุมปลูกมีอินทรีย์วัตถุสูง ซึ่งจะช่วยทำให้ดินสามารถอุ้มน้ำไว้ในตัวเองได้สูงในการปลูกไม้ยืนต้น ผมได้ขุดหลุมขนาด 60x60x60 เซนติเมตร เอาหน้าดินส่วนบน (ดินชั้นบน) กองไว้ ขุดดินชั้นล่างสาดทิ้งไป

ใช้หญ้าแห้ง 1 ปี๊บใส่ก้นหลุม ใส่ปุ๋ยคอก 1 ปี๊บทับบนหญ้าแห้งแล้วเอาดินชั้นบนทับลงไป พูดดินขึ้นเป็นรูปทรงแหลมสูงคล้าย ๆจอมปลวก ทิ้งไว้สัก 2-3 เดือน หญ้าแห้งและปุ๋ยคอกจะสลายตัวพร้อมที่จะเป็นอาหารของพืชได้

     ... ก่อนปลูก ... ใช้จอบพรวนดินคลุกดินให้เข้ากัน รดน้ำก่อนลงมือปลูก วันละครึ่งปี๊บติดกัน 2 วัน เพื่อให้หลุมมีความชุ่มชื้นสูงพอเหมาะ

    ... วันปลูก ....  รดน้ำเพียงพอเล็กน้อยก็พอ ถ้าให้น้ำวันปลูกมากเกินไปต้นอ่อนจะสำลักน้ำและรากเน่าเปื่อย
   การปลูกต้นไม้อ่อน เปรียบเสมือนคนเลี้ยงลูก แต่ต้องมีน้ำนมเตรียมไว้ให้ลูก พืชเป็นสิ่งมีชีวิตเหมือนคนจึงต้องการอาหาร ต้องการบำรุงรักษาและทะนุถนอมเช่นเดียวกัน การเริ่มต้นที่ถูกต้องเท่ากับเห็นผลสำเร็จไปแล้วครึ่งหนึ่ง

 

2. การบังไพรให้ต้นอ่อน 
      ป้องกันแสงแดดตอนบ่ายในเดือนแรก ให้กล้าไม้ ได้รับแสงแดดตอนเช้าวันละ 3-4 ชั่วโมงก็พอ ต่อไปจึงเพิ่มแสงแดดให้มากขึ้น วัสดุที่ใช้บังไพรได้ดีเช่นทางมะพร้าว เป็นต้น


3. การคลุมโคนต้น 
     เมื่อกล้าไม้ อายุได้ประมาณ 2-3 เดือน ใช้กิ่งไม้ ใบกล้วยแห้ง หญ้า ฟาง หรือวัสดุอื่น ๆ ที่ย่อยสลายได้คลุมโคนต้นโดยรอบ คลุมให้ห่างจากต้นประมาณหนึ่งฟุตให้หนาพอที่จะป้องกันแสงแดด และลมโกรกผิวหน้าดิน เป็นการลดการระเหยของน้ำ ควบคุมวัชพืช และได้อินทรีย์วัตถุเป็นผลพลอยได้

4. พืชบังร่ม
     ในระหว่างแถวที่ปลูกไม้ยืนต้นจำเป็นต้องมีไม้บังร่มเป็นพืชพี่เลี้ยง พืชพี่เลี้ยงนอกจากจะช่วยลดแสงแดดจัดแล้วยังช่วยรักษาความชื้น พืชที่ใช้บังร่มได้ดีเช่น กล้วยน้ำว้า แค กระถิน ถั่วแระ เป็นต้น

5. ปลูกระยะชิด
     วางระยะการปลูกระหว่างต้น และระหว่างแถวให้ถี่สักหน่อยพอประมาณ เมื่อต้นไม้โตขึ้นทรงพุ่มชิดติดกันพอดีเป็นการป้องกันแสงแดดหน้าร้อนไม่ให้ส่องโคนต้นหรือผิวดินรุนแรง

6. แนวกันลม
      ตามแนวรั้วควรปลูกพืชกำบังลม ป้องกันลมโกรก ซึ่งจะทำให้ดินแห้ง ผมใช้ต้นขี้เหล็ก และมะขามเทศปลูกชิดติดกัน โดยเฉพาะทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นทางลมพัดโกรกในหน้าหนาว ปรากฎว่าช่วยรักษาความชื้นของอากาศในสวนได้เป็นอย่างดีควรใส่ปุ๋ยหมักเพิ่มเติมเรื่อย ๆ เพื่อเพิ่มพูนอินทรีย์วัตถุในดิน ใส่ปูพรมไปเลย ยิ่งดีจะทำให้ดินอุดมสมบูรณ์

7. การไถพรวนหลังหน้าฝน
     ดินในสวนอย่าปล่อยให้แน่นเป็นหน้าหนัง หรืออย่างดินในลานวัด พอหมดหน้าฝน ให้ขุดหรือไถให้ร่วนโปร่งเพื่อตัดเส้นการระเหยของน้ำใต้ดิน

8. การใส่ปุ๋ยอินทรีย์
        ควรใส่ปุ๋ยหมักปุ๋ยอินทรีย์อย่างสม่ำเสมอ  เพื่อเพิ่มอินทรีย์วัตถุในดิน  ใส่ปูพรมเลยยิ่งดี จะทำให้ดินอุดมสมบูรณ์ และดูดซับน้ำได้ดีขึ้น

9. ใช้พันธุ์พืชรากลึกยั่งลึกลงไปในดิน
        เมื่อถึงฤดูแล้ง จะสามารถได้น้ำและอาหารจากดินส่วนล่างขึ้นมาประทังไปได้ พันธุ์พืชที่นำมาปลูกควรเป็นกิ่งทาบหรือเพาะเมล็ด เพราะมีรากแก้วหกกิ่งตอนจะมีแต่รากแขนงและรากฝอยซึ่งเป็นรากส่วนบน รากเหล่านี้มักได้รับอันตรายจากการขาดน้ำและอาหาร เพราะหน้าร้อนดินผิวบนแห้งและร้อนจัด


10. รดน้ำช่วงแสงแดดอ่อน
         สำหรับดินที่เป็นทรายในช่วงหน้าร้อน ตั้งแต่เวลาสามโมงเช้าถึงสามโมงเย็น จะสะสมความร้อนระอุเอาไว้มาก เพราะฉะนั้นไม่ควรรดน้ำในช่วงเวลาดังกล่าว ทางที่ดีควรรดน้ำตั้งแต่ตอนเช้ามืดถึงสองโมงเช้าและตอนเย็นถึงใกล้ค่ำ

11. การให้น้ำแบบพิเศษ
         พืชที่มีราคาแพง หรือหาได้ยาก หรือได้พันธุ์จากท้องถิ่นอื่น ที่ยังไม่คุ้นเคยกับดินฟ้าอากาศที่แห้งแล้ง ให้หาตุ่มน้ำดินเผาชนิดเนื้อหยาบตั้งไว้โคนต้นสักใบหรือสองใบ เติมน้ำให้เต็มตุ่มตลอดวันจะช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นได้มาก ตุ่มใบหนึ่ง ๆ ใช้ได้ทนทานนับสิบ ๆ ปี

12. ใช้ไม้ท่อนนำร่องพืชรากลึก
         พืชที่รากแก้วหยั่งลึก เช่น มะม่วง ควรใช้ไม้เนื้ออ่อน เช่น ไม้ทองหลาง ก้ามปู ขนาดเสาเข็มตัดเป็นท่อน ๆ ยาวประมาณ 1 ศอก ฝังกลางหลุมปลูกในระดับใต้รากประมาณ 2-3 ท่อน พอไม้ผุก็จะกลายเป็นช่องว่างให้รากแก้วหยั่งลงไปได้สะดวกไม่คดงอ

13. เลือกพืชทนแล้ง
         ควรเลือกพืชยืนต้นที่ทนแล้ง เช่น น้อยหน่า มะม่วง ขนุน กล้วยน้ำว้า มะพร้าว มะขามเทศ มะยม มะรุม เพกา ขี้เหล็ก สะเดา ฯลฯ ส่วนพืชที่รากเล็ก ๆ ละเอียด ๆ หากินระดับตื้น ๆ เช่น มะละกอ มะนาว มะกรูด มักจะไม่ทนแล้งจึงไม่ควรปลูกมาก

14. ใช้น้ำอย่างประหยัด ได้ประโยชน์สูงสุด
       น้ำที่ใช้ในกิจประจำวันเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่นล้างหน้า อาบ ซักเสื้อผ้า นับเป็นน้ำปุ๋ยอย่างหนึ่งเนื่องจากมีเหงื่อไคลผสมอยู่ แม้แต่น้ำปัสสาวะที่หมักแล้ว ถ้าเอามาผสมน้ำในอัตรา ปัสสาวะหนึ่งกระป๋องนมต่อน้ำหนึ่งปี๊บแล้วเอามารดต้นไม้จะทำให้รากเจริญเติบโตดีมาก





  • คุณสามารถ ดาวน์โหลด เอกสาร PDF  " คู่มือการปลูกต้นไม้ยืนต้น ในพื้นที่แห้งแล้ง" 





 


Admin Bee

สนับสนุน Misc.Today

นี่คือ ลิ้งค์พันธมิตร หรือที่เรียกว่า affiliate link ซึ่งหมายความว่า... หากคุณคลิ๊กลิ้งค์นี้ และซื้อผลิตภัณฑ์ อะไรก็ได้ ฉันจะได้ค่าคอมมิชชั่นเล็กน้อย สิ่งนี้จะช่วยสนับสนุนเว็บไซด์ และช่วยให้กำลังใจเราต่อไป



 

คุณอาจสนใจ

เครื่องดื่มมหัศจรรย์ เพื่อสุขภาพที่ดี


  ชาหมักคอมบูชะ Scoby doit  



“ จุลินทรีย์ โพรไบโอติก ที่มีอยู่ในชาหมัก คอมบูชะ ( Kombucha ) สามารถแก้ไขปัญหาของระบบทางเดินอาหาร และลำไส้”

KOMBUCHA ORIGINAL 101 / by Scoby Do it 💖
    เครื่องดื่มชาหมักเพื่อสุขภาพ คอมบูชา หรือ คอมบูชะ ( Kombucha ) Scoby do it คือ เครื่องดื่มที่ผ่านกระบวนการหมัก มีสรรพคุณทางยา โดยมี “จุลินทรีย์ โพรไบโอติก Probiotics” ที่เป็นพระเอกของเครื่องดื่มชนิดนี้ “จุลินทรีย์” ที่อยู่ในชาหมักที่เกิดจากการหมักชา จะมี สารฟลาโวนอยด์ (Flavonoids) ช่วยต้านอนุมูลอิสระ และอาจช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือด เบาหวาน มะเร็ง และโรคอัลไซเมอร์ได้ 

   >> ดูเพิ่มเติม 




5 บทความ ยอดนิยม ในรอบ 30 วัน

🟡 โพสต์แนะนำ

คริสเตียนไซออนนิสท์ คือใคร ? - Christian Zionist

ช่วงนี้ ผมติดตามหาข้อมูลเกี่ยวกับ อิสราเอล กับ ปาเลสไตน์ ครับ ส่วนใหญ่จะเป็นแนวประวัติศาสตร์เสียมาก เพราะผมมีความเชื่อส่วนตัวว่า การที่เราจะ...

Popular Posts

แนะนำหนังสือ


  BOOKs OF THE DAY








ผู้สนับสนุน







Xiaomi Kingsmith Walking Pad

 Xiaomi Kingsmith Walking Pad R1 Pro/ R2 ลู่เดิน/วิ่งไฟฟ้า พับเก็บได้ สำหรับการออกกำลังกายภายในบ้าน >> คลิ๊กดูเพิ่มอีก


ป้ายกำกับ / Tag labels

2475 (1) กฎหมาย (4) กฐิน (2) กรรม (5) กระเป๋า (3) กรุงเทพฯ (19) กรุงศรีอยุธยา (11) กล้องถ่ายภาพ (7) กลอน (4) กลาโหม (9) การเกษตร (6) การจัดเก็บ (2) การเมือง (48) การศึกษา (127) กิจกรรมกลางแจ้ง (2) กีฬา (3) เกษตร (2) เกี่ยวกับสัตว์ (12) ไกลกังวล (1) ขงจื้อ (1) ขนม (2) ขอมไม่ใช่เขมร (6) ข้าว (3) ข่าวสาร (22) ขิง (1) เขมร (10) โขน (2) คณะราษฎร (10) คติธรรม (1) คนเล่านิทาน (14) ครู (6) ความเชื่อ (11) ความรู้ (145) คอมมิวนิสต์ (31) คำภีร์ (2) คำสอน (11) เครื่องบิน (7) เงินตรา (4) จอมพล ป. พิบูล (1) จอมพล ป. พิบูลสงคราม (13) จีน (53) ช้าง (1) ชายแดนใต้ (5) ญี่ปุ่น (15) ดนตรีไทย (1) ดอกไม้ (1) เด็ก (5) เดนมาร์ก (1) ต้นไม้ (4) ตลาดนัด (1) ตำรวจ (2) เตา (1) เตือนภัย (15) แต่งงาน (1) ทรัพยากร (2) ทวิตเตอร์ (1) ทหาร (9) ท่องเที่ยว (27) ทะเล (3) ทัศนะ (47) ทำบุญ (5) ทำอาหาร (5) เทคโนโลยี (13) โทรศัพท์มือถือ (2) ธนบัตร (1) ธนาคาร (4) ธรรมชาติ (7) ธรรมในคำกลอน (1) ธรรมะ (6) ธรรมาธิปไตย (2) ธุรกิจ (10) นราธิวาส (3) นวดไทย (1) นักบิน (1) นักเรียน (4) นางใน (1) นาซี (1) นายกรัฐมนตรี (2) น้ำมัน (1) นิทานพื้นบ้าน (1) นิยาย (3) นิวเคลียร์ (1) เนปาล (1) แนะนำสินค้า (36) โนรา (1) ในหลวง ร.10 (1) ในหลวงรัชกาลที่ 9 (15) บริการ (3) บริหาร (3) บ่อน (1) บัตรเครดิต (2) บัตรประชาชน (1) บุคคล (42) บุญ (3) บุหรี่ (1) เบตง (1) แบรนด์ไทย (5) โบราณวัตถุ (13) โบราณสถาน (6) โบสถ์ (2) ประชาธิปไตย (51) ประท้วง (7) ประเทศไทย (172) ประวัติศาสตร์ (147) ปรัชญาชีวิต (20) ปรีดี (2) ปลูกต้นไม้ (3) ปูติน (1) ผลไม้ (1) ผลิต (3) ผิวสี (1) แผ่นดินไหว (1) ฝรั่งเศส (6) พม่า (6) พยาบาล (1) พระเจ้าตากสินมหาราช (2) พระนเรศ (1) พระพุฒาจารย์ (1) พระพุทธเจ้า (1) พระราชกรณียกิจ (4) พระสงฆ์ (10) พราหมณ์ (1) พิบูลสวัสดี (1) พิพิธภัณฑ์ (9) พุทธทาส (1) พุทธศาสนา (11) เพชรบุรี (3) เพลง (8) เพลงผ้า ปรพากย์ (1) แพทย์ (4) ฟาโรห์ (1) ไฟ (4) ไฟฉาย (1) ไฟฟ้า (1) ภาคใต้ (6) ภาคอีสาน (1) ภาษา (9) ภาษิต (1) ภูเขาไฟ (1) ภูมิปัญญา (19) ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ (1) มวยไทย (5) มาเลเซีย (1) มุมไบ (2) มุสลิม (2) แม่ (1) ไม้ไผ่ (1) ยา (1) ยิว (3) ยูนนาน (1) เยาวชน (1) เยาวราช (1) รถเมล์ (3) รองเท้า (2) ระเบิด (3) รัชกาลที่ ๒ (1) รัชกาลที่ ๔ (3) รัชกาลที่ ๕ (7) รัชกาลที่ ๖ (1) รัชกาลที่7 (8) รัชกาลที่ ๘ (5) รัฐประหาร (6) รัสเซีย (12) ราชาศัพท์ (1) รามเกียรติ์ (1) เรือ (2) เรื่องเก่า (80) เรื่องเล่า (23) โรค (5) โรคระบาด (3) โรงงาน (1) โรงพยาบาล (9) โรงเรียน (16) โรฮิงญา (1) ลอนดอน (1) ลัทธิ (2) ลัทธิมาร์กซ์ (1) ล้านนา (3) ลาว (4) เลือกตั้ง (9) โลก (5) โลกร้อน (3) วัฒนธรรม (1) วัด (14) วันแม่ (1) วันสำคัญ (5) วิทยาศาสตร์ (9) วิทยุ (2) วิหาร (4) เวียดนาม (4) ไวรัล (1) ศัพท์ (1) ศาสนา (36) ศิริราช (5) ศิลปะ (4) ศิลปาชีพ (1) เศรษฐกิจ (3) สงขลา (1) สงคราม (50) สถานีรถไฟ (1) สนามบิน (2) สเปน (1) สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร (2) สมัยเมจิ (1) สยาม (12) สวนสนุก (1) สวิตเซอร์แลนด์ (2) สังคม (36) สำนวน (8) สิ่งประดิษฐ์ (13) สื่อ (3) สุขภาพ (13) สุภาพจิต (5) สุสาน (1) หนังแท้ (4) หนังสือ (31) หนังสือพิมพ์ (1) ห้องเรียน (4) เหมาเจ๋อตง (2) เหรียญ (1) อเมริกา (36) ออสเตรีย (1) อังกฤษ (6) อาชีพ (1) อาหาร (16) อาหารจานโปรด (9) อิตาลี (3) อินเดีย (8) อิสราเอล (3) อียิปต์ (1) อีสาน (1) แอปพลิเคชัน (4) ไอร์แลนด์ (1) cpr (1) deep state (1) democracy (1) Diarymisc (3) facebook (1) handmade (1) leather (1) metaverse (1) nomad (6) Nuclear (1) OPENUP (1) powerbank (1) shopee (1) Social media (2) social views (114) startup (1) UNESCO (4) xiaomi (1)


Miscellaneous | Misc.Today 🌱 . ขับเคลื่อนโดย Blogger.

 
miscthailand