ค้นหาบทความ 🙄





1/24/66

ทำไมจึงนิยมเรียก สถานีตำรวจ ว่า โรงพัก ?

เมื่อ โรง คือ คำนำหน้า ชื่อเรียกของสถานที่แห่งหนึ่ง เช่น โรงเรียน ก็คือ สถานที่เรียนหนังสือ , โรงพยาบาล ก็สำหรับพยาบาลรักษาคนป่วย หรือ อาบอบนวด ในปัจจุบันที่ไม่มีคำว่าโรงข้างหน้า แต่สมัยก่อน ก็เรียก โรงรับชำเราบุรุษ ก็คือมีโรง อยู่เช่นกัน ...แล้วทำไม สถานีตำรวจ ไม่เรียก โรงตำรวจ  ล่ะ ทำไมเรียกว่า โรงพัก ทำไมต้อง พัก ? พักอะไร ? ใครพัก ? มาหาคำตอบกันครับ

ทำไมจึงนิยมเรียก สถานีตำรวจ ว่า โรงพัก ?

คำว่า "โรงพัก" ตาม ป.วิอาญา หมายถึง สถานีตำรวจ อีกความหมายคือ ที่พักสงบสติอารมณ์ พักเพื่อที่จะตัดสินว่าคดีขึ้นศาล ต่อไปหรือไม่

 

แล้วเหตุใด ? บางคนในสมัยนี้ หรือเกือบทุกคนในสมัยก่อน จึงนิยมเรียก สถานีตำรวจ ว่า โรงพัก ?

ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จัก ความเป็นไปเป็นมาของ ตำรวจ กันเสียก่อน เพราะตำรวจ คือ บุคคลหลักๆ ที่เกี่ยวข้อง และเชื่อมโยงกับ  โรงพัก หรือ สถานีตำรวจแน่ๆ อยู่แล้ว  

ตำรวจ กำเนิดขึ้นครั้งแรกในประเทศไทย ในยุคสมัยรัชกาลที่ ๔  แต่เมื่อก่อตั้งเริ่มแรก ไม่ได้ถูกเรียกว่า ตำรวจ แต่เรียกว่า "พลตระเวน"  ซึ่งมีหน้าที่ "เดิน" ตรวจตราความสงบเรียบร้อย ในเขตพระนคร  และแน่นอน วิธีปฎิบัติงานจะต้องเดิน ก็มักจะต้องมีการหยุดพักเหนื่อย ตามจุดต่างๆ หรือเมื่อมีการจับกุมผู้ต้องหาเอาไว้ได้ ก็จะใช้สำหรับพักผู้ต้องหาไว้ตรงที่นั้นๆเช่นกัน   
ในสมัยรัชการที่ ๕  .....  เริ่มมีการสร้างที่ทำการพลตระเวน ตามบริเวณจุดที่ใช้พักกัน โดยสร้างเป็นที่ทำการ เรียกว่า  " โรงพักกองตระเวน ".. 
      สมัยรัชการที่ ๕ ได้จัดตั้ง "กรมกองตระเวน" ขึ้น นอกเหนือจากหน้าที่หลักคือ การเดินลาดตระเวนแล้ว เพื่อความสงบเรียบร้อย หน้าที่สำคัญของพลตระเวน คือจับคุมผู้กระทำความผิดต่างๆ แล้วเรียกที่ทำการของกรมกองตระเวนในท้องที่ต่างๆ ในพระนครว่า โรงพักกรมกองตระเวน ต่อมา เมื่อทรงปฏิรูปในปกครอง โดยแบ่งหน่วยราชการเป็น กระทรวง ทบวง กรม แล้ว กรมกองตระเวนจึงยุบรวมเข้ากับกระทรวงนครบาล


คำตอบ จากคำถาม ที่ว่า.. ทำไมจึงนิยมเรียก สถานีตำรวจ ว่า โรงพัก ?

กล่าวตอบแบบสรุป ก็คือ เป็นการเรียกตามชื่อสถานที่จุดพักของ "พลตระเวน" ( ที่สมัยนี้ เรียกว่าตำรวจ ) และต่อมาถูกพัฒนามาสร้างเป็นที่ทำการ เรียกว่า "โรงพักกองตระเวน".. แต่บัดนั้น ก็ถูกเรียกติดปาก หรือเป็นภาษาปากไปแล้วว่า "โรงพัก" ซึ่งหมายความว่า สถานีตำรวจ นั่นเอง 

    อีกคำหนึ่งซึ่งเป็นคำที่ติดปากไม่แพ้กัน นั่นก็คือ "ขึ้นโรงพัก"  ทำไมต้องขึ้น นั่นก็เพราะว่า  โรงพัก หรือสถานีตำรวจสมัยก่อน จะมีลักษณะเป็นอาคารทรงปั้นหยา ชั้นเดียว ยกพื้นสูง นั่นเอง

ดังภาพประกอบชื่อบทความนี้  คือ

โรงพักเก่าสรรพยา (โรงพักเก่า ร.ศ. 120 )
สถานีตำรวจภูธรสรรพยา โรงพักตำรวจที่เก่าแก่ที่สุดที่เหลืออยู่ในปัจจุบัน

  ตำบล: สรรพยา  อำเภอ: สรรพยา  จังหวัด: ชัยนาท   17150


อาคารโรงพักของตำรวจ สมัยรัชกาลที่ ๕ คาดว่ามีอายุกว่า ๑๐๐ ปี และถือว่าเก่าแก่สุดในประเทศ

     อาคารหลังนี้ ถูกสร้างขึ้นเมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๔๔ หรือเมื่อ ๑๒๒ ปีก่อน ในสมัยของ พ.ต.อ.พระยาสกลสรศิลป์ ผู้บังคับการมณฑลนครสวรรค์ ซึ่งตรงกับสมัยของ พระยาศรีสิทธิกรรม ดำรงตำแหน่ง นายอำเภอสรรพยา   

    โดยลักษณะอาคารเป็นอาคารทรงปั้นหยา ชั้นเดียวยกพื้นสูง มีมุกหน้า เสาเป็นไม้เต็ง ฝาอาคารเป็นไม้กระยาเลย พื้นทำจากไม้ตะแบก มุงด้วยกระเบื้องแบบโบราณ เมื่อนับอายุแล้วอาคารหลังนี้ถือว่าเป็นโรงพักตำรวจที่เก่าแก่ที่สุดที่เหลืออยู่ในปัจจุบัน 

     ปัจจุบัน โรงพักเก่าสรรพยา (โรงพักเก่า ร.ศ. 120 )  ได้รับการ บูรณะและปรับปรุง เพื่อใช้เป็นอาคารพิพิธภัณฑ์ จัดแสดงประวัติศาสตร์ท้องถิ่นสรรพยา เพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับคนในชุมชนและนักท่องเที่ยว


ข้อมูลเพิ่มเติม สำหรับการท่องเที่ยว 

  • การเดินทาง รถโดยสาร
1. รถยนต์โดยสารธรรมดา และรถยนต์โดยสารปรับอากาศ กรุงเทพฯ - วัดสิงห์ สาย 19 บริษัท ส.วิริยะทรานสปอร์ต ติดต่อสอบถาม 02-9363660 และ 02-5122565 ชั้น 1 ช่องจำหน่ายตั๋วที่ 38,39 เวลาเดินรถ 05.00 - 20.00 น.

2.  รถตู้โดยสารปรับอากาศ กรุงเทพ ชัยนาท วัดสิงห์ สาย 19 เวลาเดินรถ 05.00 - 20.00 น. ติดต่อสอบถาม 084-3115535 และ 087-1223770
  •  การเดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัว 
    จากกรุงเทพฯ ถึงอำเภอสรรพยา จะใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง 

>  ออกเดินทางไปตามทางหลวง หมายเลข 32 (สายเอเซีย)  >  ผ่านรังสิต อยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี และอินทร์บุรี  
** สังเกตุข้างทางมีป้ายบอกทางสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อเข้าสู้อำเภอสรรพยาหรือจังหวัดชัยนาท 
** พอข้ามมาแล้วใช้เส้นทางหมายเลข 311 ชัยนาท - สิงห์บุรี ขับตรงมาประมาณ 5 กิโลเมตร จะเห็นซุ้มวัดสรรพยาอยู่ทางขวามือ 

แผนที่ตั้ง  15°08'28.2"N 100°14'41.8"E
ตำบล สรรพยา อำเภอสรรพยา ชัยนาท 17150



ข้อมูลเพิ่มเติม และอ้างอิง เกี่ยวกับเรื่องนี้


 


Admin Bee

สนับสนุน Misc.Today

นี่คือ ลิ้งค์พันธมิตร หรือที่เรียกว่า affiliate link ซึ่งหมายความว่า... หากคุณคลิ๊กลิ้งค์นี้ และซื้อผลิตภัณฑ์ อะไรก็ได้ ฉันจะได้ค่าคอมมิชชั่นเล็กน้อย สิ่งนี้จะช่วยสนับสนุนเว็บไซด์ และช่วยให้กำลังใจเราต่อไป


  ชาหมักคอมบูชะ Scoby doit  


 






 

คุณอาจสนใจ

5 บทความ ยอดนิยม ในรอบ 30 วัน

🟡 โพสต์แนะนำ

คริสเตียนไซออนนิสท์ คือใคร ? - Christian Zionist

ช่วงนี้ ผมติดตามหาข้อมูลเกี่ยวกับ อิสราเอล กับ ปาเลสไตน์ ครับ ส่วนใหญ่จะเป็นแนวประวัติศาสตร์เสียมาก เพราะผมมีความเชื่อส่วนตัวว่า การที่เราจะ...

Popular Posts

แนะนำหนังสือ


  BOOKs OF THE DAY








ผู้สนับสนุน







Xiaomi Kingsmith Walking Pad

 Xiaomi Kingsmith Walking Pad R1 Pro/ R2 ลู่เดิน/วิ่งไฟฟ้า พับเก็บได้ สำหรับการออกกำลังกายภายในบ้าน >> คลิ๊กดูเพิ่มอีก


ป้ายกำกับ / Tag labels

2475 (1) กฎหมาย (5) กฐิน (2) กรรม (5) กระเป๋า (3) กรุงเทพฯ (19) กรุงศรีอยุธยา (12) กล้องถ่ายภาพ (7) กลอน (4) กลาโหม (9) การเกษตร (7) การจัดเก็บ (3) การปกครอง (1) การเมือง (55) การศึกษา (131) กิจกรรมกลางแจ้ง (2) กีฬา (3) เกษตร (3) เกี่ยวกับสัตว์ (15) ไกลกังวล (1) ขงจื้อ (1) ขนม (2) ขอมไม่ใช่เขมร (6) ข้าว (3) ข่าวสาร (22) ขิง (1) เขมร (10) โขน (2) คณะราษฎร (11) คติธรรม (1) คนเล่านิทาน (15) ครัว (1) ครู (6) ความเชื่อ (12) ความรู้ (159) คอมมิวนิสต์ (34) คำภีร์ (2) คำสอน (11) เครื่องบิน (7) เงินตรา (4) จอมพล ป. พิบูล (1) จอมพล ป. พิบูลสงคราม (13) จีน (53) ช้าง (1) ชายแดนใต้ (5) ญี่ปุ่น (15) ดนตรีไทย (1) ดอกไม้ (1) เด็ก (5) เดนมาร์ก (1) ต้นไม้ (4) ตลาดนัด (1) ตำรวจ (2) เตา (1) เตือนภัย (17) แต่งงาน (1) ทรัพยากร (2) ทวิตเตอร์ (1) ทหาร (9) ท่องเที่ยว (28) ทะเล (3) ทัศนะ (51) ทำบุญ (5) ทำอาหาร (4) เทคโนโลยี (13) โทรศัพท์มือถือ (2) ธนบัตร (1) ธนาคาร (4) ธรณี (1) ธรรมชาติ (10) ธรรมในคำกลอน (1) ธรรมะ (6) ธรรมาธิปไตย (2) ธุรกิจ (10) นราธิวาส (3) นวดไทย (1) นักบิน (1) นักเรียน (4) นางใน (1) นาซี (1) นายกรัฐมนตรี (3) น้ำมัน (1) นิทานพื้นบ้าน (1) นิยาย (3) นิวเคลียร์ (1) เนปาล (1) แนะนำสินค้า (38) โนรา (1) ในหลวง ร.10 (1) ในหลวงรัชกาลที่ 9 (15) บริการ (3) บริหาร (3) บ่อน (1) บัตรเครดิต (2) บัตรประชาชน (1) บุคคล (42) บุญ (3) บุหรี่ (1) เบตง (1) แบรนด์ไทย (5) โบราณวัตถุ (13) โบราณสถาน (7) โบสถ์ (2) ประชาธิปไตย (54) ประท้วง (7) ประเทศไทย (178) ประธานาธิบดี (1) ประวัติศาสตร์ (150) ปรัชญาชีวิต (21) ปรีดี (2) ปลูกต้นไม้ (3) ปูติน (1) ผลไม้ (2) ผลิต (3) ผัก (1) ผิวสี (1) แผ่นดินไหว (1) ฝรั่งเศส (6) พม่า (6) พยาบาล (1) พระเจ้าตากสินมหาราช (2) พระนเรศ (1) พระพุฒาจารย์ (1) พระพุทธเจ้า (1) พระราชกรณียกิจ (4) พระสงฆ์ (10) พราหมณ์ (1) พิบูลสวัสดี (1) พิพิธภัณฑ์ (9) พุทธทาส (1) พุทธศาสนา (11) เพชรบุรี (3) เพลง (8) เพลงผ้า ปรพากย์ (1) แพทย์ (4) ฟาโรห์ (1) ไฟ (4) ไฟฉาย (1) ไฟฟ้า (1) ภัยพิบัติ (1) ภาคใต้ (6) ภาคอีสาน (1) ภาษา (10) ภาษิต (1) ภูเขาไฟ (1) ภูมิปัญญา (19) ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ (1) มวยไทย (5) มาเลเซีย (1) มุมไบ (2) มุสลิม (2) แม่ (1) ไม้ไผ่ (1) ยา (1) ยิว (3) ยูนนาน (1) เยาวชน (1) เยาวราช (1) รถเมล์ (3) รองเท้า (2) ระเบิด (3) รัชกาลที่ ๒ (1) รัชกาลที่ ๔ (3) รัชกาลที่ ๕ (7) รัชกาลที่ ๖ (1) รัชกาลที่7 (8) รัชกาลที่ ๘ (6) รัฐประหาร (7) รัสเซีย (12) ราชาศัพท์ (1) รามเกียรติ์ (1) เรือ (2) เรื่องเก่า (81) เรื่องเล่า (23) โรค (5) โรคระบาด (4) โรงงาน (1) โรงพยาบาล (10) โรงเรียน (16) โรฮิงญา (1) ลอนดอน (1) ละคร (1) ลัทธิ (2) ลัทธิมาร์กซ์ (3) ล้านนา (3) ลาว (4) ลิง (1) เลือกตั้ง (9) โลก (5) โลกร้อน (3) วัฒนธรรม (2) วัด (14) วันแม่ (1) วันสำคัญ (5) วิทยาศาสตร์ (9) วิทยุ (2) วิหาร (4) เวียดนาม (4) ไวรัล (1) ศัพท์ (1) ศาสนา (36) ศิริราช (5) ศิลปะ (5) ศิลปาชีพ (1) เศรษฐกิจ (3) สงขลา (1) สงคราม (50) สถานีรถไฟ (1) สนามบิน (2) สเปน (1) สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร (2) สมัยเมจิ (1) สยาม (13) สวนสนุก (1) สวิตเซอร์แลนด์ (2) สังคม (38) สำนวน (8) สิ่งประดิษฐ์ (13) สื่อ (3) สุขภาพ (13) สุภาพจิต (6) สุสาน (1) หนังแท้ (4) หนังสือ (31) หนังสือพิมพ์ (1) หนู (1) ห้องเรียน (4) เหมาเจ๋อตง (2) เหรียญ (1) อเมริกา (37) ออสเตรีย (1) อังกฤษ (6) อาชีพ (1) อาหาร (15) อาหารจานโปรด (8) อิตาลี (3) อินเดีย (8) อิสราเอล (3) อียิปต์ (1) อีสาน (1) แอปพลิเคชัน (4) ไอร์แลนด์ (1) cpr (1) deep state (1) democracy (1) Diarymisc (3) facebook (1) handmade (1) leather (1) marxism (1) metaverse (1) nomad (6) Nuclear (1) OPENUP (1) powerbank (1) shopee (1) Social media (2) social views (114) startup (1) UNESCO (4) xiaomi (1)


Miscellaneous | Misc.Today 🌱 . ขับเคลื่อนโดย Blogger.

 
miscthailand