ค้นหาบทความ 🙄



1/29/66

เล่าเรื่องเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ มวยไทย เรื่องหนึ่งให้ฟัง | แนะนำหนังสือ

หลังจากพม่าตีกรุงศรีอยุธยาแตก และถูกชิงคืนในปี พ.ศ. ๒๓๑๐ พระเจ้ามังระ โปรดฯ ให้ปฏิสังขรณ์พระเจดีย์ชเวดากอง เมืองย่างกุ้ง งานปฏิสังขรณ์เสร็จสิ้นในปี พ.ศ. ๒๓๑๗ โปรดฯให้ทำพิธีเฉลิมฉลอง ในวันที่ ๑๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๓๑๗




ส่วนหนึ่งของการเฉลิมฉลองคือแข่งขันชกมวย

ขุนนางพม่าทูลพระเจ้ามังระว่า  .... 

“เราควรอนุญาตให้นักมวยอยุธยาที่เป็นเชลยมาร่วมด้วย หนึ่งเพื่อความบันเทิงรื่นเริงของชาวบ้าน หนึ่งคือเพื่อให้ชาวพม่าเราเห็นฤทธิ์ของมวยพม่าว่าเหนือกว่ามวยไทย”

การชกมวยจึงบังเกิดขึ้นเฉพาะพระพักตร์พระเจ้ามังระ

มวยคู่แรก คือ  นักมวยพม่าร่างสูงใหญ่ กับนักมวยอยุธยาร่างสันทัด นักมวยพม่าท่าทางแกร่งกล้าน่าเกรงขาม ส่วนนักมวยอยุธยาดูบอบบาง ไม่มีกิริยาท่าทีว่าเป็นนักมวยเก่ง เห็นชัดว่าเป็นมวยรองบ่อน !! 

นักมวยพม่าจู่โจมนักมวยอยุธยา กำปั้นแข็งแกร่งพุ่งถึงตัว นักมวยอยุธยาเบี่ยงตัวหลบ สวนกลับด้วยหมัดขวา ตรงเข้าขากรรไกร นักมวยพม่าสะท้านเบา ๆ ร่วงลงกองบนพื้น สลบเหมือด !!


ในเวลาเพียงชั่วหนึ่งลมหายใจ นักมวยอยุธยาล้มนักมวยพม่าแน่นิ่ง

คนชมทั้งปวงตะลึงงัน ...  

ขุนนางพม่าทูลพระเจ้ามังระ 

“นักมวยของเราประมาทไป ข้าพระองค์จะส่งคนใหม่ขึ้นไปประลอง”

นักมวยพม่าคนที่สอง ก้าวไปที่ลานชก หน่วยก้านของคนใหม่ขึงขัง ทะมัดทะแมง
นักมวยพม่ายิงหมัดที่ปลายคางนักมวยเชลย เสียงชกแหวกอากาศดังหวือ แต่นักมวยอยุธยาหลบฉากทัน เต้นเบา ๆ รอบตัวอีกฝ่าย สายตาจับจ้องคู่ต่อสู้นิ่ง พริบตานั้นนักมวยอยุธยาก็พุ่งหมัดออกไป นักมวยพม่ายกแขนปิด และสวนหมัดกลับ แต่ช้ากว่าเท้าของนักมวยอยุธยาที่เสยเข้าชายโครงดังเหมือนคมขวานผ่าซุง ติดตามด้วยหมัดซ้ายขวารัวเร็ว นักมวยพม่าล้มครืน กองกับพื้น ไม่ลุกขึ้นมาอีกเลย 

ในเวลาสองสามอึดใจ นักมวยพม่าคนที่สองก็นอนแผ่หราคาลานชก

 

พระเจ้ามังระทรงพึมพำ “นักมวยอยุธยามีฝีมือดียิ่งนัก”

“ข้าพระองค์จะส่งคนใหม่ขึ้นไป”....  

     นักมวยพม่าคนที่สาม พุ่งเข้าหานักมวยอยุธยา ทั้งชกทั้งเตะเปะป่าย นักมวยเชลยถอยทีละก้าว แต่สายตาเพ่งมองคู่ต่อสู้เขม็ง พริบตาที่หมัดสุดท้ายของผู้จู่โจมอ่อนแรงลง กำปั้นไม่มีรูของเชลยก็ทะลวงฝ่าเข้าไป เลือดสดแดงไหลซึมออกจากหัวคิ้วของฝ่ายตรงข้าม

     นักมวยพม่าเตะหมายชายโครงนักมวยอยุธยา นักมวยเชลยอ่านทิศทางของเท้าออก รุกประชิดเข้าหา จู่โจมกลับด้วยศอกขวาที่บริเวณโคนขาอีกฝ่าย พริบตานั้นหมัดขวาอยุธยาก็เสยเข้าที่คางคู่ต่อสู้ ล้มหงายนอนนิ่งบนพื้น

ไม่ทันครบยก นักมวยพม่าคนที่สามก็พบชะตากรรมเดียวกัน ...

พระเจ้ามังระแย้มพระสรวล 
ตรัสเรียกนักมวยอยุธยาเข้าพบ ...

“เจ้าชื่ออะไร?”

“ขนมต้มพระเจ้าข้า”

“อายุเท่าใด?”

“ยี่สิบสี่พระเจ้าข้า”

“เจ้าจะชกต่อหรือไม่?”

“ชกต่อได้พระเจ้าข้า”

“ดี เช่นนั้นจงชกต่อไป”

............

นายขนมต้มเป็นชาวกรุงศรีอยุธยา 


        เกิดที่บ้านกุ่ม เมื่อปี พ.ศ. ๒๒๙๓ ในรัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ พ่อแม่และพี่สาวตายเมื่อเขา

ยังเล็ก บ้างว่าพ่อแม่และพี่สาวถูกพม่าฆ่าตาย จึงเป็นเด็กวัดตั้งแต่เล็ก ฝึกวิชามวยไทย และเรียนรู้อย่างรวดเร็ว เชี่ยวชาญการชกมวยอย่างหาตัวจับยาก

       เด็กชายขนมต้มชกมวยอย่างเป็นธรรมชาติ ราวกับมันถูกฝังมาตั้งแต่เกิด หมัดและเท้าของเขาเคลื่อนไปเหมือนผึ้งที่สัมผัสเกสรบุปผาอย่างละมุนละไม ทว่าซ่อนคมเหล็กในอันทรงพลังไว้ภายใน

ครั้นกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่า นายขนมต้มในวัยสิบเจ็ดถูกพม่ากวาดต้อนไปเป็นเชลย

เขาเชื่อว่า คงจะต้องใช้ชีวิตที่เหลืออยู่ในแผ่นดินแปลกหน้าจนวันตาย เป็นคนธรรมดาที่มีเส้นทางชีวิตธรรมดา ...

แต่เส้นทางธรรมดาเปลี่ยนไปเป็นไม่ธรรมดาในวันนี้...

    นักมวยพม่าคนใหม่ไม่รีบร้อนที่จะรุก แต่เมื่อรุกก็เร็วราวงูฉก ปล่อยหมัดซ้ายเข้าที่หน้าของนายขนมต้ม เรียกเลือดออกมาทันที  !!!

    เห็นชัดว่า เป็นนักมวยฝีมือฉกาจและเจนเวที นักมวยพม่าตามด้วยลูกเตะเท้าขวาที่ชายโครงและศอกขวา แต่ไม่ทันที่จะสัมฤทธิ์ผล ลูกเตะก็พบแขนทั้งสองของนักมวยอยุธยารอรับอยู่ ส่วนศอกขวาถูกสกัดด้วยแขนซ้าย มันคือแม่ไม้ขุนยักษ์จับลิงที่ออกแบบให้หลบหมัด หลบเตะ หลบศอก ในเวลาเดียวกัน

    นายขนมต้มชกหมัดขวาอย่างแรง แต่ชักกลับฉับพลัน เป็นกลลวง เพื่อใช้กำปั้นซ้ายตามดักรออีกฝ่ายที่เผลอหลบหมัดขวาเข้าที่กกหูอย่างจัง ไม่ทันหายมึน หมัดซ้ายก็ตามไปที่ขากรรไกร กำปั้นเชือกกระทบคางดังเหมือนหินกระแทกหิน พม่าเซหลุน ๆ นายขนมต้มตามซ้ำด้วยหมัดขวา เข้ากกหู นักมวยพม่าคนที่สี่ล้มหงายตึง นอนแผ่ ลุกไม่ขึ้น และถูกหามออกไปจากเวที

ถึงคนที่ห้า....


     นักมวยพม่าคนที่ห้ารุกทันที เตะหมายชายโครงนักมวยอยุธยา สายตานายขนมต้มตามติดเท้าข้างนั้น เท้าซ้ายยืนมั่น ส้นเท้าขวากระแทกคู่ต่อสู้ที่ต้นขาอย่างจัง

      พม่าเตะขวามุ่งหมายกลางลำตัว แต่พลันพบว่ามีเท้ารออยู่ เท้านายขนมต้มถีบเข้าชายโครงเต็มแรง พม่าล้มลงไป

     นักมวยพม่า ลุกขึ้น ชกหมัดขวาตรงไปที่หน้านักมวยอยุธยา นายขนมต้มสืบเท้าซ้ายก้าวเฉียงออก ทิ้งน้ำหนักตัวที่เท้าซ้าย แขนขวาปัดกำปั้นอีกฝ่ายให้เบนออก ศอกซ้ายกระแทกเข้าชายโครงของศัตรูดังสนั่น สิ้นฤทธิ์ด้วยกระบวนหนึ่งแม่ไม้มวยไทยนาม ชวาซัดหอก

นักมวยหมายเลขหก ตามมาติด ๆ 

        หมัดขวาพุ่งตรงเข้าหน้าของนายขนมต้ม นักสู้จากอยุธยา ขยับเท้าขวาเข้าไปยังวงในของอีกฝ่าย งอแขนซ้ายขึ้น ปล่อยให้หมัดพม่าข้ามพ้นหัวไปหวุดหวิด เมื่อนั้นเหล็กในก็ฉกปลายคางของคู่ต่อสู้ นี่คือท่วงท่าแห่ง ตาเถรค้ำฝัก ของแม่ไม้มวยไทย

สิ้นฤทธิ์สนิทเงียบ .............................

หกคนผ่านไป พม่ายังไม่ยอมหยุด เห็นชัดว่ามันมิใช่การชกมวยอีกแล้ว หากคือสงครามครั้งใหม่ระหว่างพม่ากับอยุธยา


สมรภูมิมิใช่ท้องทุ่ง หากคือเวทีมวย 

อาวุธมิใช่หอกดาบ หากคือกำปั้น


นักมวยพม่าคนที่เจ็ด ปราดเข้าหานายขนมต้มที่เริ่มจะหมดแรง เสียงหอบหายใจของนักสู้จากอยุธยาแรงขึ้น นักมวยพม่าก็รู้ และชิงประโยชน์จากจุดอ่อนนี้

      หมัดซ้ายของนักมวยพม่าฉกเข้าหมายหน้าของนักมวยอยุธยา นายขนมต้มใช้ท่ามอญยันหลัก ยกแขนทั้งสองขึ้นป้องหน้า ไม่ทันที่หมัดคู่ต่อสู้เดินทางมาถึง เท้าขวาที่ยาวกว่าหมัดก็ถีบเข้าที่ยอดอกของนักมวยพม่า แต่การเคลื่อนตัวของเขาเริ่มช้าลง ทำให้พม่าหลบรอด 

พม่ารุกต่ออีกหลายหมัด วืดวาดปาดซ้ายขวา พลันก็จู่โจมด้วยหมัดขวาอย่างแรง นายขนมต้มสืบเท้าซ้ายไปข้างหน้า ประชิดตัว สองมือจับต้นคอฝ่ายพม่า กระแทกเข่าขวาที่หน้าของอีกฝ่าย คือไม้ตายนาม หักคอเอราวัณ ที่มีพิษสงร้ายกาจ

ครูมวยสอนว่า ...เมื่ออ่อนกำลัง ปล่อยให้ศัตรูเชื่อว่าตนเองสิ้นฤทธิ์ แล้วจู่โจมในห้วงยามที่อีกฝ่ายคาดไม่ถึง


.....ชนะไปเจ็ดคน

นักมวยพม่าคนที่แปด
สู้อย่างระมัดระวัง ตั้งรับอย่างเหนียวแน่นเพราะรู้ว่าอีกฝ่ายมีพิษสงร้ายกาจนัก รู้ดีว่าหากสามารถลากการชกให้ยาวออกไปเท่าไร ก็ยิ่งมีโอกาสชนะ เนื่องจากนักมวยอยุธยาบอบช้ำแล้ว

      นักมวยพม่าหมายเลขแปด เดินมวยประชิด ชกเข้าใบหน้าของนายขนมต้มจนสะบัด ชกตามอีกที กำปั้นศัตรูแข็งเหมือนเหล็ก นายขนมต้มล้มลง แต่ก็ลุกขึ้นมา ไม่ทันตั้งหลักดี กำปั้นพม่าก็อัดวูบเข้าที่คิ้วซ้ายของคนอยุธยาจนเลือดไหลซึมออกมา อีกหมัดและอีกหมัดและอีกหมัดตามมาติด ๆ ราวคลื่นที่สาดซัดไม่หยุด นายขนมต้มหอบหายใจหนักหน่วง แต่เดิมพันครั้งนี้สูงเกินจะยอมแพ้

นักมวยพม่าคนที่แปด เริ่มย่ามใจ ไล่หมัดซ้ายขวาตามมาติด ๆ พลันนายขนมต้มเอี้ยวตัวปล่อยให้หมัดผ่านถากไหล่ขวา ในห้วงนาทีที่สุดแรงหมัด นักมวยอยุธยาไถลเท้าซ้ายออก เหวี่ยงส้นเท้ากระแทกที่ศีรษะของอีกฝ่าย ดั่งจระเข้ฟาดหาง ร่างของนักมวยพม่าล้มลง แน่นิ่งไม่ไหวติง

นักสู้จากอยุธยายืนโงนเงนด้วยความเหนื่อย กล้ำกลืนความเจ็บปวด แต่ยังยืนหยัดที่เดิม

รอนักมวยคนต่อไป....

คนดูรอบเวทีเงียบกริบ  เมื่อนักมวยคนที่เก้า เข้าไปที่ลานชก ....

ไม่มีใครเชื่อว่านายขนมต้มจะรอดในยกนี้

พม่าคนที่เก้า
เดินมวยด้วยหมัดขวา หมายใบหน้านักมวยอยุธยา นายขนมต้มก้มหัวหลบ เสียงวืดเมื่อกำปั้นคู่ต่อสู้ผ่านศีรษะไปหวุดหวิด นักมวยอยุธยาสืบเท้าขวาไปข้างหน้า ในห้วงเวลาแสนสั้นที่กำปั้นฝ่ายตรงข้ามหมดพลัง กำปั้นขวาของนายขนมต้มก็พุ่งสู่ปลายคางของนักมวยพม่า มันคือท่ายกเขาพระสุเมรุ ที่แม้เป็นที่รู้จัก แต่ยากหาคนที่ใช้มันได้อย่างหมดจดเช่นนี้

งดงามราวบทกวี แต่อันตรายดุจศัสตราวุธ !!!!

นักมวยพม่าคนที่สิบ  ก้าวเข้าสู่เวทีด้วยความระมัดระวัง หากผ่านไปเก้าคนยังโค่นอีกฝ่ายไม่ได้ แรงกดดันบนไหล่ของเขาก็ยิ่งหนักหน่วง เป็นภาระใหญ่ไม่ต่างจากทหารในสมรภูมิ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นการต่อสู้เฉพาะพระพักตร์

นักมวยพม่าเตะเท้าขวาตามมาติด ๆ สองที นายขนมต้มเสียหลักล้มลงไป แต่ลุกขึ้นมาแทบทันที

พม่าจู่โจมต่อเนื่อง ประเคนหมัดซ้ายเข้าหัวคิ้วนายขนมต้มจนเซไป นักมวยอยุธยาขยับร่าง แต่พบหมัดขวาอีกฝ่ายรออยู่ นักมวยอยุธยาผู้อ่อนล้าล้มลงไป แต่ก็ลุกขึ้นมาอีก

ไม่ทันตั้งหลักดี เท้าของพม่าก็เตะสูงที่ศีรษะ เสียงเหมือนขวานเฉาะลูกมะพร้าว สะเทือนทั้งร่าง นักมวยเชลยล้มลง เป็นครั้งที่สาม เลือดไหลจากหัวคิ้ว ลุกขึ้นช้า ๆ ลมหายใจหอบแรง แต่สองเท้ายังยืนมั่น

พริบตานั้น เท้าของคู่ต่อสู้ก็ลอยมาหมายเผด็จศึก นายขนมต้มไม่หลบ ประสานเท้าขวาขึ้นรับเท้าของอีกฝ่าย เสียงปะทะกันของกระดูกสองท่อน เท้าขวานายขนมต้มไม่หยุดเพียงนั้น ตามอีกฝ่ายไปเหมือนเงาประจำตัว ฝ่ายตรงข้ามเซถลา แต่พบหมัดของนักมวยอยุธยาดักรออยู่ เลือดแดงข้นอาบใบหน้านักมวยพม่า พม่าเซออกข้าง แต่พบเท้าข้างหนึ่งลอยตรงหน้า ... 

เป็นภาพสุดท้ายที่นักมวยพม่าเห็นก่อนสติวูบหาย 

นิ่งเงียบทั้งเวที

พระเจ้ามังระตรัส “พอแล้ว”

... การชกมวยวันที่ ๑๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๓๑๗ ยุติลงในที่สุด
พระเจ้ามังระทอดพระเนตรการชกโดยตลอด ตรัสว่า “คนไทยมีพิษสงรอบตัว มือเปล่ายังเอาชนะคนได้ถึงเก้าคนสิบคน หากว่าเจ้านายดีและสามัคคีกัน ไฉนเลยกรุงศรีอยุธยาจะเสียทีแก่เรา”
พระเจ้ามังระทรงปูนบำเหน็จแก่นายขนมต้ม

“เจ้าจงทำงานในราชสำนักกรุงอังวะเถิด”


นายขนมต้มทูลว่า “ข้าพระองค์เป็นชาวอยุธยา หากพระองค์จะประทานรางวัล ข้าพระองค์ขอเพียงอิสรภาพ กลับบ้านเกิด”

ทรงนิ่งไปครู่หนึ่ง ตรัสว่า “จงเป็นไปตามนั้น”

เหล็กในคืออิสรภาพ

มิเพียงเขาชนะนักมวยพม่า ยังชนะพระทัยพระเจ้ามังระ


..........

        หนังสือประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม โดย วินทร์ เลียววาริณ

Package History BookS



ชุดสารคดี ประวัติศาสตร์ที่เราลืม เล่ม 1-5  ( 5 เล่ม )

แถม วีรบุรุษที่เราลืม เหมาะสำหรับเก็บประจำบ้าน ให้ลูกหลานประกอบการเรียน

ราคารวมเพียง 1,000 บาท รวมค่าจัดส่งแล้ว (ราคาเต็ม 1,580 บาท)

ทุกเล่มมีลายเซ็นนักเขียน เหมาะเป็นของขวัญ  >>  สั่งซื้อตอนนี้ 

 


Admin Bee

สนับสนุน Misc.Today

นี่คือ ลิ้งค์พันธมิตร หรือที่เรียกว่า affiliate link ซึ่งหมายความว่า... หากคุณคลิ๊กลิ้งค์นี้ และซื้อผลิตภัณฑ์ อะไรก็ได้ ฉันจะได้ค่าคอมมิชชั่นเล็กน้อย สิ่งนี้จะช่วยสนับสนุนเว็บไซด์ และช่วยให้กำลังใจเราต่อไป


  ชาหมักคอมบูชะ Scoby doit  


 






 

คุณอาจสนใจ

5 บทความ ยอดนิยม ในรอบ 30 วัน

🟡 โพสต์แนะนำ

คริสเตียนไซออนนิสท์ คือใคร ? - Christian Zionist

ช่วงนี้ ผมติดตามหาข้อมูลเกี่ยวกับ อิสราเอล กับ ปาเลสไตน์ ครับ ส่วนใหญ่จะเป็นแนวประวัติศาสตร์เสียมาก เพราะผมมีความเชื่อส่วนตัวว่า การที่เราจะ...

Popular Posts

แนะนำหนังสือ


  BOOKs OF THE DAY








ผู้สนับสนุน







Xiaomi Kingsmith Walking Pad

 Xiaomi Kingsmith Walking Pad R1 Pro/ R2 ลู่เดิน/วิ่งไฟฟ้า พับเก็บได้ สำหรับการออกกำลังกายภายในบ้าน >> คลิ๊กดูเพิ่มอีก


ป้ายกำกับ / Tag labels

2475 (1) กฎหมาย (4) กฐิน (2) กรรม (5) กระเป๋า (3) กรุงเทพฯ (19) กรุงศรีอยุธยา (11) กล้องถ่ายภาพ (7) กลอน (4) กลาโหม (9) การเกษตร (7) การจัดเก็บ (3) การปกครอง (1) การเมือง (54) การศึกษา (131) กิจกรรมกลางแจ้ง (2) กีฬา (3) เกษตร (3) เกี่ยวกับสัตว์ (14) ไกลกังวล (1) ขงจื้อ (1) ขนม (2) ขอมไม่ใช่เขมร (6) ข้าว (3) ข่าวสาร (22) ขิง (1) เขมร (10) โขน (2) คณะราษฎร (10) คติธรรม (1) คนเล่านิทาน (15) ครัว (1) ครู (6) ความเชื่อ (12) ความรู้ (156) คอมมิวนิสต์ (34) คำภีร์ (2) คำสอน (11) เครื่องบิน (7) เงินตรา (4) จอมพล ป. พิบูล (1) จอมพล ป. พิบูลสงคราม (13) จีน (53) ช้าง (1) ชายแดนใต้ (5) ญี่ปุ่น (15) ดนตรีไทย (1) ดอกไม้ (1) เด็ก (5) เดนมาร์ก (1) ต้นไม้ (4) ตลาดนัด (1) ตำรวจ (2) เตา (1) เตือนภัย (17) แต่งงาน (1) ทรัพยากร (2) ทวิตเตอร์ (1) ทหาร (9) ท่องเที่ยว (28) ทะเล (3) ทัศนะ (50) ทำบุญ (5) ทำอาหาร (5) เทคโนโลยี (13) โทรศัพท์มือถือ (2) ธนบัตร (1) ธนาคาร (4) ธรณี (1) ธรรมชาติ (10) ธรรมในคำกลอน (1) ธรรมะ (6) ธรรมาธิปไตย (2) ธุรกิจ (10) นราธิวาส (3) นวดไทย (1) นักบิน (1) นักเรียน (4) นางใน (1) นาซี (1) นายกรัฐมนตรี (3) น้ำมัน (1) นิทานพื้นบ้าน (1) นิยาย (3) นิวเคลียร์ (1) เนปาล (1) แนะนำสินค้า (38) โนรา (1) ในหลวง ร.10 (1) ในหลวงรัชกาลที่ 9 (15) บริการ (3) บริหาร (3) บ่อน (1) บัตรเครดิต (2) บัตรประชาชน (1) บุคคล (42) บุญ (3) บุหรี่ (1) เบตง (1) แบรนด์ไทย (5) โบราณวัตถุ (13) โบราณสถาน (6) โบสถ์ (2) ประชาธิปไตย (54) ประท้วง (7) ประเทศไทย (177) ประธานาธิบดี (1) ประวัติศาสตร์ (148) ปรัชญาชีวิต (21) ปรีดี (2) ปลูกต้นไม้ (3) ปูติน (1) ผลไม้ (2) ผลิต (3) ผัก (1) ผิวสี (1) แผ่นดินไหว (1) ฝรั่งเศส (6) พม่า (6) พยาบาล (1) พระเจ้าตากสินมหาราช (2) พระนเรศ (1) พระพุฒาจารย์ (1) พระพุทธเจ้า (1) พระราชกรณียกิจ (4) พระสงฆ์ (10) พราหมณ์ (1) พิบูลสวัสดี (1) พิพิธภัณฑ์ (9) พุทธทาส (1) พุทธศาสนา (11) เพชรบุรี (3) เพลง (8) เพลงผ้า ปรพากย์ (1) แพทย์ (4) ฟาโรห์ (1) ไฟ (4) ไฟฉาย (1) ไฟฟ้า (1) ภัยพิบัติ (1) ภาคใต้ (6) ภาคอีสาน (1) ภาษา (9) ภาษิต (1) ภูเขาไฟ (1) ภูมิปัญญา (19) ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ (1) มวยไทย (5) มาเลเซีย (1) มุมไบ (2) มุสลิม (2) แม่ (1) ไม้ไผ่ (1) ยา (1) ยิว (3) ยูนนาน (1) เยาวชน (1) เยาวราช (1) รถเมล์ (3) รองเท้า (2) ระเบิด (3) รัชกาลที่ ๒ (1) รัชกาลที่ ๔ (3) รัชกาลที่ ๕ (7) รัชกาลที่ ๖ (1) รัชกาลที่7 (8) รัชกาลที่ ๘ (5) รัฐประหาร (7) รัสเซีย (12) ราชาศัพท์ (1) รามเกียรติ์ (1) เรือ (2) เรื่องเก่า (80) เรื่องเล่า (23) โรค (5) โรคระบาด (4) โรงงาน (1) โรงพยาบาล (10) โรงเรียน (16) โรฮิงญา (1) ลอนดอน (1) ลัทธิ (2) ลัทธิมาร์กซ์ (3) ล้านนา (3) ลาว (4) ลิง (1) เลือกตั้ง (9) โลก (5) โลกร้อน (3) วัฒนธรรม (2) วัด (14) วันแม่ (1) วันสำคัญ (5) วิทยาศาสตร์ (9) วิทยุ (2) วิหาร (4) เวียดนาม (4) ไวรัล (1) ศัพท์ (1) ศาสนา (36) ศิริราช (5) ศิลปะ (5) ศิลปาชีพ (1) เศรษฐกิจ (3) สงขลา (1) สงคราม (50) สถานีรถไฟ (1) สนามบิน (2) สเปน (1) สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร (2) สมัยเมจิ (1) สยาม (12) สวนสนุก (1) สวิตเซอร์แลนด์ (2) สังคม (38) สำนวน (8) สิ่งประดิษฐ์ (13) สื่อ (3) สุขภาพ (14) สุภาพจิต (6) สุสาน (1) หนังแท้ (4) หนังสือ (31) หนังสือพิมพ์ (1) หนู (1) ห้องเรียน (4) เหมาเจ๋อตง (2) เหรียญ (1) อเมริกา (37) ออสเตรีย (1) อังกฤษ (6) อาชีพ (1) อาหาร (16) อาหารจานโปรด (9) อิตาลี (3) อินเดีย (8) อิสราเอล (3) อียิปต์ (1) อีสาน (1) แอปพลิเคชัน (4) ไอร์แลนด์ (1) cpr (1) deep state (1) democracy (1) Diarymisc (3) facebook (1) handmade (1) leather (1) marxism (1) metaverse (1) nomad (6) Nuclear (1) OPENUP (1) powerbank (1) shopee (1) Social media (2) social views (114) startup (1) UNESCO (4) xiaomi (1)


Miscellaneous | Misc.Today 🌱 . ขับเคลื่อนโดย Blogger.

 
miscthailand