ค้นหาบทความ 🙄





9/13/65

จุดจบของยุคจักรวรรดิบริติช The end of British Empire

สำหรับคนที่สนใจประวัติศาสตร์ ย่อมทราบว่าการสวรรคตของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ยังหมายถึงการสิ้นสุดของยุคจักรวรรดิบริติช (British Empire) คือ " The end of Empire"  อย่างแท้จริง  | บทความโดย :  Kornkit Disthan ( กรกิจ ดิษฐาน )

จุดจบของยุคจักรวรรดิบริติช The end of British Empire


      จักวรรดิบริติช  ก่อตัวมานานกว่า 200-300 ปี แต่กว่าจะมีรูปแบบเป็นทางการเอาก็เมื่อรัฐบาลนายกรัฐมนตรีดิสราเอลีทูลเกล้าถวายอินเดียให้สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียทรงปกครอง และอัญเชิญพระนางเป็นจักรพรรดินีแห่งอินเดีย
 
     ....  นั่นคือจุดเริ่มทางการของ British Empire 

    แม้ในทางปฏิบัติแล้วบริเตนเป็น Empire มาระยะหนึ่งแล้ว เพราะมีอาณานิคมไปทั่วสารทิศ แต่จุดสูงสุดของการเป็นเจ้าโลกคือยุคของพระราชินีองค์นี้
บริเตน เป็นจักรวรรดิมาได้หลายรัชกาล หลังจากนั้นมีแต่พระราชาที่ทรงเป็นประมุขจักรวรรดิ จนกระทั่งถึงรัชสมัยพระเจ้าจอร์จที่ 6 บริเตนบอบช้ำจากสงครามโลกครั้งที่ 2 อีกทั้งอาณานิคมต่างๆ ต้องการเอกราชกันเกือบทั้งสิ้น จึงต้องค่อยๆ เลิกเป็นเจ้าโลกโดยจำยอม  พระเจ้าจอร์จที่ 6 ทรงดำรงพระอิสริยยศเป็น "เอมเปอเรอ" แห่งอินเดียพระองค์สุดท้าย หลังจากนั้นอนุทวีปก็ได้เอกราช  สิ้นรัชกาลนั้น พระราชธิดาทรงรับราชบัลลังก์สืบต่อมา ก็มิได้ทรงเป็น "เอมเปรศ" อีก และทรงเห็นประเทศราชใหญ่น้อย เป็นเอกราชกันไป เมื่อควีนเอลิซาเบธทรงครองราชย์ในช่วงแรกๆ บริเตนก็แทบไม่เหลือสภาพความเป็นจักรวรรดิแล้ว
ในทศวรรษที่ 60 อาณานิคมในแอฟริกาก็มีอธิปไตยกันหมด ในทศวรรษที่ 70 เริ่มหมดดินแดนในแปซิฟิก จนถึงทศวรรษที่ 80 "จักรวรรดิ" เหลือแค่บรูไนที่ยังครองตัวเป็นรัฐอารักขา แต่ที่ลากยาวมาถึงขนาดนี้ เพราะสุลต่านบรูไน "ทรงกลัว" จะปกป้องตัวเองไม่ได้  ด้วยทรงฝากรัฐบาลเจ้าอาณานิคมดูแลการทหารมาตลอด และยังมาเจอการขบถครั้งใหญ่ในปี 1962 ทำให้ต้องเลื่อนการแยกตัวเป็นเอกราชไปจนกว่าจะมีกองทัพเป็นของตัวเอง

กระทั่งบรูไนพร้อมปกครองตนเองในปี 1984 

      จักรวรรดิบริติชก็มาถึงโค้งสุดท้ายจริงๆ เพราะเหลือแค่ฮ่องกง ความจริงฮ่องกงมีทั้งส่วนที่บริเตนเช่าจากจีนและส่วนที่ยึดมาจากจีนมาครองตลอดกาล บริเตนพยายามยื้อจนสุดกำลัง แต่ไม่อาจต้านแรงกดดันจากจีนได้ สุดท้ายต้องยอมปล่อยฮ่องกงคืนทั้งหมดแก่จีนในปี 1997 จากนั้น บริเตนหรือที่เรียกกันว่าสหราชอาณาจักรทุกวันนี้ ก็มีแต่ดินแดนโพ้นทะเลที่ครองไว้เท่านั้น ไม่มีอาณานิคมเหลืออีก

ภาพโดย www.vogue.co.th
       บางคนจึงถือว่า การเสียฮ่องกงถือว่าเป็นจุดจบของจักรวรรดิบริติชอย่างแท้จริง ... พวกอาณานิคมเดิมที่ปกครองตนเองในฐานะเครือจักรภพ บางส่วนยังยอมให้สมเด็จพระราชาธิบดีของบริเตนทรงเป็นประมุข โดยมีข้าหลวงแทนพระองค์ำหน้าที่สำเร็จราชการ ณ ประเทศนั้นๆ เช่น แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ แต่ในรัชกาลของควีนเอลิซาเบธที่ 2 นี่เอง ประเทศเหล่านี้ยังเริ่มตีตัวออกห่าง แยกการปกครองเป็นเอกเทศมากขึ้น ทั้งยังมีมีเสียงเรียกร้องให้ตัดขาดจากพระเจ้าแผ่นดินบริติช แล้วเปลี่ยนประเทศเป็นสาธารณรัฐ   ในวันสวรรคตของควีน นอกจากจะมีแฮชแท็กอาลัยควีนแล้ว แฮชแท็กติดอันดับในประเทศพวกนี้ คือคำว่า #republic

      น่ากลัวว่า  ในรัชสมัยต่อมานี้ กระแส republic ในประเทศเครือจักรภพน่าจะหนักหน่วงยิ่งขึ้น อาจจะไม่ใช่แค่ "The end of Empire" แต่อาจเป็น "the end of Commonwealth realms" !!! 

       มันเริ่มชัดเมื่อปีกลาย บาร์เบโดสเลิกยกควีนเป็นประมุขของชาติ แล้วประกาศตัวเป็นสาธารณรัฐ
นี่ก็เป็นประเด็นหนึ่ง อีกประเด็น คือเมื่อควีนสวรรคตแล้ว มีเสียงตำหนิจากบางคนบางกลุ่มว่าพระองค์ไม่สมควรได้รับการไว้อาลัย เพราะทรงไม่เอาธุระต่อความโหดร้ายที่ระบบอาณานิคมของจักรวรรดิเคยกระทำไว้ 

" เสียงตำแหน่งเหล่านี้ส่วนใหญ่มาจากชาวแอฟริกัน "

     ในช่วงต้นรัชกาลนั้น มีการสลายอำนาจจักรวรรดิ ซึ่งบางครั้ง ก็ทำกันอย่างละมุนละม่อม และบางครั้งก็รุนแรงจนคนตายหลายพันคน บ้างถูกคุมขังในสถานกักกันนับหมื่น !!!

เช่น กรณี Mau Mau rebellion ที่เคนยา

        เรื่องนี้ไม่ได้เพิ่งมาเรียกร้องกันเอาตอนนี้ แต่ทำกันมาระยะหนึ่งแล้ว เช่นปีที่แล้ว นักศึกษาของวิทยาลัยแมกดาเลน ของออกซ์ฟอร์ด ปลดพระบรมฉายาลักษณ์ของควีนลงมา โดยให้เหตุผลว่า 
“การแสดงภาพพระมหากษัตริย์และราชวงศ์อังกฤษแสดงถึงประวัติศาสตร์ยุคอาณานิคม" 
      เมื่อสวรรคตแล้ว จึงไม่ต้องแปลกใจที่จะมีการลำเลิกเรื่องนี้ขึ้นมา เช่น พรรคฝ่ายค้านของแอฟริกาใต้ Economic Freedom Fighters (EFF) มีแถลงการณ์ว่า
       “ในช่วงชีวิตพระนางนั้น เอลิซาเบธ วินด์เซอร์ ไม่เคยยอมรับการก่ออาชญากรรมที่อังกฤษ และครอบครัวของพระนางได้กระทำไปทั่วโลก โดยเฉพาะ อันที่จริง พระนางเป็นผู้ถือธงแห่งความโหดร้ายด้วยความภาคภูมิใจ เพราะในรัชสมัยของพระนาง เมื่อชาวเยเมนลุกขึ้นประท้วงการล่าอาณานิคมของอังกฤษ เอลิซาเบธได้สั่งให้ปราบปรามการลุกฮือครั้งนี้อย่างโหดเหี้ยม”

    แต่แถลงการณ์นี้ อาจจะตีขลุมไป ที่ว่า ควีนทรงสั่งให้ปราบชาวเยเมนในกรณี Aden Emergency ( ปี 1963 - 1967) นั้นผมยังไม่เห็นหลักฐานว่าพระองค์เกี่ยวข้องโดยตรง เห็นแต่ "ทหารรักษาพระองค์" ไปร่วมรบ  อีกคนคือ Uju Anya เชื้อสายไนจีเรีย รองศาสตราจารย์ของมหาวิทยาลัยคาร์เนกี เมลลอน ในสหรัฐฯ ทวีตอย่างดุดันว่า ต้องการให้ควีนทรงถึงวาระสุดท้ายอย่างทารุณ *- ทวีตข้อความนี้ ถูกทวิตเตอร์ลบไป แต่มันเป็นกระแสถกเถียงที่ดุเดือดที่สุดประเด็นหนึ่งในวันนี้ ....

สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธทรงเกี่ยวพันกับความโหดร้ายของจักรวรรดิมากแค่ไหน ? 

      เรื่องนี้ผมเองตอบไม่ได้ .... เพราะความสนใจยังจำกัดแค่ความทารุณที่เกิดในรัชกาลก่อนๆ ในสมัยที่จักรวรรดิปกครอง "ไพร่ฟ้าอาณานิคม" อย่างไร้ปราณี ..

       แต่สมัยของควีนนั้น เป็นปลายจักรวรรดิแล้ว อีกทั้งเรื่องความพัวพันของสถาบันพระมหากษัตริย์บริเตนกับการปกครองอาณานิคมยังเป็นประเด็นใหม่ๆ ที่เพิ่งถูกหยิบยกมาถกเถียงกันไม่กี่ปีมานี้   การปกครองจักรวรรดินั้น กระทำโดยรัฐบาลบริเตน ส่วนราชสำนักนั้นโอนพระราชอำนาจให้รัฐบาลและรัฐสภาไปจนเกือบหมดสิ้นแล้ว ชะตากรรมของจักรวรรดิจึงอยู่ในมือนักการเมืองเป็นส่วนใหญ่

องค์ประมุขทรงเป็นสัญลักษณ์แห่งจักรวรรดิ  แต่แทบไม่มีอำนาจแทรกแซงอะไรมากนัก การตัดสินใจเรื่องใหญ่และรวมถึงเรื่องที่โหดร้ายมักจะเกิดจากนักการเมือง เช่น วินสตัน เชอร์ชิลล์ ซึ่งถือเป็นนายกรัฐมนตรีแห่งจักรวรรดิเต็มตัวคนสุดท้าย ในช่วงชีวิตการเป็นข้าราชการประจำและการเมืองของเขา มีส่วนให้ผู้คนในอาณานิคมล้มตายไปมากมาย

เมื่อไม่กี่ปีมานี้ ผลงานในทางเหี้ยมของเชอร์ชิลล์ถูกขุดคุ้ย และชื่อเสียงถูก cancelled ในฐานะตัวร้ายในทางประวัติศาสตร์ ไม่ใช่วีรบุรุษอย่างที่เข้าใจ   แต่ราชสำนักรู้เห็นกับรัฐบาลหรือไม่?  เรื่องนี้รู้ได้ยากยิ่ง เรารู้อย่างหนึ่งว่า แม้พระมหากษัตริย์จะทรงใช้พระราชอำนาจผ่านทางรัฐบาล และทรงอยู่เหนือการเมือง แต่หัวหน้ารัฐบาลจะต้องมากราบทูลรายงานควีนทุกสัปดาห์เหมือนกัน ??!!  

มายา เจซานอฟฟ์ (Maya Jasanoff) ศาสตราจารย์ด้านประวัติศาสตร์ที่ฮาร์วาร์ด เป็นผู้เขียนหนังสือสามเล่มเกี่ยวกับจักรวรรดิบริติชและเรื่องพสกนิกรของจักรวรรดินี้ ได้เขียนบทความทัศนะใน The New York Times (เรื่อง Mourn the Queen, Not Her Empire) ว่า .... 

     "เราอาจไม่มีวันได้รับรู้ สิ่งที่สมเด็จพระราชินีทรงทำหรือไม่อาจรู้ได้ ถึง "อาชญากรรม" ที่เกิดขึ้นในนามของพระนาง ( สิ่งที่เกิดขึ้นในการประชุมประจำสัปดาห์ขององค์ประมุขกับนายกรัฐมนตรียังคงเป็นกล่องดำที่ศูนย์กลางของรัฐอังกฤษ)  ราษฎรของพระนางก็ไม่จำเป็นต้องรับทราบเรื่องราวทั้งหมดเช่นกัน เจ้าหน้าที่อาณานิคมได้ทำลายบันทึกมากมายที่ "อาจทำให้รัฐบาลของพระนางเจ้าต้องอับอาย" ตามคำสั่งของรัฐมนตรีต่างประเทศสำหรับอาณานิคม และจงใจปกปิดข้อมูลอื่น ๆ ในเอกสารลับที่เพิ่งจะมีการเปิดเผยการดำรงอยู่เอาก็เมื่อปี 2554 เท่านั้น แม้ว่านักเคลื่อนไหวบางคนเช่น ส.ส. พรรคแรงงาน คือ บาร์บารา คาสเซิล ตีแผ่และประณามความทารุณของอังกฤษ พวกเขาก็ยังล้มเหลวในทำให้สาธารณชนในวงกว้างสนใจ"
The Crown and the Empire ยังเป็นปริศนาที่รอการขุดคุ้ยกันต่อไป ...


ภาพโดย :  



  จากปลายปากกาของโรเบิร์ต ฮาร์ดแมน นักข่าวผู้สามารถเข้าถึงข้อมูลสุด exclusive ของราชวงศ์อังกฤษ  


หนังสือ “Queen of the World”
พระราชประวัติของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 นี่ไม่ใช่แค่หนังสือชีวประวัติที่บอกเล่าเหตุการณ์ตั้งแต่ประสูติจนสวรรคต 💖

    ทว่า หนังสือจะพาผู้อ่านเดินทางไปพร้อมกับควีนฯ ขณะพระองค์ปฏิสัมพันธ์และข้องเกี่ยวในเหตุการณ์สำคัญทั้งในประเทศเครือจักรภพและประเทศอื่นๆ ทั่วโลก อีกทั้งเผยให้เห็นวิธีการวางนโยบายทางการทูตที่ทำให้พระองค์เป็นราชินีผู้ยิ่งใหญ่ ไม่ใช่แค่ในประเทศ แต่ยังเป็นใหญ่ในเครือจักรภพด้วย พบกับบทสัมภาษณ์เชิงลึกของเอกอัครราชทูต บุคคลผู้ใกล้ชิดในวัง รวมถึงบรรดาเชื้อพระวงศ์ จากปลายปากกาของโรเบิร์ต ฮาร์ดแมน นักข่าวผู้สามารถเข้าถึงข้อมูลสุด exclusive ของราชวงศ์อังกฤษ มีความเชี่ยวชาญในประวัติราชวงศ์โดยเฉพาะ

   >> ดูเพิ่มเติม 


     


Admin Bee

สนับสนุน Misc.Today

นี่คือ ลิ้งค์พันธมิตร หรือที่เรียกว่า affiliate link ซึ่งหมายความว่า... หากคุณคลิ๊กลิ้งค์นี้ และซื้อผลิตภัณฑ์ อะไรก็ได้ ฉันจะได้ค่าคอมมิชชั่นเล็กน้อย สิ่งนี้จะช่วยสนับสนุนเว็บไซด์ และช่วยให้กำลังใจเราต่อไป



 

คุณอาจสนใจ

เครื่องดื่มมหัศจรรย์ เพื่อสุขภาพที่ดี


  ชาหมักคอมบูชะ Scoby doit  



“ จุลินทรีย์ โพรไบโอติก ที่มีอยู่ในชาหมัก คอมบูชะ ( Kombucha ) สามารถแก้ไขปัญหาของระบบทางเดินอาหาร และลำไส้”

KOMBUCHA ORIGINAL 101 / by Scoby Do it 💖
    เครื่องดื่มชาหมักเพื่อสุขภาพ คอมบูชา หรือ คอมบูชะ ( Kombucha ) Scoby do it คือ เครื่องดื่มที่ผ่านกระบวนการหมัก มีสรรพคุณทางยา โดยมี “จุลินทรีย์ โพรไบโอติก Probiotics” ที่เป็นพระเอกของเครื่องดื่มชนิดนี้ “จุลินทรีย์” ที่อยู่ในชาหมักที่เกิดจากการหมักชา จะมี สารฟลาโวนอยด์ (Flavonoids) ช่วยต้านอนุมูลอิสระ และอาจช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือด เบาหวาน มะเร็ง และโรคอัลไซเมอร์ได้ 

   >> ดูเพิ่มเติม 




5 บทความ ยอดนิยม ในรอบ 30 วัน

🟡 โพสต์แนะนำ

คริสเตียนไซออนนิสท์ คือใคร ? - Christian Zionist

ช่วงนี้ ผมติดตามหาข้อมูลเกี่ยวกับ อิสราเอล กับ ปาเลสไตน์ ครับ ส่วนใหญ่จะเป็นแนวประวัติศาสตร์เสียมาก เพราะผมมีความเชื่อส่วนตัวว่า การที่เราจะ...

Popular Posts

แนะนำหนังสือ


  BOOKs OF THE DAY








ผู้สนับสนุน







Xiaomi Kingsmith Walking Pad

 Xiaomi Kingsmith Walking Pad R1 Pro/ R2 ลู่เดิน/วิ่งไฟฟ้า พับเก็บได้ สำหรับการออกกำลังกายภายในบ้าน >> คลิ๊กดูเพิ่มอีก


ป้ายกำกับ / Tag labels

2475 (1) กฎหมาย (4) กฐิน (2) กรรม (5) กระเป๋า (3) กรุงเทพฯ (19) กรุงศรีอยุธยา (11) กล้องถ่ายภาพ (7) กลอน (4) กลาโหม (9) การเกษตร (6) การจัดเก็บ (2) การเมือง (48) การศึกษา (127) กิจกรรมกลางแจ้ง (2) กีฬา (3) เกษตร (2) เกี่ยวกับสัตว์ (12) ไกลกังวล (1) ขงจื้อ (1) ขนม (2) ขอมไม่ใช่เขมร (6) ข้าว (3) ข่าวสาร (22) ขิง (1) เขมร (10) โขน (2) คณะราษฎร (10) คติธรรม (1) คนเล่านิทาน (14) ครู (6) ความเชื่อ (11) ความรู้ (145) คอมมิวนิสต์ (31) คำภีร์ (2) คำสอน (11) เครื่องบิน (7) เงินตรา (4) จอมพล ป. พิบูล (1) จอมพล ป. พิบูลสงคราม (13) จีน (53) ช้าง (1) ชายแดนใต้ (5) ญี่ปุ่น (15) ดนตรีไทย (1) ดอกไม้ (1) เด็ก (5) เดนมาร์ก (1) ต้นไม้ (4) ตลาดนัด (1) ตำรวจ (2) เตา (1) เตือนภัย (15) แต่งงาน (1) ทรัพยากร (2) ทวิตเตอร์ (1) ทหาร (9) ท่องเที่ยว (27) ทะเล (3) ทัศนะ (47) ทำบุญ (5) ทำอาหาร (5) เทคโนโลยี (13) โทรศัพท์มือถือ (2) ธนบัตร (1) ธนาคาร (4) ธรรมชาติ (7) ธรรมในคำกลอน (1) ธรรมะ (6) ธรรมาธิปไตย (2) ธุรกิจ (10) นราธิวาส (3) นวดไทย (1) นักบิน (1) นักเรียน (4) นางใน (1) นาซี (1) นายกรัฐมนตรี (2) น้ำมัน (1) นิทานพื้นบ้าน (1) นิยาย (3) นิวเคลียร์ (1) เนปาล (1) แนะนำสินค้า (36) โนรา (1) ในหลวง ร.10 (1) ในหลวงรัชกาลที่ 9 (15) บริการ (3) บริหาร (3) บ่อน (1) บัตรเครดิต (2) บัตรประชาชน (1) บุคคล (42) บุญ (3) บุหรี่ (1) เบตง (1) แบรนด์ไทย (5) โบราณวัตถุ (13) โบราณสถาน (6) โบสถ์ (2) ประชาธิปไตย (51) ประท้วง (7) ประเทศไทย (172) ประวัติศาสตร์ (147) ปรัชญาชีวิต (20) ปรีดี (2) ปลูกต้นไม้ (3) ปูติน (1) ผลไม้ (1) ผลิต (3) ผิวสี (1) แผ่นดินไหว (1) ฝรั่งเศส (6) พม่า (6) พยาบาล (1) พระเจ้าตากสินมหาราช (2) พระนเรศ (1) พระพุฒาจารย์ (1) พระพุทธเจ้า (1) พระราชกรณียกิจ (4) พระสงฆ์ (10) พราหมณ์ (1) พิบูลสวัสดี (1) พิพิธภัณฑ์ (9) พุทธทาส (1) พุทธศาสนา (11) เพชรบุรี (3) เพลง (8) เพลงผ้า ปรพากย์ (1) แพทย์ (4) ฟาโรห์ (1) ไฟ (4) ไฟฉาย (1) ไฟฟ้า (1) ภาคใต้ (6) ภาคอีสาน (1) ภาษา (9) ภาษิต (1) ภูเขาไฟ (1) ภูมิปัญญา (19) ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ (1) มวยไทย (5) มาเลเซีย (1) มุมไบ (2) มุสลิม (2) แม่ (1) ไม้ไผ่ (1) ยา (1) ยิว (3) ยูนนาน (1) เยาวชน (1) เยาวราช (1) รถเมล์ (3) รองเท้า (2) ระเบิด (3) รัชกาลที่ ๒ (1) รัชกาลที่ ๔ (3) รัชกาลที่ ๕ (7) รัชกาลที่ ๖ (1) รัชกาลที่7 (8) รัชกาลที่ ๘ (5) รัฐประหาร (6) รัสเซีย (12) ราชาศัพท์ (1) รามเกียรติ์ (1) เรือ (2) เรื่องเก่า (80) เรื่องเล่า (23) โรค (5) โรคระบาด (3) โรงงาน (1) โรงพยาบาล (9) โรงเรียน (16) โรฮิงญา (1) ลอนดอน (1) ลัทธิ (2) ลัทธิมาร์กซ์ (1) ล้านนา (3) ลาว (4) เลือกตั้ง (9) โลก (5) โลกร้อน (3) วัฒนธรรม (1) วัด (14) วันแม่ (1) วันสำคัญ (5) วิทยาศาสตร์ (9) วิทยุ (2) วิหาร (4) เวียดนาม (4) ไวรัล (1) ศัพท์ (1) ศาสนา (36) ศิริราช (5) ศิลปะ (4) ศิลปาชีพ (1) เศรษฐกิจ (3) สงขลา (1) สงคราม (50) สถานีรถไฟ (1) สนามบิน (2) สเปน (1) สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร (2) สมัยเมจิ (1) สยาม (12) สวนสนุก (1) สวิตเซอร์แลนด์ (2) สังคม (36) สำนวน (8) สิ่งประดิษฐ์ (13) สื่อ (3) สุขภาพ (13) สุภาพจิต (5) สุสาน (1) หนังแท้ (4) หนังสือ (31) หนังสือพิมพ์ (1) ห้องเรียน (4) เหมาเจ๋อตง (2) เหรียญ (1) อเมริกา (36) ออสเตรีย (1) อังกฤษ (6) อาชีพ (1) อาหาร (16) อาหารจานโปรด (9) อิตาลี (3) อินเดีย (8) อิสราเอล (3) อียิปต์ (1) อีสาน (1) แอปพลิเคชัน (4) ไอร์แลนด์ (1) cpr (1) deep state (1) democracy (1) Diarymisc (3) facebook (1) handmade (1) leather (1) metaverse (1) nomad (6) Nuclear (1) OPENUP (1) powerbank (1) shopee (1) Social media (2) social views (114) startup (1) UNESCO (4) xiaomi (1)


Miscellaneous | Misc.Today 🌱 . ขับเคลื่อนโดย Blogger.

 
miscthailand