ค้นหาบทความ 🙄





6/02/65

กษัตริย์กัมพูชาภายใต้อุ้มบุญของสยาม | ขอมไม่ใช่เขมร ตอนที่ ๔

" ไทยลอกแบบมาจากเขมรหรือเขมรลอกไปจากไทย ” ตอนที่ ๔ กษัตริย์กัมพูชาภายใต้อุ้มบุญของสยาม ที่คุณ...อาจไม่เคยรู้ !!! | โดย อัษฎางค์ ยมนาค
กษัตริย์กัมพูชาภายใต้อุ้มบุญของสยาม


"ความเดิมจากตอนที่แล้ว

ขอมพระนคร ผู้สร้างนครวัด   เจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุดในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๒ แต่หลังจากพระเจ้าชัยวรมันที่ ๘ ซึ่งตรงกับสมัยที่กรุงสุโขทัยเพิ่งก่อตั้งอาณาจักร เป็นช่วงเวลาที่ขอมพระนครก็เริ่มเสื่อมลง หลังจากนั้นอีกราวร้อยปี เมื่อกรุงศรีอยุธยาถือกำเนิดขึ้น ขอมพระนครก็เสียเมืองให้กับกรุงศรีอยุธยาในที่สุด ... " 
-------- 

ในอดีต ขอมพระนคร รับอิทธิพลด้านอารยธรรมมาจากอินเดีย แล้วปรับปรุงพัฒนาจนมีรูปแบบเป็นของตนเองอย่างชัดเจน ... ต่อมา สยาม ทั้งกรุงสุโขทัยต่อเนื่องถึงกรุงศรีอยุธยาได้รับอิทธิพลด้านอารยธรรม ทั้งกฎหมาย , การปกครอง ,จารีตประเพณี ,สถาปัตยกรรม และภาษา บางส่วนมาจากขอมพระนคร  ในเวลาต่อมา สยามปรับปรุงพัฒนาจนมีรูปแบบเป็นของเอกลักษณ์ตนเองอย่างชัดเจนเช่นกัน 

       หลังยุคขอมพระนครหมดลง เขมรก็ตกเป็นเมืองขึ้นของไทยต่อเนื่องยาวนานนับตั้งแต่สยามก่อตั้งกรุงศรีอยุธยาจวบจนถึงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ทำให้อารยธรรมขอมพระนครที่รุ่งเรืองเมื่อพันกว่าปีสูญหายไปจนสิ้นยาวนานราวครึ่งศตวรรษ ... 
นักประวัติศาสตร์บางคน ยอมรับว่า เขมรกัมพูชาในปัจจุบันอาจเป็นเผ่าพันธุ์เดียวกับขอมพระนคร ในขณะที่บางคนก็บอกว่าคนเป็นคนละเผ่าพันธุ์ 
    ในทางเดียวกัน นักประวัติศาสตร์บางคน ก็เชื่อว่า ไทยในปัจจุบันสืบเชื้อสายมาจากขอมละโว้ ในขณะที่บางคนก็ไม่เชื่อเช่นนั้น ซึ่งยังคงต้องใช้เวลาในการหาหลักฐานจากประวัติศาสตร์ เมื่อ ๑,๐๐๐ ปีที่แล้ว มาสนับสนุนแนวคิดนั้นกันต่อไป ... 

อย่างไรก็ตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อ ๒๐๐ กว่าปีที่ผ่านมา ในยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์ นั้น มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ครบถ้วนชัดเจน ระบุว่า 

 

"กษัตริย์ของกัมพูชาได้เข้ามาอาศัยพระบรมโพธิสมภารของพระมหากษัตริย์ไทยหลายพระองค์ "

      กษัตริย์กัมพูชาบางองค์เกิดในกรุงเทพฯ บางองค์โตในกรุงเทพฯ แล้วเมื่อกลับไปครองราชย์ ก็นำ พิธีการต่างๆ แบบในราชสำนักไทย ศิลปวัฒนธรรม เช่น การแสดงละคร , โขน , รวมถึงสถาปัตยกรรมของไทย และจารีตประเพณี ธรรมเนียม ตามแบบแผนอย่างราชสำนักไทย นำกลับไปใช้ในกัมพูชาทั้งหมดทั้งสิ้น ..

       สิ่งที่เห็นในปัจจุบันในกัมพูชา ล้วนได้รับอิทธิพลมาจากไทยตั้งแต่ ๒๐๐ กว่าปีก่อนแทบทั้งสิ้น

อารยธรรม ภาษา และตัวเลขของไทย ในยุคบุกเบิกเมื่อ ๘๐๐ ปีก่อน ไทยได้รับอิทธิพลมากจาก ขอมพระนคร แต่ตลอดระยะกว่า ๗๐๐-๘๐๐ ปีนี้ ไทยของเรา ได้ปรับปรุง และพัฒนาจนเป็นเอกลักษณ์ของไทยเราอย่างสมบูรณ์ ในขณะที่อารยธรรมเขมรหยุดลงตลอด ๗๐๐-๘๐๐ ปีที่ผ่านมา 

ปัจจุบัน จารีตประเพณี ขนบธรรมเนียมสถาปัตยกรรม ศิลปวัฒนธรรมหรือแม้แต่การแต่งกายของชาวกัมพูชาได้รับอิทธิพลไปจากสยามยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์ทั้งสิ้น...

ดังจะเล่าที่มาของเรื่องดังกล่าว ดังต่อไปนี้
  • กษัตริย์กัมพูชาภายใต้อุ้มบุญของสยาม
  เขมร  เป็นเมืองขึ้นของไทยมาตั้งแต่ครั้งต้นกรุงศรีอยุธยา จวบจนมาถึงช่วงที่ไทยกำลังสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ใหม่ๆ พ.ศ.๒๓๒๕ ฝั่งเมืองกัมพูชาเกิดความวุ่นวาย ฆ่าฟันแย่งชิงราชสมบัติกัน สมเด็จพระนารายณ์ฯ พระเจ้ากรุงกัมพูชาทิวงคต พระยากลาโหมและพระยายมราช เสนาบดีเขมร ได้พา นักองเอง ซึ่งขณะนั้นมีชนมายุเพียง ๑๐ ชันษา และพระพี่นางของนักองเอง สามองหนีเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารรัชกาลที่ ๑ พระพี่นางองค์ใหญ่พิราลัยไปก่อน ส่วน “นักองอี” และ “นักองเภา” พระพี่นางองค์กลาง และองค์เล็กนั้น พระมหาอุปราชวังหน้าขอพระราชทานไปเป็นพระสนมเอก 

ส่วนนักองเอง นั้น รัชกาลที่ ๑ ทรงเมตตารักใคร่เลี้ยงดูดังโอรสบุญธรรม

     จนเมื่อมีพระชนมายุครบ ๑๔ ชันษา รัชกาลที่ ๑ ก็โปรดฯให้สร้างวังพระราชทาน ที่ตรงข้ามวัดสระเกศ ที่ในเวลาต่อมาเรียกกันว่า ‘วังเจ้าเขมร’ 

เมื่อมีพระชนมายุ ๒๒ ชันษา ก็โปรดฯ ให้ผนวช (บวช)  พร้อมกับสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนเสนานุรักษ์ และพระพงศ์นรินทร์ พระโอรสสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี แล้วในปีนั้นเองก็โปรดฯให้กลับไปครองเมืองเขมร พระราชทานพระนามตามอย่างพระบิดาว่า “สมเด็จพระนารายณ์รามาธิบดี”
แต่นักองเอง ครองราชย์ได้เพียง ๓ ปีก็พิราลัย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ทรงพระอาลัย เพราะทรงโปรดปราน
หลังนักองเองพิราลัย เมืองเขมรก็เกิดวุ่นวายขึ้นอีก ในที่สุดสมเด็จฟ้าทะละหะ หรือพระยากลาโหมที่ชื่อปุก ซึ่งพานักองเองมาอยู่เมืองไทย และเป็นผู้ดูแลนักองเองตลอดเวลา จนนักองเองพิราลัย ได้ว่าการเมืองเขมรและดูแลโอรสทั้งหลายของนักองเอง ...


เมื่อนักองจันทร์ โอรสองค์ใหญ่ อายุได้ ๑๖ ชันษา จึงพาเข้ามาเฝ้าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ขอพระราชทานให้ตั้งนักองจันทร์เป็นพระเจ้าแผ่นดินเขมร ... 

นักองเอง นั้นมีโอรสหลายองค์ พระโอรสองค์ใหญ่ นักองจันทร์ ได้ครองราชสมบัติมีพระนามว่า สมเด็จพระอุทัยราชา แต่เมื่อครองเขมรแล้ว กลับอาใจออกห่างไทยหันไปพึ่งญวน เจ้านายและขุนนางเขมรจึงแบ่งเป็น ๒ ฝ่าย ในที่สุด นักองอิ่ม โอรสที่ ๒ และนักองด้วง โอรสที่ ๕ ซึ่งเข้าข้างฝ่ายไทย ต้องหนีเข้ามากรุงเทพฯ ในสมัยรัชกาลที่ ๒ โดยมาอยู่วังเดิมของนักองเองพระบิดาที่ข้างวัดสระเกศ 

  • พอถึงสมัยรัชกาลที่ ๓ 
องเชียงสือ พระเจ้าเวียดนามยาล็อง สิ้นพระชนม์ แล้วปีรุ่งขึ้น สมเด็จพระอุทัยราชา ก็สิ้นพระชนม์ 
       ในเวลานั้น ไทยกับญวน จึงมีเรื่องขัดใจกันมากขึ้นญวนกวาดต้อนเอาราชวงศ์เขมร และขุนนางผู้ใหญ่ไปไว้เสียเมืองญวน แล้วเข้าปกครองเขมรเอง

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ โปรดฯให้นักองด้วง ยกทัพไปช่วยเจ้าพระยาบดินทรเดชา พร้อมกับโปรดฯให้ไปครองเขมร พระราชทานนามว่า “สมเด็จพระหริรักษ์รามาธิบดี” 
โดยเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์) ต้องอยู่ทำศึกกับญวนและดูแลเขมรให้สงบเรียบร้อย เป็นเวลารวมทั้งสิ้น ๑๕ ปี จึงได้โปรดฯให้มีสารตราบอกไปให้ยกทัพกลับ ...

ตั้งแต่สถาปนากรุงเทพฯรัตนโกสินทร์ 

“พระกรุณา” หรือที่คนไทยเรียกว่า “ในหลวง” ของกัมพูชาที่เข้ามาอยู่ในกรุงรัตนโกสินทร์ตั้งแต่ยังเด็กๆ จนกระทั่งพระมหากษัตริย์ของไทยสนับสนุนให้ได้เป็นพระเจ้าแผ่นดินของกัมพูชานั้น มี ๓ พระองค์ด้วยกัน คือ
 
๑. นักองเอง (ไทยเรียกพระองค์เอง) ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชอยู่กรุงเทพฯ แต่ชนมายุ ๙ ครองราชย์ชนมายุ ๒๑

๒. นักองด้วง (พระองค์ด้วง)  
โอรสนักองเอง อยู่ในแผ่นดินรัชกาลที่ ๓ ในกรุงเทพฯ พระองค์ด้วง นั้น อยู่ในเมืองไทยนานที่สุดถึง ๒๙ ปี จนกระทั่งคนไทยในกรุงเทพฯ สมัยโน้นแทบจะรู้สึกว่าเป็นเจ้านายไทย

๓. นักองราชาวดี โอรสนักองด้วง
อยู่ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ รัชกาลที่ ๔ สมภพในกรุงเทพฯ จึงรับสั่งภาษาไทยคล่องกว่าภาษาเขมรของพระองค์ ด้วยสมภพในกรุงเทพฯ ปลายรัชสมัยที่ ๓ เมื่อมีพระชนมายุครบ ๒๐ ชันษา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ พระราชทานผนวชให้ แล้วกลับเขมรไปเป็นพระมหาอุปราชในแผ่นดินพระราชบิดา คือนักองด้วง แล้วต่อไปได้ทรงราชย์ สืบต่อจากพระราชบิดา เมื่อชนมายุ ๒๓ ชันษา

เมื่อพระองค์ราชาวดี เมื่อขึ้นครองราชย์ มีพระนามว่า "สมเด็จพระนโรดมพรหมบริรักษ์"( พระองค์เป็นปู่ทวดของนโรดมสีหนุ )

....  ในเวลานั้น เป็นเวลาพอดีกับฝรั่งเศสได้ญวนเป็นอาณานิคม จึงแผ่อิทธิพลเข้ามาถึงเขมร และเพราะฝรั่งเศสถือว่าเขมรเป็นทั้งของญวน และของไทย โดยเขมรส่งเครื่องบรรรณาการให้ทั้งญวนและไทย จึงพลอยถือเอาว่า เมื่อญวนเป็นของฝรั่งเศส เขมรก็ต้องเป็นของฝรั่งเศสด้วย  ... 

ดังนั้น  ในการราชาภิเษกพระองค์ราชาวดีทั้งฝรั่งเศสและไทย จึงแต่งข้าหลวงออกไปรวมอภิเษกพร้อมกัน
ขณะครองราชย์อยู่ ก็ถูกฝรั่งเศสบีบบังคับตลอดมา จนกระทั่งบังคับให้ลงพระนามเซ็นสัญญามอบอำนาจให้ฝรั่งเศสปกครอง
เรื่องนี้พระองค์ราชาวดี หรือ สมเด็จพระนโรดมพรหมบริรักษ์ ได้มีหนังสือลับ ลอบส่งไปถวาย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ว่ายังจงรักภักดีและมิเคยเอาใจออกห่างจากไทย หากแต่ถูกผู้สำเร็จราชการไซ่ง่อนนำเรือรบเข้าไปขู่หน้ากรุงพนมเปญ และเข้าไปชักปืนจ่อพระอุระบังคับให้เซ็นพระนาม
    ‘พระกรุณา’ หรือ "ในหลวง" แต่ละพระองค์ของเขมรอยู่ในกรุงเทพฯ นานแรมปี บางองค์โตในกรุงเทพฯ บางองค์เกิดในกรุงเทพฯ

    แล้วเมื่อกลับไปครองราชย์ ก็นำพิธีการต่างๆในราชสำนักไทย ศิลปวัฒนธรรม เช่น การแสดงละคร โขน รวมถึงสถาปัตยกรรมของไทย และจารีตประเพณี ธรรมเนียม ตามแบบแผนอย่างราชสำนักไทย นำกลับไปใช้ในกัมพูชาทั้งหมดทั้งสิ้น

สิ่งที่เห็นในปัจจุบันในกัมพูชา ล้วนได้รับอิทธิพลมาจากไทยตั้งแต่ ๒๐๐ กว่าปีก่อน แทบทั้งสิ้น เพราะกษัตริย์กัมพูชาเกิดและเติบโต และได้รับการอบรม ได้รับการศึกษา ในกรุงเทพ แล้วนำกลับไปใข้ในบ้านเกิดของ พระองค์เองทั้งสิ้น

โปรดติดตามตอนต่อไป จาก ป้ายกำกับนี้ คลิ๊ก >> ขอมไม่ใช่เขมร

หมายเหตุ  บทความ “ไทยลอกแบบมาจากเขมรหรือเขมรลอกไปจากไทย”

เกิดจากคนไทยชังชาติสร้างข้อมูลเท็จหรือบิดเบือนขึ้นมา มิใช่เรื่องที่เกิดจากชาวกัมพูชาซึ่งเป็นเพื่อนบ้านที่ดี และไม่เคยคิดร้ายในแง่ลบกับไทย บทความนี้มีจุดประสงค์สำคัญ เพื่อเสนอความจริง เพื่อลบล้างข้อมูลยุยง ปลุกปั่นของคนไทยชังชาติบางกลุ่มที่ต้องการทำให้ความสัมพันธ์ไทยและกัมพูชา ร้าวฉาน

โดย อัษฎางค์ ยมนาค
 
หนังสือขอมโบราณ แนะนำ 


"ขอม" เป็นชนชาติที่ยิ่งใหญ่ที่สุดชนชาติหนึ่ง ในภูมิภาคอุษาคเนย์  

    รวบรวมเรื่องราวของชนชาติขอม ด้านประวัติศาสตร์ความเป็นมา ช่วงรัชสมัยต่างๆ ทั้งอารยธรรมที่ขอมได้ฝากไว้ กระทั่งสงครามหรืออิทธิพลที่ขอมมีต่อไทย เพื่อให้ผู้สนใจศึกษาประวัติศาสตร์ขอมได้เห็นภาพรวมตามลำดับเวลา เพื่อให้ง่ายต่อการอ่านพร้อมบันทึกของยอดนักบันทึกโจวต้ากวน เหมาะสำหรับผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องราวขอมไม่มากนัก หรือไม่มีพื้นฐานเลย

     


Admin Bee

สนับสนุน Misc.Today

นี่คือ ลิ้งค์พันธมิตร หรือที่เรียกว่า affiliate link ซึ่งหมายความว่า... หากคุณคลิ๊กลิ้งค์นี้ และซื้อผลิตภัณฑ์ อะไรก็ได้ ฉันจะได้ค่าคอมมิชชั่นเล็กน้อย สิ่งนี้จะช่วยสนับสนุนเว็บไซด์ และช่วยให้กำลังใจเราต่อไป



 

คุณอาจสนใจ

เครื่องดื่มมหัศจรรย์ เพื่อสุขภาพที่ดี


  ชาหมักคอมบูชะ Scoby doit  



“ จุลินทรีย์ โพรไบโอติก ที่มีอยู่ในชาหมัก คอมบูชะ ( Kombucha ) สามารถแก้ไขปัญหาของระบบทางเดินอาหาร และลำไส้”

KOMBUCHA ORIGINAL 101 / by Scoby Do it 💖
    เครื่องดื่มชาหมักเพื่อสุขภาพ คอมบูชา หรือ คอมบูชะ ( Kombucha ) Scoby do it คือ เครื่องดื่มที่ผ่านกระบวนการหมัก มีสรรพคุณทางยา โดยมี “จุลินทรีย์ โพรไบโอติก Probiotics” ที่เป็นพระเอกของเครื่องดื่มชนิดนี้ “จุลินทรีย์” ที่อยู่ในชาหมักที่เกิดจากการหมักชา จะมี สารฟลาโวนอยด์ (Flavonoids) ช่วยต้านอนุมูลอิสระ และอาจช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือด เบาหวาน มะเร็ง และโรคอัลไซเมอร์ได้ 

   >> ดูเพิ่มเติม 




5 บทความ ยอดนิยม ในรอบ 30 วัน

🟡 โพสต์แนะนำ

คริสเตียนไซออนนิสท์ คือใคร ? - Christian Zionist

ช่วงนี้ ผมติดตามหาข้อมูลเกี่ยวกับ อิสราเอล กับ ปาเลสไตน์ ครับ ส่วนใหญ่จะเป็นแนวประวัติศาสตร์เสียมาก เพราะผมมีความเชื่อส่วนตัวว่า การที่เราจะ...

Popular Posts

แนะนำหนังสือ


  BOOKs OF THE DAY








ผู้สนับสนุน







Xiaomi Kingsmith Walking Pad

 Xiaomi Kingsmith Walking Pad R1 Pro/ R2 ลู่เดิน/วิ่งไฟฟ้า พับเก็บได้ สำหรับการออกกำลังกายภายในบ้าน >> คลิ๊กดูเพิ่มอีก


ป้ายกำกับ / Tag labels

2475 (1) กฎหมาย (4) กฐิน (2) กรรม (5) กระเป๋า (3) กรุงเทพฯ (19) กรุงศรีอยุธยา (11) กล้องถ่ายภาพ (7) กลอน (4) กลาโหม (9) การเกษตร (6) การจัดเก็บ (2) การเมือง (47) การศึกษา (125) กิจกรรมกลางแจ้ง (2) กีฬา (3) เกษตร (2) เกี่ยวกับสัตว์ (12) ไกลกังวล (1) ขงจื้อ (1) ขนม (2) ขอมไม่ใช่เขมร (6) ข้าว (3) ข่าวสาร (22) ขิง (1) เขมร (10) โขน (2) คณะราษฎร (10) คติธรรม (1) คนเล่านิทาน (14) ครู (6) ความเชื่อ (10) ความรู้ (144) คอมมิวนิสต์ (31) คำภีร์ (2) คำสอน (11) เครื่องบิน (7) เงินตรา (4) จอมพล ป. พิบูล (1) จอมพล ป. พิบูลสงคราม (13) จีน (53) ช้าง (1) ชายแดนใต้ (5) ญี่ปุ่น (15) ดนตรีไทย (1) ดอกไม้ (1) เด็ก (5) เดนมาร์ก (1) ต้นไม้ (4) ตลาดนัด (1) ตำรวจ (2) เตา (1) เตือนภัย (15) แต่งงาน (1) ทรัพยากร (2) ทวิตเตอร์ (1) ทหาร (9) ท่องเที่ยว (27) ทะเล (3) ทัศนะ (47) ทำบุญ (4) ทำอาหาร (5) เทคโนโลยี (13) โทรศัพท์มือถือ (2) ธนบัตร (1) ธนาคาร (4) ธรรมชาติ (7) ธรรมในคำกลอน (1) ธรรมะ (6) ธรรมาธิปไตย (2) ธุรกิจ (10) นราธิวาส (3) นวดไทย (1) นักบิน (1) นักเรียน (4) นางใน (1) นาซี (1) นายกรัฐมนตรี (2) น้ำมัน (1) นิทานพื้นบ้าน (1) นิยาย (3) นิวเคลียร์ (1) เนปาล (1) แนะนำสินค้า (36) โนรา (1) ในหลวง ร.10 (1) ในหลวงรัชกาลที่ 9 (15) บริการ (3) บริหาร (3) บ่อน (1) บัตรเครดิต (2) บัตรประชาชน (1) บุคคล (42) บุญ (3) บุหรี่ (1) เบตง (1) แบรนด์ไทย (5) โบราณวัตถุ (13) โบราณสถาน (6) โบสถ์ (2) ประชาธิปไตย (50) ประท้วง (7) ประเทศไทย (170) ประวัติศาสตร์ (147) ปรัชญาชีวิต (20) ปรีดี (2) ปลูกต้นไม้ (3) ปูติน (1) ผลไม้ (1) ผลิต (3) ผิวสี (1) แผ่นดินไหว (1) ฝรั่งเศส (6) พม่า (6) พยาบาล (1) พระเจ้าตากสินมหาราช (2) พระนเรศ (1) พระพุฒาจารย์ (1) พระพุทธเจ้า (1) พระราชกรณียกิจ (4) พระสงฆ์ (10) พราหมณ์ (1) พิบูลสวัสดี (1) พิพิธภัณฑ์ (9) พุทธทาส (1) พุทธศาสนา (9) เพชรบุรี (3) เพลง (8) เพลงผ้า ปรพากย์ (1) แพทย์ (4) ฟาโรห์ (1) ไฟ (4) ไฟฉาย (1) ไฟฟ้า (1) ภาคใต้ (6) ภาคอีสาน (1) ภาษา (9) ภาษิต (1) ภูเขาไฟ (1) ภูมิปัญญา (19) ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ (1) มวยไทย (5) มาเลเซีย (1) มุมไบ (2) มุสลิม (2) แม่ (1) ไม้ไผ่ (1) ยา (1) ยิว (3) ยูนนาน (1) เยาวชน (1) เยาวราช (1) รถเมล์ (3) รองเท้า (2) ระเบิด (3) รัชกาลที่ ๒ (1) รัชกาลที่ ๔ (3) รัชกาลที่ ๕ (7) รัชกาลที่ ๖ (1) รัชกาลที่7 (8) รัชกาลที่ ๘ (5) รัฐประหาร (6) รัสเซีย (12) ราชาศัพท์ (1) รามเกียรติ์ (1) เรือ (2) เรื่องเก่า (80) เรื่องเล่า (22) โรค (5) โรคระบาด (3) โรงงาน (1) โรงพยาบาล (9) โรงเรียน (16) โรฮิงญา (1) ลอนดอน (1) ลัทธิ (2) ลัทธิมาร์กซ์ (1) ล้านนา (3) ลาว (4) เลือกตั้ง (9) โลก (5) โลกร้อน (2) วัฒนธรรม (1) วัด (14) วันแม่ (1) วันสำคัญ (5) วิทยาศาสตร์ (9) วิทยุ (2) วิหาร (4) เวียดนาม (4) ไวรัล (1) ศัพท์ (1) ศาสนา (36) ศิริราช (5) ศิลปะ (4) ศิลปาชีพ (1) เศรษฐกิจ (3) สงขลา (1) สงคราม (50) สถานีรถไฟ (1) สนามบิน (2) สเปน (1) สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร (2) สมัยเมจิ (1) สยาม (12) สวนสนุก (1) สวิตเซอร์แลนด์ (2) สังคม (36) สำนวน (8) สิ่งประดิษฐ์ (13) สื่อ (3) สุขภาพ (13) สุภาพจิต (5) สุสาน (1) หนังแท้ (4) หนังสือ (31) หนังสือพิมพ์ (1) ห้องเรียน (4) เหมาเจ๋อตง (2) เหรียญ (1) อเมริกา (36) ออสเตรีย (1) อังกฤษ (6) อาชีพ (1) อาหาร (16) อาหารจานโปรด (9) อิตาลี (3) อินเดีย (8) อิสราเอล (3) อียิปต์ (1) อีสาน (1) แอปพลิเคชัน (4) ไอร์แลนด์ (1) cpr (1) deep state (1) democracy (1) Diarymisc (3) facebook (1) handmade (1) leather (1) metaverse (1) nomad (6) Nuclear (1) OPENUP (1) powerbank (1) shopee (1) Social media (2) social views (114) startup (1) UNESCO (4) xiaomi (1)


Miscellaneous | Misc.Today 🌱 . ขับเคลื่อนโดย Blogger.

 
miscthailand