🎵 “ ไชโยวีระชนชาติไทย .. ตลอดสมัยที่ไทยมี .. ประเทศไทยคงชาตรี... ด้วยคนดีผยองไชย ... ท่านผู้นำพิบูลสงคราม ... ขอเชิดนามเกริกไกร .... ขอดำรงคู่ชาติไทย .... นำชาติให้ไพบูลย์เทอญฯ”
เคยได้ยินเพลงนี้กันมั้ย ? แอดมิน Misc.Today อายุปาเข้าไปจะครึ่งร้อยแล้ว ก็ยังไม่เคยได้ยินครับ อย่าว่าแต่เคยได้ยินเลย แม้กระทั่ง เนื้อเพลง ยังไม่คุ้นเลย ฮ่าาา แต่ก็มีบางท่าน อาจจะเคยรับรู้ หรือเคยได้ยินมาบ้างว่า เพลง “สดุดีพิบูลสงคราม” นี้ เคยเปิดในโรงภาพยนตร์ ทุกรอบที่มีการฉายภาพยนตร์ ในประเทศไทย และการแสดงละครเวที ที่โรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมกรุงด้วย
แต่ธรรมเนียมปฎิบัตินี้ ก็ก่อให้เกิดเหตุการณ์วุ่นวาย เมื่อมีการประกาศให้ผู้ชมยืนทำความเคารพ แต่กลับมีเสียงตะโกนต่อต้านอยู่เป็นระยะ นานวันเข้าก็ลุกลามไปจนถึงเอามีดมากรีดทำลายเบาะ สุดท้ายจึงต้องมีคำสั่งให้หยุดธรรมเนียมดังกล่าวไป เนื่องเพราะประชาชนเห็นว่าจอมพล ป. ทำตนเทียบเท่าพระมหากษัตริย์ วิธีการเช่นนี้มีแต่โรงภาพยนตร์ในอิตาลีที่ถูกบังคับให้ฉายภาพมุสโสลินีเท่านั้น
เพลง “สดุดีพิบูลสงคราม” ก่อกำเนิดมาได้อย่างไร ใครเป็นผู่แต่ง ?
สดุดี พิบูลสงคราม ในชื่อเพลงสดุดี นี้ คือ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรี (ในสมัยแรก) ตรงกับรัชสมัยของในหลวงรัชกาลที่ 8 โดยเพลงดังกล่าว เริ่มต้นครั้งแรกมาพร้อมกับ ภาพยนตร์เรื่อง "บ้านไร่นาเรา" ที่ จอมพล ป. พิบูลสงคราม เขียนเค้าโครงเรื่องให้กองภาพยนตร์ทหารอากาศสร้าง เพื่อปลูกฝังแนวคิดในการสร้างชาติ และวัฒนธรรมให้แก่ประชาชน อันสอดคล้องไปกับนโยบายรัฐนิยมในขณะนั้น
ภาพยนตร์เรื่อง "บ้านไร่นาเรา" เข้าฉายเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2485 ที่โรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมกรุง
ภาพยนตร์เรื่อง บ้านไร่นาเรา มีเพลงประกอบอยู่ 3 เพลง คือเพลง “บ้านไร่นาเรา” “คืนเดือนหงาย” และ “สดุดีพิบูลสงคราม” ทั้งหมดแต่งทำนองโดย พระเจนดุริยางค์ และมี ขุนวิจิตรมาตราเป็นผู้แต่งคำร้อง
ภาพโดย : หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน)
ข้อมูอ้างอิง และเพิ่มเติม / เรื่องอื่นๆ ที่น่ารู้