ก้อนน้ำมันดิน หรือ Tar Ball คือ ก้อนน้ำมันสีดำขนาดเล็ก พบได้บริเวณชายหาด มีชื่อเรียกทางวิชาการว่า ก้อนน้ำมันดิน หรือชาวบ้านเรียกว่า ก้อนน้ำมันขี้โล้ มีลักษณะเป็นก้อนเหนียวๆ หนืดๆ สีดำคล้ายยางมะตอย
cr.ภาพ : CTN News
ก้อนน้ำมันดิน หรือ Tar Ball พบได้ตั้งแต่ขนาดเล็กเท่าหัวเข็มหมุด จนถึงขนาดใหญ่ ประมาณ ๑๐ ซม. ซึ่งก้อนน้ำมันดิน หรือ Tar Ball เกิดจากการแปรสภาพตามธรรมชาติ ของน้ำมันหรือคราบน้ำมันที่รั่วไหลลงสู่ทะเลจากกิจกรรมต่างๆ ในทะเล เช่น อุบัติเหตุจากเรือ แท่นผลิตน้ำมัน หรือท่อส่งน้ำมันในทะเล การขนถ่ายหรือเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องของเรือประมงหรือเรือเดินสมุทร ซึ่งรวมถึงการรั่วไหลโดยธรรมชาติของแหล่งน้ำมันดิบใต้ท้องทะเล
เมื่อน้ำมันเหล่านี้ กระจายตัวอยู่บนผิวน้ำทะเล และถูกแสงแดดแผดเผา จนองค์ประกอบส่วนเบาระเหยออกไป จนเหลือแต่ส่วนหนักที่คล้ายยางมะตอย และถูกคลื่นซัดไปมาจนเปลี่ยนสภาพเป็นก้อนน้ำมันดิน (ผ่านกระบวนการที่เรียกว่า Weathering) เมื่อหนักมากขึ้นก็จะจมตัวลง และถูกคลื่นซัดกลิ้งขึ้นมาเกยบนชายหาด โดยฝั่งอ่าวไทยจะพบมากในช่วงฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ( เดือนพฤศจิกายน – เดือนกุมภาพันธ์) ส่วนทะเลอันดามันและทะเลตะวันออกจะพบในช่วงฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ( เดือนพฤษภาคม – เดือนตุลาคม) ซึ่งส่งผลกระทบต่อทัศนียภาพของแหล่งท่องเที่ยว หรือนักท่องเที่ยวที่ใช้พื้นที่บริเวณชายหาด
ทั้งนี้ ข้อควรระวังเมื่อพบเห็นก้อนน้ำมันดินคือ ไม่ควรสัมผัสโดยตรงเพราะอาจเกิดการระคายเคืองผิวหนังได้
สำหรับการวิเคราะห์หาต้นทางของแหล่งที่มา จะใช้อัตลักษณ์เฉพาะของชนิดน้ำมันหรือ Characteristic ทางเคมีเรียกว่า Chromatogram หรือ Finger print ซึ่งมีความเฉพาะในน้ำมันแต่ละชนิดมาแยกชนิด ดังนั้น เมื่อเกิดปรากฎการณ์ก้อนน้ำมันดิน หรือ Tar Ball เกยหาด จึงต้องนำก้อนน้ำมันไปวิเคราะห์หาองค์ประกอบด้วยเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสูง และแปลผลโดยผู้เชี่ยวชาญ ที่ต้องมีฐานข้อมูลชนิดของน้ำมันทุกชนิด เพื่อเปรียบเทียบว่าก้อนน้ำมันที่เกิดขึ้นเป็นน้ำมันชนิดใด
Smart long wallet
การออกแบบที่เรียบง่าย และวัสดุหนังแท้ชนิดฟอกฝาด การตัดเย็บด้วยมือ สามารถประยุกต์ใช้งานได้หลากหลาย นอกเหนือจากใช้เป็นกระเป๋าใส่ธนบัตรแล้ว ยังสามารถใส่ มือถือสมาร์ทโฟน ได้อีกด้วย หรืออาจจะใช้เป็น กระเป๋าใส่หนังสือเดินทาง ก็ได้เช่นกัน ครบจบในใบเดียว >> ดูเพิ่มเติม