ยาขอบ คือ ชื่อนามปากกา ของ นายโชติ แพร่พันธุ์ ผู้แต่ง เรื่องผู้ชนะสิบทิศ เป็นนวนิยายอิงประวัติศาสตร์ ที่โด่งดัง ในปี พ.ศ. 2474 แต่ในชื่อ นิยายเรื่อง ยอดขุนพล โดยในปี พ.ศ. 2475 จึงเปลี่ยนชื่อเรื่องเป็น ผู้ชนะสิบทิศ
นายโชติ แพร่พันธุ์ ใช้ข้อมูลจากจากพงศาวดาร เพียง 8 บรรทัด เท่านั้น ในการเขียนเรื่อง ผู้ชนะสิบทิศ แต่สามารถถ่ายทอดเป็นวรรณกรรมได้อย่างหลากหลายอรรถรส จำนวนมากถึง 8 เล่ม เมื่อพิมพ์ออกเผยแพร่จึงมีผู้นิยมมาก จนหลายคน เข้าใจผิดคิดว่า เนื้อเรื่อง ผู้ชนะสิบทิศ เป็นเรื่องจริง ซึ่งแท้ที่จริงแล้ว ยาขอบ ใช้ความสามารถ ที่นอกเหนือจากข้อมูล 8 บรรทัดจากพงศาวดาร คือ ความที่เป็นคนรอบคอบ ศึกษาและค้นคว้าหาข้อมูลทางภูมิศาสตร์ และประวัติศาสตร์ เพิ่มเติม ในระหว่างการเขียน นั่นจนทำให้คล้ายกับเรื่องจริง
ความโด่งดัง และเป็นที่ชื่นชอบของผู้อ่าน ได้ได้ถูกนำมาสร้างละครเวที ภาพยนตร์ โดยมีไศล ไกรเลิศ เป็นผู้แต่งเพลงประกอบการแสดงในยุคต้น ๆ ผู้ขับร้องคนสำคัญ คือ ชรินทร์ นันทนาคร เพลงเอก เช่น ผู้ชนะสิบทิศ บุเรงนองรำลึก จอมใจจะเด็ด กุสุมายอดรัก อาเทตยาเพ้อรัก ศึกรักในเมืองแปร ฯลฯ ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จบลง
นายโชติ แพร่พันธุ์ เกิดเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2450 เป็นบุตรของ เจ้าอินทร์แปลง เทพวงศ์ กับนางจ้อย (เป็นต้นห้องของหม่อมเฉื่อยในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ) และเป็นราชนัดดาในเจ้าพิริยเทพวงษ์ เจ้าผู้ครองนครแพร่ องค์สุดท้าย
เมื่อแรกเกิดนั้น เจ้าอินทร์แปลง ผู้เป็นบิดาได้ตั้งชื่อบุตรชายของตนว่า "อินทรเดช" แต่นางจ้อยผู้เป็นแม่ได้ตั้งชื่อให้ใหม่ว่า "โชติ" ต่อมาเมื่อโชติจะเข้าโรงเรียน แม่จ้อยจึงได้พาโชติมาเฝ้าสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เพื่อขอประทานนามสกุล ซึ่งได้ประทานนามสกุลว่า "แพร่พันธุ์" นายโชติ แพร่พันธุ์ เข้าเรียนที่โรงเรียนเทพศิรินทร์ตั้งแต่อายุ 6 ขวบ และศึกษาถึงชั้นมัธยม 4
ยาขอบ ( นายโชติ แพร่พันธุ์ ) ถึงแก่กรรมเมื่อ วันที่ 5 เมษายน 2499 ด้วยโรคพิษสุราเรื้อรัง และโรคเบาหวาน.... ฯพณฯ จอมพล ป.พิบูลสงคราม และท่านผู้หญิงได้ส่งจดหมายถึงคุณประกายศรี (ภรรยา) เพื่อแสดงความเสียใจ งานฌาปนกิจศพจัดขึ้นเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2500 มีหนังสือแจกงานศพ 2 เล่ม
หนังสือ ชุดผู้ชนะสิบทิศ พร้อมกล่อง BOXSET บรรจุ 4 เล่ม
ผู้ชนะสิบทิศ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Tweet