หลวงปู่ ติช นัท ฮันห์ เป็นพระภิกษุ ชาวเวียดนาม เป็นที่รู้จักในฐานะ พระเถระชั้นผู้ใหญ่ พระอาจารย์เซน พระมหาเถระในพุทธศาสนามหายาน ผู้สอนการฝึกสมาธิภาวนา เป็นกวี นักเขียน นักต่อสู้เพื่อสันติภาพ
ท่านติช นัท ฮันห์ เขียนหนังสือไว้หลายเล่ม หนังสือที่ท่านเขียนนั้นมีความโดดเด่นที่อ่านง่าย เข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อน แต่ ลึกซึ้ง เสมือนการย่อยหลักธรรม ให้ผู้อ่านสามารถนำไปใช้ได้ในชีวิตประจำวัน
หนังสือเล่มหนึ่งของท่านติช นัท ฮันห์ มีชื่อว่า “ปาฏิหาริย์แห่งการตื่นอยู่เสมอ” และเป็นเล่มแรกที่มีการพิมพ์ในประเทศไทย
ท่านนัท ฮันห์ เป็นผู้ซึ่งนำเอาพุทธศาสนามาประยุกต์ใช้กับสังคม ตั้งโรงเรียนเพื่อปลุกจิตสำนึกเยาวชนคนรุ่นใหม่ ให้เสียสละเพื่อสังคม เพราะท่านเห็นว่า คนถือพุทธนั้น ไม่ว่าจะเป็นชาติใด การถือพุทธมักจะไม่ข้องเกี่ยวกับสังคม จึงปล่อยให้สังคมอยู่ในมือของผู้อื่น ชาติอื่นที่มาปกครองและครอบงำ ท่านนัท ฮันห์ จึงปลุกให้พระเณร ภิกษุภิกษุณีตื่นขึ้น ต่อสู้ด้วยอหิงสวิธี
ครั้นเมื่อท่าน เดินทางไปสหรัฐอเมริกา เพื่อพูดเรื่องสงครามเวียดนาม แต่สหรัฐอเมริกากีดกันและกักตัวท่านไม่ให้กลับประเทศท่าน จึงใช้โอกาสนี้ จัดตั้งสำนักอยู่ที่ฝรั่งเศสจนมีชื่อเสียงมาก ชื่อว่า Plum Village และมีสำนักในหลายประเทศ รวมถึงไทยด้วย
หลวงปู่ ติช นัท ฮันห์ (Thich Nhat Hanh) เป็นพระภิกษุชาวเวียดนาม ผู้นำเสนอความคิด พุทธศาสนาต้องเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน และพุทธธรรม เป็นสิ่งที่สามารถประยุกต์ใช้ให้เข้ากับวิธีชีวิตยุคปัจจุบันได้ ( Engage Buddhism) ท่านเป็นที่รู้จักในฐานะ พระเถระชั้นผู้ใหญ่ พระอาจารย์เซน พระมหาเถระในพุทธศาสนามหายานผู้สอนการฝึกสมาธิภาวนา เป็นกวี นักเขียน นักต่อสู้เพื่อสันติภาพ
หลวงปู่ติช นัท ฮันห์ กำเนิดเมื่อปี พ.ศ.2469 (ค.ศ.1926) ในจังหวัดกวางสี ภาคกลางของเวียดนาม มีนามเดิมว่า เหงวียน ซวน เป๋า (Nguyễn Xuân Bảo) ส่วน “ ติช นัท ฮันห์ ” ที่ถูกต้องออกเสียงว่า ทิจ ญัด หัญ
Thich Nhat Hanh เป็นนามทางธรรมที่ได้รับหลังการบวช
ติช : Thich ในเวียดนามใช้เรียกพระ มีความหมายว่าเป็นผู้สืบทอดพุทธศาสนา
นัท ฮันห์ : Nhat Hanh เป็นนามทางธรรมของท่าน มีความหมายว่า การกระทำเพียงหนึ่งเดียว (One Action) ซึ่งก็คือการเจริญสติ
ไถ่ : Thay เป็นภาษาเวียดนาม แปลว่า อาจารย์ ซึ่งศิษย์ต่างชาตินิยมเรียกท่านเช่นนั้น แต่ ศิษย์ชาวเวียดนามจะเรียกท่านว่า ซือองม์ : Su Ong ซึ่งอาจแปลเป็นไทยว่า หลวงปู่
ประวัติชีวิตนักบวช ( Thich Nhat Hanh ) โดยย่อ
- ปี พ.ศ.2485 (ค.ศ.1938) บรรพชาเป็นสามเณรในพระพุทธศาสนา เมื่ออายุ 16 ปี ณ วัดตื่อเฮี้ยว (Từ Hiếu Temple (Tu Hieu)) เมืองเว้ ท่านได้เรียนรู้การฝึกปฏิบัติสติภาวนา โดยมีหลักคำสอนของพระอาจารย์และวิถีชีวิตประจำวันของผู้บวชใหม่ อันเป็นรากฐานสำคัญของชีวิตนักบวช
- ปี พ.ศ.2492 อุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่ออายุ 23 ปี เดินทางไปไซ่ง่อนเพื่อฟื้นฟูพุทธศาสนาและเขียนบทความ ทำให้ถูกต่อต้านจากผู้นำองค์กรชาวพุทธและรัฐบาลในระยะนั้น
- ปี พ.ศ. 2505 ได้รับทุนจากมหาวิทยาลัยพรินซ์ตันเพื่อศึกษาศาสนาเปรียบเทียบ จึงเดินทางไปศึกษายังประเทศสหรัฐอเมริกา หลังจากนั้น 1 ปี ก็ได้รับทุนอีกจากมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย แต่ท่านตัดสินใจกลับเวียดนาม เพื่อสานต่อแนวคิดพุทธศาสนาที่รับใช้สังคม โดยก่อตั้งโรงเรียนยุวชนรับใช้สังคม เยียวยาความเสียหายจากสงคราม และพัฒนาวงการสงฆ์ด้วยการสอน และนำเสนอข้อเขียนต่อสถาบันพุทธศาสนาชั้นสูงด้วยคติว่า การกระทำและปัญญา ต้องไปด้วยกัน (Tiep Hien) หรือ คณะดั่งกันและกัน (The Order of Interbeing) โดยปฏิบัติตามสิกขาบท 14 ประการ ซึ่งเลือกเฟ้นมาจากแก่นคำสอนในพระพุทธศาสนา
ท่านนัท ฮันห์ เพิ่งมรณภาพที่เวียดนาม สิริรวมอายุ 95 ปี (11 ตุลาคม 2469 - 22 มกราคม 2565) ท่านเป็นพระญวนซึ่งมีชื่อเสียงเกียรติคุณ จะว่าที่สุดก็ได้ ในบรรดาพระภิกษุทั้งหมดจากเวียดนาม
ข้อมูล และภาพ โดย http://www.thaiplumvillage.org/