.. “ขอเดชะ ฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อม” ข้าพระพุทธเจ้า ( ชื่อ ..... )
โดย ... พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔
ฝ่าละอองธุลีพระบาท = ส. ท่าน (ใช้แก่พระมหากษัตริย์และสมเด็จพระบรมราชินีนาถ), เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒.
ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท = ส. คำใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย ใช้แก่พระมหากษัตริย์และสมเด็จพระบรมราชินีนาถ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒.
ทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท = ก. รู้ (ใช้กราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีนาถ).
ภาษาแบบแผน = น. ภาษาที่ถือเป็นแบบฉบับที่จะต้องใช้เป็นแบบเดียวกันในโอกาสอย่างเดียวกัน เช่น คำกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ขึ้นต้นว่า “ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อม...” และลงท้ายว่า “ควรมิควรแล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า...”, ภาษาที่ใช้เป็นทางการในโอกาสสำคัญ หรือใช้แก่บุคคลสำคัญ หรือบุคคลสำคัญเป็นผู้ใช้ เช่น คำประกาศเกียรติคุณในการประสาทปริญญาบัตรกิตติมศักดิ์ คำปราศรัยของนายกรัฐมนตรีในวันขึ้นปีใหม่, ภาษาระดับพิธีการ
ดังนั้น คำว่า ฝ่าละอองธุลีพระบาท ( เป็นสรรพนามบุรุษที่ 2 ) ในบริบทนี้ คือ ในหลวงและพระราชินี ผู้ซึ่งอยู่ใต้ฝุ่นละอองที่อยู่ใต้พระบาทของ "พระพุทธเจ้า" อันมีความหมายถึงในหลวงและพระราชินี เป็นผู้บำเพ็ญธรรมตามอย่างพระพุทธเจ้า
สรรพนามบุรุษที่ 1 คือ ตัวเราเอง
คำเรียกตัวเองว่า “ผม กระผม ฉัน ดิฉัน” คือ คำที่คนไทยใช้เรียกตัวเอง ไม่ว่าจะเป็น “ผม กระผม ฉัน ดิฉัน”มีความหมายที่ย่อมาจาก “เกล้ากระหม่อมฉัน” ซึ่งถูกพูดย่อลงเหลือ “เกล้ากระหม่อม” และ“หม่อมฉัน” และย่อจนเหลือแค่คำว่า “ฉัน” ในที่สุด
ซึ่งคำว่า “เกล้ากระหม่อมฉัน” ที่พูดย่อลงจนเหลือแค่คำว่า “ผมและฉัน” เป็นคำเรียกตัวเอง ที่มาจากของที่สูงที่สุดในตัวเรา คือ ผมบนหัวของเรา
“คำว่า ใต้เท้า ฝ่าพระบาท ใต้ฝ่าพระบาท หรือใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท เป็นสรรพนามบุรุษที่ 2”
ส่วนคำว่า ”ฝ่าพระบาท” หรือ “ใต้ฝ่าพระบาท” ใช้กับเชื้อพระวงศ์ชั้นสูง
และคำว่า ”ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท” ใช้เฉพาะกับพระมหากษัตริย์และพระราชินี เท่านั้น
Tweet