หลายคน อาจพอจะทราบกันแล้วว่า เทเรซา เติ้ง ก็คือ “เติ้ง ลี่จวิน” ราชินีเพลงจีน ชาวไต้หวัน ผู้มีอิทธิพลมากที่สุด สำหรับ เติ้งเฒ่า ก็คือ เติ้งเสี่ยวผิง 邓小平 นั่นเอง !
แล้วทำไมต้องเอามาเปรียบเปรยกัน ในกับคน แซ่เติ้ง 2 ท่านนี้ ที่มีอิทธิพลเหนือจีนในเวลานั้น
แล้วทำไม ? กลางวันทำไมต้องฟัง “เติ้งเสี่ยวผิง”
แต่จะต้อง “แอบฟัง” เติ้ง ลี่จวิน ในเวลากลางคืน ?
นั่นก็เพราะว่า
เกิดความขัดแย้งทางการเมืองขึ้น
ระหว่าง จีนแผ่นดินใหญ่ และ
ไต้หวัน โดยทางการจีนกล่าวหาว่า
“เสียงของเธอสร้างความเสื่อมเสียให้กับสังคม”
ส่งผลให้นักร้องจากไต้หวัน
ถูกสั่งแบนในจีนแผ่นดินใหญ่ทั้งหมด
!!
แต่นั่น
ก็ไม่ได้ทำให้ความนิยมในตัวเธอต่อคนจีน
ลดน้อยลงเลย ยิ่งห้ามเหมือนยิ่งยุ
ยิ่งปิดก็อยากเปิด เพลงของ
เติ้ง ลี่จวิน ขายดิบขายดี
เป็นที่ต้องการเป็นอย่าง
ชาวจีนสามารถหาซื้อเพลงของเธอได้ไม่ยากนักในตลาดมืด
หากปัจจุบัน ( 2563 ) เติ้ง ลี่จวิน ยังมีชีวิตอยู่ เธอจะมีอายุ 67 ปี
( “เติ้ง ลี่จวิน” หรือ “เทเรซา เติ้ง” เกิดเมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ.2496 )
- ปี พ.ศ. 2511 เติ้ง ลี่จวิน เริ่มมีชื่อเสียงครั้งแรก เมื่อเธอได้ร้องเพลงในรายการเพลงที่มีชื่อเสียงรายการหนึ่งของไต้หวัน จนส่งผลให้ได้เซ็นสัญญาบันทึกเสียงกับ “บริษัทไลฟ์เรคคอร์ด”
- ปี พ.ศ. 2516 เติ้ง ลี่จวิน ได้สร้างชื่อในวงการเพลงของญี่ปุ่น โดยออกอัลบั้มเพลงภาษาญี่ปุ่น เข้าร่วมการประกวดร้องเพลงประจำปีของสถานีโทรทัศน์เอ็นเอชเค ในรายการ “โคฮะคุ อุตะ กัสเซน”
- ปี พ.ศ. 2517 เพลง “คูโค” และอีกหลายๆเพลง ได้รับความนิยม ทำให้ชื่อเสียงของ เติ้ง ลี่จวิน ได้เป็นที่รู้จักกว้างขวางออกไปทั่วโลก ทั้งผลงานเพลง ภาษาญี่ปุ่น ภาษาจีนกวางตุ้ง และภาษาอังกฤษ ควบคู่ไปกับภาษาจีนกลาง
- ปี พ.ศ. 2532 ก้าวเข้าสู่การเมือง หลังจากเกิดเหตุการณ์การชุมนุมประท้วงที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน โดยนักศึกษาชาวจีน เรียกร้องประชาธิปไตย มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก ทำให้ เติ้ง ลี่จวิน เปิดคอนเสิร์ต เพื่อประกาศจุดยืนสนับสนุนการเรียกร้องประชาธิปไตยของกลุ่มนักศึกษา ในกรุงปักกิ่งของจีน ชื่อว่า “บทเพลงประชาธิปไตยเพื่อเมืองจีน” จัดขึ้นที่สนามม้าแฮปปี้วัลเลย์ ฮ่องกง มีผู้เข้าชมกว่าสามแสนคน
นับแต่นั้นมา เธอสามารถไปที่ไหนก็ได้ในโลกนี้ แต่ไม่ใช่ แผ่นดินจีน …..
วันที่ 8 พฤษภาคม 2538 เติ้ง ลี่จวิน ในขณะนั้นมีอายุ 42 ปี เสียชีวิตอย่างกะทันหันขณะมาพักผ่อน ที่โรงแรมอิมพีเรียล แม่ปิง จังหวัดเชียงใหม่ ในห้องสูท 1502 ชั้น15 เธอมีโรคประจำตัวคือ หลอดลมอักเสบเรื้อรัง และ หอบหืด การตายครั้งนี้คาดว่ามาจากหัวใจวายเนื่องจากโรคเก่ากำเริบ
ศพของเติ้ง ลี่จวิน ถูกฝังที่สุสานจินเป่าซาน อันเป็นสุสานติดภูเขาในเมืองจินซาน มณฑลไทเป ทางตอนเหนือของไต้หวัน
ข้อมูล