ค้นหาบทความ 🙄





4/07/68

สรุปสั้นๆ เรื่องน่ารู้ เกี่ยวกับ มาตรวัด "ขนาด" แผ่นดินไหว

 
   ขนาดแผ่นดินไหว  ( Earthquake magnitude ) คือ ระดับพลังงาน ที่โลกปลดปล่อยออกมาจากจุดศูนย์เกิดแผ่นดินไหวในรูปของแรงสั่นสะเทือน ซึ่งนำเสนอครั้งแรกในปี พ.ศ. 2478 โดย ชาลส์ ฟรานซิส ริกเตอร์ (Richter C.F.) นักแผ่นดินไหวชาวเยอรมัน





   ขนาดแผ่นดินไหว ไม่สามารถแปลงไปลงตรงอื่นได้

      เวลาเราพูดเรื่องขนาดแผ่นดินไหว จะหมายถึง เรานินทาขนาดของเขาที่จุดศูนย์เกิดเท่านั้น เช่น เกิดแผ่นดินไหวขนาด 8.0 ที่เกาะสุมาตรา แล้วที่กรุงเทพฯ คิดเป็นขนาดเท่าไหร่ อย่างนี้ ไม่ด้ายยยยย

   ขนาดแผ่นดินไหวใหญ่เกิน 10.0   ได้  สูตรคำนวณไม่ได้ปิดกั้น

       แต่ ...   ในช่วงที่เรามีชีวิตอยู่ ธรณีแปรสัณฐาน (tectonic) ยังทำได้ไม่เคยถึง  ถ้าลองได้มีอุกาบาตโหม่งโลกจังๆ   โอกาสเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่กว่า 10.0 ก็มี ....

   ขนาดแผ่นดินไหวติดลบก็ได้ ?   

       ด้วยความละเอียดของเครื่องมือตรวจวัดในปัจจุบัน  เราสามารถตรวจวัดแอมพลิจูด คลื่นไหวสะเทือน ได้ละเอียดถึง 0.01 มิลลิเมตร  ....  ซึ่งอาจเกิดจากก้อนอิฐหล่นจากโต๊ะลงพื้น และถ้าคำนวณขนาดแผ่นดินไหว  จะมีขนาด  -2    (จากสูตร log (0.01) = -2)  .... 

   ปัจจุบันเราเลิกใช้คำว่า ริกเตอร์ (Richter) 

       ปัจจุบันเราเลิกใช้คำว่า ริกเตอร์ หลังขนาดแผ่นดินไหว เพราะตัวเลข 7.5 8.1   ฯลฯ นั้นเป็น สเกล ที่ไม่ต้องมีหน่วยวัด มาห้อยท้าย   และ  " ริกเตอร์ ก็เป็นชื่อคน"  {{{{ คือ นาย 
ชาลส์ ฟรานซิส ริกเตอร์ Richter C.F. }}}    ไม่ใช่หน่วยชั่ง-ตวงวัด     เช่น สเต็กจานนี้สุกระดับ rare หรือ medium rare หรือ well done หรือจะเป็นความแข็งของแร่  ที่อ้างอิงตาม มาตราโมส์ (Mohs’ scale) เพชรแข็ง 10 คอรันดัม แข็ง 9 ควอซ์ต แข็ง 7 เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมาล้วนเป็นสเกลเหมือนๆ กัน ... 

   เมื่อก่อนที่ใช้ ริกเตอร์ ห้อยท้าย เพราะให้เกียรติความเป็นคนแรกๆ

     
นาย ชาลส์ ฟรานซิส ริกเตอร์ Richter C.F.  คือคนแรก ที่คิดวิธีวัดและคำนวณขนาดแผ่นดินไหวออกมาเป็นตัวเลข แต่ปัจจุบันมีอีกหลายวิธีคำนวณที่คิดมาจากนักแผ่นดินไหวหลายๆ คน แล้วก็ใช้ได้ดีไม่แพ้สูตรของ นายริกเตอร์   เช่น มาตรา mb Ms Mw .....  ดังนั้นเพื่อกันความสับสนว่า  ริกเตอร์   เป็นหน่วย และให้เกียรตินักแผ่นดินไหวท่านอื่นๆ  (บ้าง)  การรายงานขนาดแผ่นดินไหวในปัจจุบัน  จึงตัดคำว่า ริกเตอร์ ทิ้งไป


   เมื่อ ตัดคำว่า ริกเตอร์ ทิ้งไป จะฟังโล้นๆ  ไปมั้ยนะ ?? 

      พอได้ตัดคำว่า ริกเตอร์ ทิ้งไป บางท่านก็เกรงว่า  การรายงานขนาดแผ่นดินไหวจะฟังโล้นๆ 
จึงนำคำว่า แมกนิจูด (magnitude) มาห้อยท้ายตัวเลขแทน   ซึ่งก็ไม่ได้อีกเหมือนเดิม

... เพราะ (โปรดฟังอีก
ครั้งหนึ่ง)  ....   ตัวเลขขนาดแผ่นดินไหวนั้นเป็น สเกล  ไม่มีหน่วยวัดห้อยท้าย และ แมกนิจูด จริงๆ แล้วก็เป็นแค่คำทับศัพท์ ที่แปลได้ว่า ขนาด ( ของเหตุการณ์ใด ๆ )

.... ดังนั้น ลองนึกภาพตาม ถ้าต้องพูดและแปลความหมายจากข้อความนี้ 

      “แผ่นดินไหวขนาด 7.0 แมกนิจูด” แปลไทยเป็นไทยอีกที  คือ  

       “แผ่นดินไหวขนาด 7.0  ขนาด”  ฟังแล้ว วริ๊งงงงงเลย ไม่ดีๆๆ


หมายเหตุ

      ขนาด (size) คือ ขนาดวัตถุ เช่น กล่องใบนี้มีขนาด (size) ใหญ่   .... ส่วน ขนาด (magnitude) คือ ขนาดเหตุการณ์ เช่น เหตุการณ์ดินถล่มครั้งนี้มีขนาด (magnitude) ใหญ่ โดยที่ ขนาด หรือ แมกนิจูด (magnitude) ใช้กับภัยพิบัติอื่นๆ ก็ได้ เขาใช้กัน แต่ส่วนใหญ่มักนิยมใช้กับแผ่นดินไหว จนหลายคนคิดว่า แมกนิจูด เป็นเรื่องของแผ่นดินไหว

บทความโดย : fb/ มิตรเอิร์ธ - mitrearth



Admin Bee

สนับสนุน Misc.Today

นี่คือ ลิ้งค์พันธมิตร หรือที่เรียกว่า affiliate link ซึ่งหมายความว่า... หากคุณคลิ๊กลิ้งค์นี้ และซื้อผลิตภัณฑ์ อะไรก็ได้ ฉันจะได้ค่าคอมมิชชั่นเล็กน้อย สิ่งนี้จะช่วยสนับสนุนเว็บไซด์ และช่วยให้กำลังใจเราต่อไป


  ชาหมักคอมบูชะ Scoby doit  


 






 

คุณอาจสนใจ

5 บทความ ยอดนิยม ในรอบ 30 วัน

🟡 โพสต์แนะนำ

คริสเตียนไซออนนิสท์ คือใคร ? - Christian Zionist

ช่วงนี้ ผมติดตามหาข้อมูลเกี่ยวกับ อิสราเอล กับ ปาเลสไตน์ ครับ ส่วนใหญ่จะเป็นแนวประวัติศาสตร์เสียมาก เพราะผมมีความเชื่อส่วนตัวว่า การที่เราจะ...

Popular Posts

แนะนำหนังสือ


  BOOKs OF THE DAY








ผู้สนับสนุน







Xiaomi Kingsmith Walking Pad

 Xiaomi Kingsmith Walking Pad R1 Pro/ R2 ลู่เดิน/วิ่งไฟฟ้า พับเก็บได้ สำหรับการออกกำลังกายภายในบ้าน >> คลิ๊กดูเพิ่มอีก


ป้ายกำกับ / Tag labels

2475 (1) กฎหมาย (5) กฐิน (2) กรรม (5) กระเป๋า (3) กรุงเทพฯ (21) กรุงศรีอยุธยา (12) กล้องถ่ายภาพ (7) กลอน (4) กลาโหม (9) การเกษตร (7) การขาย (1) การจัดเก็บ (3) การปกครอง (3) การเมือง (63) การลงทุน (1) การศึกษา (144) กิจกรรมกลางแจ้ง (2) กีฬา (3) เกษตร (3) เกี่ยวกับสัตว์ (16) ไกลกังวล (1) ขงจื้อ (1) ขนม (2) ขอมไม่ใช่เขมร (6) ข้าว (3) ข่าวสาร (22) ขิง (1) เขมร (10) โขน (2) คณะราษฎร (11) คติธรรม (1) คนเล่านิทาน (15) ครอบครัว (8) ครัว (1) ครู (6) ความเฉลียวฉลาด (8) ความเชื่อ (16) ความรู้ (181) คอมมิวนิสต์ (34) คำภีร์ (2) คำสอน (13) เครื่องบิน (7) เงินตรา (4) จอมพล ป. พิบูล (1) จอมพล ป. พิบูลสงคราม (13) จีน (54) ช้าง (1) ชายแดนใต้ (5) ญี่ปุ่น (16) ดนตรีไทย (1) ดอกไม้ (1) เด็ก (5) เดนมาร์ก (1) ต้นไม้ (4) ตลาดนัด (1) ตำรวจ (2) เตา (1) เตือนภัย (19) แต่งงาน (1) ไต้หวัน (1) ทรัพยากร (2) ทวิตเตอร์ (1) ทหาร (9) ท่องเที่ยว (28) ทะเล (3) ทัศนะ (65) ทำบุญ (5) ทำอาหาร (4) เทคโนโลยี (13) โทรศัพท์มือถือ (2) ธนบัตร (1) ธนาคาร (4) ธรณี (1) ธรรมชาติ (12) ธรรมในคำกลอน (1) ธรรมะ (6) ธรรมาธิปไตย (2) ธุรกิจ (11) นราธิวาส (3) นวดไทย (1) นักบิน (1) นักเรียน (4) นางใน (1) นาซี (1) นายกรัฐมนตรี (3) น้ำมัน (1) นิทานพื้นบ้าน (1) นิยาย (3) นิวเคลียร์ (1) เนปาล (1) แนะนำสินค้า (39) โนรา (1) ในหลวง ร.10 (1) ในหลวงรัชกาลที่ 9 (15) บริการ (4) บริหาร (3) บ่อน (1) บัตรเครดิต (2) บัตรประชาชน (1) บาลีวันละคำ (5) บุคคล (43) บุญ (3) บุหรี่ (1) เบตง (1) แบรนด์ไทย (5) โบราณวัตถุ (13) โบราณสถาน (7) โบสถ์ (2) ประชาธิปไตย (61) ประท้วง (7) ประเทศไทย (182) ประธานาธิบดี (2) ประวัติศาสตร์ (151) ปรัชญาชีวิต (22) ปรีดี (2) ปลูกต้นไม้ (3) ปูติน (1) ผลไม้ (2) ผลิต (3) ผัก (1) ผิวสี (1) แผ่นดินไหว (3) ฝรั่งเศส (6) พม่า (6) พยาบาล (2) พระเจ้าตากสินมหาราช (2) พระนเรศ (1) พระพุฒาจารย์ (1) พระพุทธเจ้า (1) พระราชกรณียกิจ (4) พระสงฆ์ (12) พราหมณ์ (1) พิธีกรรม (1) พิบูลสวัสดี (1) พิพิธภัณฑ์ (10) พุทธทาส (1) พุทธศาสนา (14) เพชรบุรี (3) เพลง (8) เพลงผ้า ปรพากย์ (1) แพทย์ (5) ฟาโรห์ (1) ไฟ (4) ไฟฉาย (1) ไฟฟ้า (1) ภัยพิบัติ (3) ภาคใต้ (6) ภาคอีสาน (1) ภาษา (13) ภาษิต (1) ภูเขาไฟ (1) ภูมิปัญญา (19) ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ (1) มวยไทย (5) มหาสมุทร (1) มาเลเซีย (1) มุมไบ (2) มุสลิม (2) แม่ (1) แมลง (1) ไม้ไผ่ (1) ยา (1) ยิว (3) ยูเครน (1) ยูนนาน (1) เยาวชน (1) เยาวราช (1) รถเมล์ (4) รองเท้า (2) รอบโลก (4) ระบบนิเวศน์ (1) ระเบิด (3) รัชกาลที่ ๒ (1) รัชกาลที่ ๔ (3) รัชกาลที่ ๕ (7) รัชกาลที่ ๖ (2) รัชกาลที่7 (8) รัชกาลที่ ๘ (6) รัฐประหาร (7) รัสเซีย (13) ราชาศัพท์ (1) รามเกียรติ์ (1) เรือ (3) เรื่องเก่า (82) เรื่องเล่า (24) โรค (5) โรคระบาด (5) โรงงาน (1) โรงพยาบาล (11) โรงเรียน (17) โรฮิงญา (1) ลอนดอน (1) ละคร (1) ลัทธิ (2) ลัทธิมาร์กซ์ (3) ล้านนา (3) ลาว (4) ลิง (1) เลือกตั้ง (9) โลก (8) โลกร้อน (4) วัฒนธรรม (2) วัด (14) วันแม่ (1) วันสำคัญ (5) วิทยาศาสตร์ (9) วิทยุ (2) วิหาร (4) เวียดนาม (4) ไวรัล (1) ศัพท์ (2) ศาสนา (38) ศิริราช (5) ศิลปะ (5) ศิลปาชีพ (1) เศรษฐกิจ (3) สงขลา (1) สงคราม (51) สถานีรถไฟ (1) สนามบิน (2) สเปน (1) สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร (2) สมัยเมจิ (1) สยาม (13) สวนสนุก (1) สวิตเซอร์แลนด์ (2) สังคม (46) สัตว์ปีก (1) สายสังคม (3) สำนวน (8) สิ่งประดิษฐ์ (13) สื่อ (4) สุขภาพ (14) สุภาพจิต (6) สุสาน (1) เสรีภาพ (1) ไสยศาสตร์ (1) หนังแท้ (4) หนังสือ (31) หนังสือพิมพ์ (1) หนู (1) ห้องเรียน (4) เหมาเจ๋อตง (2) เหรียญ (1) อเมริกา (40) ออสเตรีย (1) อังกฤษ (6) อาชีพ (3) อาหาร (15) อาหารจานโปรด (8) อิตาลี (3) อินเดีย (9) อิสราเอล (3) อียิปต์ (1) อีสาน (1) แอปพลิเคชัน (4) ไอร์แลนด์ (1) cpr (1) deep state (1) democracy (1) Diarymisc (3) facebook (1) handmade (1) leather (1) marxism (1) metaverse (1) nomad (6) Nuclear (1) OPENUP (1) powerbank (1) shopee (1) Social media (2) social science (3) social views (122) Sompob Pordi (8) startup (1) UNESCO (4) xiaomi (1)


Miscellaneous | Misc.Today 🌱 . ขับเคลื่อนโดย Blogger.

 
miscthailand