ค้นหาบทความ 🙄





3/27/68

เดินธุดงค์ : เรื่องที่ต้องทำความเข้าใจกันใหม่

    เมื่อเห็นพระแบกกลด สะพายบริขาร เดินจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง เรามักเรียกกันว่า  “พระธุดงค์” และเรียกกิริยาที่ประพฤติเช่นนั้นว่า  “เดินธุดงค์”   ใช่หรือไม่ ?  




เดินธุดงค์ : เรื่องที่ต้องทำความเข้าใจกันใหม่
-------------------------------------------
เมื่อเห็นพระแบกกลด สะพายบริขาร เดินจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง เรามักเรียกกันว่า “พระธุดงค์” และเรียกกิริยาที่ประพฤติเช่นนั้นว่า “เดินธุดงค์” 

คำว่า “ธุดงค์” คำบาลีเป็น “ธุตงฺค” (ทุ-ตัง-คะ) และเป็น “ธูตงฺค” (ทู-ตัง-คะ) ก็มี (ต่างกันที่ ธุ- กับ ธู-) แปลตามศัพท์ว่า “องค์แห่งผู้กำจัด” “องค์เป็นเครื่องขัดเกลาอกุศลธรรม”

ธุดงค์คืออะไร  ?

ขอสรุปความจากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต มาเสนอดังต่อไปนี้ -

ธุดงค์ หมายถึง องค์คุณเครื่องสลัดหรือกำจัดกิเลส, ข้อปฏิบัติประเภทวัตรที่ผู้สมัครใจจะพึงสมาทานประพฤติได้ เพื่อเป็นอุบายขัดเกลากิเลส ช่วยส่งเสริมความมักน้อยและสันโดษเป็นต้น

(Dhutaŋga: means of shaking off or removing defilements; austere practices; ascetic practices) มี ๑๓ ข้อ คือ

๑. ปังสุกูลิกังคะ (องค์แห่งผู้ถือทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร - refuse-rag-wearer’s practice)

๒. เตจีวริกังคะ (องค์แห่งผู้ถือทรงเพียงไตรจีวรเป็นวัตร - triple-robe-wearer’s practice)

๓. ปิณฑปาติกังคะ (องค์แห่งผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร - alms-food-eater’s practice)

๔. สปทานจาริกังคะ (องค์แห่งผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตไปตามลำดับเป็นวัตร - house-to-house-seeker’s practice)

๕. เอกาสนิกังคะ (องค์แห่งผู้ถือนั่งฉัน ณ อาสนะเดียวเป็นวัตร คือฉันวันละมื้อเดียว ลุกจากที่แล้วไม่ฉันอีก - one-sessioner’s practice)

๖. ปัตตปิณฑิกังคะ (องค์แห่งผู้ถือฉันเฉพาะในบาตรเป็นวัตร คือ ไม่ใช้ภาชนะใส่อาหารเกิน ๑ อย่างคือบาตร - bowl-food-eater’s practice)

๗. ขลุปัจฉาภัตติกังคะ (องค์แห่งผู้ถือห้ามภัตที่ถวายภายหลังเป็นวัตร คือเมื่อได้ปลงใจกำหนดอาหารที่เป็นส่วนของตน ซึ่งเรียกว่าห้ามภัต ด้วยการลงมือฉันเป็นต้นแล้ว ไม่รับอาหารที่เขานำมาถวายอีก แม้จะเป็นของประณีต - later-food-refuser’s practice)

๘. อารัญญิกังคะ (องค์แห่งผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตร อยู่ห่างบ้านคนอย่างน้อย ๕๐๐ ชั่วธนู คือ ๒๕ เส้น - forest-dweller’s practice)

๙. รุกขมูลิกังคะ (องค์แห่งผู้ถืออยู่โคนไม้เป็นวัตร - tree-root-dweller’s practice)

๑๐. อัพโภกาสิกังคะ (องค์แห่งผู้ถืออยู่ที่แจ้งเป็นวัตร - open-air-dweller’s practice)

๑๑. โสสานิกังคะ (องค์แห่งผู้ถืออยู่ป่าช้าเป็นวัตร - charnel-ground-dweller’s practice)

๑๒. ยถาสันถติกังคะ (องค์แห่งผู้ถืออยู่ในเสนาสนะแล้วแต่เขาจัดให้ - any-bed-user’s practice)

๑๓. เนสัชชิกังคะ (องค์แห่งผู้ถือการนั่งเป็นวัตร คือเว้นนอน อยู่ด้วยเพียง ๓ อิริยาบถ - sitter’s practice)


ข้อควรเข้าใจให้ถูกต้องเกี่ยวกับธุดงค์ :

  ธุดงค์  ---  ไม่ใช่บทบัญญัติทางวินัย จะปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติก็ได้ ขึ้นกับความสมัครใจ   โดย มีหลักทั่วไปในการปฏิบัติว่า -

  • ถ้าปฏิบัติแล้ว  ช่วยให้กรรมฐานเจริญ หรือช่วยให้กุศลธรรมเจริญ อกุศลธรรมเสื่อม ควรปฏิบัติ
  • ถ้าปฏิบัติแล้ว  ทำให้กรรมฐานเสื่อม หรือทำให้กุศลธรรมเสื่อม อกุศลธรรมเจริญ ไม่ควรปฏิบัติ

     ส่วนผู้ที่ปฏิบัติ  หรือไม่ปฏิบัติ  ก็ไม่ทำให้กรรมฐาน  "เจริญขึ้น หรือเสื่อมลง เช่น เป็นพระอรหันต์แล้วอย่างพระมหากัสสปะ  เป็นต้น หรือคนอื่นๆ ก็ตาม จะปฏิบัติก็นับว่าดี ...

     พระที่บรรลุมรรคผลแล้ว  ยังปฏิบัติธุดงค์อยู่ ก็จะเป็นแรงจูงใจให้พระภิกษุสามเณรอื่นๆ มีอุตสาหะในการปฏิบัติ   **** (  ดูเถิด ท่านบรรลุธรรมแล้วยังปฏิบัติ เรายังไม่ได้บรรลุธรรมจะมามัวเกียจคร้านอยู่ไย)


    ส่วนคนทั่วไป  ที่ยังไม่ได้บรรลุธรรม ปฏิบัติธุดงค์ ก็จะเป็นอุปนิสัยปัจจัยส่งเสริมความคุ้นเคยกับการปฏิบัติธรรมให้เพิ่มพูนขึ้นเรื่อย ๆ


คนทั่วไป   มักเข้าใจว่า การที่พระแบกกลด สะพายบริขาร เดินจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง นั่นคือ “ธุดงค์” ซึ่งเป็นความเข้าใจผิดอย่างยิ่ง ..... 

ขอย้ำว่า-เป็นความเข้าใจผิดอย่างยิ่ง  !!! 

     อาจอธิบายได้ว่า การแบกกลด สะพายบริขาร เดินจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่งนั้น เป็นภาพที่เกิดขึ้นในสมัยพุทธกาล  อันเป็นสมัยที่ยังไม่มีอาวาสหรืออาราม แพร่หลายทั่วไป พระภิกษุสามเณรที่บวชเข้ามาในพระศาสนาแล้ว  ล้วนมีความมุ่งหมายจะปฏิบัติขัดเกลาตนเอง เมื่อมีโอกาสจึงมักจะชวนกันจาริกไปแสวงหาสถานที่ปฏิบัติธรรม 

      ดังมี เรื่องในคัมภีร์ทั่วไปเล่าว่า  เมื่อออกพรรษาแล้ว ภิกษุทูลขอให้พระพุทธเจ้าตรัสบอกวิธีเจริญกรรมฐาน จนถึงขั้นที่สามารถบรรลุอรหัตผลได้ แล้วทูลลา  พากันออกจาริกเป็นคณะ ๓๐ รูปบ้าง ๖๐ รูปบ้าง    ไปแสวงหาสถานที่วิเวกเหมาะแก่การเจริญกรรมฐาน ...

       นี่คือที่มาของภาพ   -พระแบกกลด สะพายบริขาร เดินจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง  คือ  ท่านพากันเดินไปแสวงหาสถานที่ปฏิบัติธรรม ไม่ใช่การถือธุดงค์ใด ๆ ทั้งสิ้น ....


       จะเห็นได้ว่า การแบกกลด สะพายบริขาร เดินจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง ไม่มีอยู่ในหัวข้อการปฏิบัติธุดงค์ทั้ง ๑๓ ข้อ ซึ่งหมายความว่าการแบกกลด สะพายบริขาร เดินจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่งนั้นไม่ใช่ “ธุดงค์” ในพระพุทธศาสนา และจะเรียกว่า “ธุดงค์” ในพระพุทธศาสนาไม่ได้เป็นอันขาด ....


ผู้ต้องการรู้เรื่องธุดงค์ที่ถูกต้องโดยละเอียด พึงศึกษาจาก ธุตงฺคนิทฺเทส ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคนั้นเถิด


===================

เพราะไม่เรียนจึงไม่รู้  ดูไม่ออก
จึงถูกหลอกถูกลวง  ลงห้วงเหว
เพราะรู้ผิด จึงพลาดฉลาด (ในทาง) เลว
หลงว่าเปลวนรกแปลงเป็นแสงธรรม
==================



พลเรือตรี ทองย้อย แสงสินชัย
ภาคีสมาชิก ราชบัณฑิตยสภา
๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๘
๑๑:๑๑


Admin Bee

สนับสนุน Misc.Today

นี่คือ ลิ้งค์พันธมิตร หรือที่เรียกว่า affiliate link ซึ่งหมายความว่า... หากคุณคลิ๊กลิ้งค์นี้ และซื้อผลิตภัณฑ์ อะไรก็ได้ ฉันจะได้ค่าคอมมิชชั่นเล็กน้อย สิ่งนี้จะช่วยสนับสนุนเว็บไซด์ และช่วยให้กำลังใจเราต่อไป


  ชาหมักคอมบูชะ Scoby doit  


 






 

คุณอาจสนใจ

5 บทความ ยอดนิยม ในรอบ 30 วัน

🟡 โพสต์แนะนำ

คริสเตียนไซออนนิสท์ คือใคร ? - Christian Zionist

ช่วงนี้ ผมติดตามหาข้อมูลเกี่ยวกับ อิสราเอล กับ ปาเลสไตน์ ครับ ส่วนใหญ่จะเป็นแนวประวัติศาสตร์เสียมาก เพราะผมมีความเชื่อส่วนตัวว่า การที่เราจะ...

Popular Posts

แนะนำหนังสือ


  BOOKs OF THE DAY








ผู้สนับสนุน







Xiaomi Kingsmith Walking Pad

 Xiaomi Kingsmith Walking Pad R1 Pro/ R2 ลู่เดิน/วิ่งไฟฟ้า พับเก็บได้ สำหรับการออกกำลังกายภายในบ้าน >> คลิ๊กดูเพิ่มอีก


ป้ายกำกับ / Tag labels

2475 (1) กฎหมาย (5) กฐิน (2) กรรม (5) กระเป๋า (3) กรุงเทพฯ (21) กรุงศรีอยุธยา (12) กล้องถ่ายภาพ (7) กลอน (4) กลาโหม (9) การเกษตร (7) การขาย (1) การจัดเก็บ (3) การปกครอง (3) การเมือง (63) การลงทุน (1) การศึกษา (144) กิจกรรมกลางแจ้ง (2) กีฬา (3) เกษตร (3) เกี่ยวกับสัตว์ (16) ไกลกังวล (1) ขงจื้อ (1) ขนม (2) ขอมไม่ใช่เขมร (6) ข้าว (3) ข่าวสาร (22) ขิง (1) เขมร (10) โขน (2) คณะราษฎร (11) คติธรรม (1) คนเล่านิทาน (15) ครอบครัว (8) ครัว (1) ครู (6) ความเฉลียวฉลาด (8) ความเชื่อ (16) ความรู้ (181) คอมมิวนิสต์ (34) คำภีร์ (2) คำสอน (13) เครื่องบิน (7) เงินตรา (4) จอมพล ป. พิบูล (1) จอมพล ป. พิบูลสงคราม (13) จีน (54) ช้าง (1) ชายแดนใต้ (5) ญี่ปุ่น (16) ดนตรีไทย (1) ดอกไม้ (1) เด็ก (5) เดนมาร์ก (1) ต้นไม้ (4) ตลาดนัด (1) ตำรวจ (2) เตา (1) เตือนภัย (19) แต่งงาน (1) ไต้หวัน (1) ทรัพยากร (2) ทวิตเตอร์ (1) ทหาร (9) ท่องเที่ยว (28) ทะเล (3) ทัศนะ (65) ทำบุญ (5) ทำอาหาร (4) เทคโนโลยี (13) โทรศัพท์มือถือ (2) ธนบัตร (1) ธนาคาร (4) ธรณี (1) ธรรมชาติ (12) ธรรมในคำกลอน (1) ธรรมะ (6) ธรรมาธิปไตย (2) ธุรกิจ (11) นราธิวาส (3) นวดไทย (1) นักบิน (1) นักเรียน (4) นางใน (1) นาซี (1) นายกรัฐมนตรี (3) น้ำมัน (1) นิทานพื้นบ้าน (1) นิยาย (3) นิวเคลียร์ (1) เนปาล (1) แนะนำสินค้า (39) โนรา (1) ในหลวง ร.10 (1) ในหลวงรัชกาลที่ 9 (15) บริการ (4) บริหาร (3) บ่อน (1) บัตรเครดิต (2) บัตรประชาชน (1) บาลีวันละคำ (5) บุคคล (43) บุญ (3) บุหรี่ (1) เบตง (1) แบรนด์ไทย (5) โบราณวัตถุ (13) โบราณสถาน (7) โบสถ์ (2) ประชาธิปไตย (61) ประท้วง (7) ประเทศไทย (182) ประธานาธิบดี (2) ประวัติศาสตร์ (151) ปรัชญาชีวิต (22) ปรีดี (2) ปลูกต้นไม้ (3) ปูติน (1) ผลไม้ (2) ผลิต (3) ผัก (1) ผิวสี (1) แผ่นดินไหว (3) ฝรั่งเศส (6) พม่า (6) พยาบาล (2) พระเจ้าตากสินมหาราช (2) พระนเรศ (1) พระพุฒาจารย์ (1) พระพุทธเจ้า (1) พระราชกรณียกิจ (4) พระสงฆ์ (12) พราหมณ์ (1) พิธีกรรม (1) พิบูลสวัสดี (1) พิพิธภัณฑ์ (10) พุทธทาส (1) พุทธศาสนา (14) เพชรบุรี (3) เพลง (8) เพลงผ้า ปรพากย์ (1) แพทย์ (5) ฟาโรห์ (1) ไฟ (4) ไฟฉาย (1) ไฟฟ้า (1) ภัยพิบัติ (3) ภาคใต้ (6) ภาคอีสาน (1) ภาษา (13) ภาษิต (1) ภูเขาไฟ (1) ภูมิปัญญา (19) ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ (1) มวยไทย (5) มหาสมุทร (1) มาเลเซีย (1) มุมไบ (2) มุสลิม (2) แม่ (1) แมลง (1) ไม้ไผ่ (1) ยา (1) ยิว (3) ยูเครน (1) ยูนนาน (1) เยาวชน (1) เยาวราช (1) รถเมล์ (4) รองเท้า (2) รอบโลก (4) ระบบนิเวศน์ (1) ระเบิด (3) รัชกาลที่ ๒ (1) รัชกาลที่ ๔ (3) รัชกาลที่ ๕ (7) รัชกาลที่ ๖ (2) รัชกาลที่7 (8) รัชกาลที่ ๘ (6) รัฐประหาร (7) รัสเซีย (13) ราชาศัพท์ (1) รามเกียรติ์ (1) เรือ (3) เรื่องเก่า (82) เรื่องเล่า (24) โรค (5) โรคระบาด (5) โรงงาน (1) โรงพยาบาล (11) โรงเรียน (17) โรฮิงญา (1) ลอนดอน (1) ละคร (1) ลัทธิ (2) ลัทธิมาร์กซ์ (3) ล้านนา (3) ลาว (4) ลิง (1) เลือกตั้ง (9) โลก (8) โลกร้อน (4) วัฒนธรรม (2) วัด (14) วันแม่ (1) วันสำคัญ (5) วิทยาศาสตร์ (9) วิทยุ (2) วิหาร (4) เวียดนาม (4) ไวรัล (1) ศัพท์ (2) ศาสนา (38) ศิริราช (5) ศิลปะ (5) ศิลปาชีพ (1) เศรษฐกิจ (3) สงขลา (1) สงคราม (51) สถานีรถไฟ (1) สนามบิน (2) สเปน (1) สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร (2) สมัยเมจิ (1) สยาม (13) สวนสนุก (1) สวิตเซอร์แลนด์ (2) สังคม (46) สัตว์ปีก (1) สายสังคม (3) สำนวน (8) สิ่งประดิษฐ์ (13) สื่อ (4) สุขภาพ (14) สุภาพจิต (6) สุสาน (1) เสรีภาพ (1) ไสยศาสตร์ (1) หนังแท้ (4) หนังสือ (31) หนังสือพิมพ์ (1) หนู (1) ห้องเรียน (4) เหมาเจ๋อตง (2) เหรียญ (1) อเมริกา (40) ออสเตรีย (1) อังกฤษ (6) อาชีพ (3) อาหาร (15) อาหารจานโปรด (8) อิตาลี (3) อินเดีย (9) อิสราเอล (3) อียิปต์ (1) อีสาน (1) แอปพลิเคชัน (4) ไอร์แลนด์ (1) cpr (1) deep state (1) democracy (1) Diarymisc (3) facebook (1) handmade (1) leather (1) marxism (1) metaverse (1) nomad (6) Nuclear (1) OPENUP (1) powerbank (1) shopee (1) Social media (2) social science (3) social views (122) Sompob Pordi (8) startup (1) UNESCO (4) xiaomi (1)


Miscellaneous | Misc.Today 🌱 . ขับเคลื่อนโดย Blogger.

 
miscthailand