ผิดมากมายอย่างเท่าเทียมกัน จากความเป็นจริงของโลก ของชีวิต ด้วยเหตุผลง่ายๆ คือ อาชีพการงาน (และการเรียน) ที่ต่างกัน ต้องการระดับความเฉลียวฉลาด ที่ต่างกันของคนทำงาน (หรือคนเรียน)
เรื่องนี้ มีนักวิทยาศาสตร์จำนวนมาก ได้ศึกษาเอาไว้ และก็ได้ผลสรุปเหมือนๆ กัน อย่างที่อธิบายในย่อหน้าที่แล้ว แต่สังคม และมนุษย์เรา ไม่ค่อยอยากจะยอมรับอย่างเต็มใจซักเท่าไหร่ .... ด้วยเหตุผลที่เคยบอกเล่าเอาไว้แล้ว แต่ไม่เป็นไร คนที่อ่านเรื่องนี้มาถึงตอนที่ 9 นี้น่าจะรับได้แล้ว ...
ใครที่ชอบ และถนัดฟังภาคภาษาอังกฤษ เปิดลิ้งค์ด้านล่างดูได้เลยครับ ผมเอาคลิปเลคเชอร์ยาวเก้านาทีหน่อยๆ ของ จอร์แดน ปีเตอร์สัน นักจิตวิทยาผู้โด่งดังซึ่ง เขาพูดถึงเรื่องนี้แบบตรงไปตรงมาที่สุดแล้วจากบรรดาที่ได้อ่านที่ได้ฟังมา ...
ส่วนใครถนัดภาษาไทยมากว่า เชิณทางนี้ ครับ
".. อาชีพการงานที่ต่างกัน ต้องการระดับความเฉลียวฉลาดของคนทำงาน ที่ต่างกันด้วย..."
โดยจากตรงนี้ จะใช้ระดับไอคิวแทนคำว่า ความเฉลียวฉลาด


- นักกฏหมาย
- นักวิจัย
- นักวิเคราะห์
- นักโฆษณา
- บรรณาธิการ
- แพทย์
- วิศวกร
- เภสัชกร
- ผู้บริหารระดับสูง และผู้จัดการธุรกิจ
- นักบิน

- นักบัญชี
- นักเขียนคำโฆษณา
- ผู้จัดการธุรกิจและหัวหน้างาน
- ผู้จัดการขาย
- ครู นักวิเคราะห์
- ผู้จัดการ ตัวแทนและพนักงานจัดซื้อ
- ผู้จัดการออฟฟิศ ผู้จัดการอาคาร
- พยาบาล
- เซลล์อาวุโส
- นักสืบ ตำรวจ

- เสมียน
- คนบันทึกบัญชี
- ผู้จัดการร้าน/ร้านอาหาร
- นักเขียนแบบ
- พนักงานสินเชื่อ
- นักออกแบบ
- ผู้ช่วยผู้จัดการ
- พนักงานห้องแล็ป
- เทเลเซลล์ พนักงานขายทั่วไป
- ตำรวจ
- ช่างสารพัด
- พ่อครัว คนทำขนม
- พนักงานดับเพลิง

- พนักงานออฟฟิศ
- คนส่งของ ส่งเอกสาร
- พนักงานเก็บเงิน แคชเชียร์ พนักงานต้อนรับ
- พนักงานอ่านมิเตอร์ พนักงานบริการลูกค้า
- พนักงานคีย์ข้อมูล พนักงานรับผากถอนเงินธนาคาร
- พนักงานพิมพ์ดีด
- ผู้ช่วยช่างต่างๆ
จากด้านบนสุดมาถึงตรงนี้ ก็เป็นครึ่งหนึ่งของประชากรพอดี

- พนักงานคุมเครื่องจักร พนักงานตรวจสอบสินค้า
- คนขับรถ รปภ. กรรมกร ผู้ช่วยทันตแพทย์ คนทำงานในครัว

- พนักงานส่งเอกสาร บุรุษไปรษณีย์ คนงานในไลน์ผลิต ไลน์ประกอบ
- พนักงานร้านอาหาร พนักงานคลังสินค้า ภารโรง
ส่วนผู้ที่ไอคิวตํ่ากว่า 85 ซึ่งมีมากถึงกว่า 15% ของประชากร
จะมีปัญหาเกี่ยวกับ การหางาน ที่ตนเองสามารถทำได้ยากมาก ขนาดกองทัพของสหรัฐฯ ที่ปกติจะรับคนไม่อั้น ยังมีกฏว่า การรับผู้ที่ไอคิวตํ่ากว่า 83 มาเป็นทหารนั้นผิดกฏหมาย.... ทั้งที่กองทัพต้องการกำลังพลจำนวนมาก เพราะกองทัพสหรัฐฯ รู้ดีว่า การฝึกอบรมคนเหล่านั้นเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้เลย ....
นอกจากนี้ งานเหล่านั้น ก็เป็นงานรายได้น้อย และจะถูกทดแทนด้วยเทคโนโลยี่ได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งนี่คือปัญหาใหญ่ อีกอย่างหนึ่ง ของสังคมในปัจจุบัน และอนาคต ที่เมื่อสังคมมนุษย์ยิ่งเจริญมากขึ้นๆ เรามีเทคโนโลยี่ใหม่ขึ้นๆ งานสำหรับผู้ที่มีไอคิวตํ่าๆจะหายไปในที่สุด
ถ้าใครเอาชนิดของงานด้านบน ไปเชื่อมโยงกับความเฉลียวฉลาด แล้วสรุปว่า ยิ่งไอคิวสูง ก็ยิ่งทำงานที่ต้องมีการเรียนรู้มากๆ มีความซับซ้อนมาก มีการต้องใช้ข้อมูล ใช้ตรรกะเหตุผล ใช้จินตนาการมาก ต้องตัดสินใจอย่างรวดเร็ว ก็ถูกต้องแล้วครับ ขอแสดงความยินดีด้วย เพราะการเชื่อมโยง ที่บอกมานี่ต้องใช้ความเฉลียวฉลาดและเหตุผลอย่างมาก ....
นอกจากความเฉลียวฉลาด หรือไอคิวแล้ว ดร.ปีเตอร์สัน (และบรรดานักจิตวิทยาที่ศึกษาเรื่องความสำเร็จในการทำงานในสังคมสมัยใหม่) ยังได้พบถึงคุณลักษณะอื่นๆ ที่จะทำให้คนๆหนึ่งทำงานได้ดีมากหรือน้อยแค่ไหน ประสบความสำเร็จมากน้อยแค่ไหนด้วย ได้แก่
- มโนธรรม หรือ Conscientiousness คือลักษณะที่พึงประสงค์ เช่น ความรับรับผิดชอบต่อหน้าที่ , ต่อผู้ร่วมงาน ,ต่อตัวเอง ,ความยุติธรรม, ความใฝ่รู้, ความมุ่งมั่น ความขยัน หมั่นเพียร ...
- ความสามารถในการรับมือความเครียด หรือ Stress Tolerance ยิ่งงานระดับสูงมาก ก็ยิ่งมีปัญหามากขึ้น ปัญหามีความซับซ้อนมากขึ้น ถ้ารับมือกับความเครียดไม่ได้ หรือไมได้ดี ก็จะไม่อยากทำงานเหล่านั้น หรือไม่สามารถ
- ความไม่ดื้อดึง ไม่ค้านดะทุกเรื่อง หรือ Agreeableness งานในระดับสูงขึ้นๆ ไม่สามารถทำได้ด้วยตัวคนเดียว ต้องทำงานประสานร่วมกับผู้อื่นจำนวนมาก ต้องอาศัยให้ผู้อื่นทำให้ หากเป็นคนงี่เง่า ค้านดะทุกเรื่อง จะเอาชนะทุกสิ่ง ก็จะไม่มีใครมาทำร่วมด้วย หรือมาทำงานให้ ในที่สุด ....
- ความเสถียรทางอารมณ์ หรือ Neuroticism เช่น ความสุขุม รอบคอบ เมื่อมีปัญหา ไม่เอะอะ โวยวาย ตีโพยตีพาย จนเพื่อนร่วมงาน ลูกน้อง ขวัญเสีย หรือไม่ต้องการร่วมงานด้วย
ข่าวดี คือ สิ่งเหล่านี้สามารถฝึกฝน และพัฒนาได้ อย่างในเรื่องสามก๊ก เล่าปี่ไม่ได้เฉลียวฉลาดมากที่สุด แต่ก็สามารถใช้งาน คนอัจฉริยะอย่างขงเบ้งได้ เพราะมีคุณสมบัติเหล่านี้
เมื่อถึงตรงนี้ เราต้องรู้ และยอมรับว่า งานที่ต่างกัน มีความเหมาะสมกับคนที่มีความเฉลียวฉลาดต่างกัน และคนที่เฉลียวฉลาดมากกว่า สามารถมีทางเลือกเรื่องอาชีพการงาน (รวมทั้งการเรียน) มากกว่า
" .... หากเรารู้ว่า ตัวเรามีความเฉลียวฉลาดระดับไหน และเลือกที่จะทำงานที่เหมาะกับตัวเราอย่างเต็มอกเต็มใจ ก็มีโอกาสมากกว่า ที่เราจะมีความสุขได้กับการทำงาน ...."
และอีกอย่างหนึ่งที่สำคัญด้วยเช่นกัน คือ ต้องยอมรับความเป็นจริงให้ได้ ว่า
" ..... มนุษย์เราทุกคนไม่ได้มีความเฉลียวฉลาดและคุณลักษณะที่เอื้อต่อการทำงานให้ได้ดี ให้สำเร็จเท่าเทียมกัน ....."
ดังนั้น จึงมีโอกาสในการประกอบอาชีพ การหารายได้ ไม่เท่ากัน ซึ่งเป็นผลให้มนุษย์แต่ละคนมีสถานะทางเศรษฐกิจ และสังคมต่างกัน ไม่เกี่ยวอะไรกับระบบ หรือระบอบ หรือการกดขี่ (5เหว) อะไรเลย....
บทความโดย : Sompob Pordi
ความเฉลียวฉลาด (Intelligence) รวมทุกตอน >> คลิ๊กที่นี่ ...
ผมอยากฉลาด และชอบคนฉลาด ผมเชื่อว่า ความเฉลียวฉลาดและคนฉลาดมีประโยชน์มากกว่าโทษ และคือสิ่งที่นำพาให้มนุษยชาติมาถึงวันนี้ ผมก็เลยสนใจเรื่องความเฉลียวฉลาดของมนุษย์มาก มากพอที่จะตะลุยหาความรู้ในเรื่องนี้อย่างจริงจัง
**** ใครที่สนใจ ที่มีเวลา โดยเฉพาะ คนที่ยังมีลูกหลานเล็กๆ ผมแนะนำสุดใจครับ เพราะจะเป็นประโยชน์แน่นอน
ความเฉลียวฉลาด (Intelligence) เป็นส่วนผสมทางชีววิทยา และประสบการณ์ชีวิต หากตั้งใจ หากทำเป็น สร้างเสริมได้ เพิ่มพูนได้ พัฒนาได้ .... และเมื่อเฉลียวฉลาดแล้ว โลกทัศน์จะต่างจากคนทั่วไป จะเห็นสิ่งต่างๆ ได้ชัดเจนกว่า จะเห็นโอกาส และจะมีทางเลือกมากกว่า และสามารถจะใช้โอกาสและทางเลือกที่ดีกว่าเพื่อประโยชน์ของตนเอง ครอบครัว และสังคม ได้แน่นอนครับ !!!
**** ใครที่สนใจ ที่มีเวลา โดยเฉพาะ คนที่ยังมีลูกหลานเล็กๆ ผมแนะนำสุดใจครับ เพราะจะเป็นประโยชน์แน่นอน
ความเฉลียวฉลาด (Intelligence) เป็นส่วนผสมทางชีววิทยา และประสบการณ์ชีวิต หากตั้งใจ หากทำเป็น สร้างเสริมได้ เพิ่มพูนได้ พัฒนาได้ .... และเมื่อเฉลียวฉลาดแล้ว โลกทัศน์จะต่างจากคนทั่วไป จะเห็นสิ่งต่างๆ ได้ชัดเจนกว่า จะเห็นโอกาส และจะมีทางเลือกมากกว่า และสามารถจะใช้โอกาสและทางเลือกที่ดีกว่าเพื่อประโยชน์ของตนเอง ครอบครัว และสังคม ได้แน่นอนครับ !!!