บทความโดย : พันทิพา พงษ์เพียจันทร์
1. โดยปกติ อาหารสัตว์ เราจะเก็บพวกธัญเมล็ดต่างๆ (รวมถึงข้าว) ได้อย่างมาก 1 ปี ที่อุณหภูมิห้อง เช่นเดียวกับที่โรงสี ที่โชว์เก็บ... แต่ก่อนเก็บ นอกจากต้องผ่านการรมควันแล้ว ความชื้นในเมล็ดธัญพืช จะต้องไม่เกิน 12% เพราะพวกนี้ สามารถดูดซึมน้ำกลับได้ ซึ่งสภาพการเก็บของโรงสีที่เห็น ใส่ในกระสอบป่าน โอกาสดูดซึมน้ำกลับ ทำให้ความชื้นของเมล็ดข้าว สูงขึ้นแน่นอน ...
ซึ่งหากจะเก็บไว้นานกว่านี้ ต้องเก็บในสภาพเย็นแบบแห้ง ( *Cold dry processing )* และอุณหภูมิต้องไม่เกิน 13 °C ทำให้แมลงไม่ฟักออกเป็นตัว*
ซึ่งหากจะเก็บไว้นานกว่านี้ ต้องเก็บในสภาพเย็นแบบแห้ง ( *Cold dry processing )* และอุณหภูมิต้องไม่เกิน 13 °C ทำให้แมลงไม่ฟักออกเป็นตัว*
2. กระสอบป่านที่เก็บข้าว สภาพที่เห็น วางทับซ้อนกันสูงมาก อากาศไม่ถ่ายเท ส่งเสริมการดูดซึมน้ำกลับ ความชื้นในเมล็ดข้าวสูงขึ้น ส่งเสริมการเจริญของมอดแมลงต่างๆ
3. แม้จะรมยาแต่สถาพการวางทับกระสอบ รมยาไม่ทั่วถึงแน่นอน เพราะข้าวที่เอามาหุงแสดง ขณะล้างฟ้องอยู่แล้วว่ามีมอดข้าว ด้วง
4. การที่เมล็ดข้าวมีความชื้น ส่งเสริมการเติบโตของมอด แมลงต่างๆ* หลักฐานประจักษ์ขณะซาวข้าว ( 15 ครั้ง ตามข่าว ซึ่งข้าวปกติเราล้างไม่ถึง 3 ครั้ง)
5. การมีมอดแมลง มูลของแมลงเหล่านี้ นำมาซึ่งการเจริญของเชื้อรา และแบคทีเรีย* ทำให้เน่าได้รับสารพิษโดยไม่รู้ตัว
6. จากสภาพข้าวที่หุงออกมา จะมีข้าวจำนวนไม่น้อย ที่มีสีน้ำตาลตรงปลายเมล็ด นั่นคือเม็ดข้าวที่ขึ้นรา อย่างน้อยต้องตรวจพบสารพิษอะฟลา 1 ตัว ตรวจง่ายๆ โดยใช้เทคนิค บี จี วาย ฟลูโอเรสเซนท์ (Bright Greenish-Yellow Fluorescent)** ซึ่งสารนี้ทนอุณหภูมิได้ถึง 250°C *** และยังจะมีสารพิษอื่นๆตามมาอีกหลายตัว และ อุณหภูมิข้าวที่เราหุงน้ำเดือด 100°C ไม่สามารถทำลายพิษจากเชื้อราได้ อาจได้แค่แบคทีเรียจากมูลของแมลง
เห็นเจตนาดีของท่าน ที่จะหาเงินกลับคืน ขอแนะนำว่า...
๑. อย่าขายให้คนหรือสัตว์นำไปบริโภค จะได้ไม่คุ้มเสีย เพราะเราจะมีคนป่วยด้วยมะเร็งมากขึ้น สำหรับผู้บริโภคโดยตรง
๒. กรณีนำไปเลี้ยงสัตว์ เราจะได้ผลิตภัณฑ์ เนื้อ นม ไข่ ที่มี "สารพิษ" จากเชื้อราตกค้างในอาหาร ทำให้เพิ่มโอกาสเป็นมะเร็งมากขึ้น ...
๓. การนำไปขายให้อัฟริกา ชื่อเสียงข้าวเน่าเสียของไทยจะกระจายไปทั่วโลก คู่แข่งเราจะได้เปรียบ กว่า เราจะกู้ชื่อเสียงกลับคืนมาคงอีกนานหลายปี เสียตลาดข้าวให้คู่แข่ง โดยเขาไม่ต้องออกแรงเลย และที่สำคัญ บาปตกอยู่กับผู้คิด ผู้ขาย แน่นอน ...
๔. ขอแนะนำให้นำข้าวเหล่านี้ ไปผลิตเป็นแอลกอฮอล์ หรือน้ำส้มสายชู จะดีกว่า สอบถามนักวิชาการด้านวิทยาศาสตร์การอาหารต่อไปค่ะ ...
หมายเหตุ : การตรวจสอบสารพิษเหล่านี้ มีตามมหาวิทยาลัยที่มีห้องแลปตรวจอาหารทั่วไปหรือกรมปศุสัตว์หรือบริษัทรับตรวจสารพิษในอาหาร
บทความต้นฉบับ และข้อมูลเพิ่มเติม
โดย : นายศักดา ศรีนิเวศน์ นักวิชาการด้านการเกษตร
ผู้เขียนหนังสือ “พิษภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช”
วันที่ 9 พ.ค. 2567
โบรโมมีเทน (Bromomethane) หรือที่รู้จักกันทั่วไปในชื่อ เมทิลโบรไมด์ (methyl bromide) เป็นสารประกอบออร์กาโนโบรมีน (organobromine) ที่มีสูตรCH₃Br ก๊าซไม่มีสี ไม่มีกลิ่น และไม่ติดไฟนี้ผลิตขึ้นทั้งทางอุตสาหกรรมและทางชีวภาพ เป็นสารเคมีที่ได้รับการยอมรับว่าทำลายชั้นโอโซน : วิกิพีเดีย
เมทิลโบรไมด์มีลักษณะเฉพาะอย่างไร ?
เมทิลโบรไมด์เป็นก๊าซที่ไม่มีกลิ่นและไม่มีสี เป็นของเหลวที่อุณหภูมิต่ำกว่า 3.5 องศาเซลเซียส มันหนักกว่าอากาศถึงสามเท่า
เมทิลโบรไมด์ จะสลายตัวค่อนข้างเร็ว โดยมีครึ่งชีวิตประมาณ 7 เดือน (ครึ่งชีวิตเจ็ดเดือนหมายความว่า ครึ่งหนึ่งของปริมาตรของสารเคมี จะสลายตัวไปครึ่งหนึ่งของปริมาณเริ่มต้นที่ใช้ในช่วงเวลานั้น .... เช่นสมมุติว่า เราใช้สาร 200 มิลลิกรัม ภายในเจ็ดเดือน สารจะลดลงครึ่งหนึ่งเหลือ 100 มิลลิกรัม และอีกเจ็ดเดือนจะลดลงเหลือ 50 มิลลิกรัม )
ไม่แน่ใจว่า การรมควันเดือนละครั้ง นานถึง 10 ปี จะมี สารเมทิลโบรไมด์ตกค้างในข้าวสักเท่าใด ?
เพราะยังไม่เคยมีงานศึกษาการรมควันแบบมหากาพย์เช่นนี้มาก่อน/ผู้เขียน)
เมทิลโบรไมด์ อาจรวมตัวกันในบริเวณที่มีการระบายอากาศไม่ดีและอยู่ต่ำ เมทิลโบรไมด์มีความเป็นพิษสูง (เมื่อสูดดมเข้าไป) การศึกษาในมนุษย์ระบุว่า ปอดอาจได้รับบาดเจ็บสาหัสจากการสูดดมเมทิลโบรไมด์แบบเฉียบพลัน (ระยะสั้น) การสูดดมเมทิลโบรไมด์แบบเฉียบพลัน และเรื้อรัง (ระยะยาว) อาจส่งผลเสียต่อระบบประสาทในมนุษย์ ....
>>> มีรายงานผลกระทบทางระบบประสาทในสัตว์ ด้วยการหายใจเมทิลโบรไมด์อาจทำให้ปอดระคายเคือง ทำให้เกิดอาการไอ และ/หรือ หายใจลำบาก การได้รับสารในปริมาณมากอาจทำให้เกิดการสะสมของของเหลวในปอด (ปอดบวม) ซึ่งเป็นเหตุฉุกเฉินทางการแพทย์ และมีอาการหายใจลำบากอย่างรุนแรง เมทิลโบรไมด์อาจทำลายไตและส่งผลต่อตับ....
มีการผลิตและใช้เมทิลโบรไมด์มากน้อยเพียงใดในโลก ?
จากข้อมูลปี 2558 การผลิตเมทิลโบรไมด์ ทั้งหมดสำหรับการใช้งานกักกันและสุขอนามัยพืช (QPS) อยู่ที่ 8,450 ตัน โดย 47 ประเทศใช้ 6,546 ตันในปี 2558 เมทิลโบรไมด์ผลิตใน 5 ประเทศเพื่อใช้ในระดับสากลในฐานะรมยา
เมทิลโบรไมด์ สลายตัวในสิ่งแวดล้อม โดยแสงแดด ปฏิกิริยาเคมีในอากาศ น้ำ และโดยจุลินทรีย์ เมทิลโบรไมด์มีครึ่งชีวิตประมาณเจ็ดเดือน เมทิลโบรไมด์จะไม่ปนเปื้อนกับน้ำใต้ดิน การปนเปื้อนของน้ำใต้ดินไม่น่าจะเกิดจากการรมควันภายใต้ผ้าใบกันน้ำ เนื่องจากเมทิลโบรไมด์จะเข้าสู่อากาศได้ง่ายที่สุดเมื่อระบายออกหลังจากการรมควัน ...ง
นอกจากนี้ ยังมีสารเคมีอีกตัวหนึ่งที่นิยมใช้ในการรมควันข้าว คือฟอสฟิน (phosphine) เป็นสารประกอบไม่มีสี ติดไฟได้ และมีพิษสูง มีสูตรทางเคมี PH₃ ซึ่งจัดอยู่ในประเภทไนโตรเจนไฮไดรด์ ฟอสฟีนบริสุทธิ์ไม่มีกลิ่น ใช้ในการรมควันข้าวเพื่อควบคุมศัตรูพืชในทุกช่วงชีวิตและป้องกันการต้านทานแมลง ความเข้มข้นของก๊าซฟอสฟีนจำเป็นต้องสูงถึง 300 ส่วนในล้านส่วน (ppm) เป็นเวลาเจ็ดวัน (เมื่อเมล็ดพืชมีอุณหภูมิสูงกว่า 25°)