ค้นหาบทความ 🙄






10/11/66

“เจ้าฟ้าแว่น” คือใคร ?

เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล พร้อมสมเด็จพระราชชนนี และ สมเด็จพระอนุชา ออกเดินทางจาก เมืองโลซานน์ด้วยทางรถไฟ ประทับเรือเดินสมุทร มาถึงเกาะสีชัง ในวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน จากนั้น ประทับในพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน 

สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช


เป็นการเสด็จนิวัติพระนคร ครั้งแรก ของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล หลังจากมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๕

ในการเสด็จยังที่ต่างๆ นั้น สมเด็จพระอนุชาฯ ( ซึ่งขณะนั้น ทรงพระราชอิสริยยศ เป็น สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช ) มักจะตามเสด็จด้วยเสมอ จนมีพระฉายาในหมู่ราษฎร ว่า “เจ้าฟ้าแว่น” เนื่องจากพวกเขาไม่เคยเห็นเด็กๆ ใส่แว่นสายตากันมากนักในยุคสมัยนั้น ....


เจ้าฟ้าแว่น
เจ้าฟ้าแว่น.. 

โดย...สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนา กระหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
เนื่องในงาน ”วันนี้…เมื่อ 72 ปีก่อน”
จัดโดยคณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
------ อัษฎางค์ ยมนาค ...เรียบเรียง 

สมเด็จพระพี่นางฯ รับสั่งเล่าว่า ..................

 ข้าพเจ้า จำไม่ได้เลยว่า วันที่  ๕  ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๐  นั้นเป็นเช่นไร เพราะข้าพเจ้ามีอายุเพียง ๕ ขวบครึ่ง แต่ข้าพเจ้าได้ถามแม่  ได้ความว่า เมื่ออยู่ที่ รพ. เคมบริดจ์ หรือ นอร์ธโอเว่น แม่อยู่ ๒ สัปดาห์ รู้สึกเหนื่อยมาก เพราะต้องไปพักอยู่กับลูกอีก รพ. หนึ่ง ... ซึ่งในความทรงจำของข้าพเจ้า จำได้ว่า รพ. ที่พักอยู่บนเขา มีถนนคดเคี้ยวชัน และมีหิมะเต็ม 2 ข้างทาง ข้าพเจ้าอยากเห็น และอยากแตะต้องน้องชาย .. แต่ รพ. เขาให้ดูอยู่ข้างหลังกระจก

     เมื่อกลับถึงบ้าน ได้ถามคุณแหนน (คุณเนื่อง จิตอดุลย์) คนเลี้ยงที่บ้านว่า น้องคนใหม่นี้ พูดไทยได้หรือเปล่า” 

     “เมื่อครั้งที่ทรงประสูตินั้น เป็นองค์ที่มีน้ำหนักมากที่สุดคือเกือบ ๓  กิโลกรัม ซึ่งเป็นน้ำหนักธรรมดาได้มาตรฐานของฝรั่ง ในขณะที่รัชกาลที่ ๘  เป็นองค์ที่มีน้ำหนักน้อยที่สุด 
สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก

แม่บอกว่า  ทูลกระหม่อมฯ (สมเด็จพระราชบิดา) ไม่ค่อยแข็งแรง ลูกออกมาเลยน้ำหนักน้อย
ส่วนข้าพเจ้าเองนั้น เป็นคนแรกออกยาก มีน้ำหนัก  ๒.๗  กก. ดังนั้น จึงถือได้ว่า พระเจ้าอยู่หัวแข็งแรงที่สุดในบรรดา ๓ คน และในช่วงเด็กนั้น เป็นองค์ที่มีชีวิตชีวาอย่างมาก”

หลังประสูติไม่ถึง 3 ชั่วโมง  

    สมเด็จพระราชบิดา (สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก)   จึงมีโทรเลขถวายไปยัง สมเด็จพระพันวัสสาพระราชมารดา ความว่า "ลูกชายเกิดวันนี้ สบายดีทั้งสอง ขอพระราชทานนามทางโทรเลข"

      พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชการที่ ๗  จึงโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามให้ว่า "ภูมิพล" เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงมีพระชนมายุได้เพียง ๑ พรรษา ๙ เดือน สมเด็จพระราชบิดาก็ประชวร และสิ้นพระชนม์ เมื่อวันที่ ๒๔  กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๒  สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี้ จึงรับพระราชภาระ ในการอภิบาลพระโอรส และพระธิดาทั้ง ๓ พระองค์ ตามลำพัง

เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ในปี พ.ศ. ๒๔๗๕ 

     หลังประทับอยู่เมืองไทยได้ระยะหนึ่ง ก็เกิดเหตุการณ์ การเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. ๒๔๗๕  สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี จึงตัดสินพระทัย พาพระราชโอรสและพระราชธิดาย้ายไปประทับ ณ เมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เมื่อต้นปี พ.ศ. ๒๔๗๖ 

      เมื่อทรงพระเยาว์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงทรงประทับอยู่ต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ โดยเข้าศึกษาระดับชั้นประถมที่โรงเรียน Miremont จากนั้นจึงได้เข้าศึกษาต่อในระดับชั้นที่สูงขึ้นไปที่ Ecole Nouvelle de la Suisse Romande และโรงเรียน Gymnase Classique Cantonal จนจบและทรงได้รับประกาศนียบัตรชั้นมัธยม และเตรียมองค์ที่จะทรงศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยโลซานน์ สาขาวิทยาศาตร์

ยุวกษัตริย์พระองค์น้อย
  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ขึ้นครองราชย์สมบัติเป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่ ๘ แห่งบรมราชจักรีวงศ์


     เมื่อทรงพระชนมายุราว 7 พรรษา ได้เกิดเหตุการณ์สำคัญ ซึ่งส่งผลกระทบต่อทุกพระองค์ในราชสกุล "มหิดล" เมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประกาศสละราชสมบัติ รัฐบาลไทยสมัยนั้น จึงได้กราบบังคมทูลอัญเชิญพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล (พระยศในขณะนั้น) ขึ้นครองราชย์สมบัติเป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่ ๘ แห่งบรมราชจักรีวงศ์ 

 
  เพื่อเตรียมตัวยุวกษัตริย์พระองค์น้อย   สำหรับพระราชภาระเพื่อบ้านเมืองในอนาคต นอกจากทรงศึกษาในโรงเรียนตามปกติแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลจึงทรงมีพระอาจารย์มาถวายพระอักษรเพิ่มเติม ...


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ขึ้นครองราชย์สมบัติเป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่ ๘
  ทรงศึกษาภาษาต่างๆ ถึง ๖ ภาษา คือ ภาษาไทย , ละติน, ฝรั่งเศส , อังกฤษ , เยอรมัน และสเปน
เมื่อพระเชษฐาทรงศึกษาสิ่งใด สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุยเดช (พระยศในขณะนั้น) ก็ทรงเรียนรู้ด้วย 

      เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.  ๒๔๘๑   พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล พร้อมด้วยพระราชชนนี พระเชษฐภคินี และพระอนุชา ได้เสด็จนิวัตประเทศไทย ตามคำกราบบังคมทูลเชิญของรัฐบาล และประทับอยู่เมืองไทยราว 2 เดือน ก่อนเสด็จกลับสวิตเซอร์แลนด์เพื่อทรงศึกษาต่อ ...

   แม้จะเสด็จนิวัตเมืองไทยเพียงชั่วระยะเวลาสั้นๆ แต่ก็สร้างความตื่นเต้นปีติ ความรัก และความชื่นชมในหมู่พสกนิกรไทยถ้วนหน้า เพราะชาวไทยไม่เคยเห็น "ในหลวงพระองค์น้อย" ของพวกเขาเลยนับแต่ทรงขึ้นครองราชย์ ...

      จะเห็นก็แต่เพียง พระบรมฉายาลักษณ์ใ นหนังสือพิมพ์ และได้ยินจากข่าวคราว ของผู้ที่เดินทางไปต่างประเทศ และมีโอกาสเข้าเฝ้าฯ เท่านั้น ...

การเสด็จนิวัติ เจ้าฟ้าแว่น
       การเสด็จนิวัติพระนครในครั้นนั้น ประชาชนและห้างร้านต่างๆ พร้อมใจกันทำซุ้มและประดับประดาอาคารบ้านเรือนเพื่อรับเสด็จฯ ไม่ว่าจะเสด็จพระราชดำเนินไปที่ใดทั้งในพระนคร และจังหวัดใกล้เคียง จะมีประชาชนมารอเฝ้าฯ เพื่อชมพระบารมีอย่างเนืองแน่น

  และ ด้วยความที่พวกเขาไม่เคยเห็นเด็กๆ ใส่แว่นสายตากันบ่อยนัก เมื่อได้เห็นสมเด็จพระอนุชา จึงทรงมีพระฉายาในหมู่ราษฎรอีกพระนามหนึ่งว่า

‘เจ้าฟ้าแว่น’ หรือ ‘ท่านแว่น’

 


Admin Bee

สนับสนุน Misc.Today

นี่คือ ลิ้งค์พันธมิตร หรือที่เรียกว่า affiliate link ซึ่งหมายความว่า... หากคุณคลิ๊กลิ้งค์นี้ และซื้อผลิตภัณฑ์ อะไรก็ได้ ฉันจะได้ค่าคอมมิชชั่นเล็กน้อย สิ่งนี้จะช่วยสนับสนุนเว็บไซด์ และช่วยให้กำลังใจเราต่อไป


  ชาหมักคอมบูชะ Scoby doit  


 






 

คุณอาจสนใจ

5 บทความ ยอดนิยม ในรอบ 30 วัน

🟡 โพสต์แนะนำ

คริสเตียนไซออนนิสท์ คือใคร ? - Christian Zionist

ช่วงนี้ ผมติดตามหาข้อมูลเกี่ยวกับ อิสราเอล กับ ปาเลสไตน์ ครับ ส่วนใหญ่จะเป็นแนวประวัติศาสตร์เสียมาก เพราะผมมีความเชื่อส่วนตัวว่า การที่เราจะ...

Popular Posts

แนะนำหนังสือ


  BOOKs OF THE DAY








ผู้สนับสนุน







Xiaomi Kingsmith Walking Pad

 Xiaomi Kingsmith Walking Pad R1 Pro/ R2 ลู่เดิน/วิ่งไฟฟ้า พับเก็บได้ สำหรับการออกกำลังกายภายในบ้าน >> คลิ๊กดูเพิ่มอีก


ป้ายกำกับ / Tag labels

2475 (1) กฎหมาย (4) กฐิน (2) กรรม (5) กระเป๋า (3) กรุงเทพฯ (19) กรุงศรีอยุธยา (11) กล้องถ่ายภาพ (7) กลอน (4) กลาโหม (9) การเกษตร (7) การจัดเก็บ (3) การปกครอง (1) การเมือง (53) การศึกษา (131) กิจกรรมกลางแจ้ง (2) กีฬา (3) เกษตร (3) เกี่ยวกับสัตว์ (14) ไกลกังวล (1) ขงจื้อ (1) ขนม (2) ขอมไม่ใช่เขมร (6) ข้าว (3) ข่าวสาร (22) ขิง (1) เขมร (10) โขน (2) คณะราษฎร (10) คติธรรม (1) คนเล่านิทาน (15) ครัว (1) ครู (6) ความเชื่อ (12) ความรู้ (155) คอมมิวนิสต์ (33) คำภีร์ (2) คำสอน (11) เครื่องบิน (7) เงินตรา (4) จอมพล ป. พิบูล (1) จอมพล ป. พิบูลสงคราม (13) จีน (53) ช้าง (1) ชายแดนใต้ (5) ญี่ปุ่น (15) ดนตรีไทย (1) ดอกไม้ (1) เด็ก (5) เดนมาร์ก (1) ต้นไม้ (4) ตลาดนัด (1) ตำรวจ (2) เตา (1) เตือนภัย (16) แต่งงาน (1) ทรัพยากร (2) ทวิตเตอร์ (1) ทหาร (9) ท่องเที่ยว (28) ทะเล (3) ทัศนะ (49) ทำบุญ (5) ทำอาหาร (5) เทคโนโลยี (13) โทรศัพท์มือถือ (2) ธนบัตร (1) ธนาคาร (4) ธรณี (1) ธรรมชาติ (10) ธรรมในคำกลอน (1) ธรรมะ (6) ธรรมาธิปไตย (2) ธุรกิจ (10) นราธิวาส (3) นวดไทย (1) นักบิน (1) นักเรียน (4) นางใน (1) นาซี (1) นายกรัฐมนตรี (3) น้ำมัน (1) นิทานพื้นบ้าน (1) นิยาย (3) นิวเคลียร์ (1) เนปาล (1) แนะนำสินค้า (38) โนรา (1) ในหลวง ร.10 (1) ในหลวงรัชกาลที่ 9 (15) บริการ (3) บริหาร (3) บ่อน (1) บัตรเครดิต (2) บัตรประชาชน (1) บุคคล (42) บุญ (3) บุหรี่ (1) เบตง (1) แบรนด์ไทย (5) โบราณวัตถุ (13) โบราณสถาน (6) โบสถ์ (2) ประชาธิปไตย (54) ประท้วง (7) ประเทศไทย (176) ประธานาธิบดี (1) ประวัติศาสตร์ (148) ปรัชญาชีวิต (21) ปรีดี (2) ปลูกต้นไม้ (3) ปูติน (1) ผลไม้ (2) ผลิต (3) ผัก (1) ผิวสี (1) แผ่นดินไหว (1) ฝรั่งเศส (6) พม่า (6) พยาบาล (1) พระเจ้าตากสินมหาราช (2) พระนเรศ (1) พระพุฒาจารย์ (1) พระพุทธเจ้า (1) พระราชกรณียกิจ (4) พระสงฆ์ (10) พราหมณ์ (1) พิบูลสวัสดี (1) พิพิธภัณฑ์ (9) พุทธทาส (1) พุทธศาสนา (11) เพชรบุรี (3) เพลง (8) เพลงผ้า ปรพากย์ (1) แพทย์ (4) ฟาโรห์ (1) ไฟ (4) ไฟฉาย (1) ไฟฟ้า (1) ภัยพิบัติ (1) ภาคใต้ (6) ภาคอีสาน (1) ภาษา (9) ภาษิต (1) ภูเขาไฟ (1) ภูมิปัญญา (19) ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ (1) มวยไทย (5) มาเลเซีย (1) มุมไบ (2) มุสลิม (2) แม่ (1) ไม้ไผ่ (1) ยา (1) ยิว (3) ยูนนาน (1) เยาวชน (1) เยาวราช (1) รถเมล์ (3) รองเท้า (2) ระเบิด (3) รัชกาลที่ ๒ (1) รัชกาลที่ ๔ (3) รัชกาลที่ ๕ (7) รัชกาลที่ ๖ (1) รัชกาลที่7 (8) รัชกาลที่ ๘ (5) รัฐประหาร (7) รัสเซีย (12) ราชาศัพท์ (1) รามเกียรติ์ (1) เรือ (2) เรื่องเก่า (80) เรื่องเล่า (23) โรค (5) โรคระบาด (4) โรงงาน (1) โรงพยาบาล (10) โรงเรียน (16) โรฮิงญา (1) ลอนดอน (1) ลัทธิ (2) ลัทธิมาร์กซ์ (3) ล้านนา (3) ลาว (4) ลิง (1) เลือกตั้ง (9) โลก (5) โลกร้อน (3) วัฒนธรรม (2) วัด (14) วันแม่ (1) วันสำคัญ (5) วิทยาศาสตร์ (9) วิทยุ (2) วิหาร (4) เวียดนาม (4) ไวรัล (1) ศัพท์ (1) ศาสนา (36) ศิริราช (5) ศิลปะ (5) ศิลปาชีพ (1) เศรษฐกิจ (3) สงขลา (1) สงคราม (50) สถานีรถไฟ (1) สนามบิน (2) สเปน (1) สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร (2) สมัยเมจิ (1) สยาม (12) สวนสนุก (1) สวิตเซอร์แลนด์ (2) สังคม (37) สำนวน (8) สิ่งประดิษฐ์ (13) สื่อ (3) สุขภาพ (14) สุภาพจิต (6) สุสาน (1) หนังแท้ (4) หนังสือ (31) หนังสือพิมพ์ (1) หนู (1) ห้องเรียน (4) เหมาเจ๋อตง (2) เหรียญ (1) อเมริกา (37) ออสเตรีย (1) อังกฤษ (6) อาชีพ (1) อาหาร (16) อาหารจานโปรด (9) อิตาลี (3) อินเดีย (8) อิสราเอล (3) อียิปต์ (1) อีสาน (1) แอปพลิเคชัน (4) ไอร์แลนด์ (1) cpr (1) deep state (1) democracy (1) Diarymisc (3) facebook (1) handmade (1) leather (1) metaverse (1) nomad (6) Nuclear (1) OPENUP (1) powerbank (1) shopee (1) Social media (2) social views (114) startup (1) UNESCO (4) xiaomi (1)


Miscellaneous | Misc.Today 🌱 . ขับเคลื่อนโดย Blogger.

 
miscthailand