ค้นหาบทความ 🙄





10/06/66

สารคดี ชุด 2475 ประวัติศาสตร์สูญหาย ที่ไม่ได้เล่า ?

รู้หรือไม่ ? แนวคิดเรื่องประชาธิปไตย ในไทย เริ่มมีปรากฏ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 โดยการวางรากฐาน ในการเสริมความรู้เกี่ยวกับประชาธิปไตยแก่ประชาชน 
   
สารคดี 2475 ประวัติศาสตร์ที่สูญหาย ที่ไม่ได้เล่า


  • เบื้องแรกประชาธิปไตย
    หากกล่าวถึง “ประชาธิปไตย” เราคนไทย ทราบกันหรือไม่ว่า กว่าจะเป็นไทยในวันนี้  “เส้นทางของประชาธิปไตย” ของสยามประเทศ มีความเป็นมาอย่างไร ? และ การเปลี่ยนแปลงการปกครอง จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตย โดยคณะราษฎร ในปี พ.ศ. 2475

    แท้จริงแล้ว ....  “แนวคิดเรื่องประชาธิปไตย” เริ่มมีปรากฏในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 โดยการวางรากฐาน ในการเสริมความรู้เกี่ยวกับประชาธิปไตยแก่ประชาชน ก่อนปีแห่งการเปลี่ยนแปลง 2475 อยู่เกือบครึ่งศตวรรษ ประวัติศาสตร์ชาติที่สูญหายไปหลายสิบปีหลังจากนั้น เกิดอะไรขึ้น...

  • เหตุการณ์ก่อนปฏิวัติ
    ย้อนกลับไป ในช่วงก่อนปี พ.ศ. 2470   

      บุคคลที่ได้รับทุนเล่าเรียนหลวงไปศึกษาต่อยังต่างประเทศ ส่วนใหญ่ ล้วนได้รับอิทธิพลทางแนวคิดการปกครองที่ว่า

 "ถ้าหากสยามเปลี่ยนเป็นระบอบการปกครอง ที่ให้มีรัฐธรรมนูญจะเจริญขึ้นกว่าเดิม" 

     บรรยากาศทางการเมืองของสยามในช่วงเวลานั้น จึงเต็มไปด้วย "ข่าวลือ" เกี่ยวกับการปฏิวัติเกิดขึ้นเป็นระยะๆ และในที่สุด  ข่าวลือ เริ่มนำไปสู่การปฏิบัติอย่างจริงจัง ในปี พ.ศ.2470  !!! 

     เมื่อกลุ่มบุคคล ที่ไปศึกษา ณ ประเทศฝรั่งเศส จำนวน 7 คน ได้นัดประชุมกันเป็นครั้งแรก ที่กรุงปารีส เพื่อแลกเปลี่ยนความคิด ที่จะทำการ "ปฏิวัติ" เปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองในสยาม การปฏิวัติเริ่มขึ้นทันที เมื่อคณะผู้ก่อการได้เดินทางกลับประเทศ และเข้ารับราชการตามตำแหน่งหน้าที่ต่างๆ ใช้เวลาในการหาสมาชิก และการเตรียมการนาน 3 ปี โดยชิงปฏิวัติก่อนที่ในหลวง ร.7  จะพระราชทานรัฐธรรมนูญ ให้เป็นของขวัญสำหรับชาวสยาม .

  • วันปฏิวัติ
    เช้า วันที่ 24 มิถุนายน 2475 

    เมื่อทหารจากหน่วยต่างๆ ที่ถูก "ล่อลวง" ให้มารวมตัวกัน ณ ลานพระบรมรูปทรงม้า เมื่อทหารมารวมตัวกันครบแล้ว  ...  พระยาพหลฯ จึงได้เริ่มอ่านแถลงการณ์ เปลี่ยนแปลงการปกครอง  พร้อมกับใช้ปืนจ่อหัวนายทหารที่มาชุมนุมบริเวณนั้นทีละคน  หากใครไม่เห็นด้วยจะถูกจับกุม 

     จากนั้น ได้นำกำลังเข้ายึด พระที่นั่งอนันตสมาคม เป็นกองบัญชาการ และกระจายกองกำลังเข้าควบคุมสถานที่สำคัญๆ ของทางราชการ รวมถึง การนำกำลังบุกเข้าไปใน โรงเรียนสวนกุหลาบ  ควบคุมครู และนักเรียน ไว้เป็นตัวประกัน เนื่องจาก ในหมู่นักเรียนมีลูกหลานเชื้อพระวงศ์ และลูกหลานข้าราชการระดังสูง ซึ่งเป็นพลังสำคัญที่จะต่อต้านคณะปฏิวัติ  ซึ่งอาจก่อให้เกิดความระส่ำระสายที่คณะปฏิวัติยากจะควบคุมได้ 

     นอกจากนี้ คณะผู้ก่อการยังส่งโทรเลขข่มขู่ รัชกาลที่ 7  ที่กำลังประทับอยู่ ณ พระราชวังไกลกังวล ให้เสด็จกลับพระนคร เพื่อรับรองรัฐธรรมนูญให้แก่คณะปฏิวัติ โดยมีองค์ประกันอยู่เต็มพระที่นั่งอนันตสมาคม การต่อสู้นองเลือดจึงไม่เกิดขึ้น เพราะยุทธการจับเด็กนักเรียน และเชื้อพระวงศ์เป็นตัวประกัน

  • เบื้องหลังรัฐธรรมนูญชั่วคราว
    คณะราษฎร ได้นำรถถังมาจอดประกาศศักดา ไว้ที่หน้าวังศุโขทัย


      เช้าวันที่ 26 มิถุนายน หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ เสด็จกลับจาก หัวหิน ถึงพระนคร  นายปรีดี และคณะราษฎร ได้นำรถถังมาจอดประกาศศักดาไว้ที่หน้าวังศุโขทัย  แล้วขอเข้าเฝ้า เพื่อให้ทรงลงพระปรมาภิไธย ในร่างพระราชบัญญัติธรรมนูญ การปกครองแผ่นดินสยาม พ.ศ.2475 และ พระราชกำหนดนิรโทษกรรม  ในคราวเปลี่ยนแปลงการปกครองแผ่นดิน .... ซึ่งพระองค์ก็ทรงพระเมตตา ประทับตราบนเอกสาร พระราชทานอภัยโทษ แก่สมาชิกคณะราษฎรทุกคน ที่ได้ ก่อการปฏิวัติ ดังกล่าว....

     สำหรับร่างรัฐธรรมนูญ  นั้น พระองค์ไม่สามารถ ลงพระปรมาภิไธยรับรองได้ เนื่องจาก พบว่า ได้มี "การแอบแฝง"  ข้อความบางอย่าง  ลงไปในรัฐธรรมนูญ ซึ่งห่างไกลจากการเป็น “ระบอบกษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญ”  จึงให้กลับไปร่างมาใหม่ และกลายเป็น “รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว” แม้ในที่สุด คณะราษฎร จะประสบความสำเร็จ ในการบังคับพระมหากษัตริย์ให้รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว แต่ความผิดพลาดภายในร่างฯ ฉบับนี้ กลับสะท้อนให้เห็น ความแตกแยกทางความคิดภายในคณะราษฎรที่ซ่อนเร้นกันเองระหว่างกัน ... !!!

  • ยึดอำนาจกุมสิทธิอิสระเสรี
    คณะราษฎรได้ปล่อยองค์ประกันที่ถูกคุมขัง ณ พระที่นั่งอนันตสมาคมจนหมด

      วันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2475  สถานการณ์เริ่มคลี่คลาย  หลังจากที่ทั้งสองฝ่ายประนีประนอม จนเกิด รัฐบาลชั่วคราว .... คณะราษฎรได้ปล่อองค์ประกัน ที่ถูกคุมขัง ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม จนหมด และ ได้ขอเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อขอพระราชทานอภัยโทษ อย่างเป็นทางการ ...    ซึ่งพระองค์ ก็ได้กรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานอภัยโทษให้

     ท่ามกลาง ความขัดแย้ง ในสภาคณะกรรมการราษฎร ในการร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวร ... ที่สุดแล้วก็ได้ข้อสรุปชัดเจน  ในช่วงเดือน พฤศจิกายน  พ.ศ. 2475 เวลาล่วงเลยมาถึงวันที่ 10 ธันวาคม 2475 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ได้พระราชทานรัฐธรรมนูญ ฉบับถาวร ...

    จนถึงต้นปี พ.ศ.2476 บ้านเมืองร้อนเป็นไฟขึ้นอีกครั้ง .... เหตุมาจากที่ นายปรีดี เสนอสมุดปกเหลือง จนถูกมองว่าเป็น คอมมิวนิสต์ พระยามโนปกรณ์ฯ ต้องสั่งปิดสภา ก็ยิ่งเกิดภัยอันตราย เพราะทุกคน พุ่งเป้ามาที่ สมเด็จพระปกเกล้าฯ ขณะที่พำนักอยู่หัวหิน ...

  • รัฐทาส และคนหนักโลก
    ฝ่ายนิยมคณะราษฎรกลับยังคุกคามพระเจ้าอยู่หัวอย่างต่อเนื่อง


       แม้พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ  ได้มอบรัฐธรรมนูญฉบับถาวรกับรัฐบาลคณะราษฎรแล้ว .... แต่ ดูเหมือนว่า ฝ่ายนิยมคณะราษฎร กลับยังคงคุกคาม พระเจ้าอยู่หัวอย่างต่อเนื่อง จนพระองค์ทรงวิตกว่า ในภายภาคหน้า จะทำให้พระองค์ และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ได้รับอันตราย ... โดยเฉพาะ เมื่อคราวนายปรีดี ได้เสนอโครงการเศรษฐกิจแก่ที่ประชุมสภา ที่มีเนื้อหาราวกับคัดลอกเอาหลักในตำรับเศรษฐกิจของคารล์ มาคซ์  ตั้งแต่บรรทัดแรก จนถึงบรรทัดสุดท้าย เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรง มีการประณามว่าเป็นโครงการ “คอมมิวนิสต์” จนเกิดความแตกแยกในคณะรัฐมนตรี และผู้นำคณะราษฎรด้วยกันเอง 

     ท้ายที่สุด  ข้อเสนอของนายปรีดี ก็ถูกปฏิเสธในคณะรัฐมนตรี และ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ เอง ก็ไม่เห็นด้วย นายปรีดี จึงได้รวบรวม ผู้ที่เห็นด้วยกับเขาในสภาผู้แทนราษฎร พยายามเปลี่ยนแปลงกระแส และแนวโน้มของสภาผู้แทนราษฎร รวมถึงการใช้วิธี "คุกคาม และไม่ถูกต้อง"

  • ปฏิวัติเลือด
    ความแตกแยกของคณะราษฎรเหล่านี้ เป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น

         ในช่วงรัฐประหารเงียบ ฝ่ายพระยามโนฯ กับพระยาทรงสุรเดช กดดันให้นายปรีดี เดินทางออกนอกประเทศ และทำการยึดอำนาจทางทหารจากหลวงพิบูลสงคราม โดยเชื่อว่า จะทำให้ปัญหาคอมมิวนิสต์ คลี่คลายลง ....แต่แท้จริงแล้ว ความแตกแยกของคณะราษฎรเหล่านี้ เป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น

       ตั้งแต่ช่วงที่มีความแตกแยกเรื่องเค้าโครงเศรษฐกิจของนายปรีดี  ทำให้เกิดการขัดแย้งกันเองภายในคณะราษฎร จนกลายเป็น กลุ่มอำนาจต่างๆ เล่นเกมส์การเมือง แก่งแย่ง ชิงอำนาจ ตลบหลังกันไปมา .... จนทำให้เกิด การทำรัฐประหารซ้ำเป็นรอบที่ 2

      การทำรัฐประหารในครั้งที่สองนี้ ได้สร้างมรสุมลูกใหม่ ขึ้นอีกครั้ง "ทหารผู้จงรักภักดี" ทั้งใน และนอกประจำการ จึงตัดสินใจชักชวน รวบรวมพรรคพวก เพื่อก่อการบางอย่าง จนมีข่าวลือสะพัดไปทั่วว่า มีการก่อตัวของ “กองทัพสีน้ำเงิน” อันหมายถึงการรวมตัวของกลุ่มคนที่ต้องการจะรื้อฟื้นระบอบกษัตริย์ ...

  • วิกฤต กู้บ้านกู้เมือง
    พระองค์เจ้าบวรเดช ได้นำกองกำลังกู้บ้านกู้เมือง มาประชิดพระนคร


       เพียง 10 วัน  หลังจากที่นายปรีดีเดินทางกลับสยาม เพื่อรับการแต่งตั้งอีกครั้ง .... หลังถูกต้องสงสัยว่าเป็นคอมมิวนิสต์  ในที่สุดพระองค์เจ้าบวรเดช ได้นำกองกำลังกู้บ้านกู้เมือง มาประชิดพระนคร พร้อมกับส่งหนังสือถึงรัฐบาล ยื่นคำขาดให้คณะรัฐมนตรีลาออก ส่วนฝ่ายรัฐบาลก็ออกแถลงการณ์ว่า ผู้นำคณะกู้บ้านกู้เมือง เป็นกบฏต่อแผ่นดิน ให้เข้ามอบตัวกับทางการ 

      เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 เวลานั้น ทรงประทับอยู่ที่หัวหิน ทรงทราบเรื่อง... พระองค์ทรงเลือกที่จะ "รักษาความเป็นกลางเอาไว้"  ไม่ยอมเข้ากับใครทั้งสองข้าง เพราะทั้งห้ามปราม และพยายามหาทางออก ให้มีการเจรจาประนีประนอมกันแล้ว แต่ไม่มีฝ่ายไหน ที่จะเลือกฟังพระองค์... 

    ทั้งสองฝ่ายต่างปฏิเสธข้อเรียกร้องของฝั่งตรงข้าม สิ่งเดียวที่จะทำได้ในเวลานั้น คือ การเปิดสงครามเต็มรูปแบบ !!!

 

  • แสงสุดท้ายที่หินลับ
    ทั้งสองฝ่ายเปิดฉากต่อสู้กันอย่างบ้าคลั่ง


      สถานการณ์ความขัดแย้ง ในเหตุการณ์สงครามกลางเมือง ระหว่าง ฝ่ายรัฐบาลพระยาพหลฯ และคณะกู้บ้านกู้เมือง ได้ยกระดับ จากการต่อสู้ทางแนวความคิด สู่การเปิดฉากสงคราม แย่งชิงอำนาจ ...
     ทั้งสองฝ่าย เปิดฉากต่อสู้กันอย่างบ้าคลั่ง มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก และหนึ่งในนั้นคือ พระยาศรีสิทธิสงคราม ผู้ที่เคยปฏิเสธ การเข้าร่วมคณะเปลี่ยนแปลงการปกครอง และเป็นผู้ก่อตั้ง “กองทัพสีน้ำเงิน”

     หลังสงครามกลางเมืองยุติลง .... รัฐบาลได้ทำบุญอุทิศส่วนกุศล ให้ทหารฝ่ายรัฐบาลที่เสียชีวิต ทั้งสดุดีเชิดชูเกียรติอย่างยิ่งใหญ่ .....

   แต่ผู้เสียชีวิตฝ่ายที่แพ้สงคราม ไม่มีแม้แต่พิธีฌาปนกิจ อย่างถูกต้อง และนี่คือ ราคาที่ต้องจ่าย เพื่อแสวงหาเสรีภาพจากการเป็นทาสของรัฐ 

  • ผู้รับบาป
    คิดบัญชีย้อนหลังกับฝ่ายที่พ่ายแพ้

    นับตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครอง จนถึงเหตุการณ์สงครามการเมือง อันเป็นเหตุให้พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ต้องทรงสลดพระราชหฤทัยเป็นที่สุด ติดต่อกันมิได้ขาด เพราะครั้งที่พระองค์ ทรงมอบพระราชอำนาจ และการปกครองระบอบประชาธิปไตยนั้น ก็เพราะทรงหวังให้คณะราษฎรมอบประชาธิปไตยแก่ชาวไทยอย่างสมบูรณ์ ... แต่ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา แม้จะมีรัฐธรรมนูญประกาศใช้  ก็หาได้เป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง ไม่ ... 

     แต่กลับกลายเป็นภัยที่ "กัดกินประเทศชาติ" ปลุกเร้าให้แย่งชิงอำนาจกันเอง ภายหลังการยุติเหตุการณ์สงครามกลางเมืองปี 2476   รัฐบาลพระยาพหลฯ ได้คิดบัญชีย้อนหลังกับฝ่ายที่พ่ายแพ้ ไม่ว่าจะเป็นผู้เกี่ยวข้องจริง หรือเหล่าผู้บริสุทธิ์ที่ต้องรับบาป  ก็ถูกจับเข้าคุกบางขวาง ....  จนนำมาสู่การประกาศสละราชสมบัติโดยเด็ดขาด ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ รัชกาลที่ 7

  • ครอบครัวเล็กๆ “มหิดล”
    ผู้ที่กุมอำนาจสิทธิขาดของประเทศ ก็คือคณะราษฏร


   เมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสละราชสมบัติ ในปี พ.ศ. 2478 สภาผู้แทนราษฏร และ รัฐบาลในขณะนั้น  ได้มีมติเห็นชอบ ให้อัญเชิญ พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าอานันทมหิดล ขึ้นครองราชย์สืบสันตติวงศ์ เป็นพระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ 8 แห่งบรมราชจักรีวงศ์ ขณะอายุเพียง 9 ขวบ ..... และให้แต่งตั้งคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์  เนื่องจากพระเจ้าอยู่หัวพระองค์ใหม่ยังทรงพระเยาว์ และประทับอยู่ต่างประเทศ

    ทั้งนี้ มีการติดตาม เพื่อให้กลับมาครองราชย์สมบัติ อีกหลายครั้ง แม้จะมีเงื่อนไข โดยตกลงกับสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เอาไว้ว่า จะให้รัชกาลที่ 8 กลับมาปกครอง เมื่อสำเร็จการศึกษา นั่นหมายความว่า ..... 

     "  ในตลอดช่วงเวลา 10 ปี ที่แผ่นดินสยาม ไม่มีพระมหากษัตริย์ประทับอยู่ ผู้ที่กุมอำนาจสิทธิขาดของประเทศ ก็คือคณะราษฏร และคณะผู้บริหารสภานั่นเอง ...." 

 

  • ลัทธิบูชารัฐธรรมนูญ
    ยื่นฟ้องพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี นำไปสู่การอายัด และยึดทรัพย์สินทั้งหมดของพระองค์ 


       หลังเหตุการณ์กบฏ กู้บ้านกู้เมือง รัฐบาลพระยาพหลฯ เริ่มเห็นว่า การสร้างความเชื่อมั่นในระบอบใหม่ มิอาจทำให้ได้ในรูปแบบเดิม และยิ่งเมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสละราชสมบัติ ยิ่งทำให้คณะราษฎร ตกเป็นเป้า ในฐานะปรปักษ์กับพระเจ้าแผ่นดิน ...

       จึงอาศัยช่วงที่รัชกาลที่ 8 ยังทรงพระเยาว์ และศึกษาอยู่ต่างประเทศ "ทำการจูงใจประชาชน"  ให้ภักดี ต่อรัฐบาลคณะราษฎร มากกว่าสถาบันพระมหากษัตริย์ 

     .... อีกทั้ง ยังโยกย้ายทรัพย์สินหลายส่วน ที่อยู่ใต้ความดูแลของกรมวัง และพระคลังข้างที่ จ่ายแจกไปให้หน่วยราชการ ภายใต้ความดูแลของรัฐบาลคณะราษฎร .... รวมถึง ยื่นฟ้องพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี นำไปสู่การอายัด และยึดทรัพย์สินทั้งหมดของพระองค์  จนสร้างความไม่พอใจอย่างมากให้แก่ทหารชั้นประทวน ที่ยังมีความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ พยายามรวบรวมพรรคพวกที่จะก่อการยึดอำนาจจากรัฐบาลเพื่อถวายราชบัลลังก์คืนแก่พระองค์ ....
  • ทุบวัง ปล้นคลังหลวง
    ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ถูกนำมาเร่ขายให้คนกันเองในราคาถูก


         ในช่วงเวลาที่ประเทศว่างเว้นจากการมีพระมหากษัตริย์ทรงประทับอยู่ รัฐบาลคณะราษฎร ก็ได้แต่งตั้งคนของตัวเอง เข้าไปเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ รวมถึงเป็นคณะกรรมการจัดระเบียบทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์  .... ทำให้มีอำนาจเบ็ดเสร็จในการที่จัดการกับทรัพย์สิน

 ครั้นมีผู้ตั้งกระทู้ถามรัฐบาลคณะราษฎรในสภา เกี่ยวกับการขายที่ดินของพระมหากษัตริย์ สิ่งที่ได้รับภายหลัง กลับเป็น "จดหมายขู่ฆ่า และการโดนจับโยนบ่อน้ำ" 
    ส่วนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ ของพระมหากษัตริย์ ภายหลังถูกนำมาเร่ขายให้คนกันเองในราคาถูก  .. บ้างก็ถูกยึดเป็นที่ทำงานของรัฐบาล ... บางวัง ก็ถูกทุบทำลาย เพื่อทำเป็นสนามกีฬา ซึ่งภายหลังถูกตั้งชื่อตามบุคคลของคณะราษฎร ที่เสนอให้ทุบวังนั่นเอง

     ท่ามกลางสถานการณ์ที่สยามไร้ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงประทับอยู่ อีกทั้ง การก่อกบฏ จากฝ่ายผู้จงรักภักดี ที่ถูกยับยั้งได้สำเร็จ ในขณะที่สถานการณ์ในบ้านเมืองกำลังร้อนแรงถึงขีดสุด สภาฯ ในรัฐบาลพระยาพหลฯ ก็ออก พระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ. 2479  ในพระปรมาภิไธย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล โดยพระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา ผู้เป็นประธานคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ โดยอ้างว่า

 ".... สมควรจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น...."

    แต่ก่อนที่จะประกาศ พ.ร.บ. จัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ ในปี 2480 ได้เกิด ปรากฏการณ์ที่กลุ่มผู้มีอำนาจในรัฐบาลคณะราษฎร  แห่ซื้อขายที่ดินพระคลังข้างที่ จำนวนหนึ่ง โดยผ่อนจ่ายในราคาถูกๆ และไม่ปรากฏการเสียภาษี  .... เชื่อได้ว่าเป็นผลมาจาก พ.ร.บ. ว่าด้วยการยกเว้นภาษีอากร ...อันเกี่ยวแก่ทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ. 2477 ก่อนหน้านี้ 

     การกระทำดังกล่าวนี้ ทำให้รัฐบาลพระยาพหลฯ ถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจ ในเดือนกรกฎาคม 2480 โดยนายเลียง ไชยกาล ส.ส.จังหวัดอุบลราชธานี ที่มาจากการเลือกตั้ง... จนพระยาพหลฯ ขอลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และในวันถัดมา คณะผู้สำเร็จราชการก็ได้ลาออกด้วยทั้งคณะ ...

     อย่างไรก็ตาม สภาฯ ได้ขอร้องให้พระยาพหลฯ กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรี โดยกล่าวว่า... ทางสภาฯ มิได้สงสัยในตัวพระยาพหลฯ และมี ส.ส. จำนวนมากกว่า 80 คนไปขอร้อง พระยาพหลฯ จึงยอมกลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง ...."  แต่ก็ได้ปรับปรุงคณะรัฐมนตรี โดยรัฐมนตีที่มีชื่อเกี่ยวโยงกับการซื้อที่ดิน ก็มิได้กลับมาร่วมรัฐบาลอีก.... 

     จนกระทั่งเดือนธันวาคม พ.ศ. 2481 หลวงพิบูลสงคราม ก็ได้เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อจากพระยาพหลฯ โดยการลงมติของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 

  ... ในทางกลับกัน นายเลียง ไชยกาล ผู้เปิดประเด็นอภิปรายกรณีซื้อที่ดินพระคลังข้างที่ ถูกจดหมายข่มขู่เอาชีวิต !!!  และประมาณสองสัปดาห์ หลังการอภิปราย ในระหว่างพักการประชุม ที่สโมสรรัฐสภา กลุ่มผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 ที่ถูกแต่งตั้งโดยรัฐบาล และกลุ่มผู้มีรายชื่อซื้อขายที่ดินพระคลังข้างที่  ก็พากันจับตัวนายเลียง อุ้มไปทั้งเก้าอี้  นำไปโยนลงสระน้ำตื้นๆ บริเวณด้านหน้าพระที่นั่งอัมพรสถาน !!!!  

      จากวีรกรรมในการอภิปรายในครั้งนี้ ทำให้นายเลียง ไชยกาล ได้รับฉายา “ผู้แทนฯ ตลอดกาล” และถูกหมายหัว โดยนักการเมืองฝ่ายคณะราษฎรอีกหลายครั้ง

     เหตุการณ์ที่คณะราษฎรกระทำมิบังควรต่อทรัพย์สินของพระมหากษัตริย์ ในช่วงเวลา ที่ไม่มีพระมหากษัตริย์ทรงประทับอยู่ในแผ่นดินนั้น  ได้ปลุกเร้าให้ นักประวิศาสตร์หลายคนตั้งสมมุติฐาน เกี่ยวกับการสูญหายของทรัพย์สินของพระมหากษัตริย์ โดยเฉพาะ ทรัพย์สินชิ้นสำคัญอย่าง "ฉลองพระองค์ครุย ปักทองแล่ง บนพระต้นรูปของรัชกาลที่ 1 – รัชกาลที่ 3 "  ซึ่งเคยประดิษฐานอยู่ในปราสาทพระเทพบิดร ในบริเวณพระบรมหาราชวัง มาตั้งแต่ต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง ปี 2475 มีหลักฐานเชิงเอกสาร อันเกี่ยวข้องกับฉลองพระองค์ครุย ปรากฏต่อสาธารณะ ปัจจุบัน พระต้นรูปของรัชกาลที่ 1 – รัชกาลที่ 3 ยังคงประดิษฐานอยู่ ณ ปราสาทพระเทพบิดร โดยปราศจากพระองค์ครุย และไม่ปรากฏหลักฐานการค้นพบฉลองพระองค์ครุยที่หายไป เหลือเพียงหลักฐานเป็นภาพถ่าย สมัยก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 เท่านั้น

       ในช่วงเวลาที่ประเทศว่างเว้นจากการมีพระมหากษัตริย์ทรงประทับอยู่ รัฐบาลคณะราษฎรก็ได้แต่งตั้งพวกพ้อง เข้าไปเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และคณะกรรมการจัดระเบียบทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์   ในช่วงเวลาที่รัชกาลที่ 8 ยังไม่เสด็จนิวัติสยามประเทศ ผู้สำเร็จราชการแทนพระมหากษัตริย์ ที่ได้รับการแต่งตั้งจากรัฐบาล กลายเป็นผู้ที่มีอำนาจเบิกจ่ายทรัพย์สินแทนพระเจ้าแผ่นดิน และนี่เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของยุดมืดเท่านั้น .... 

  • กบฏ 18 ศพ
    การประหารกบฏทั้ง 18 ศพ ด้วยการตัดสินคดีในศาลเดียวไม่มีอุทธรณ์


    ปลายปี พ.ศ. 2480 ทันที ที่หลวงพิบูลสงคราม ได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรี ต่อจากพระยาพหลฯ โดยมติสภา เพียงไม่นาน ก็ได้ออกคำสั่งให้ พระยาทรงสุรเดชพ้นจากราชการ โดยไม่มีเบี้ยหวัดบำนาญ และบังคับให้ลี้ภัยไปเขมร พร้อมคนสนิท 

    จากนั้นหลวงพิบูลสงคราม ก็ได้เริ่ม "กวาดล้าง" กลุ่มคนจำนวนหนึ่ง ที่เป็นทั้งอดีตนายทหาร และขุนนาง ในข้อหาก่อกบฏ และการลอบสังหาร จนกระทั่งนำไปสู่การประหาร กบฏทั้ง 18 ศพ ด้วยการตัดสินคดีในศาลเดียว และไม่มีการอุทธรณ์  !!! 

 "เบื้องหลังความเด็ดขาดครั้งนี้ ต้องมีความนัยที่ซ่อนอยู่เป็นแน่...." 

  • สังคม นิยม จอมพล
    ตั้งตนเองขึ้นเป็น “จอมพล ป. พิบูลสงคราม”

     ในปี พ.ศ. 2481 หลังจากที่หลวงพิบูลฯ ได้ขึ้นมาเป็นนายกฯ เพียงไม่นาน ก็ได้ทำในสิ่งที่เปลี่ยนโฉมหน้าประวัติศาสตร์สยามครั้งใหญ่ที่สุด ไม่ว่าจะเป็น ... เปลี่ยนชื่อประเทศ, ประเพณี,  ภาษา , ดนตรี , วัฒนธรรม รวมไปถึง การแต่งกาย และวิถีชีวิตของประชาชน

      จากภัยสงครามโลกที่เริ่มก่อตัวทั่วยุโรป ท่านผู้นำ ป. พิบูลสงคราม (ขณะนั้นยศพันเอก) ได้ขอพระราชทานยศ “จอมพล” ให้ตนเอง และตั้งตนเองขึ้นเป็น “จอมพล ป. พิบูลสงคราม” 

     ในขณะที่ จอมพล ป. พิบูลสงคราม กำลังขยายอำนาจ และปฏิรูปประเทศอย่างเข้มข้น ผู้ที่เห็นต่าง และถูกเชื่อว่าเป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐบาล ต่างถูกส่งไปจองจำ ใช้แรงงาน และทารุณกรรม บนเกาะเล็กๆ ที่อยู่ห่างไกลในทะเลลึก จนเป็นตำนานกล่าวขานว่า “นรกบนดิน คุกตะรุเตา”


  • ชะตากรรมนักโทษการเมือง
    จากประชาธิปไตย กลายร่างเป็น ระบอบเผด็จการ กุมอำนาจเบ็ดเสร็จ  และชีวิตบนเกาะ นักโทษต้องใช้แรงงานหนัก และขาดแคลนอาหารอย่างรุนแรง

      เมื่อคุกบางขวาง เริ่มคับแคบ กรมราชทัณฑ์จึงจัดหาสถานที่ที่มีภูมิประเทศที่เหมาะสม กับการสร้างทัณฑสถานแห่งใหม่  จนที่สุด ปี พ.ศ. 2481 รัฐบาล ตัดสินใจ เลือกเกาะตะรุเตา จัดตั้งเป็นทัณฑสถานแห่งใหม่ .... เข้าสู่ยุคของ จอมพล ป. ปี  พ.ศ. 2482 ได้ส่งนักโทษการเมือง ที่รอดจากการโดนประหารชีวิต เช่น นักโทษในคดีสงครามกลางเมือง และคดีกบฏนายสิบ จำนวน 70 คน มายังเกาะตะรุเตา
      ชีวิตบนเกาะ นักโทษต้องใช้แรงงานหนัก และขาดแคลนอาหารอย่างรุนแรง ส่งผลให้สภาพทั่วทั้งเกาะ กลายเป็นดินแดนคนเถื่อน ฆ่ากันแย่งอาหาร อีกทั้งยังเกิดโรคมาลาเรียระบาดซ้ำอีก ปี พ.ศ. 2486 นักโทษการเมืองที่เหลือรอดชีวิต ถูกย้ายอีกครั้งให้ไปจำคุกบนเกาะเต่า ที่สภาพชีวิตการเป็นอยู่ราวกับนรกบนดินอย่างแท้จริง ...
  • ความทรงจำของรัชกาลที่ 7
...  พระองค์ทรงเล่าเรื่องราวทั้งหมด ไว้ในจดหมาย ซึ่งเป็นหลักฐานสำคัญทางประวัติศาสตร์เพียงไม่กี่ชิ้น ที่รอดพ้นจากการ "ถูกทำลาย"  ในช่วงปฏิวัติวัฒนธรรมของคณะราษฎร....

     นับตั้งแต่ การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 จนถึงวินาทีที่ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว สละราชสมบัติ .... พระองค์ทรงเล่าเรื่องราวทั้งหมดไว้ในจดหมาย ซึ่งเป็นหลักฐานสำคัญทางประวัติศาสตร์เพียงไม่กี่ชิ้นที่รอดพ้นจากการถูกทำลายในช่วงปฏิวัติวัฒนธรรมของคณะราษฎร

 ..กงล้อแห่งประวัติศาสตร์สยาม ต้องเผชิญกับจุดเปลี่ยนอีกครั้ง เมื่อพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ทรงประกาศสละราชสมบัติ และทรงปฎิเสธที่จะกลับประเทศตลอดพระชนม์ชีพ !!! 

        จดหมายที่พระองค์ทรงพระอักษรเอาไว้ ณ เวลานั้น.. แม้เรียบง่าย แต่พระองค์ก็ทรงเล่าเรื่องราวอันขมขื่นของพระองค์เอาไว้อย่างกระชับ และชัดเจน ..ผ่านสายพระเนตรของพระองค์ ที่มองประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาของสยามประเทศ  ท่ามกลางความสับสนวุ่นวายและเต็มไปด้วย "ข่าวลือ"  มากมาย  อันเกี่ยวข้องกับการกำเนิดประชาธิปไตยในสยาม จดหมายฉบับนี้ เป็นหลักฐานสำคัญทางประวัติศาสตร์เพียงไม่กี่ชิ้นที่รอดพ้นจากการถูกทำลายในช่วงปฏิวัติวัฒนธรรมของคณะราษฎร

        หากเราจะใช้โอกาสอันดี ทบทวนประวัติศาสตร์ผ่านความทรงจำของพระองค์จากจดหมายฉบับนี้ ประกอบกับ ศึกษาเรียนรู้ ทำความเข้าใจในสถานการณ์บ้านเมือง ณ เวลานั้น ก็อาจจะทำให้พวกเราชาวไทย ได้เข้าใจถึงประวัติศาสตร์ ความเป็นมาของประชาธิปไตยของชาติ อีกทั้งได้ทราบถึงพระราชภาระอันหนักอึ้ง ภายในพระราชหฤทัยของพระมหากษัตริย์นักประชาธิปไตย ผู้ทรงพยายามอย่างถึงที่สุด เพื่อให้อาณาประชาราษฎร์ได้อยู่กันอย่างมีความสุข ท่ามกลางเศรษฐกิจโลกที่รุมเร้าอย่างหนัก ....

เรื่องราวเพิ่มเติมเกี่ยวกับ การปฎิวัติ 2475
ในมุมที่คุณไม่เคยรู้ และเป็นประวัติศาสตร์ที่สูญหายไป


  • เรื่องราว ของ“คณะราษฎร”ในมุมที่เราไม่เคยรู้มาก่อน { หนังสือแนะนำ }
    ....   เราจะสามารถเรียนรู้ข้อผิดพลาดของคนในอดีต เเละป้องกันไม่ให้มันเกิดขึ้นอีก การได้ทราบถึงร่องรอยในอดีต จะช่วยปูทางปัจจุบัน เเละสามารถเป็นประโยชน์ในอนาคตได้ บทเรียนที่ได้จากประวัติศาสตร์ เหตุการณ์ที่ผ่านมาหรือพฤติกรรมของคนในอดีต ย่อมมีทั้งด้านดีและด้านร้าย พฤติกรรมใดที่นำความเสียหายมาสู่สังคมส่วนรวมในอดีต ซึ่งอาจส่งผลร้ายมาสู่ปัจจุบันและเชื่อมโยงไปถึงอนาคตด้วย .... 


  • ประวัติศาสตร์หลายประการที่ไม่อาจหาได้จากเอกสารอื่นๆ
.... การอ่านเรื่องราวที่หม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย บรรยายไว้ในเล่ม นับได้ว่าสะเทือนใจ และหดหู่กับการกระทำของผู้ก่อการแล้ว แต่นั่นยังไม่ลงลึกเท่า กับเรื่องราวในหนังสือเล่มที่ดิฉันได้แนะนำคุณผู้อ่านได้รู้จักเล่มนี้ เพราะในเล่ม กล่าวถึงบุคคลชัดเจน แถมยังมีเนื้อหารายละเอียด คำให้การในศาล ขั้นตอน วิธีการการวางแผนและลงมือ อำนาจที่หอมหวานมักทำให้คนหน้ามืด ตาบอด และหูหนวกอย่างแท้จริง !! ไม่แม้แต่จะคิดหรือยับยั้งชั่งใจในการกระทำว่าเป็นการริดรอนอำนาจและเสรีภาพของการเป็นประชาธิปไตยตั้งแต่เริ่มต้น

  • หนังสือ สถาบันกษัตริย์ ความจริงที่ถูกบิดเบือน

       หนังสือ สถาบันกษัตริย์ ความจริงที่ถูกบิดเบือน :ไขข้อกังขา คลายข้อสงสัย เพื่อให้เข้าใจถึงข้อเท็จจริง เกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ และแยกแยะออกจากสิ่งที่บิดเบือนได้ และ ความจริง 12 ประการของ “ภาษีกู” ที่คนบางกลุ่มยังเข้าใจไม่ถูกต้อง




  • ความโหดร้าย ของนักโทษในระบอบประชาธิปไตย ? 

    เรื่องราวมหัศจรรย์ ชีวิตสุดผกผัน ตื่นเต้นยิ่งกว่านิยาย ..... เมื่อครั้งที่ถูกคุมขังเป็นนักโทษการเมืองที่เกาะตะรุเตานั่นเอง ท่านได้สร้างวีรกรรมหลบหนีออกจากเกาะ ประสบความสำเร็จมารถแหกคุกไปที่เกาะลังกาวีสำเร็จ เป็นที่ร่ำลือกันว่าในการหลบหนีครั้งนั้น ท่านและเพื่อนอีก 4 คนมีเพียงมีดชายธงคนละเล่ม และร่วมกันสาบานเอาไว้ว่าหากถูกจับกุมจะไม่ขอมอบตัวแต่จะขอสู้จนตัวตาย

  • วันที่ประเทศชาติไม่มีพระมหากษัตริย์
  ..." เป็นช่วงเวลาที่ทำให้ประเทศไทยได้เรียนรู้ว่า ในวันที่ประเทศชาติไม่มีพระมหากษัตริย์นั้น นักการเมืองไทยในยุคนั้นได้ทำอะไรลงไปบ้าง โดยเฉพาะในเรื่องอำนาจ และผลประโยชน์ส่วนตนและคณะบุคคล ... เหตุการณ์เช่นนี้ จึงทำให้เห็นชัดเจนว่าความคาดหวังในการเปลี่ยนแปลงการปกครองเพื่อประเทศชาติและประชาชนนั้น แท้ที่จริงก็มีนักการเมืองแฝงไปด้วยเหตุผลเพื่อการแสวงหาอำนาจและความร่ำรวยของตัวเองไปด้วย .. หนังสือน่าอ่าน มากๆครับ






  • ในวันที่นักประชาธิปไตย ฆ่ากันเอง ... เพราะ "อำนาจ" 
    หนังสือ 2475 : เส้นทางคนแพ้ …. เรื่องราวมิตรภาพของ “สี่ทหารเสือ” (พระยาศรีสิทธิสงคราม, พระยาทรงสุรเดช, พระยาฤทธิอัคเนย์, พระประศาสน์พิทยายุทธ) ผู้เสี่ยงชีวิตเข้าเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อเช้ามืด 24 มิถุนายน 2475 ทั้งก่อนหน้าและเริ่มแรกก็เป็นเช่นนั้น แต่ชั่วเวลาข้ามปี ทุกอย่างพลันเปลี่ยนไป แล้วตามมาซึ่งชะตากรรมอันน่าเศร้า ไม่ว่าจะมองในมุมของความเป็นมนุษย์ และยิ่งน่าเศร้าขึ้นไปอีกเมื่อมองในมุมแห่งมิตรภาพ “หอกดาบ” อาจไม่สามารถทำลายมิตรภาพในหมู่ทหารได้ แต่มีสิ่งหนึ่งที่สามารถทำลายมิตรภาพของเหล่าทหารลงได้นั่นก็คือ “อำนาจ”
 


Admin Bee

สนับสนุน Misc.Today

นี่คือ ลิ้งค์พันธมิตร หรือที่เรียกว่า affiliate link ซึ่งหมายความว่า... หากคุณคลิ๊กลิ้งค์นี้ และซื้อผลิตภัณฑ์ อะไรก็ได้ ฉันจะได้ค่าคอมมิชชั่นเล็กน้อย สิ่งนี้จะช่วยสนับสนุนเว็บไซด์ และช่วยให้กำลังใจเราต่อไป



 

คุณอาจสนใจ

เครื่องดื่มมหัศจรรย์ เพื่อสุขภาพที่ดี


  ชาหมักคอมบูชะ Scoby doit  



“ จุลินทรีย์ โพรไบโอติก ที่มีอยู่ในชาหมัก คอมบูชะ ( Kombucha ) สามารถแก้ไขปัญหาของระบบทางเดินอาหาร และลำไส้”

KOMBUCHA ORIGINAL 101 / by Scoby Do it 💖
    เครื่องดื่มชาหมักเพื่อสุขภาพ คอมบูชา หรือ คอมบูชะ ( Kombucha ) Scoby do it คือ เครื่องดื่มที่ผ่านกระบวนการหมัก มีสรรพคุณทางยา โดยมี “จุลินทรีย์ โพรไบโอติก Probiotics” ที่เป็นพระเอกของเครื่องดื่มชนิดนี้ “จุลินทรีย์” ที่อยู่ในชาหมักที่เกิดจากการหมักชา จะมี สารฟลาโวนอยด์ (Flavonoids) ช่วยต้านอนุมูลอิสระ และอาจช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือด เบาหวาน มะเร็ง และโรคอัลไซเมอร์ได้ 

   >> ดูเพิ่มเติม 




5 บทความ ยอดนิยม ในรอบ 30 วัน

🟡 โพสต์แนะนำ

คริสเตียนไซออนนิสท์ คือใคร ? - Christian Zionist

ช่วงนี้ ผมติดตามหาข้อมูลเกี่ยวกับ อิสราเอล กับ ปาเลสไตน์ ครับ ส่วนใหญ่จะเป็นแนวประวัติศาสตร์เสียมาก เพราะผมมีความเชื่อส่วนตัวว่า การที่เราจะ...

Popular Posts

แนะนำหนังสือ


  BOOKs OF THE DAY








ผู้สนับสนุน







Xiaomi Kingsmith Walking Pad

 Xiaomi Kingsmith Walking Pad R1 Pro/ R2 ลู่เดิน/วิ่งไฟฟ้า พับเก็บได้ สำหรับการออกกำลังกายภายในบ้าน >> คลิ๊กดูเพิ่มอีก


ป้ายกำกับ / Tag labels

2475 (1) กฎหมาย (4) กฐิน (2) กรรม (5) กระเป๋า (3) กรุงเทพฯ (19) กรุงศรีอยุธยา (11) กล้องถ่ายภาพ (7) กลอน (4) กลาโหม (9) การเกษตร (6) การจัดเก็บ (2) การเมือง (48) การศึกษา (127) กิจกรรมกลางแจ้ง (2) กีฬา (3) เกษตร (2) เกี่ยวกับสัตว์ (12) ไกลกังวล (1) ขงจื้อ (1) ขนม (2) ขอมไม่ใช่เขมร (6) ข้าว (3) ข่าวสาร (22) ขิง (1) เขมร (10) โขน (2) คณะราษฎร (10) คติธรรม (1) คนเล่านิทาน (14) ครู (6) ความเชื่อ (11) ความรู้ (145) คอมมิวนิสต์ (31) คำภีร์ (2) คำสอน (11) เครื่องบิน (7) เงินตรา (4) จอมพล ป. พิบูล (1) จอมพล ป. พิบูลสงคราม (13) จีน (53) ช้าง (1) ชายแดนใต้ (5) ญี่ปุ่น (15) ดนตรีไทย (1) ดอกไม้ (1) เด็ก (5) เดนมาร์ก (1) ต้นไม้ (4) ตลาดนัด (1) ตำรวจ (2) เตา (1) เตือนภัย (15) แต่งงาน (1) ทรัพยากร (2) ทวิตเตอร์ (1) ทหาร (9) ท่องเที่ยว (27) ทะเล (3) ทัศนะ (47) ทำบุญ (5) ทำอาหาร (5) เทคโนโลยี (13) โทรศัพท์มือถือ (2) ธนบัตร (1) ธนาคาร (4) ธรรมชาติ (7) ธรรมในคำกลอน (1) ธรรมะ (6) ธรรมาธิปไตย (2) ธุรกิจ (10) นราธิวาส (3) นวดไทย (1) นักบิน (1) นักเรียน (4) นางใน (1) นาซี (1) นายกรัฐมนตรี (2) น้ำมัน (1) นิทานพื้นบ้าน (1) นิยาย (3) นิวเคลียร์ (1) เนปาล (1) แนะนำสินค้า (36) โนรา (1) ในหลวง ร.10 (1) ในหลวงรัชกาลที่ 9 (15) บริการ (3) บริหาร (3) บ่อน (1) บัตรเครดิต (2) บัตรประชาชน (1) บุคคล (42) บุญ (3) บุหรี่ (1) เบตง (1) แบรนด์ไทย (5) โบราณวัตถุ (13) โบราณสถาน (6) โบสถ์ (2) ประชาธิปไตย (51) ประท้วง (7) ประเทศไทย (172) ประวัติศาสตร์ (147) ปรัชญาชีวิต (20) ปรีดี (2) ปลูกต้นไม้ (3) ปูติน (1) ผลไม้ (1) ผลิต (3) ผิวสี (1) แผ่นดินไหว (1) ฝรั่งเศส (6) พม่า (6) พยาบาล (1) พระเจ้าตากสินมหาราช (2) พระนเรศ (1) พระพุฒาจารย์ (1) พระพุทธเจ้า (1) พระราชกรณียกิจ (4) พระสงฆ์ (10) พราหมณ์ (1) พิบูลสวัสดี (1) พิพิธภัณฑ์ (9) พุทธทาส (1) พุทธศาสนา (11) เพชรบุรี (3) เพลง (8) เพลงผ้า ปรพากย์ (1) แพทย์ (4) ฟาโรห์ (1) ไฟ (4) ไฟฉาย (1) ไฟฟ้า (1) ภาคใต้ (6) ภาคอีสาน (1) ภาษา (9) ภาษิต (1) ภูเขาไฟ (1) ภูมิปัญญา (19) ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ (1) มวยไทย (5) มาเลเซีย (1) มุมไบ (2) มุสลิม (2) แม่ (1) ไม้ไผ่ (1) ยา (1) ยิว (3) ยูนนาน (1) เยาวชน (1) เยาวราช (1) รถเมล์ (3) รองเท้า (2) ระเบิด (3) รัชกาลที่ ๒ (1) รัชกาลที่ ๔ (3) รัชกาลที่ ๕ (7) รัชกาลที่ ๖ (1) รัชกาลที่7 (8) รัชกาลที่ ๘ (5) รัฐประหาร (6) รัสเซีย (12) ราชาศัพท์ (1) รามเกียรติ์ (1) เรือ (2) เรื่องเก่า (80) เรื่องเล่า (23) โรค (5) โรคระบาด (3) โรงงาน (1) โรงพยาบาล (9) โรงเรียน (16) โรฮิงญา (1) ลอนดอน (1) ลัทธิ (2) ลัทธิมาร์กซ์ (1) ล้านนา (3) ลาว (4) เลือกตั้ง (9) โลก (5) โลกร้อน (3) วัฒนธรรม (1) วัด (14) วันแม่ (1) วันสำคัญ (5) วิทยาศาสตร์ (9) วิทยุ (2) วิหาร (4) เวียดนาม (4) ไวรัล (1) ศัพท์ (1) ศาสนา (36) ศิริราช (5) ศิลปะ (4) ศิลปาชีพ (1) เศรษฐกิจ (3) สงขลา (1) สงคราม (50) สถานีรถไฟ (1) สนามบิน (2) สเปน (1) สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร (2) สมัยเมจิ (1) สยาม (12) สวนสนุก (1) สวิตเซอร์แลนด์ (2) สังคม (36) สำนวน (8) สิ่งประดิษฐ์ (13) สื่อ (3) สุขภาพ (13) สุภาพจิต (5) สุสาน (1) หนังแท้ (4) หนังสือ (31) หนังสือพิมพ์ (1) ห้องเรียน (4) เหมาเจ๋อตง (2) เหรียญ (1) อเมริกา (36) ออสเตรีย (1) อังกฤษ (6) อาชีพ (1) อาหาร (16) อาหารจานโปรด (9) อิตาลี (3) อินเดีย (8) อิสราเอล (3) อียิปต์ (1) อีสาน (1) แอปพลิเคชัน (4) ไอร์แลนด์ (1) cpr (1) deep state (1) democracy (1) Diarymisc (3) facebook (1) handmade (1) leather (1) metaverse (1) nomad (6) Nuclear (1) OPENUP (1) powerbank (1) shopee (1) Social media (2) social views (114) startup (1) UNESCO (4) xiaomi (1)


Miscellaneous | Misc.Today 🌱 . ขับเคลื่อนโดย Blogger.

 
miscthailand